ลูกติดเกม

ลูกติดเกม พฤติกรรมที่พ่อแม่ต้องดูแล

การเล่นเกม ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี แต่เป็นการ แถมยังฝึกให้เด็กรู้จักใช้เวลาในเป็นประโยชน์ สามารถให้เด็กแก้ปัญหา ตอบโต้ฉับไว และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับคนในวัยเดียวกัน และรู้จักการทำงานเป็นทีม แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย หากเล่นมากเกินไปโดยไม่สนใจในกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งผลเสียที่จะเห็นได้ชัดคือ เสียเวลา เสียสายตา เสียสุขภาพ เริ่มมีอาการสมาธิสั้น หรือในบางเกมก็ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายทำให้เด็กสามารถเป็นลมชักได้ และส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมที่รุนแรงต่อเด็ก

ปัจจัยที่ทำให้ลูกติดเกม

ปัจจัยที่ทำให้เด็กติดเกมมีด้วยกันหลายปัจจัย ดังนี้

การเลี้ยงดู

เด็กติดเกมมักจะพบในครอบครัวที่คนในครอบครัวไม่ค่อยมีเวลาที่จะดูแลเด็กเท่าที่ควร ขาดการฝึก สั่งสอนเด็ก และมักจะตามใจเด็ก เพราะทดแทนเวลาที่ไม่ได้เลี้ยงดู หรือในบางครอบครัวก็ไม่รู้วิธีในการเลี้ยงดู ใจอ่อนไม่ลงโทษในเวลาที่เด็กกระทำความผิด หรือขาดเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นการสร้างความอ้าวว้างให้แก่เด็ก ทำให้เด็กไปหากิจกรรมแก้เบื่อเอง ซึ่งไม่พ้นการเล่นเกม

การเปลี่ยนแปลงของสังคม

เครื่องมือการสร้างความสนุก ตื่นเต้น ของสังคมในสมัยนี้มีมากมาย แต่ก็ขาดสถานที่ที่ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว ได้อย่างปลอดภัยและเพลิดเพลิน ด้วยเหตุนี้ การเล่นเกมจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในความคิดของเด็ก

เป็นที่ตัวของเด็กเอง

เด็กบางคนมีความเสี่ยงต่อการเป็นเด็กอาธิสั้น (ADHD) เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ รวมทั้งเด็กที่มีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า หรือเด็กที่มีปัญหามาจากโรงเรียน เป็นต้น

ระดับความรุนแรงของการติดเกม

ทางการแพทย์ จะระบุระดับการติดไว้ 3 ระดับ แต่พ่อแม่หรือคนรอบข้างมักจะเหมารวมว่า ติดเกม หมดซึ่งการติดจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งแบ่งระดับไว้ ดังนี้

  1. ชื่นชอบการเล่นเกม แต่ไม่ได้ติด การติดในระดับนี้เป็นการชอบธรรมดาทั่วไป ที่ยังอยู่ในความควบคุมของตัวเองได้ ซึ่งทุกคนสามารถเป็นได้ และยังสามารถทำกิจกรรมอื่นได้
  2. ระดับคลั่งไคล้ ในระดับนี้จะไม่ค่อยทำกิจกรรมอื่น เริ่มจะควบคุมตัวไม่ได้ แต่ยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆได้ แต่น้อยลง
  3. ระดับติด เมื่อเข้าสู่ระดับนี้ จะเริ่มเสียเวลาทำกิจวัตร หรือทำหน้าที่ และเริ่มไม่สนใจกิจกรรมอื่นๆ อธิเช่น
    • ไม่สามารถกำหนดเวลาเล่นได้ และเล่นนานติดต่อหลายชั่วโมง
    • เริ่มแสดงอาการหงุดหงิด หรือต่อต้าน เมื่อถูกขัดขวาง หรือห้ามเล่นเกม
    • เริ่มไม่สนใจในการเรียน และหน้าที่รับผิดชอบของตัวเอง
    • เริ่มมีการแสดงอาการที่ผิดปกติ เช่น แยกตัว เก็บตัว เป็นต้น

วิธีการรับมือ หรือแก้ปัญหาลูกติดเกม

  • พูดคุยกับลูก วางกฏกติกา และกำหนดเวลาในการเล่น
  • ให้เวลากับลูกมากขึ้น พากันไปทำกิจกกรมร่วมกันทั้งในบ้านและนอกบ้าน เพื่อให้ลูกไม่รู้สึกโดดเดี่ยว
  • ไม่ควรใช้ถ้อยคำที่รุนแรงต่อลูก หลีกเลี่ยงการดุบ่น ตำหนิอย่างไรเหตุผล
  • ถ้าเป็นไปได้ ควรรวมกลุ่มพ่อและแม่ด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงลูก
  • สำหรับเด็กคนไหนที่เข้าขั้นติดเกมไปแล้ว และมีพฤติกรรมก้าวร้าว มีอาการต่อต้านอย่างรุนแรง วิธีแก้คุณพ่อหรือคุณแม่ลองค่อยๆตะล่อมเล่นเกมกับลูกดู หากเกมมีความรุนแรง ให้ลองเบี่ยงเบนเปลี่ยนเกมที่เบา หรือคิดว่าเป็นผลดีต่อลูก เพื่อให้ลูกได้ปรับอารมณ์ตามเกม และเมื่อเล่นเกมเสร็จก็คอยสอนเปรียบเทียบระหว่างเกมที่ลูกเล่นกับเกมที่เปลี่ยน ว่ามีข้อดีกับข้อเสียอย่างไร แลกเปลี่ยนความคิดกับลูก ลองทำตัวเหมือนเป็นเพื่อนกับลูก และเมื่อลูกรู้สึกดีขึ้นก็ดึงลูกไปทำกิจกรรมอื่นๆ
  • หากการทำทุกข้อที่ผ่านมา แล้วไม่สำเร็จ ควรพาลูกไปปรึกษาจิตแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง