โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung’s Disease)
โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด โรคที่เป็นความผิดกติของลำไส้ใหญ่พบบ่อยในเด็กทารกแรกเกิด โดยพบในเด็กเพศชายมากกว่าเด็กผู้หญิงค่ะ และเป็นภาวะที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหากปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ค่ะ โรคลำไส้โป่งพองคืออะไร โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung’s Disease) เป็นความปกติแต่กำเนิดที่เซลล์ประสาทขาดหายไปจากส่วนท้ายของลำไส้ โดยปกติหลอดอาหารกระเพาะอาหารลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่มีเซลล์ประสาทที่ควบคุมเกือบทุกอย่างของลำไส้ เซลล์ประสาทเหล่านี้ควบคุมกล้ามเนื้อที่เคลื่อนย้ายอาหารและของเสียหรืออุจจาระผ่านลำไส้ใหญ่ ซึ่งลำไส้ใหญ่เป็นส่วนสุดท้ายของทางเดินอาหาร โดยทารกที่เป็นโรคลำไส้โป่งพองจะขาดเซลล์ประสาทในลำไส้ใหญ่ทั้งหมดหรือบางส่วน และหากไม่มีเซลล์ประสาทเหล่านี้กล้ามเนื้อจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายอาหารและของเสียผ่านลำไส้ได้ สิ่งเหล่านั้นจะตกค้างอยู่ในลำไส้เกิดการอุดตันและเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องผูก ท้องบวม ปวดท้องและอาจนำไปสู่การติดเชื้อรุนแรงได้ค่ะ โรคลำไส้โป่งพองเกิดจากอะไร โรคลำไส้โป่งพอง (Hirschsprung’s Disease) เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาทในลำไส้ใหญ่ไม่สมบูรณ์ เส้นประสาทในลำไส้ใหญ่ไม่สามารถควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เคลื่อนอาหารและของเสียผ่านลำไส้ ทำให้เกิดการอุดตันและโป่งพองออกมาค่ะ อาการของลำไส้โป่งพองเป็นอย่างไร ลำไส้โป่งพองอาการจะแตกต่างกันไปตามอายุ โดยทารกส่วนใหญ่จะมีอาการในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด อาการที่พบบ่อยในทารก ได้แก่ ความล้มเหลวในการเคลื่อนไหวของลำไส้ใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด มีไข้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการอาเจียน ท้องผูก เป็นต้น ในกรณีเด็กโตอาการเริ่มแรกอาจมีอาการดังต่อไปนี้ การเจริญเติบโตล่าช้า เบื่ออาหาร อุจจาระขนาดเล็กหรือเป็นน้ำและมีเลือดปน อาการท้องผูกที่แย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปค่ะ การรักษาโรคลำไส้โป่งพอง การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการอายุ สุขภาพโดยทั่วไปและความรุนแรงของภาวะลำไส้โป่งพองในเด็ก ซึ่งรักษาด้วยการผ่าตัดเอาลำไส้ส่วนที่ไม่มีเซลล์ปมประสาทออก และดึงลำไส้ส่วนที่ปกติมาต่อบริเวณทวารหนักค่ะ ปัจจุบันสามารถผ่าตัดได้ตั้งแต่แรกเกิดค่ะ ภาวะแทรกซ้อนของโรค โรคลำไส้โป่งพองตั้งแต่กำเนิดหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งหมายความว่าอาหารและอุจจาระที่ย่อยแล้วไม่สามารถเคลื่อนไปได้ […]