Tag: ไวรัสโรต้า

  • 5 โรคในเด็กเล็ก ติดต่อจากการสัมผัส

    5 โรคในเด็กเล็ก ติดต่อจากการสัมผัส

    การสัมผัสจากผู้ใหญ่ด้วยความรักนั้น ในบางครั้งอาจนำเชื้อโรคมาสู่เด็กๆได้ โดยเฉพาะช่วงแรกเกิดถึงสองเดือน เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังทำงานไม่เต็มที่ประกอบกับความบอบบางของชั้นผิวหนังเด็กเล็ก ทำให้ได้รับเชื้อได้จากผู้ใหญ่โดยตรงผ่านการสัมผัสได้ง่าย รวมถึงเชื้อปนเปื้อนจากสิ่งของที่ใช้ร่วมกันได้ง่ายค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5 โรคร้ายที่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส และแสดงอาการผ่านทางผิวหนังค่ะ

    1.ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus)

    ติดเชื้อโรค RSV จากการจูบเด็ก

    ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจซึ่งอาจทำให้เป็นปอดอักเสบ โดยเฉพาะในเด็กเล็กหรือเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น ต้องระวังเป็นพิเศษเพราะอาจทำให้เกิดอาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ เชื้อไวรัสสามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่งต่างๆในร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอ จาม โดยเฉพาะการติดต่อจากการสัมผัสค่ะ รวมทั้งไม่มียาสำหรับรักษาโดยเฉพาะดังนั้นวิธีการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเท้านั้นและไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้

    2.โรค 4 เอส (SSSS : Staphylococcal Scalded Skin Syndrome)

    โรค 4S หรือ โรคssss ในเด็ก

    โรค 4 เอส หรือ ssss เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียทางผิวหนังผ่านการสัมผัส มักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคนี้ก่อให้เกิดการอักเสบและแยกชั้นของผิวหนังบริเวณหนังกำพร้า ในเด็กที่ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อาการจะแสดงออกอย่างรวดเร็ว ได้แก่ มีไข้ ร้องไห้งอแง เนื่องจากรุ้สึกไม่สบายตัว จากนั้นผื่นแดงเริ่มขึ้นกระจายไปทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณตา รอบปาก รอบคอ เยื่อบุจมูก และมีอาการเจ็บเมื่อสัมผัสบริเวณผื่นแดง หลังจากผื่นแดงนี้ขึ้นประมาณ 1 – 2 วัน ผิวที่แดงจะค่อยๆเป็นรอยเหี่ยวย่นหรือพองเป็นตุ่มน้ำโดยเฉพาะบริเวณข้อพับต่างๆ และผิวหนังจะค่อยๆหลุดลอกเป็นแผ่นเป็นขุยคล้ายผิวถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ ซึ่งต้องได้รับการรักษาและคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่นนั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อบริเวณแผลที่เกิดขึ้นค่ะ

    3.เริม (Herpes)

    โรคเริมในเด็ก

    โรคเริม เป็นกลุ่มโรคในเด็กเล็กที่มีความรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้เลยค่ะ โรคเริมในเด็กแรกเกิดมักเกิดจากการติดเชื้อในช่วงระหว่างการคลอดทางช่องคลอด ถ้าขณะคลอดมารดาติดเชื้อนี้ที่อวัยวะเพศ ส่วนโรคเริมในเด็กเล็กมักเกิดจากการสัมผัสกับแผลผู้ป่วย น้ำลายหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เมื่อสัมผัสใกล้ชิด การใช้สิ่งของเครื่องใช้ การทานอาหารด้วยภาชนะร่วมกัน การจูบ เป็นต้น อาการของโรคเริมมีได้หลายแบบโดยในระยะแรกของการติดเชื้อเด็กจะมีอาการซึม มีไข้ ไม่กินนม มีตุ่มน้ำใสที่ผิวหนังหรือแผลในปาก ฯลฯ และในรายที่มีการติดเชื้อแบบแพร่กระจาย ซึ่งเด็กจะมีความไวต่อการกระตุ้น หายใจลำบาก การชักได้ค่ะ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาท หรือมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ นอกจากนี้โรคเริมยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคโยเฉพาะค่ะ

    4.ไวรัสโรต้า (ROTAVIRUS)

    ไวรัสโรต้า ท้องร่วงรุนแรงในเด็ก

    โรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า (ROTAVIRUS) เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อทางเดินอาหารหรือโรคอุจจาระร่วง พบบ่อยมากในเด็ก แพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วเนื่องจากเชื้อชนิดนี้ทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกายคนได้นาน และเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหารหรือการดื่มน้ำ หรือสิ่งของที่นำเข้าปากมีการปนเปื้อนเชื้อ ในทารกและมักมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ โดยเด็กที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้มักมีอาการดังนี้ มีไข้สูง อาเจียนบ่อย ท้องเสียรุนแรงนานกว่า 24 ชั่วโมงในบางรายอาจมีเลือดปน เซื่องซึม ภาวะขาดน้ำ(ปัสสาวะลดลงหรือไม่มีปัสสาวะ ปากแห้ง ตาโบ๋ มือเท้าเย็น ร้องไห้ไม่มีน้ำตา อ่อนเพลีย) ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเพื่อกำจัดเชื้อไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ โดยส่วนใหญ่อาการจะค่อยๆดีขึ้นและหายเป้นปกติได้เองค่ะ แต่สิ่งที่คุณแม่ควรระวังคือภาวะขาดน้ำซึ่งอาจทำให้เด็กช็อกหมดสติหรือเสียชีวิตจากภาวะขาดน้ำได้ค่ะ

    5.โรคมือเท้าปาก (hand foot mouth disease)

