Tag: RSV

  • 5 โรคในเด็กเล็ก ติดต่อจากการสัมผัส

    5 โรคในเด็กเล็ก ติดต่อจากการสัมผัส

    การสัมผัสจากผู้ใหญ่ด้วยความรักนั้น ในบางครั้งอาจนำเชื้อโรคมาสู่เด็กๆได้ โดยเฉพาะช่วงแรกเกิดถึงสองเดือน เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังทำงานไม่เต็มที่ประกอบกับความบอบบางของชั้นผิวหนังเด็กเล็ก ทำให้ได้รับเชื้อได้จากผู้ใหญ่โดยตรงผ่านการสัมผัสได้ง่าย รวมถึงเชื้อปนเปื้อนจากสิ่งของที่ใช้ร่วมกันได้ง่ายค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5 โรคร้ายที่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส และแสดงอาการผ่านทางผิวหนังค่ะ

    1.ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus)

    ติดเชื้อโรค RSV จากการจูบเด็ก

    ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจซึ่งอาจทำให้เป็นปอดอักเสบ โดยเฉพาะในเด็กเล็กหรือเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น ต้องระวังเป็นพิเศษเพราะอาจทำให้เกิดอาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ เชื้อไวรัสสามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่งต่างๆในร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอ จาม โดยเฉพาะการติดต่อจากการสัมผัสค่ะ รวมทั้งไม่มียาสำหรับรักษาโดยเฉพาะดังนั้นวิธีการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเท้านั้นและไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้

    2.โรค 4 เอส (SSSS : Staphylococcal Scalded Skin Syndrome)

    โรค 4S หรือ โรคssss ในเด็ก

    โรค 4 เอส หรือ ssss เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียทางผิวหนังผ่านการสัมผัส มักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคนี้ก่อให้เกิดการอักเสบและแยกชั้นของผิวหนังบริเวณหนังกำพร้า ในเด็กที่ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อาการจะแสดงออกอย่างรวดเร็ว ได้แก่ มีไข้ ร้องไห้งอแง เนื่องจากรุ้สึกไม่สบายตัว จากนั้นผื่นแดงเริ่มขึ้นกระจายไปทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณตา รอบปาก รอบคอ เยื่อบุจมูก และมีอาการเจ็บเมื่อสัมผัสบริเวณผื่นแดง หลังจากผื่นแดงนี้ขึ้นประมาณ 1 – 2 วัน ผิวที่แดงจะค่อยๆเป็นรอยเหี่ยวย่นหรือพองเป็นตุ่มน้ำโดยเฉพาะบริเวณข้อพับต่างๆ และผิวหนังจะค่อยๆหลุดลอกเป็นแผ่นเป็นขุยคล้ายผิวถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ ซึ่งต้องได้รับการรักษาและคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่นนั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อบริเวณแผลที่เกิดขึ้นค่ะ

    3.เริม (Herpes)

    โรคเริมในเด็ก

    โรคเริม เป็นกลุ่มโรคในเด็กเล็กที่มีความรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้เลยค่ะ โรคเริมในเด็กแรกเกิดมักเกิดจากการติดเชื้อในช่วงระหว่างการคลอดทางช่องคลอด ถ้าขณะคลอดมารดาติดเชื้อนี้ที่อวัยวะเพศ ส่วนโรคเริมในเด็กเล็กมักเกิดจากการสัมผัสกับแผลผู้ป่วย น้ำลายหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เมื่อสัมผัสใกล้ชิด การใช้สิ่งของเครื่องใช้ การทานอาหารด้วยภาชนะร่วมกัน การจูบ เป็นต้น อาการของโรคเริมมีได้หลายแบบโดยในระยะแรกของการติดเชื้อเด็กจะมีอาการซึม มีไข้ ไม่กินนม มีตุ่มน้ำใสที่ผิวหนังหรือแผลในปาก ฯลฯ และในรายที่มีการติดเชื้อแบบแพร่กระจาย ซึ่งเด็กจะมีความไวต่อการกระตุ้น หายใจลำบาก การชักได้ค่ะ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาท หรือมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ นอกจากนี้โรคเริมยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคโยเฉพาะค่ะ

    4.ไวรัสโรต้า (ROTAVIRUS)

    ไวรัสโรต้า ท้องร่วงรุนแรงในเด็ก

    โรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า (ROTAVIRUS) เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อทางเดินอาหารหรือโรคอุจจาระร่วง พบบ่อยมากในเด็ก แพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วเนื่องจากเชื้อชนิดนี้ทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกายคนได้นาน และเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหารหรือการดื่มน้ำ หรือสิ่งของที่นำเข้าปากมีการปนเปื้อนเชื้อ ในทารกและมักมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ โดยเด็กที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้มักมีอาการดังนี้ มีไข้สูง อาเจียนบ่อย ท้องเสียรุนแรงนานกว่า 24 ชั่วโมงในบางรายอาจมีเลือดปน เซื่องซึม ภาวะขาดน้ำ(ปัสสาวะลดลงหรือไม่มีปัสสาวะ ปากแห้ง ตาโบ๋ มือเท้าเย็น ร้องไห้ไม่มีน้ำตา อ่อนเพลีย) ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเพื่อกำจัดเชื้อไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ โดยส่วนใหญ่อาการจะค่อยๆดีขึ้นและหายเป้นปกติได้เองค่ะ แต่สิ่งที่คุณแม่ควรระวังคือภาวะขาดน้ำซึ่งอาจทำให้เด็กช็อกหมดสติหรือเสียชีวิตจากภาวะขาดน้ำได้ค่ะ

    5.โรคมือเท้าปาก (hand foot mouth disease)

