Tag: Cradle Cap

  • ไขบนหนังศีรษะทารก (Cradle Cap)

    ไขบนหนังศีรษะทารก (Cradle Cap)

    ไขบนหนังศีรษะลูกน้อย บางครั้งอาจลอกออกมาเป็นแผ่นๆ ภาวะปกติที่พบบ่อยในเด็กทารกค่ะ ดูแลอย่างไรมาดูกันเลยจ้า

    Cradle Cap คืออะไร

    Cradle Cap  ภาวะต่อมไขมันอักเสบ มีลักษณะเป็นตุ่มแดงซึ่งมีขนาดเล็กกว่าสิวกระจายเป็นแผ่นอยู่ด้านบนของหนังศีรษะของทารก ซึ่งผื่นอาจจะมีลักษณะเป็นสะเก็ดหนาหรือบางก็ได้สีเหลืองหรือน้ำตาลเข้มหรือเป็นขุยขาว หรือมักเรียกกันว่าไขบนหนังศีรษะทารก และผื่นลักษณะนี้พบได้ตามผิวหนังที่มีต่อมไขมันมากๆ เช่น หนังศีรษะ คิ้ว ใบหู รักแร้ ขาหนีบ คอ เป็นต้น และมักส่งผลให้ผมหรือขนร่วงบริเวณที่มี Cradle Cap ขึ้นแต่เมื่อผื่นดังกล่าวหายผมและขนก็จะขึ้นเป็นปกติค่ะ

    สาเหตุของไขบนหนังศีรษะ

    ไขบนหนังศีรษะไม่ใช่โรคติดต่อซึ่งมักเริ่มเกิดขึ้นเมื่อทารกอายุ 2 – 3 สัปดาห์ และยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดไขดังกล่าว แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยอาทิเช่น

    • อาจได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนของมารดาในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งกระตุ้นต่อมน้ำมันของทารก
    • ต่อมไขมันหลั่งซีบัมมากเกินความจำเป็น อย่างไรก็ตามหากต่อมอุดตันไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ร่างกายผิวหนังเข้าสู่สภาวะบล็อกตัวเอง ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดไขสีเหลืองบนหนังศีรษะค่ะ
    • ความร้อนและความชื้น ความร้อนจะทำให้ต่อมไขมันแห้งทำให้ทำงานหนักเกินไป มักเกิดผดผื่นต่างๆตามมาค่ะ
    • การติดเชื้อรา เช่น เชื้อรา Malassezia ที่มีผลต่อต่อมไขมันอาจทำให้เกิดไขบนหนังศีรษะ
    • สาเหตุอื่นๆ เช่น การล้างศีรษะของเด็กมากเกินไปจะส่งผลให้ต่อมไขมันแห้ง ผลิตภัณฑ์แชมพูบางชนิดอาจรุนแรงเกินไปสำหรับผิวบอบบางของทารก เป็นต้น

    อาการทั่วไปของ Cradle Cap

    Cradle Cap ไขบนหนังศีรษะโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นเกล็ดสีเหลืองหรือน้ำตาล หรือเป็นขุยๆสีขาวเป็นสะเก็ดเมื่อสัมผัสหรือหลุดลอกออกมา หนังศีรษะแห้งและมีตุ่มแดงนูนขึ้นผิวมันมากเกินไป ผมอาจร่วงในบริเวณที่เป็นไขและไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆเกิดขึ้นกับเด็กๆ มักพบได้บ่อยในทารกอายุ 2 – 3 สัปดาห์ ปริมาณมากหรือน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละลนและหายไปเองค่ะ

    การดูแลรักษาไขบนหนังศีรษะทารก(Cradle Cap)

    ไขบนหนังดังกล่าวมักจะหายได้เองในไม่กี่สัปดาห์หรือหลายเดือนค่ะ การดูแลรักษาหนังศีรษะของลูกน้อย เพื่อกระตุ้นการหลุดลอกของไขคุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

    • การรักษาความสะอาดของหนังศีรษะ เพื่อช่วยขจัดความน้ำมันส่วนเกินค่ะ โดยใช้วิธีการถูเบาๆหรือใช้ขนแปรงนุ่มๆแปรงเบาๆไม่ควรแกะเกานะคะ
    • คุณแม่สามารถชะโลมเบบี้ออยหรือน้ำมันมะกอกทิ้งไว้ข้ามคืนและค่อยล้างออกค่ะ
    • อาจโกนผมเพื่อง่ายในการดูแลรักษาค่ะ
    • นวดหนังศีรษะของทารก หรือแปรงหนังศีรษะของลูกน้อยด้วยแปรงขนนุ่มเป็นประจำทุกวัน
    • พยายามรักษาอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมสำหรับทารก

    สิ่งสำคัญในการดูแลเมื่อหนังศีรษะของลูกน้อยมีไขดังกล่าวคือ ห้ามแกะหรือเกา โดยเฉพาะที่หนังศีรษะแห้งค่ะ เพราะอาจส่งผลให้ผิวหนังลอกทำให้เลือดออกได้ค่ะ คุณแม่ต้องดูแลเป็นพิเศษด้วยการทำความสะอาดและรักษาสุขภาพหนังศีรษะของลูกน้อย หากผิวหนังแตกและมีเลือดออกหรือมีข้อสงสัยควรปรึกษาเพื่อหาสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้องค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง