เด็กเดินเท้าเปล่าเสี่ยง พยาธิไชผิวหนัง
เดินเท้าระวังพยาธิชอนไชผิวหนัง หลายๆท่านคงสังสัยว่าพยาธิไชผิวหนังได้จริงหรือไม่ และเป็นอันตรายหรือไม่ รวมถึงจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร วันนี้เราจะพามาหาคำตอบจากในบทความนี้กันค่ะ โรคพยาธิชอนไชผิวหนังคืออะไร โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง (Cutaneous larva migrans) คือโรคผิวหนังที่เกิดจากตัวอ่อนของพยาธิที่ชอนไชเข้าสู่ผิวหนัง โดยมักเกิดจากพยาธิปากขอที่พบในสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข แมว แพะ แกะ ม้า สุกร วัว ควาย หรือพยาธิเส้นด้ายของสัตว์ แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือจากสุนัขและแมวโดยตัวอ่อนพยาธิอาศัยอยู่ในดิน จะไชเข้าไปทางผิวหนังผ่านทางรอยแผลหรือรูขุมขนชั้นหนังกำพร้า ทำให้เกิดผื่นมีลักษณะเป็นเส้นนูนสีแดงคดเคี้ยวใต้ผิวหนังตามการเคลื่อนที่ของพยาธิ แต่ด้วยคนไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ตัวอ่อนพยาธิเจริญเติบโตได้ จึงเคลื่อนตัวไปตามเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังจนในที่สุดพยาธินั้นจะตายไปเองใน 2-4 สัปดาห์ค่ะ โรคนี้พบมากในภูมิภาคร้อนชื้น เช่น ทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทวีปอาฟริกา ทวีปอเมริกาใต้ เป็นต้น สาเหตุของโรคพยาธิชอนไชผิวหนัง พยาธิชอนไชผิวหนัง เกิดจากพยาธิตัวอ่อนที่อาศัยอยู่ตามพื้นดินชื้นแฉะและไชเข้าผิวหนังของเด็กในส่วนที่สัมผัสกับพื้นดินหรือพื้นทรายโดยตรง เช่น มือ เท้า ฯลฯ จาการเดินเท้าเปล่าหรืออาจจะติดตามตัวทาก หรือบริเวณก้นในเด็กที่นั่งเล่นตามพื้นดินหรือพื้นทรายที่มีตัวอ่อนของพยาธิ เนื่องจากพยาธิสามารถไชผ่านเสื้อผ้าบางๆได้ ลักษณะของพยาธิชอนไชผิวหนัง เมื่อพยาธิไชเข้าสู่ผิวหนัง ในช่วงแรกจะเกิดตุ่มเล็กๆสีเด็ก เมื่อพยาธิเคลื่อนที่หรือไชไปตามเนื้อเยื่อผิวหนังจะเป็นลักษณะเส้นนูนแดงเป็นทางคดงอประมาณ 2-3 มิลลิเมตร อาจยาวได้ถึง 15-20 เซนติเมตร แต่ตัวอ่อนจะไชไปตามผิวหนังได้เพียงวันละ […]