    โรคมือเท้าปากในเด็ก

    โรคมือ เท้า ปาก พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส สามารถติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายและน้ำจากตุ่มใส การไอจามรดกันค่ะ โรคนี้ทำให้มีตุ่มหรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณมือ ฝ่ามือ เท้า ฝ่าเท้า และภายในปาก และสร้างความเจ็บปวดในกับเด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้ ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง จนนำไปถึงการเสียชีวิตได้ค่ะ วิธีการรักษาสำหรับโรคมือเท้าปากไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดในทันที โดยแพทย์จะรักษาตามอาการทั่วๆไปเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และโรคมือเท้าปากปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันค่ะ

    วิธีการป้องกันเด็กเล็กจากโรคติดต่อ คุณพ่อคุณแม่สามารถปฏิบัติเพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อโรคต่าางๆ รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของโรคได้ดังนี้

    • ล้างมือให้สะอาดก่อนการสัมผัสตัวเด็กทุกครั้ง
    • เด็กทารกไม่ควรให้คนอื่นๆอุ้มโดยไม่จำเป็น
    • ไม่เข้าใกล้เด็กเล็กหากรู้ว่าตัวเองป่วย
    • ไม่ควรพาเด็กเล็กไปในที่แออัดโดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโรค
    • ระวังเด็กเล็กนำสิ่งของเข้าปาก 
    • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานแก่ลูกน้อย
    • ควรเข้ารับวัคซีนตามแต่ละช่วงวัย

     

  • 14 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไวรัส RSV

    14 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไวรัส RSV

    สวัสดีค่ะ บทความนี้รวบรวมคำถามที่น่าสนใจที่ที่มักถามกันบ่อยๆ เกี่ยวกับไวรัส RSV ที่คุณพ่อคุณแม่หลายๆคนสงสัยมาฝากค่ะ แต่ก่อนอื่นเรามารู้จักกับไวัสรัสชนิดนี้ในเบื้องต้นกันก่อนค่ะ ไวรัส RSV คือเขื้อไวรัสที่ก่อให้โรคในระบบทางเดินหายใจ เสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายในเด็กเล็กและสามารถทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้ ไม่มียารักษาและวัคซีนในการป้องกัน โดยอาการเบื้องต้นจะคล้ายไข้หวัดทั่วไป ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองต้องสังเกตอาการลูกน้อย หากสงสัยควรพบแพทย์ทันทีค่ะ

    1. RSV คืออะไร
    RSV หรือ Respiratory syncytial virus เป็นเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ พบได้บ่อยและเจริญเติบโตได้ดีช่วงที่มีอากาศชื้น โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนต้นหนาวและมีอาการคล้ายกับไข้หวัดแต่มีความรุนแรงกว่ามากค่ะ

    2. ไวรัส rsv อันตรายไหม
    การติดเชื้อไวรัส rsv นั้น อันตรายถึงขึ้นเสียชีวิตได้โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากเชื้อไวรัสส่งผลต่อปอดและทางเดินหายใจค่ะ

    3. เมื่อติดเชื้อไวรัส RSV มีอาการอย่างไร
    ในช่วงแรกจะมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น มีไข้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถหายได้เอง หลังจากมีการติดเชื้ออาร์เอสวีมักจะมีอาการ ดังนี้ มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียล ไอต่อเนื่องรุนแรง หายใจหอบเหนื่อย แรงจนอกบุ๋ม มีเสียงหวีด มีเสมหะเหนียวข้น เด็กมีอาการซึม เป็นต้น ซึ่งควรรีบพบแพทย์ทันที

    4. ไวรัส RSV มีระยะฟักตัวกี่วัน
    ไวรัสอาร์เอสวีมีระยะฟักตัว 2-8 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส

    5. การตรวจหาเชื้อ RSV ทำได้อย่างไร
    การตรวจหาเชื้อ RSV ในเบื้องต้น โดยการป้ายสารคัดหลั่งน้ำมูกในจมูก เหมือนการตรวจไข้หวัดใหญ่ทั่วไป การใช้เครื่องช่วยฟังเพื่อฟังเสียงการทำงานของปอด หรือเสียงที่ผิดปกติจากส่วนอื่นๆในร่างกาย การตรวจจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว เพื่อตรวจหาไวรัส แบคทีเรีย หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เป็นต้น

    6. การรักษาผู้ป่วยทางเดินหายใจจากเชื้ออาร์เอสวีทำอย่างไร
    เนื่องจากไม่มียาสำหรับการรักษาเชื้อไวรัสนี้โดยเฉพาะ ดังนั้นการรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ยากลดไข้ ยาสำหรับขยายหลอดลมเพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น เป็นต้น

    7. การติดต่อและแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอย่างไร
    โดยทั่วไปผู้ป่วยจะแพร่เชื้อได้นาน 3-8 วัน จากการไอหรือจาม และจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง ติดต่อกันได้ง่ายจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น น้ำมูก น้ำลาย ฯลฯ โดยไวัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูก ปาก

    8. ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไวรัส RSV มีอะไรบ้าง
    การติดเชื้อไวรัส RSV อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นได้ เช่น โรคปวดบวมหรือภาวะปอดอักเสบซึ่งอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ภาวะติดเชื้อในหูส่วนกลางซึ่งเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในทารกและเด็กเล็ก โรคหอบหืด การติดเชื้อไวรัส RSV อย่างรุนแรงในเด็กอาจทำให้เด็กมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดได้ในเวลาต่อมา

    9. RSV สามารถเป็นซ้ำได้หรือไม่
    ไวรัส RSV สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ค่ะ หากร่างกายอ่อนแอโดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส

    10. หากติดเชื้อ RSV จะป่วยนานแค่ไหน
    ระยะเวลานั้นขึ้นกับว่าความรุนแรงของการติดเชื้อ โดยทั่วไปหากป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดามักหายได้เองภายใน 4 – 7 วัน แต่ถ้าหากติดเชื้อถึงทางเดินหายในส่วนล่าง ซึ่งมักส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการไอ มีเสมหะ เป็นต้น ซึ่งต้องรับการรักษาดูแลที่โรงพยาบาลในบางรายจำเป็นต้องได้รับการเคาะปอด ดูดเสมหะ เป็นระยะเวลานานถึง 2-3 สัปดาห์ค่ะ

    11. ใครสามารถป่วยจากการติดเชื้อไวรัส RSV บ้าง
    โรคทางเดินหายใจจากการติดเชื้ออาร์เอสวีนี้ สามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่พบบ่อยและอาการมักรุนแรงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

    12. ไวรัส RSV ส่งผลเสียอย่างไร
    RSV เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ อาจส่งผลเสียได้คือ อาจรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบจากการติเชื้อ ซึ่งต้องรักษาในห้องไอซียูและในบางรายอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากระบบหายใจล้มเหลวได้ค่ะ

    13. วิธีการป้องกันการติดเชื้อไวรัสทำอย่างไร
    เนื่องจากไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส RSV ควรป้องกันการแพร่กระจายและลดปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อได้ดังนี้

      • ทุกคนในบ้านควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ เพราะการล้างมื้อช่วยลดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียต่างๆที่ติดมากับมือ
      • หลีกเลี่ยงการไปในที่แออัด โดยเฉพาะช่วงที่มีแพร่ระบาดของเชื้อต่างๆ
      • หลีกเลี่ยงสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยไข้หวัดหรือปอดอักเสบ โดยเฉพาะเด็กเล็ก
      • ทำความสะอาดบ้าน รวมทั้งของเล่นลูกเป็นประจำ
      • รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำสะอาดมากๆและพักผ่อนให้เพียงพอ

    14. วิธีการลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสทำอย่างไร
    เนื่องจากไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสอาร์และยาสำหรับรักษาโดยเฉพาะ ดังนั้นควรลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสดังนี้

      • ควรปิดจมูกและปากเมื่อไอหรือจามทุกครั้ง
      • หากมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและรับเชื้ออื่นๆเข้าสู่ร่างกาย
      • หากลูกป่วยควรให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายดีค่ะ
      • หากพบว่าลูกป่วยควรแยกออกจากเด็กคนอื่น รวมถึงแยกสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  • ไวรัส RSV ระบาดหนักหน้าฝน เด็กเล็กต้องระวัง

    ไวรัส RSV ระบาดหนักหน้าฝน เด็กเล็กต้องระวัง

    ช่วงนี้ฝนตกอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เด็กๆเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะในเด็กเล็กซึ่งมีระบบภูมิต้านทานโรคยังไม่แข็งแรง และมีการระบาดหนักของเชื้อไวรัสอาร์เอสวี(RSV) หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเด็กเล็กต้องระวังค่ะ

    ไวรัส RSV คืออะไร

    RSV หรือ Respiratory syncytial virus เป็นไวรัสที่พบบ่อย เจริญเติบโตได้ดีช่วงที่มีอากาศชื้นและแพร่กระจายได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก อาการคล้ายกับไข้หวัดแต่มีความรุนแรงกว่า ในเด็กเล็กมักเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย อันตรายต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ

    สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส RSV

    การติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) สามารถติดต่อกันได้ง่ายๆจากการใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งผู้ป่วย เช่น การไอ จาม เป็นต้น โดยเชื้อไวรัสอาร์เอสวีเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูกและปาก เชื้อไวรัสพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝนและต้นฤดูหนาว ไวรัสแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการไอ หรือการจาม และจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง

    อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV

    การติดเชื้อไวรัส RSV ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจซึ่งมีอาการคล้ายกับโรคหวัด ได้แก่ คัดจมูก มีน้ำมูก มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ไอแห้ง เจ็บคอ ฯลฯ โดยเชื้อไวรัสนี้มีระยะการฟักตัว 4 – 6 วันหลังจากได้รับเชื้อ และสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคปอดบวม โรคหลอดลมฝอยอักเสบ เป็นต้น ซึ่งมักแสดงอาการดังนี้

    • ไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส เซื่องซึม เบื่ออาหาร
    • หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อยและหายใจลำบาก 
    • ไออย่างรุนแรง มีเสมหะข้นเหนียวมาก 
    • มีเสียงหวีดในปอด (จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว)
    • ปากหรือเล็บมีสีเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน

    หากลูกมีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีอาการแทรกซ้อนและทรุดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หยุดหายใจเป็นช่วงๆหรือหายใจล้มเหลวได้ค่ะ

    การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV

    การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV เป็นการรักษาตามอาการหรือการประคับประคอง เพื่อให้ระบบทางเดินหายใจดีขึ้นและป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ ในกรณีที่พบอาการรุนแรงหรือในผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เช่น การรับประทานยาลดไข้ ยาลดเสมหะหรือดูดเสมหะออก ลดอาการบวมของทางเดินหายใจ ในบางรายอาจต้องทำการพ่นยาเพื่อขยายหลอดลม อาจต้องและใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจหากพบว่ามีภาวะออกซิเจนต่ำหรือระบบหายใจล้มเหลว เป็นต้น 

    ภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อ RSV

    การติดเชื้อ RSV ในเด็กเล็ก อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบระยะยาวได้ เช่น โรคปอดบวมหรือหลอดลมฝอยอักเสบ ทำให้เกิดการอุดตันของระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อในหูชั้นกลาง โรคหอบหืด เด็กที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อ RSV รุนแรงมีความเสี่ยงระยะยาวในการพัฒนาเป็นโรคหอบหืดได้ ในบางรายอาจทำให้หัวใจลมเหลวเฉียบพลันและเสียชีวิตได้ค่ะ

    การป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

    เนื่องจาก RSV สามารถแพร่กระจายได้ง่ายโดยการสัมผัส และในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส RSV แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสได้ดังนี้

    • คุณพ่อคุณแม่ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสทารก
    • การสอนให้ลูกล้างมือให้สะอาดก่อน-หลังรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
    • รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย สิ่งของเครื่องใช้และของเล่นให้สะอาด 
    • หลีกเลี่ยงการการพาลูกน้อยไปยังที่แออัดในช่วงที่มีระบาดของเชื้อไวรัส
    • หากมีความจำเป็นต้องพาลูกไปสถานที่ชุมชน เช่น โรงพยาบาล ควรสวนใส่หน้ากากอนามัย
    • หากลูกป่วยเป็นหวัด ควรพักรักษาตัวให้หายก่อนไปโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น
    • หากผู้ปกครองเป็นหวัดควรหลีกเลี่ยงการกอดและจูบลูกจนกว่าจะหายดี
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และการพักผ่อนให้เพียงพอ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • แชร์ประสบการณ์ลูกติดเชื้อไวรัส RSV

    แชร์ประสบการณ์ลูกติดเชื้อไวรัส RSV

    แชร์ประสบการณ์ลูกติดเชื้อไวรัส RSV
    สวัสดีค่ะ
    วันนี้ขอแชร์เรื่องราวของคุณแม่ท่านหนึ่งกับลูกน้อยวัยซนป่วยเป็น RSV ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล 7 วัน 6 คืน พร้อมกับค่าใช้จ่ายทั้งหมด 8 หมื่นกว่าบาทค่ะ ก่อนที่จะไปอ่านเรื่องราวของคุณแม่กับลูกวัยซนแอดมินขอพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจกับโรค RSV ภัยร้ายใกล้ตัวเด็กค่ะ

    RSV ในเด็ก เป็นการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจมักเกิดในเด็กเล็กๆอายุต่ำกว่า 3 ปี พบการระบาดได้บ่อยในช่วงฤดูฝนหรือช่วงปลายฝนต้นหนาวค่ะ สามารถติดต่อกันผ่านสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลายจากการไอ จาม หรือการสัมผัสสิ่งของปนเปื้อนเชื้อไวรัสโดยที่เด็กๆมักนำเข้าปากค่ะ RSVมีระยะฟักตัวประมาณ 5 วัน โดยในช่วงแรกจะมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล เป็นต้น หลังจากนั้นส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ฯลฯ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการว่าลูกอาจได้รับเชื้อไวรัส RSV เช่น ไข้สูง หายใจเร็วแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงครืดคราด มีเสียงหวีดในปอด ไข้โขลกๆ มีเสมหะในลำคอมากๆค่ะ ในส่วนของการรักษา ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรค RSV โดยตรง ดังนั้นจะการรักษาตามอาการ เช่น ทานยาลดไข้ ยาลดเสมหะหรือดูดเสมหะออก ในบางรายอาจต้องทำการพ่นยาเพื่อขยายหลอดลม เป็นต้น หากมีการติดเชื้อไวรัส RSV ต้องรักษาติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาะวะแทรกซ้อนอื่นๆซึ่งหากมีอาการรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ

    วันนี้จะมาบอกเล่าเกี่ยวกับอาการ RSV การเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล 7 วัน 6 คืน ลูกน้อยวัยซน ซึ่งคุณแม่ joyjung_pomkung ได้เล่าไว้ดังนี้

    ย้อนไปเมื่อวันที่ 3/11/16
    ลูกชายเราได้มีอาการไอตอนกลางคืนค่ะ และตอนกลางคืนหายใจครืดคราด คือใจเรานี่คิดไปแล้ว มันต้องใช่ ต้องใช่แน่ๆ และตั้งใจว่าเช้าปุ๊บจะพาลูกชายไปหาหมอทันที พอรุ่งเช้าลูกก็ไอน้อยลง แล้วก็เหมือนจะไม่เป็นอะไรด้วยค่ะ แต่เราไม่นิ่งนอนใจค่ะ พาไปโรงพยาบาลเลยค่ะ

    เช้าวันที่ 4/11/16
    ทุกครั้งเราจะไปโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียนนะคะ เพราะเราคลอดลูกที่นี่ และประทับใจทีมหมอและพยาบาลที่นี่ วันนี้หมอประจำยังไม่ลง เราเลยขอพบหมอกฤต ซึ่งเป็นคุณหมอท่านหนึ่งที่มีคนไข้เยอะนะคะ หมอพูดจาดีเป็นกันเอง ของเล่นเยอะ และเป็นหมอรุ่นใหม่ แต่พอตรวจจริง ลูกหายใจเคลียร์ ออกซิเจนปกติ น้ำมูกไม่มี ไข้ไม่มี จบข่าว หมอลงความเห็นว่าเป็นหวัดปกติก่อน ใจเราก็อยากรู้ว่าลูกจะเป็นมั้ย หมอเลยบอกว่าถ้าอยากรู้ต้องหยอดน้ำเกลือแล้วดูดน้ำมูกออกมา แต่ลูกจะร้องนะ จะทรมานลูกทำไม หมอว่ารอดูอาการไปก่อนดีกว่า เพราะถ้าเกิดเป็นRSV จริงๆก็ต้องรักษาตามอาการ เพราะมันก็ไม่มียาที่รักษาเฉพาะได้ เราก็เลยคิดว่าก็จริงอย่างที่หมอบอก หมอบอกว่าให้คุณแม่ดูอาการครับ ถ้าลูกไข้สูงมาก กินยาก็ไม่ลงแบบนี้รีบพามาด่วน หรือถ้าลูกไอแล้วอาเจียน ถี่ๆแบบนี้ใช่แน่นอน รีบมาด่วนเลย อาการแบบนี้ต้องแอดมิท เราเลยกลับบ้านมารอดูอาการค่ะ ตกคืนนั้น ลูกนอนปกติ มีครืดคราดตอนกลางคืนบ้าง แต่ก็ไม่มีอะไร เราภาวนาอย่างเดียวขอให้เป็นหวัดปกติ และแล้ว วันรุ่งขึ้นก็มาถึง

    วันที่ 6/11/16
    อาการลูกชายเริ่มมีไข้อ่อนๆ แต่ลูกก็ยังคึกคักอารมณ์ดีกินข้าวกินนมได้ แต่พอช่วงบ่ายหลังจากตื่น ลูกเล่นกับพ่อเค้าแล้วเราสังเกตเหมือนอกเค้าบุ๋มๆแล้วตอนเค้าเดินไปมาเหมือนเค้าหอบเลย คือมันจะใช่ ใช่มั้ย คือในระหว่างที่ลูกชายมีอาการข้างต้น ก็สอบถามคนนั้นคนนี้ที่ลูกมีประสบการณ์เป็นRSV แต่อาการก็ไม่เห็นจะตรงกับลูกเราเลย ไม่รอช้า รีบไปหาหมอเลย เก็บกระเป๋าด่วน ไปหาคุณหมอที่ปีที่แล้วลูกเป็นเหอแปงไจน่า แล้วเราประทับใจ นั่นก็คือคุณหมอนารา
    คุณหมอนาราจะค่อนข้างใส่ใจรายละเอียดคนไข้ ถามอาการเบื้องต้น เริ่มมีอาการกี่วันแบะจดรายละเอียดทุกอย่างไว้หมด ตอนมาถึงวัดไข้ ไข้สูง39 นี่ขนาดกินยาลดไข้แล้วนะ ค่าออกซิเจนต่ำมากจนเครื่องร้อง ลูกชายโดนจับเช็ดตัวและพ่นยาด่วน และโดนแอดมิท ให้ยาฆ่าเชื้อทางสายน้ำเกลือ น่าสงสารจังเลยเจ้าลูกชายตัวแสบ
    ตอนนี้เชื้อมันเล่นงานปอดลูกเราเรียบร้อยแล้ว เกาะรอบปอดเลย ต้องเคาะปอดดูดเสมหะ โอ๊ยยยย…..สงสารลูกแทบขาดใจ ฮือออออออ เชื้อบ้าบอ…เกลียดมัน นั่งหาอ่านข้อมูลไปเรื่อย แล้วก็นั่งย้อนกลับไป ลูกเราน่าจะติดจากที่ไหน อ๋อ…นึกออกแล้ว น่าจะติดจากเพลย์กรุ๊ปแน่นอน พาน้องไป แล้วมีเพื่อนในคลาสไอใส่ ตอนนั้นคิดอยู่ว่าอย่าเป็นRSVนะ….ต้องใช่ มันต้องใช่แน่ๆ เพราะปกติเลี้ยงลูกอยู่บ้านตลอด ไม่ค่อยพาไปที่เสี่ยงๆ ฮือ…… ไม่น่าเลย ลางสังหรณ์วันนั้น….มันเป็นเรื่องจริง
    อาการลูกเรา น้ำมูกแห้งมาก ไม่ไอ แต่คอแดง มีเสมหะมาก มีไข้สูงต้องให้ยาทุก 4 ชม. พ่นยาวันละ 4 รอบ เคาะปอดเช้าและบ่าย วันละ 2 รอบ ลูกเริ่มกินน้อยลง โชคดียังดูดนมดีเรายังให้นมลูกค่ะ

    แชร์ประสบการณ์ลูกติดเชื้อไวรัส RSV

    7/11/59
    อาการ RSV วันที่3 ลูกชายยังมีไข้ต้องให้ยาลดไข้และเช็ดตัว เคาะปอดวันละ 2 รอบ คุณหมอบอกว่าเสมหะเยอะมาก กลัวจะท่วมปอดถ้ากลับบ้าน รอดูผลรายวันเอาละกัน กลับบ้านยังอันตรายมาก…. ตอนนี้ลูกชายริ่มคุ้นเคยกับพยาบาลบ้างแล้ว แต่ก็กลัวอยู่ดี ตอนพ่นยาไม่ค่อยร้องแล้ว พยาบาลบอกว่าตอนเคาะปอดก็ร้องน้อยลง คงปรับตัวได้แล้ว ร้องไปก็ไม่ช่วยอะไร ที่นี่มีแว่นวางไว้บนหัวนอนด้วย ลูกชายเราใส่ตอนไปเคาะปอด พ่นยาตลอด

    8/11/59
    อาการวันนี้ วันนี้ไม่มีไข้แล้ว แต่เริ่มไอมากขึ้น เคาะปอดยังเสมหะเยอะมาก คงต้องนอนต่ออีกสองคืน…ลูกชายพูดทุกวันม๊าเก็บกระเป๋า กลับบ้านนะ….สงสารลูกจับใจ วันนี้กินได้มากขึ้น ขอกินขนมปังกับนม….ก็ยังดีที่พอจะกินได้บ้าง

    9/11/59
    RSV อาการวันนี้ แทบจะไม่ไอเลย น้ำมูกก็ไม่มี แต่เสมหะเยอะมาก….เชื้อบ้าบออะไรนะ สงสารลูก….จะได้กลับบ้านวันไหน….แต่ทุกวันลูกชายยังร่าเริงแรงเยอะ…และกินบ้างไม่กินบ้าง แต่โดยรวมถือว่าดี ซึ่งอาการนี่ต้องดูรายวันกันเลยทีเดียว

    10/11/59
    อาการRSV วันนี้สรุปต้องนอนต่ออีกหนึ่งคืน เพราะเมื่อคืนมีไข้เพิ่มขึ้นมาอีก วันนี้คุณหมอมาเยี่ยมแล้วบอกว่าเธอเป็นเยอะมากเลยนะ ไม่รู้ญาติผู้ใหญ่ที่บ้านเป็นเกี่ยวกับภูมิแพ้มั้ย…. และเราตอบไปว่า “ยายทวดเป็นหอบหืดค่ะ ” เจอแล้ว เพราะแบบนี้ลูกชายเลยเป็นเยอะ เพราะวันมาลูกชายหอบด้วย ค่าออกซิเจนต่ำ เสมหะเลยรุมปอดกันมากมาย แต่โดยรวมลูกชายยังสดใส แรงเยอะ แรงม้า พลังช้างมาก ตอนพ่นยานึกว่าหลายวันจะพ่นง่าย ที่ไหนได้ตอนนี้ฟาดงวงฟาดงา….เด็กแค่ไม่ถึง2ขวบ แต่ผู้ใหญ่ 3 คนจับแทบไม่อยู่ แต่มีวิธีที่ทำให้ลูกสงบคือแม่ต้องหลบไปซ่อน แล้วเธอจะอ่อนแรงลง

    11/11/59
    ในที่สุดวันนี้ก็ได้กลับบ้านค่ะ ก่อนกลับคุณหมอให้เคาะปอดดูดเสมหะ และพ่นยาก่อนกลับ ลูกชายให้น้ำเกลือและยาฆ่าเชื้อหมดน้ำเกลือไป 4 ถุงค่ะ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดหมดไป 80,000 กว่าบาท ใช้ประกันสุขภาพของบริษัทสามี ประกันจ่ายบางส่วนก็จ่ายส่วนต่างหลักหมื่นนะคะ คือเป็นพนักงานบริษัทเงินเดือนก็ไม่ได้มากมาย หลักหมื่นที่ก็สะเทือนในมากแล้วค่ะ ถ้าจ่ายทั้งหมดต้องตายแน่ๆค่ะ
    ต้องขอบคุณพยาบาล คุณหมอที่ใส่ใจไข้ เรียกปุ๊บมาปั๊บ บริการมีระดับประทับใจจริงๆค่ะ และตอนนี้กลับมาพักรักษาตัวที่บ้าน จนถึงวันนี้ลูกชายยังเสียงแหบเป็นเป็ดอยู่เลยค่ะ ส่วนเราเองก็ยังไม่หายดี ไปไหนก็ใส่หน้ากากป้องกันกันไปค่ะ ยังไงก็เป็นกำลังใจให้แม่ๆพ่อๆทุกท่านสู้ๆๆๆนะคะ เวลาลูกป่วยเหนื่อยกายและเหนื่อยใจจริงๆค่ะ

    ทางเราต้องขอขอบคุณ คุณแม่ที่มาแชร์ประสบการณ์ให้คุณพ่อคุณแม่ท่านอื่นๆได้ทราบด้วยค่ะ เพราะลูกคือดวงใจของคุณพ่คุณแม่แม้เจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยมักจะสร้างความกังวลใจมากมายให้กับคุณพ่อคุณแม่ จะดีกว่ามั้ยหากการทำประกันสุขภาพให้กับลูกเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายกรณีที่ลูกเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคร้ายที่พบบ่อยในเด็กและต้องนอนรักษาที่โรงพยาบาลค่ะ เพราะเราคาดเดาไม่ได้ค่ะ แอดมินขอเป็นกำลังใจให้เด็กๆที่กำลังป่วยหายไวๆ และกลับมาสุขภาพแข็งแรงเหมือนเดิมนะคะ

    ขอขอบคุณเรื่องราวของคุณแม่ joyjung_pomkung

  • ลูกป่วย  RSV ทำประกันสุขภาพได้ไหม

    ลูกป่วย RSV ทำประกันสุขภาพได้ไหม

    สวัสดีค่ะ
    เนื่องจากมีคุณพ่อคุณแม่ถามเข้ามาหลายท่านเกี่ยวกับการเลือกทำประกันสุขภาพที่คุ้มครองโรค RSV ของลูกๆเยอะมาก บทความนี้เราได้รวบรวมคำถาม-ตอบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค RSV ในเด็กกันก่อนนะคะ

    โรค RSV เกิดจาการติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) พบมากและเจริญเติบโตได้ดีช่วงที่มีอากาศชื้น เชื้อไวรัสนี้ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และแพร่กระจายง่ายโดยผ่านการไอ จาม การสัมผัสสารคัดหลั่ง สิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส โรคนี้พบได้ในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเด็กเล็กสามารถรับเชื้อไวรัสได้ตั้งแต่แรกเกิดและเป็นช่วงวัยที่มักเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ อาการเบื้องต้นของโรคจะมีอาการคล้ายโรคไข้หวัดทั่วไป คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ไอ จาม น้ำมูกไหล เป็นต้น ข้อสังเกตเมื่อลูกมีการติดเชื้อที่รุนแรง โดยเชื้อไวรัส RSV แพร่กระจายไปยังทางเดินหายใจส่วนล่างและทำให้เกิดโรคปอดบวมหรือโรคหลอดลมอักเสบ มักพบอาการดังนี้ มีไข้ ไอมากจนเหนื่อยหรือไอคล้ายเสียงสุนัขเห่า หายใจลำบาก หายใจเร็วกว่าปกติ หรือหอบเหนื่อยเวลาหายใจ เบื่ออาหาร เซื่องซึม ฯลฯ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกพบแพทย์ทันที เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยของโรคที่ถูกต้องและรับการรักษาที่ทันท่วงทีค่ะ

    การรักษาโรค RSV จะเป็นการรักษาตามอาการ เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนป้องกันและไม่มียารักษาโรคนี้โดยเฉพาะค่ะ ซึ่งในกรณีที่ติดเชื้อไม่รุนแรงโดยทั่วไปจะหายเป็นปกติได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ หากพบว่ามรอาการรุนแรงหรือในผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดค่ะ ด้วยค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูงจึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านมองหาประกันสุขภาพให้กับลูกน้อยค่ะ

    คำถามที่พบบ่อย

    รวมคำถาม-ตอบที่คุณพ่อคุณแม่สอบถามเข้ามาค่ะ

    ถาม : สวัสดีค่ะ เนื่องจากช่วงนี้เด็กๆเป็น RSV กันเยอะ อยากทำประกันให้ลูกค่ะ แต่ไม่มีความรู้เรื่องประกันเลยค่ะ และได้หาข้อมูลมาบ้างแล้วนิดนึงค่ะซึ่งจะมี “ประกันหลัก” กับ “ประกันเสริม” คืออะไรคะ ?

    ตอบ : แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
    ประกันหลัก หรือที่เรียกว่าประกันชีวิตค่ะ จะได้ทุนประกันชีวิตกรณีเสียชีวิตด้วยสาเหตุใดก็ตามหรือครบกำหนดสัญญาค่ะ
    ประกันเสริม หรือที่เรียกว่าประกันสุขภาพค่ะ เบิกจ่ายตามการรักษาจริงเวลาเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล และค่าชดเชยในกรณีที่เข้าโรงพยาบาลค่ะ
    หมายเหตุ : เงื่อนไขจะเป็นไปตามประกันนั้นๆค่ะ

    ถาม : ตอนนี้ลูกสาว 6 เดือนแล้วค่ะ ควรเลือกประกันแบบไหนดีคะ อยากได้ประกันที่เสียเบี้ยไม่เกิน 15,000 บาทต่อปีค่ะ ?

    ตอบ : เนื่องจากโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ หรือโรค RSV สำหรับเด็กเล็กที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงค่ะ ถ้าหากคุณแม่เลือกทำประกันวงเงินไม่เพียงพอหรือไม่ครอบคลุม เมื่อลูกป่วยอาจเจอกับค่าใช้จ่ายอื่นๆนอกเหนือจากประกันเพิ่มเติมค่ะ เช่น ค่าห้องในโรงพยาบาลประจำที่เข้ารับการรักษา ฯลฯ ดังนั้นควรตรวจสอบรายละเอียดก่อนการทำประกันให้ครบถ้วนค่ะ
    หมายเหตุ : โรคนี้ส่วนใหญ่หายได้เอง และมักพบอาการไม่รุนแรง หลายๆคนไม่ได้จำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และสามารถใช้สิทธิการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐได้ค่ะ

    ถาม : ควรเริ่มทำประกันให้กับลูกตอนอายุเท่าไรคะ ?

    ตอบ : การเริ่มทำประกัน คุณแม่ควรเริ่มทำตั้งแต่ลูกยังไม่ป่วยนะคะ อย่ารอให้เป็นก่อนถึงคิดทำประกันค่ะ ถ้าหากมีประวัติการป่วยบ่อย โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคร้ายแรง ฯลฯ ส่วนใหญ่แล้วทางประกันจะไม่คุ้มครองหรือเพิ่มเบี้ยประกันขึ้น 50% ในโรคที่เด็กเคยป่วยหรือมีความเสี่ยงค่ะ

    ถาม : ควรเลือกประกันของบริษัทอะไรดีคะ ?

    ตอบ : วิธีการเลือกซื้อประกันสุขภาพให้ลูก คุณแม่ต้องพิจารณาหลายๆปัจจัยค่ะ เช่น

    • เลือกชนิดของประกัน โดยหลักๆจะมีประกันสุขภาพแบบไม่ได้รับเงินกลับคืน แต่ได้การคุ้มครองแบบสุดคุ้ม และประกันสุขภาพแบบสะสมทรัพย์ ที่จะได้รับเงินคืนเป็นเงินก้อนเมื่อครบตามระยะเวลาที่กำหนดค่ะ
    • เลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ และอย่าลืมเปรียบเทียบประกันค่ะ ศึกษารายละเอียดของกรมธรรม์ให้ดีค่ะ เพื่อให้ได้ประกันสุขภาพเด็กที่มีราคาถูกและตรงกับความต้องการมากที่สุด รวมถึงการเลือกตัวแทนของประกันร่วมด้วยค่ะ
    • การเลือกเบี้ยประกันเหมาะสมกับรายได้ เนื่องจากประกันสุขภาพเป็นการส่งเบี้ยระยะยาว ดังนั้นคุณแม่เลือกจ่ายเบี้ยประกันที่ไม่เกินจากงบที่ตั้งไว้ค่ะ

    ถาม : ลูกเคยเข้ารับการรักษา RSV ทำประกันได้ไหมคะ ซึ่งคุณหมอบอกว่าถ้ามีประวัติการป่วยของโรคนี้ ทางบริษัทประกันจะไม่คุ้มครองเรื่องโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจค่ะ ?

    ตอบ : สามารถทำประกันได้ค่ะคุณแม่ แต่จะไม่คุ้มครองโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจค่ะ เนื่องจากเด็กที่เคยเข้ารับการรักษาโรค RSV จะป่วยค่อนข้างบ่อย จึงเป็นสาเหตุให้ไม่มีการคุ้มครองในโรคดังกล่าวค่ะ

    จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น และในปัจจุบันนี้มีเชื้อโรค ไวรัส หรือแบคทีเรียหลากหลายและมีการพัฒนากลายสายพันธ์ของโรคต่างๆ ทำให้เด็กๆมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในเด็กเล็กยและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆยังไม่สมบูรณ์ค่ะ ดังนั้นการเลือกทำประกันสุขภาพจึงมีความจำเป็นมาก นับเป็นสิ่งที่สามารถช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายในยามที่ลูกน้อยต้องนอนโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดีค่ะ เนื่องจากการรักษาในแต่ละครั้งของหลายๆโรคมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงค่ะ

  • โรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    โรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    โรคหลอดลมอักเสบในเด็กกลุ่มที่ได้รับความนิยมในหมู่เด็กหลายคนที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ บทความที่เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคหลอดลมอักเสบค่ะ

    โรคหลอดลมอักเสบ

    โรคหลอดลมอักเสบ

    คือโรคที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลมซึ่งเป็นท่อที่นำลม หรืออากาศที่หายใจเข้าสู่ปอด เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่งของเด็กค่ะ อาการโดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกับการเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ ไอและมีเสมหะ เจ็บคอ แสบคอ หรือเจ็บหน้าอกได้ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก หรืออาจหายใจมีเสียงดังหวีดได้ และอาจมีไข้ร่วมด้วย โรคหลอดลมอักเสบในเด็กโดยทั่วไปแล้วไม่มีความรุนแรงสามารถรักษาให้หายได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลให้ถูกวิธีอาจส่งผลให้ลุกลามไปเป็นปอดอักเสบ หรือปอดบวมในเด็กที่มีความรุนแรงได้ค่ะ หากมีอาการไข้สูงไม่ลดลงภายใน 48 ชั่วโมง ภายหลังกินยาลดไข้ มีอาการไอมาก ซึม เพลีย และมีอาการอาเจียน หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ควรรีบนำเด็กไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

    สาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก 

    สาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก 

    มีดังต่อไปนี้

    • เชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ ไวรัสโรคหัด ไวรัสRSV ซึ่งสาเหตุจากเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุพบบ่อยที่สุด
    • เชื้อแบคทีเรีย เช่น มัยโคพลาสมา หรือ คลามัยเดีย เชื้อโรคไอกรน ฯลฯ
    • การแพ้หรือระคายเคืองต่อสารบางอย่างที่สูดดมเข้าไป จนทำให้หลอดลมเกิดการอักเสบ เช่น ควันบุหรี่ เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง เป็นต้น

    การรักษาและการดูแลโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    การรักษาและการดูแลโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    การรักษาโรคนี้ส่วนมากจะรักษาตามอาการค่ะ เนื่องจากว่าโรคหลอดลมอักเสบนั้นเกิดขึ้นจากไวรัสเกือบทั้งหมด จึงไม่มียาที่จำเพาะสำหรับการรักษา เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากเชื้อไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ ที่จะมียาต้านทานไวรัสไข้หวัดใหญ่รักษาได้ค่ะ ในระยะแรกคุณหมออาจใช้วิธีพ่นยา ทานยาละลายเสมหะ และยาขยายหลอดลม หรือยาฆ่าเชื้อจนกว่าอาการจะดีขึ้นค่ะ และคุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกด้วยการให้ลูกพักผ่อนให้มากๆ ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ เพราะน้ำเป็นยาละลายเสมหะที่ดีที่สุด หลีกเลี่ยงการทานของเย็น รวมถึงการเลี่ยงอากาศที่เย็นโดยเฉพาะแอร์และพัดลมไม่ควรเป่าจ่อตัวลูกโดยตรงและควรห่มผ้าให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายค่ะ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ค่ะ

    การป้องกันโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    การป้องกันโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบางโรค เช่น โรคหัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไอกรน ฯลฯ เนื่องจากโรคเหล่านี้อยู่ในกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีผลให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบได้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้เด็กรู้จักการรักษาความสะอาดและสุขอนามัยพื้นฐาน เช่น การล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ก่อนและหลังการรับประทานอาหาร/หลังจากการเข้าห้องน้ำ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย การปิดปากปิดจมูกเวลาไอหรือจาม เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นค่ะ รวมถึงการพักผ่อนที่เพียงพอ ในระหว่างวันควรดื่มน้ำให้มากๆ รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และการออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคมากยิ่งขึ้นค่ะ นอกจากนี้ คุณพ่อและคุณแม่ควรใส่ใจดูแลในเรื่องสุขภาพของลูกอีด้วยค่ะ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงห่างไกลโรคต่างๆและยังทำให้ลูกมีชีวิตที่มีความสุขพัฒนาการสมวัยอีกด้วยค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง