โรคภูมิแพ้ตัวเองในเด็ก

โรคภูมิแพ้ตัวเองในเด็ก (SLE)

โรคภูมิแพ้ตัวเองในเด็ก (SLE) หรือชื้อเต็มๆคือ Systemic Lupus Erythematosus หรือเป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วไปคือ “โรคพุ่มพวง” เพราะนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ถึงแก่ชีวิตด้วยโรคนี้ และเนื่องจากโรคนี้น้อยคนที่จะเป็นโรคนี้ ในครั้งนั้เรามาทำความรู้จักโรคภูมแพ้ตัวเอง SLE ว่าคือโรคอะไร อันตรายอย่างไร และวิธ๊ป้องกันและรักษาอย่างไรกันค่ะ

โรคภูมิแพ้ตัวเอง คืออะไร

โรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือ SLE เป็นโรคที่มีความบกพร่องของภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่ง แต่อย่าสับสนกับ HIV เพราะภูมิคุ้มกันบกพร่องนั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV ที่เข้าไปทำลายภูมิคุ้มกัน แต่สำหรับ SLE คือความบกพร่องของภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอนติบอดี้ ที่ส่วนมากจะอยู่ในเม็ดเลือดขาว ที่จะทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม และทำหน้าที่ต้านเชื้อโรคที่เข้ามาสู่ร่างกาย แต่เนื่องจากเกิดความผิดปกติของ แอนติบอดี้ คือไม่สามารถจดจำเนื้อเยื้อในร่างกายได้ และสร้างภูมิคุ้มกันมาเพื่อทำลายเนื้อเยื้อตัวเองทั่วร่างกาย มิหน่ำซ้ำยังสร้างขึ้นมาโดยอัตโนมัติโดยไม่สามารถควบคุมการทำงานได้ ในบางครั้งนอกจากโรคพุ่มพวงแล้ว ยังเรียกว่าโรคพันหน้า เนื่องจากสามารถแสดงอาการทางร่างกาได้หลายระบบและมีความเด่นชัดของอาการแตกต่างกันออกไป เช่น อาจจะแสดงอาการผื่นผิวหนัง ข้ออักเสบ เยื้อหุ้มปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไตอักเสบ หรือมีความดันโลหิตสูง

สาเหตุของโรคภูมิแพ้ตัวเอง

โรคเอสแอลอีเป็นโรคไม่ติดต่อ เป็นโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานทำร้ายตนเอง โดยภูมิต้านทานไม่สามารถแยกแยะระหว่างสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายกับเซลล์และเนื้อเยื่อของตนเองทำให้ภูมิต้านทานคิดว่าเซลล์ปกตินั้น เป็นสิ่งแปลกปลอมจึงได้ไปทำร้ายเซลล์นั้นซึ่งผลทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะนั้นๆ (ข้อ ไต ผิวหนัง เป็นต้น) การอักเสบหมายถึงการที่ส่วนของ ร่างกายมีการร้อน แดง บวม และอาจปวดได้ ถ้ามีการอักเสบเป็นระยะเวลา นานอย่าง เช่นในโรคเอสแอลอีก็จะทำให้เนื้อเยื่อนั้นถูกทำลายและไม่ สามารถทำหน้าที่ได้ปกติ ดังนั้นจุดประสงค์ของการรักษาคือการลดการ อักเสบนั่นเอง
ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบภูมิต้านทานในร่างกาย เป็นที่ทราบกันว่าโรคเอสแอลอีนั้นสามารถเกิดจากการกระตุ้นได้จาก หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในวัยเจริญพันธ์ ความเครียด ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเช่น แสงแดด การติดเชื้อไวรัส ยา (เช่น ไอโซไนอาซิด ไฮดราลาซีน โพรเคนาไมด์ และกลุ่มยากันชัก)

ความแตกต่างของโรค SLE ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่

ผู้ป่วยที่เป็นเด็กจะมีอยู่ร้อยละ 15-20 จะมีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเกิดโรคได้ตั้งแต่หลังคลอดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากเด็กที่ป่วยในโรคนี้จะพบได้ช่วง 10-14 ปี มากที่สุด และมากรองลงมาคือ15-19 และ5-9 ปี ตามลำดับ ซึ่งโดยทั่วไปอาการที่เกิดขึ้นกับเด็กจะพบว่ามีอาการทางข้อ ผอวหนัง ไต และอาการทางประสาท ซึ่งโรค SLE ในเด็กจะมีความรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่ และมีอาการกำเริบเร็วมากกว่าผู้ใหญ่ ส่งผลทำให้การรักษาต้องเร็วกว่าผู้ใหญ่ เพื่อหลีกเลี่ยงผลของโรคในระยะยาว

อาการของโรคภูมิแพ้ตัวเอง

  • จะมีอาการปวด บวมตามข้อกระดูก หรือในเด็กบางราย หากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก็อาจจะมีอาการรูมาตอยด์อักเสบ
  • อาจจะมีอาการไข้โดยไม่มีสาเหตุ หรือมีแผลในปากเป็นบ่อยๆ หายๆ
  • มีความอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เพราะเกิดจากความผิดปกติของระบบหมุนเวียนเลือด
  • เป็นผื่นที่แก้ม รูปผีเสื้อ ที่เกิดจากการแสงแดด
  • มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อหายใจลึกๆ
  • มีอาการผลร่วง
  • บริเวณปลายนิ้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงเมื่อโดนอาการเย็น
  • มีอาการเท้าบวม ที่ผลมาจากการอักเสบของไต รวมถึงมีอาการผิดปกติปัสสาวะผิดปกติ
  • บางรายอาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท

การรักษาโรค SLE

สำหรับลูกของคุณแม่มีอาการผิดปกติเมื่ออาการที่กล่าวไว้ดังกล่าวข้างต้น และเป็นบ่อยควรรีบพาลูกของคุณแม่พบแพทย์โดยด่วนเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา ซึ่งการรักษาโรค จะรักษากันไปตามอาการ และมักได้รับยาเพื่อกดภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของโรค เนื่องจากยาที่รักษาโรคนี้เป็นยาที่มีผลข้างเคียงสูง และควรได้รับการติดตามผลการรักษาโดยแพทย์ จึงไม่ควรซื้อยาเพื่อรับประทานเองค่ะ

การป้องกันโรคภูมิแพ้ตัวเอง SLE

โรคเอสแอลอีไม่สามารถป้องกันได้ อย่างไรก็ตามเด็กที่เป็นโรคควรจะ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งที่อาจกระตุ้นให้ เกิดโรคหรือทำให้โรคกำเริบได้ (เช่น สัมผัสแดดโดดไม่ทาครีมกันแดด เชื้อไวรัสบางชนิด ความเครียด ฮอร์โมน และยาบางอย่าง)

บทความที่เกี่ยวข้อง