    โรคมือเท้าปากในเด็ก

    โรคมือ เท้า ปาก พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส สามารถติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายและน้ำจากตุ่มใส การไอจามรดกันค่ะ โรคนี้ทำให้มีตุ่มหรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณมือ ฝ่ามือ เท้า ฝ่าเท้า และภายในปาก และสร้างความเจ็บปวดในกับเด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้ ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง จนนำไปถึงการเสียชีวิตได้ค่ะ วิธีการรักษาสำหรับโรคมือเท้าปากไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดในทันที โดยแพทย์จะรักษาตามอาการทั่วๆไปเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และโรคมือเท้าปากปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันค่ะ

    วิธีการป้องกันเด็กเล็กจากโรคติดต่อ คุณพ่อคุณแม่สามารถปฏิบัติเพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อโรคต่าางๆ รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของโรคได้ดังนี้

    • ล้างมือให้สะอาดก่อนการสัมผัสตัวเด็กทุกครั้ง
    • เด็กทารกไม่ควรให้คนอื่นๆอุ้มโดยไม่จำเป็น
    • ไม่เข้าใกล้เด็กเล็กหากรู้ว่าตัวเองป่วย
    • ไม่ควรพาเด็กเล็กไปในที่แออัดโดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโรค
    • ระวังเด็กเล็กนำสิ่งของเข้าปาก 
    • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานแก่ลูกน้อย
    • ควรเข้ารับวัคซีนตามแต่ละช่วงวัย

     

  • ไวรัสโรต้า ท้องร่วงรุนแรงในเด็ก

    ไวรัสโรต้า ท้องร่วงรุนแรงในเด็ก

    ไวรัสโรต้า ท้องร่วงรุนแรงในเด็ก
    ภาวะท้องร่วงรุนแรงในเด็ก อันตรายใกล้ตัวที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ บทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปทำความรู้จักกับไวรัสโรต้าสาเหตุทำให้เกิดโรคท้องร่วงรุนแรงในเด็ก รวมถึงการป้องกันและการดูแลลูกน้อยมาฝากค่ะ

    ไวรัสโรต้า(ROTAVIRUS) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียฉับพลันและติดต่อกันได้ง่ายผ่านการนำมือ อาหาร หรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก โดยมักพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพราะเด็กมักจะหยิบอะไรได้ก็ส่งเข้าปากทันที ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่ายดาย เชื้อไวรัสโรต้าพบการแพร่ระบาดมากในช่วงฤดูหนาวโดยเฉพาะช่วงเดือน ตุลาคม ถึง กุมพาพันธ์ แฝงตัวอยู่กับสิ่งของรอบตัวไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า อาหาร หรือของเล่น และแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว เชื้อไวรัสโรต้าทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกายคนได้นาน ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องระวังเป็นอย่างมากค่ะ

    เชื้อไวรัสโรต้าแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อชนิดนี้ทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกายคนได้นาน โดยจะเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหารหรือการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงการนำนิ้วมือที่สัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก นอกจากนี้ เชื้อไวรัสโรต้ายังสามารถปะปนไปกับอุจจาระของผู้ติดเชื้อตั้งแต่ในช่วงก่อนที่จะแสดงอาการป่วย และสามารถอาศัยอยู่ในร่างกายต่อไปได้นานถึง 10 วันหลังหายดีแล้ว บุคคลเหล่านี้จึงกลายเป็นพาหะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว

    อาการและการรักษาโรคท้องร่วงที่อาจเกิดจากไวรัสโรต้า โดยสังเกตได้ดังนี้
    ไวรัสโรตัาเมื่อได้รับเชื้อไวรัสโรตาเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัว 48 ชั่วโมง จะมีอาการท้องเสียหนักมาก ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำและถ่ายบ่อยกว่าปกติ ปวดท้องอย่างรุนแรง เด็กบางรายจะมีอาการซึม มือเท้าเย็น มีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากอุจจาระบ่อยจนอาจหมดแรงและสูญเสียน้ำในร่างกาย หรืออาเจียนร่วมด้วยไม่สามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้ มีไข้ น้ำมูกและไอเล็กน้อยคล้ายการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ อาการท้องร่วงหากอาการไม่รุนแรงจะหายได้เองใน 3 – 7 วัน แต่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง คือการเสียน้ำในร่างกายซึ่งทำให้เกิดการช็อกได้ค่ะ ควรดื่มเกลือแร่ ทานอาการอ่อนย่อยง่ายค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการหากพบภาวะอื่นร่วมด้วยหรือความผิดปกติควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

    การป้องกันไวรัสโรต้า

    1.การรักษาสุขอนามัย ซึ่งเป็นการป้องกันที่สำคัญที่สุดค่ะ
    – เด็กอายุ 6 – 12 เดือน คุณพ่อคุณแม่ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดก่อนและหลังการสัมผัส ป้อนอาหารลูกน้อย หมั่นควรทำความสะอาดของใช้เด็กเป็นประจำค่ะ
    – เด็กวัยอนุบาล ควรฝึกวินัยนิสัยสร้างสุขอนามัยที่ดี เช่น การล้างมือก่อนและหลังการหยิบของเข้าปาก เป็นต้น
    2. รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ไม่มีแมลงวันตอม
    3. หลีกเลี่ยงการพาลูกไปในที่ชุมชนหนาแน่น หรือที่ที่มีการระบาดของโรค
    4. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนก็ไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโรต้าได้ 100 % เพียงแต่ช่วยให้มีอาการท้องร่วงน้อยลงค่ะ

    นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อลูกป่วย คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดค่ะ หากพบว่าลูกมีอาการผิดปกติ เช่น ลูกไม่สามารถรับประทานอะไรได้ มีอาการซึม หรืออาเจียนบ่อยครั้ง คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบพาลูกมาพบคุณหมอทันทีค่ะ เพื่อตรวจยืนยันการวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป