ลูกมักจะนอนหลับอยู่ตลอดเวลา เพราะการนอนทำให้ทารกมีการเจริญเติบโต เด็กทารกจะหลับหลังได้กินมื้อนม และจะหลับยามไปจนไปถึงมื้อนมอีกมื้อ ซึ่งเด็กทารกกากได้รับนมและการหลับที่เพียงพอ และระบบการขับถ่ายในร่างกายดี จะทำให้ลูกสุขภาพดี และส่งผลไปถึงทางด้านอารมณ์และการเจริญเติบโต
จัดระบบการนอนชองลูกได้ดี จะช่วยให้เด็กนอนง่าย

คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกหัดนอนให้เป็นเวลา เพราะจะทำให้เด็กเป็นคนนอนง่าย โดยเริ่มฝึกจากการที่ให้นอนหลังมื้อนมอย่างสม่ำเสมอ จนให้ลูกติดเป็นนิสัยกิจวัตรประจำวัน หากในบางครั้งถึงเวลานอนแต่ลูกยังอยากเล่น ก็ควรยอมลูกบ้างนาน ๆ ครั้งแต่อย่าบ่อยเพราะเดียวติดเป็นนิสัย
การนอนคว่ำ นอนหงายของลูก

ในสมัยก่อนคนไทยจะนิยมให้เด็กนอนในท่านอนหงาย เพราะมีความเข้าใจว่า เด็กอาจหายใจไม่ออก ซึ่งที่นอนของเด็กมักจะเป็นเบาะนอนที่นุ่ม และหากเด็กนอนคว่ำอาจเกิดอุบัติเหตุทำให้เด็กจมกับเบาะแล้วหายใจไม่ออก
ซึ่งต่อมา ก็มีที่นอนแบบแข็งเป็นแบบจากทางตะวันตก สามารถให้เด็กนอนคว่ำได้ และยังส่งเสริมให้สรีระของศีรษะของลูกได้รูปทรงที่สวยด้วย ขอดีของที่นอนประเภทนี้ จะทำให้ลูกให้สำลักนมในขณะที่อ้วกนมออกมา แต่ในปัจจุบันก็หันกลับมาให้ลูกได้นอนหงายอีกครั้ง
ดังนั้น การนอนคว่ำหรือนอนหงาย แบบไหนก็ไม่ผิด และแต่วิจารณญาณของคุณพ่อคุณแม่ได้เลย ว่าลูกนอนท่าไหนสบายมากที่สุด หรือจะสลับการนอนคว่ำหงายก็ไม่ผิดอะไร แต่ควรระมัดระวังการนอนคว่ำ อย่าให้ลูกจมูกจมเป็นพอ เพราะมันจะอันตรายถึงชีวิตของลูกได้ การนอนของลูกจะลำบากเพียง 3-5 เดือนเท่านั้น ต่อจากนั้นการนอนของลูกเข้าที่เข้าทางไปเองค่ะ
การนอนตื่นสายของลูก

ในช่วงเข้า 3 เดือนจนไปถึง 1 ปี พฤติกรรมการนอนของลูกจะเปลี่ยนไป ลูกจะเริ่มตื่นสายขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจเคยชินลูกตื่นเช้ามืดขึ้นมากินนม แต่พอลูกตื่นสายขึ้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะตกใจตื่นเพียงแค่พลิกตัว
ดังนั้น อย่าเพิ่งให้นมลูกในทันที คุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้นอนเล่นกลิ้งไปกลิ้งมาแบบสบายๆ โดยเฉพาะในวันหยุด อาจจะตั้งนาฬิกาปลุกให้เลยช่วงเวลา 7-8 โมงเช้าเข้าไปสัก 5 นาที วันต่อๆ ไปก็ตั้งให้สายกว่านี้ ลูกอาจจะได้นอนนอนขึ้นสักหน่อย
ลูกนอนกับพ่อแม่นานเท่าไร

เมื่อเข้าช่วง 6 เดือน ควรแยกห้องนอนกับพ่อและแม่ หรือไม่ก็นอนกับคนเลี้ยงที่ไว้ใจได้ ซึ่งลูกบ้างบ้านก็ให้นอนกับคุณยาย คุณย่า บ้าง ในบางครั้งคุณแม่ก็ควรไปนอนกับลูกบ้าง
หากคุณตัดสินใจแยกห้องนอนกับลูกแล้ว ก็ควรทำอย่างจริงจัง หากลูกหลับอยู่บนเตียงของพ่อแม่ ก็ควรอุ้มกลับไปนอนที่ห้องของลูก เมื่ออุ้มไปแล้วไม่ควรกลับมาในทันที ควรที่อยู่กับลูกต่อสักพัก อยู่จนลูกหลับสนิท แล้วค่อยกลับมาที่ห้องของตนเอง
การนอนของลูกเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ เพราะการนอนของลูก จะส่งผลต่อทางด้านอารมณ์การเจริญเติบโตของลูกค่ะ
Leave a Reply