อาหารมื้อแรกของลูก

การเริ่มอาหารมื้อแรกของลูก

อาหารมื้อแรกของลูก ก็เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ถกเถียงกันมากในกลุ่มของแม่ๆ ทั้งหลาย ซึ่งอันที่จริงแล้วมันเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายนิดเดียว เนื่องด้วยองค์การอนามัยโลกด้านอาหารสำหรับทารกระบุไว้ว่า เด็กทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือนควรรับประทานเพียงแต่นมเท่านั้น และเมื่อทารกมีอายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไปก็ควรรับประทานนมแม่ต่อเนื่องโดยควบคู่กับอาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัยไปจนถึงเด็กมีอายุ 2 ปีหรือมากกว่านั้น ซึ่งในประเทศไทยรณรงค์ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกตลอดมา

แต่ปัญหาก็คือ จำเป็นไหมต้อง 6 เดือนขึ้นไปเท่านั้นถึงรับประทานอาหารอย่างอื่นได้ พ่อแม่หลายครอบครัวซีเรียทกับเรื่องนี้เอามากๆ หากลูกยังไม่ครบ 6 เดือน ไม่สามารถกินอาหารอื่นได้นอกจากนม ซึ่งความเป็นจริงแล้วระบบร่างกายของเด็กไม่ได้ถูกกำหนดตายตัวแบบเป๊ะๆ แบบนั้น ซึ่งตามหลักการศึกษาวิจัย คือ อาหารมื้อแรกของลูก เริ่มได้เมื่อพร้อมแต่ไม่ควรให้กินในช่วงที่ลูกมีอายุเพียง 17 สัปดาห์ เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กยังไม่พร้อมสำหรับการย่อยอาหารในชนิดอื่นนอกจากนม กล่าวคือหากเด็กยังไม่อายุครบ 4 เดือนขึ้นไปไม่ควรที่จะให้เด็กรับประทานอาหารอื่นนอกจากนม แต่บางครอบครับที่อาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจจะไปป้อนกล้อยหรืออาหารอื่นให้กับลูก ซึ่งอาจจะส่งผลให้เด็กถึงแก่ชีวิตได้จากโรคลำไส้อักเสบอุดตัน

ในปัจจุบันแพทย์ของประเทศญี่ปุ่น ยุโรป และในอเมริกา แนะนำให้เด็กเริ่มรับประทานอาหารมื้อแรกให้เร็วกว่า 6 เดือน แต่ขึ้นอยู่กับพัฒนาการความพร้อมในการกินของเด็ก ซึ่งสามารถสังเกตุได้ดังนี้

  • สามารถนั่งหลังตรงโดยการประคอง
  • สามารถนั่งบนเก้าอี้เด็กได้
  • มีความสนใจในอาหาร
  • สามารถใช้มือหยิบจับของเข้าปาก

ถ้าเด็กมีพฤติกรรมแบบนี้จึงเครื่องบ่งชี้แล้วว่าลูกของคุณแม่มีความพร้อมที่สามารถจะรับประทานอาหารมื้อแรกได้แล้ว ซึ่งในเด็กบางคนก็มีอายุเพียง 5 เดือนก็สามารถพร้อมที่จะรับประทานอาหารได้แล้ว แต่เด็กบางคนก็อาจมีความพร้อมช้าอาจจะพร้อมหลังมี 6 เดือนไปสักระยะ ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือเด็กอาจมีโรคประจำตัวอื่นๆ ซึ่งหากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกมีความพร้อมจริงหรือไม่คุณแม่สามารถขอคำปรึกษาจากคุณหมอได้ในตอนที่คุณแม่ต้องพาลูกไปรับวัคซีนตามเกณฑ์ได้ค่ะ

อาหารมื้อแรกของลูกควรเริ่มด้วยอาหารอะไร

คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจได้ข้อมูลบางอย่างมาเรื่องของการ “เทสต์อาหาร” และ “อาหารกลุ่มเสี่ยง” หรือเรื่องการพยายามหลีกเลี่ยงอาหารบางกลุ่ม โดยให้ลูกเริ่มกินอาหารให้ช้าที่สุด โม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ คือให้เริ่มจากหลัง 7 เดือน และผลไม้รสเปรี้ยว อาหารทะเล แป้งสาลี ชีท ให้เริ่มหลังที่ลูกมีอายุ 1 ขวบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่ผิดไปจากข้อมูลทางแพทย์ปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่าสิ่งที่ไม่ควรอยู่ในอาหารเด็กในช่วง 1 ขวบ คือ น้ำผึ้ง เครื่องปรุงต่างๆ เนื้อสัตว์และไข่ที่ไม่สุก และถั่วที่เป็นเม็ด ชีท และปลาฉลาม ปลากระโทง ดังนั้น อาหารมื้อแรกของลูก ไม่ว่าจะเป็นไข่ขาว อาหารทะเล ผัก ผลไม้ แป้ง ขนมปัง ธัญพืชต่างๆ ลูกสามารถรับประทานได้หมด ขอเพียงให้มีการปรุงสุก สะอาด เหมาะสมตามช่วงวัย มีความหลากหลาย และวิธีกินที่เหมาะสม

คำแนะนำเพิ่มเติม การกินอาหารของลูกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ คือ ในขณะรับประทานอาหารลูกต้องนั่งหลังตรง คอตรงบนเก้าอื้ ไม่ให้ลูกนอนกิน ไม่ไล่ป้อน และควรกินร่วมการกินในครอบครัว

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มอาหารมื้อแรกของลูก

ก่อนที่คุณแม่จะเริ่มมื้ออาหารแรกให้กับลูก คุณแม่ต้องเตรียมความพร้อม และมีข้อมูลที่ถูกต้องก่อน ซึ่งมีด้วยกัน 9 ข้อ และสิ่งสำคัญ ในช่วง ขวบปีแรก อาหารหลักคือนมแม่ ต้องให้ลูกรับประทานนมที่เพียงพอ

สังเกตุความพร้อมในการกินของลูก

อาหารมื้อแรกของลูก ควรเริ่มเมื่อลูกมีความพร้อมที่จะรับประทานอาหารอย่างอื่น ซึ่งวิธีการสังเกตุได้กล่าวไว้ข้างต้น เพราะหากเริ่มอาหารเร็วและลูกยังไม่พร้อม อาจส่งผลทำให้ลูกท้องอืด เพราะระบบย่อยอาหารของลูกยังไม่พร้อมในการย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และกระเพาะอาหารของลูกยังมีความจุน้อย ทำให้อาจทำให้ลูกได้รับนมไม่เพียงพอ

เริ่มอาหารที่ละอย่าง

ในช่วงที่ลูกเริ่มทดลองกินอาหารโดยเริ่มจากผักผลไม้ โดยลองครั้งละ 1 อย่างเป็นเวลา 4-5 วันเพื่อดูการแพ้อาหารของลูก ซึ่งข้อดีของการเริ่มอาหารทีละชนิดจะช่วยให้คุณแม่รู้ว่าลูกของคุณแม่แพ้อาหารชนิดใด และส่งเสริมให้ลูกได้เรียนรู้ถึงรสชาติตามธรรมชาติของอาหารแต่ละชนิด เพื่อให้การจัดการที่ง่าย และเป็นระบบคุณแม่ควรทำบันทึกตารางประจำวัน และจดบันทึก ข้อมูลต่างๆ เช่น วัตถุดิบต่างๆ จำนวนมื้อที่ป้อน และบันทึกการแพ้อาหารในแต่ละชนิด

เริ่มทีละเล็กน้อย

การเริ่มให้ลูกรับประทานอาหารอื่นนอกจากนม ควรเริ่มให้รับประทานทีละน้อยๆ วันหนึ่ง 1 มื้อ ๆละ 1-2 ช้อนโต๊ะ และตามด้วยนมแม่ให้ลูกอิ่ม แต่หากเห็นว่าลูกยังไม่อิ่ม จึงค่อยเพิ่มปริมาณ ซึ่งจะรู้ได้ไงว่ายังไม่อิ่ม ลูกจะไม่หันหน้าหนี หรือดุนอาหารออกจากปาก ไม่ควรป้อนอาหารลูกมากจนเกินไป เพราะอาหารหลักของลูกในช่วงขวบปีแรกคือ นมแม่

ควรให้ลูกกินผักก่อนผลไม้

อาหารที่เริ่มก็คือผัก เพราะจะทำให้ลูกได้คุ้นชินกับรสชาติของผักที่มีรสอ่อนกว่า และมีความหวานน้อยกว่าผลไม้ ไม่เพียงเท่านี้ยังเป็นการฝึกลูกกินผักไปในตัว แต่หากให้ลูกเริ่มกินผลไม้ก่อนผักจะทำให้ลูกติดรสหวานจากผลไม้ ทำให้ลูกปฎิเสธการกินผักได้ ผักที่แนะนำให้ลูกกินในครั้งแรกควรเป็นผักที่นิ่มๆ และมีสีสันที่น่ากิน รสชาติไม่จัด ไม่ขม และมีมีกลิ่นที่ฉุน อย่างเช่น แครอท ฟักทอง ตำลึง ถั่วลันเตา และบล็อคโคลี่ เป็นต้น

ควรให้ลูกกินไข่แดงก่อนไข่ขาว

ทำไมถึงต้องให้เริ่มด้วยไข่แดงก่อน เพราะลูกของคุณแม่อาจมีสิทธิที่จะแพ้โปรตีนในไข่ขาวได้มากกว่าไข่แดง ถึงแม้ว่าจะผ่านการปรุงสุก อีกทั้งไข่แดงจะย่อยง่ายกว่าไข่ขาวอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามการให้ลูกกินไข่แดง ควรปรุงให้สุก เพราะหากกินแบบไม่สุกหรือที่เรียกว่ายางมะตูม จะทำให้ลูกย่อยยาก และหากลูกมีอายุมากกว่า 1 ขวบ ค่อยฝึกให้ลูกกินไข่ทั้งลูก

ฝึกให้ลูกกินปลาน้ำจืดก่อนปลาทะเล

เนื้อปลา เป็นเนื้อสัตว์ย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น และยังมีสารอาหารมากมาย โดยเฉพาะสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อสมองและการเจริญเติบโตของลูก ดังนั้นอาหารของลูกก็ควรมีปลาอยู่ในนั้นด้วย

สำหรับปลาที่เหมาะสมที่จะให้ลูกของคุณแม่รับประทานคือปลาน้ำจืด เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาช่อน ปลาดุก หรือปลาสวาย เพราะปลาดังกล่าวจะมีเนื้อที่นุ่ม ก้างใหญ่ บดละเอียดง่าย โดยเฉพาะปลาช่อนจะมีโอเมก้า 3 มากที่สุดในบรรดาปลาน้ำจืดด้วยกัน สำหรับปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาแซลมอน ควรให้ลูกเริ่มกินเมื่ออายุ 1 ขวบขึ้นไป เพราะมีความเสี่ยงที่จะแพ้โปรตีนในปลาทะเลง่ายกว่าปลาน้ำจืด

การกินผลไม้ปั่นควรผ่านการปั่นเอง

การให้ลูกกินผลไม้ปั่น เช่น มะม่วง มะละกอ แอปเปิ้ล สาลี่ แพร์ จะช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย ผลไม้ที่นึ่งและปั่นสดจะได้ประโยชน์มากที่สุด และลูกควรกินผลไม้ปั่นทันทีเมื่อทำเสร็จหรือไม่ควรนานเกิน 15 นาที เพราะวิตามินในผลไม้จะไม่สูญเสียไป มั่นใจได้ว่าลูกกินแล้วจะไม่ท้องเสีย และปราศจากเชื้อโรค แน่นอน

อุ่นร้อนก่อนกิน

อาหารที่ทำให้ลูกกิน ถ้าทำเสร็จ สด ใหม่ แล้วรับประทานเลยคงจะไม่มีปัญหา แต่สำหรับคุณแม่บางท่านสิ ทำงานนอกบ้านด้วย มีความจำเป็นที่จะต้องทำอาหารฟรีสไว้ ให้คุณยายป้อนแทน ก่อนป้อนจะต้องอุ่นอาหารให้ร้อนทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการอุ่นด้วยไมโครเวฟ หรือการอุ่นด้วยเครื่องนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียอีกรอบค่ะ
อาหารที่อุ่นให้ลูกกินแล้ว เมื่อกินไม่หมดควรเททิ้ง ไม่ควรนำกลับมาให้กินใหม่ เพื่อป้องกันแบคทีเรียในน้ำลายของลูกจากการป้อนครั้งก่อน

ป้อนมื้อเช้าชัวร์ที่สุด

อาหารเสริมลูกควรเป็นอาหารปั่นละเอียด ลักษณะของอาหารควรเหลวเป็นน้ำคล้ายโยเกิร์ตหรือเหลวกว่า ควรป้อนมื้อเช้าหรือกลางวัน เพราะหากมีอาการแพ้จะได้ไปโรงพยาบาลเตรียมหาหมอทัน แต่ถ้าหากว่าไม่มีอาการแพ้สามารถเปลี่ยนมาป้อนมื้อเย็นได้ เพราะจะทำให้ลูกอิ่มนานขึ้นและหลับยาวขึ้น

บทความเที่เกี่ยวข้อง