Tag: ไวรัสอาร์เอสวี

  • ไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา แตกต่างกันอย่างไร

    ไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา แตกต่างกันอย่างไร

    ไวรัส RSV โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคระบาดที่มาพร้อมช่วงปลายฤดูฝนต้นหนาว เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่รุนแรงกว่ามากค่ะ หากไม่ได้รับการดูและอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในเด็กเล็กอันตรายถึงชีวิตได้เลยค่ะ ดังนั้นเราไม่ควรประมาทกับอาการป่วยของลูกถึงแม้ว่าการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีจะคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา แต่เราก็สามารถสังเกตผิดความผิดปกติได้ค่ะ ซึ่งบทความนี้จะมาพูดถึง ไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา แตกต่างกันอย่างไรค่ะ

    ไวรัส RSV คืออะไร

    ไวรัส RSV (Respiratory syncytial virus) เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจ เจริญเติบโตและแพร่กระจายได้ง่ายได้ดีช่วงที่มีอากาศชื้นหรือช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวค่ะ อาการคล้ายกับไข้หวัด เช่น มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล แต่มีความรุนแรงกว่ามากโดยเฉพาะนเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ทันท่วงทีค่ะ

    อะไรคือสาเหตุของการติดเชื้อไวรัส RSV

    การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝนและต้นฤดูหนาว ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ง่ายๆ ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆในร่างกาย เช่น ละอองน้ำลายจากการไอหรือจาม น้ำมูก เป็นต้น และเชื้อไวรัสสามารถจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้นานเป็นเวลาหลายชั่วโมงค่ะ

    ไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา แตกต่างกันอย่างไร

    โรคไข้หวัดและไวรัสอาร์เอสวี เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีอาการเบื้องต้นคล้ายกัน ได้แก่ มีไข้ คัดจมูก มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ไอแห้ง เจ็บคอ เป็นต้น แต่มีอาการบ้างอย่างที่คุณแม่สามารถสัเกตเห็นถึงความแตกต่างกันระว่างไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา ได้แก่

    อาการไวรัส RSV

    • ไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส เซื่องซึม เบื่ออาหาร
    • หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อยและหายใจลำบาก 
    • ไออย่างรุนแรง มีเสมหะข้นเหนียวมาก 
    • มีเสียงหวีดในปอด (จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว)
    • ปากหรือเล็บมีสีเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน
    • หากลูกมีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีอาการแทรกซ้อนและทรุดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หยุดหายใจเป็นช่วงๆหรือหายใจล้มเหลวได้ค่ะ

    อาการไข้หวัดธรรมดา

    • มีไข้สูง 37-39 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ
    • ไอ เจ็บคอ
    • มีน้ำหมูกไหล

    การดูแลรักษาไข้หวัด สามารถรักษาด้วยการทานยา พักผ่อนมากๆ ทานอาหารและดื่มน้ำสะอาดมากๆค่ะ

    การรักษา ไวรัส RSV

    เนื่องจาก RSV ยังไม่มียารักษาโรคติดเชื้อไวรัส RSV โดยตรง ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการหรือการประคับประคอง เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้ไอละลายเสมหะ พ่นยาขยายหลอดลม เคาะปอด ดูดเสมหะออก เป็นต้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ ในบางรายอาจต้องใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจหากพบว่ามีภาวะออกซิเจนต่ำหรือระบบหายใจล้มเหลวค่ะ

    การป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

    ไวรัส RSV สามารถติดเชื้อและแพร่กระจายได้ง่ายโดยการสัมผัส ซึ่งสามารถป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสได้ดังนี้

    • รักษาความสะอาด หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อต้องสัมผัสหรือทำอาหารให้ลูกน้อย
    • การสอนให้ลูกรักษาสุขอนามัยส่วนบุลคล การล้างมือให้สะอาดก่อน-หลังรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
    • รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย สิ่งของเครื่องใช้และของเล่นให้สะอาด 
    • หลีกเลี่ยงการการพาลูกน้อยไปยังที่แออัด โดยเฉพาะในช่วงที่มีระบาดของเชื้อไวรัส
    • หากมีความจำเป็นต้องพาลูกไปสถานที่ชุมชน เช่น โรงพยาบาล ควรสวนใส่หน้ากากอนามัย
    • หากลูกป่วยเป็นหวัด ควรพักรักษาตัวให้หายก่อนไปโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และการพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงดื่มน้ำสะอาดมากๆค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • 14 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไวรัส RSV

    14 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไวรัส RSV

    สวัสดีค่ะ บทความนี้รวบรวมคำถามที่น่าสนใจที่ที่มักถามกันบ่อยๆ เกี่ยวกับไวรัส RSV ที่คุณพ่อคุณแม่หลายๆคนสงสัยมาฝากค่ะ แต่ก่อนอื่นเรามารู้จักกับไวัสรัสชนิดนี้ในเบื้องต้นกันก่อนค่ะ ไวรัส RSV คือเขื้อไวรัสที่ก่อให้โรคในระบบทางเดินหายใจ เสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายในเด็กเล็กและสามารถทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้ ไม่มียารักษาและวัคซีนในการป้องกัน โดยอาการเบื้องต้นจะคล้ายไข้หวัดทั่วไป ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองต้องสังเกตอาการลูกน้อย หากสงสัยควรพบแพทย์ทันทีค่ะ

    1. RSV คืออะไร
    RSV หรือ Respiratory syncytial virus เป็นเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ พบได้บ่อยและเจริญเติบโตได้ดีช่วงที่มีอากาศชื้น โดยเฉพาะในช่วงปลายฝนต้นหนาวและมีอาการคล้ายกับไข้หวัดแต่มีความรุนแรงกว่ามากค่ะ

    2. ไวรัส rsv อันตรายไหม
    การติดเชื้อไวรัส rsv นั้น อันตรายถึงขึ้นเสียชีวิตได้โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากเชื้อไวรัสส่งผลต่อปอดและทางเดินหายใจค่ะ

    3. เมื่อติดเชื้อไวรัส RSV มีอาการอย่างไร
    ในช่วงแรกจะมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น มีไข้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถหายได้เอง หลังจากมีการติดเชื้ออาร์เอสวีมักจะมีอาการ ดังนี้ มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียล ไอต่อเนื่องรุนแรง หายใจหอบเหนื่อย แรงจนอกบุ๋ม มีเสียงหวีด มีเสมหะเหนียวข้น เด็กมีอาการซึม เป็นต้น ซึ่งควรรีบพบแพทย์ทันที

    4. ไวรัส RSV มีระยะฟักตัวกี่วัน
    ไวรัสอาร์เอสวีมีระยะฟักตัว 2-8 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส

    5. การตรวจหาเชื้อ RSV ทำได้อย่างไร
    การตรวจหาเชื้อ RSV ในเบื้องต้น โดยการป้ายสารคัดหลั่งน้ำมูกในจมูก เหมือนการตรวจไข้หวัดใหญ่ทั่วไป การใช้เครื่องช่วยฟังเพื่อฟังเสียงการทำงานของปอด หรือเสียงที่ผิดปกติจากส่วนอื่นๆในร่างกาย การตรวจจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว เพื่อตรวจหาไวรัส แบคทีเรีย หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เป็นต้น

    6. การรักษาผู้ป่วยทางเดินหายใจจากเชื้ออาร์เอสวีทำอย่างไร
    เนื่องจากไม่มียาสำหรับการรักษาเชื้อไวรัสนี้โดยเฉพาะ ดังนั้นการรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ยากลดไข้ ยาสำหรับขยายหลอดลมเพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น เป็นต้น

    7. การติดต่อและแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอย่างไร
    โดยทั่วไปผู้ป่วยจะแพร่เชื้อได้นาน 3-8 วัน จากการไอหรือจาม และจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง ติดต่อกันได้ง่ายจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น น้ำมูก น้ำลาย ฯลฯ โดยไวัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูก ปาก

    8. ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไวรัส RSV มีอะไรบ้าง
    การติดเชื้อไวรัส RSV อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นได้ เช่น โรคปวดบวมหรือภาวะปอดอักเสบซึ่งอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ภาวะติดเชื้อในหูส่วนกลางซึ่งเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในทารกและเด็กเล็ก โรคหอบหืด การติดเชื้อไวรัส RSV อย่างรุนแรงในเด็กอาจทำให้เด็กมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดได้ในเวลาต่อมา

    9. RSV สามารถเป็นซ้ำได้หรือไม่
    ไวรัส RSV สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ค่ะ หากร่างกายอ่อนแอโดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส

    10. หากติดเชื้อ RSV จะป่วยนานแค่ไหน
    ระยะเวลานั้นขึ้นกับว่าความรุนแรงของการติดเชื้อ โดยทั่วไปหากป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดามักหายได้เองภายใน 4 – 7 วัน แต่ถ้าหากติดเชื้อถึงทางเดินหายในส่วนล่าง ซึ่งมักส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการไอ มีเสมหะ เป็นต้น ซึ่งต้องรับการรักษาดูแลที่โรงพยาบาลในบางรายจำเป็นต้องได้รับการเคาะปอด ดูดเสมหะ เป็นระยะเวลานานถึง 2-3 สัปดาห์ค่ะ

    11. ใครสามารถป่วยจากการติดเชื้อไวรัส RSV บ้าง
    โรคทางเดินหายใจจากการติดเชื้ออาร์เอสวีนี้ สามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่พบบ่อยและอาการมักรุนแรงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

    12. ไวรัส RSV ส่งผลเสียอย่างไร
    RSV เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ อาจส่งผลเสียได้คือ อาจรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบจากการติเชื้อ ซึ่งต้องรักษาในห้องไอซียูและในบางรายอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากระบบหายใจล้มเหลวได้ค่ะ

    13. วิธีการป้องกันการติดเชื้อไวรัสทำอย่างไร
    เนื่องจากไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส RSV ควรป้องกันการแพร่กระจายและลดปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อได้ดังนี้

      • ทุกคนในบ้านควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ เพราะการล้างมื้อช่วยลดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียต่างๆที่ติดมากับมือ
      • หลีกเลี่ยงการไปในที่แออัด โดยเฉพาะช่วงที่มีแพร่ระบาดของเชื้อต่างๆ
      • หลีกเลี่ยงสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยไข้หวัดหรือปอดอักเสบ โดยเฉพาะเด็กเล็ก
      • ทำความสะอาดบ้าน รวมทั้งของเล่นลูกเป็นประจำ
      • รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำสะอาดมากๆและพักผ่อนให้เพียงพอ

    14. วิธีการลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสทำอย่างไร
    เนื่องจากไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสอาร์และยาสำหรับรักษาโดยเฉพาะ ดังนั้นควรลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสดังนี้

      • ควรปิดจมูกและปากเมื่อไอหรือจามทุกครั้ง
      • หากมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและรับเชื้ออื่นๆเข้าสู่ร่างกาย
      • หากลูกป่วยควรให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายดีค่ะ
      • หากพบว่าลูกป่วยควรแยกออกจากเด็กคนอื่น รวมถึงแยกสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  • ไวรัส RSV ระบาดหนักหน้าฝน เด็กเล็กต้องระวัง

    ไวรัส RSV ระบาดหนักหน้าฝน เด็กเล็กต้องระวัง

    ช่วงนี้ฝนตกอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เด็กๆเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะในเด็กเล็กซึ่งมีระบบภูมิต้านทานโรคยังไม่แข็งแรง และมีการระบาดหนักของเชื้อไวรัสอาร์เอสวี(RSV) หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเด็กเล็กต้องระวังค่ะ

    ไวรัส RSV คืออะไร

    RSV หรือ Respiratory syncytial virus เป็นไวรัสที่พบบ่อย เจริญเติบโตได้ดีช่วงที่มีอากาศชื้นและแพร่กระจายได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก อาการคล้ายกับไข้หวัดแต่มีความรุนแรงกว่า ในเด็กเล็กมักเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย อันตรายต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ

    สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส RSV

    การติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) สามารถติดต่อกันได้ง่ายๆจากการใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งผู้ป่วย เช่น การไอ จาม เป็นต้น โดยเชื้อไวรัสอาร์เอสวีเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูกและปาก เชื้อไวรัสพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝนและต้นฤดูหนาว ไวรัสแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการไอ หรือการจาม และจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง

    อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV

    การติดเชื้อไวรัส RSV ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจซึ่งมีอาการคล้ายกับโรคหวัด ได้แก่ คัดจมูก มีน้ำมูก มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ไอแห้ง เจ็บคอ ฯลฯ โดยเชื้อไวรัสนี้มีระยะการฟักตัว 4 – 6 วันหลังจากได้รับเชื้อ และสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคปอดบวม โรคหลอดลมฝอยอักเสบ เป็นต้น ซึ่งมักแสดงอาการดังนี้

    • ไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส เซื่องซึม เบื่ออาหาร
    • หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อยและหายใจลำบาก 
    • ไออย่างรุนแรง มีเสมหะข้นเหนียวมาก 
    • มีเสียงหวีดในปอด (จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว)
    • ปากหรือเล็บมีสีเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน

    หากลูกมีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีอาการแทรกซ้อนและทรุดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หยุดหายใจเป็นช่วงๆหรือหายใจล้มเหลวได้ค่ะ

    การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV

    การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV เป็นการรักษาตามอาการหรือการประคับประคอง เพื่อให้ระบบทางเดินหายใจดีขึ้นและป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ ในกรณีที่พบอาการรุนแรงหรือในผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เช่น การรับประทานยาลดไข้ ยาลดเสมหะหรือดูดเสมหะออก ลดอาการบวมของทางเดินหายใจ ในบางรายอาจต้องทำการพ่นยาเพื่อขยายหลอดลม อาจต้องและใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจหากพบว่ามีภาวะออกซิเจนต่ำหรือระบบหายใจล้มเหลว เป็นต้น 

    ภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อ RSV

    การติดเชื้อ RSV ในเด็กเล็ก อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบระยะยาวได้ เช่น โรคปอดบวมหรือหลอดลมฝอยอักเสบ ทำให้เกิดการอุดตันของระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อในหูชั้นกลาง โรคหอบหืด เด็กที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อ RSV รุนแรงมีความเสี่ยงระยะยาวในการพัฒนาเป็นโรคหอบหืดได้ ในบางรายอาจทำให้หัวใจลมเหลวเฉียบพลันและเสียชีวิตได้ค่ะ

    การป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

    เนื่องจาก RSV สามารถแพร่กระจายได้ง่ายโดยการสัมผัส และในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส RSV แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสได้ดังนี้

    • คุณพ่อคุณแม่ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสทารก
    • การสอนให้ลูกล้างมือให้สะอาดก่อน-หลังรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
    • รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย สิ่งของเครื่องใช้และของเล่นให้สะอาด 
    • หลีกเลี่ยงการการพาลูกน้อยไปยังที่แออัดในช่วงที่มีระบาดของเชื้อไวรัส
    • หากมีความจำเป็นต้องพาลูกไปสถานที่ชุมชน เช่น โรงพยาบาล ควรสวนใส่หน้ากากอนามัย
    • หากลูกป่วยเป็นหวัด ควรพักรักษาตัวให้หายก่อนไปโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น
    • หากผู้ปกครองเป็นหวัดควรหลีกเลี่ยงการกอดและจูบลูกจนกว่าจะหายดี
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และการพักผ่อนให้เพียงพอ

    บทความที่เกี่ยวข้อง