Tag: Umbilical hernia

  • ทารกสะดือโป่งหรือสะดือจุ่น อันตรายหรือไม่

    ทารกสะดือโป่งหรือสะดือจุ่น อันตรายหรือไม่

    สะดือของทารก เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องได้รับการดูแลอย่างระมัดระวัง เพื่อให้สายสะดือแห้งหลุดออกอย่างถูกต้องและไม่มีการติดเชื้อใดๆ หลายครั้งที่พบว่าสะดือของลูกน้อยมีการปูดบวมออกมา ซึ่งคุณแม่หลายท่านมักเข้าใจว่าสะดือจุ่น ซึ่งเกิดจากปล่อยให้ลูกร้องไห้มากเกินไป จึงไม่จำเป็นต้องรักษา แต่รู้หรือไม่อาการบวมปูดของสะดือลูกน้อยอาจกลายเป็นสาเหตุของไส้เลื่อนสะดือในทารกได้ค่ะ ดังนั้น ในวันนี้เราจะพาคุณมาหาคำตอบเกี่ยวกับอาการไส้เลื่อนสะดือในทารกค่ะ

    สะดือจุ่นหรือสะดือโป่ง ทางการแพทย์เรียกว่า ไส้เลื่อนสะดือ (Umbilical hernia) เป็นเรื่องที่พบบ่อยในทารกแรกเกิดและทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน เนื่องจากผนังหน้าท้องของทารกยังไม่แข็งแรงการพัฒนาที่ยังไม่สมบูรณ์ และการเคลื่อนตัวของลำไส้ออกจากตำแหน่งที่อยู่เดิมผ่านรูหรือดันตัวผ่านบริเวณกล้ามเนื้อส่วนนั้นทำให้สะดือปูดบวมขึ้นมาค่ะ

    อาการไส้เสื่อนสะดือ ไม่ทำให้ลูกน้อยรู้สึกเจ็บปวดซึ่งคุณจะสามารถที่จะเห็นไส้เลื่อนอย่างชัดเจนมากที่สุดเมื่อเวลาลูกร้องไห้ ไอหรือการเบ่งอุจจาระ โดยเส้นผ่านศูนย์กลางจะมีขนาด 2 – 5 เซนติเมตร เนื่องจากมีแรงดันในช่องท้องสูงทำให้สะดือปูดบวมออกมา โดยส่วนใหญ่ไส้เลื่อนบริเวณสะดือมักจะหายไปเองยุบตัวลงเมื่อหยุดเบ่งท้อง หรือเมื่อโตขึ้นช่องว่างในผนังกล้ามเนื้อถูกปิดลง ยกเว้นในบางกรณีที่คุณแม่ต้องระวังเพราะอาจทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตันได้ค่ะ เช่น อาการปวดท้องอย่างรุนแรง มีไข้ อาเจียน หน้าท้องโป่ง สะดือบวมแดงกดเจ็บ ฯลฯ หากปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้ลำไส้ส่วนที่ติดคาบวมขาดเลือดไปเลี้ยงมีโอกาสเกิดการทะลุหรือแตกได้ ซึ่งควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

    การรักษาอาการไส้เลื่อนสะดือในทารก โดยปกติแล้วทารก ถึงเด็กอายุ 2 ปีสามารถหายได้เองค่ะ เมื่อแรงดันในท้องลดลงหรือเมื่อโตขึ้น เพราะอวัยวะต่างๆในร่างกายพัฒนาสมบูรณ์ขึ้น ยกเว้นในบางกรณีที่ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือลำไส้อุดตันที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ และเมื่อต้องรักษาด้วยการผ่าตัดสิ่งสำคัญคือการดูแลรักษาความสะอาดมากเป็นพิเศษค่ะ

    อาการไส้เลื่อนสะดื้อในเด็กเป็นภาวะที่สามารถรักษาให้หายได้ค่ะ แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่พบว่าสะดือของลูกน้อยมีความผิดปกติหรือสงสัยเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นการดีที่สุดค่ะ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องต่อไป