Tag: ไวรัส

  • ไวรัสตับอักเสบบี ในเด็ก

    ไวรัสตับอักเสบบี ในเด็ก

    ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคตับที่เกิดจากการติดเชื้อที่ร้ายแรงชนิดหนึ่งของตับ ไวรัสตับอักเสบบีเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นไวรัสที่มีเลือด น้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง เป็นพาหะเนื่องจากมันถูกส่งผ่านจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งผ่านทางเลือดหรือของเหลวที่มีเลือดอยู่ในนั้น และส่วนใหญ่จะหายไปภายในหนึ่งถึงสองเดือนโดยไม่ต้องรักษา โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีนั้นแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบีขนิดเฉียบพลัน และไวรัสตับอักเสบบีขนิดแบบเรื้อรังค่ะ

    อาการไวรัสตับอักเสบบีในเด็ก

    อาการไวรัสตับอักเสบบีในเด็ก

    ไวรัสตับอักเสบบี ส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ตับ เมื่ออยู่ในร่างกายไวรัสทำให้เซลล์เหล่านี้ตายสามารถทำให้ตับถูกทำลายและเกิดภาวะตายวายได้ค่ะ ในเด็กที่เป็นโรคตับอักเสบบีส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการรุนแรงและกลายเป็นพาหะเรื้อรังค่ะ ไวรัสตับอักเสบบีชนิดเฉียบพลันอาการที่พบบ่อยที่สุดคือ ผิวสีเหลืองและตา(ดีซ่าน) ปัสสาวะสีเข้มและอุจจาระสีอ่อน อาการอื่นๆ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ เป็นต้น บางรายอาจมีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้ ในส่วนของไวรัสตับอักเสบชนิดเรื้อรังจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพาหะจะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ และกลุ่มตับอักเสบเรื้อรังพบบ่อยในเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิดค่ะ การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบบีตรวจจากเลือดเพื่อตรวจการอักเสบของตับ สำหรับกรณีเรื้อรังอาจจำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื้อตับค่ะ

    การรักษาไวรัสตับอักเสบบี

    การรักษาไวรัสตับอักเสบบี

    การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเฉียบพลันอาการของโรคไวรัสตับอักเสบบีสามารถดูแลที่ได้ที่บ้านและรักษาได้ด้วยยา ในส่วนของโรคตับอักเสบเรื้อรังอาจได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเพื่อลดความเสียหายของตับแต่ไม่สามารถรักษาการติดเชื้อได้ค่ะ ซึ่งการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีในเด็กคือการพักผ่อนและหยุดกิจกรรมตามปกติเป็นระยะเวลาเหนึ่ง การดื่มน้ำมากๆให้เพียงพอต่อร่างกาย และที่สำคัญมากๆคือต้องพบแพทย์ตามนัดเพื่อต้องตรวจสอบสภาพของตับค่ะ เพราะมีความเสี่ยงของการเกิดแผลเป็นและตับวายได้ค่ะ

    การป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

    การป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

    สิ่งสำคัญสำหรับเด็กคือต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิดค่ะ

    สุขภาพของลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญเป็นจุดเริ่มต้นของการเจริญเติบโตเหมาะสมกับวัยค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญของการฉีดวัคซีนค่ะ เพราะการฉีดวัคซีนเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆในเด็กค่ะ

  • ประเภทของหน้ากากอนามัย และวิธีใส่หน้ากากอนามัยอย่างไรให้ปลอดภัย

    ประเภทของหน้ากากอนามัย และวิธีใส่หน้ากากอนามัยอย่างไรให้ปลอดภัย

    หน้ากากอนามัย หรือแมสปิดจมูก (Mask) คือหน้ากากสำหรับป้องกันฝุ่นละออง มลพิษและเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจรวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบตทีเรียสู่ผู้อื่นค่ะ แต่คุณทราบหรือไม่ว่าใส่หน้ากากอนามัยอย่างไรให้สามารถป้องกันเชื้อโรคต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และบทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจถึงวิธีการใส่หน้ากากอนามัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ 

    หน้ากากอนามัยแบบต่างๆที่นิยมใช้ทั่วไป ได้แก่

    •  ชั้นนอกมีสีเข้มเนื่องจากมีสารเคลือบกันน้ำ ชั้นกลางสำหรับกรองเชื้อโรคและอีกชั้นเป็นวัสดุนุ่มเนื่องจากต้องสัมผัสกับผิวค่ะ หน้ากากชนิดนี้ส่วนใหญ่ใช้ในทางการแพทย์และทั่วไปสามารถหาซื้อได้ง่ายราคาไม่แพงเนื่องจากเป็นชนิดที่ใช้แล้วทิ้งค่ะ หน้ากากชนิดนี้ใช้สำหรับป้องกันเชื้อโรคผ่านทางการไอหรือจามได้ค่ะ

    หน้ากาก N95

    • หน้ากาก N95 หน้ากากชนิดนี้สามารถป้องกันเชื้อโรคหรือฝุ่นละอองทีมีขนาดเล็กมากๆได้ ส่วนใหญ่มักใช้ในการทำงานกับสารเคมีหรือทางการแพทย์ที่ต้องป้องกันการติดเชื้อสูง อาทิ การป้องกันเชื้อวัณโรค เป็นต้น ราคาแพงกว่าหน้ากากชนิดอื่นๆรวมถึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมเนื่องจากขนาดและยี่ห้อที่แตกต่างกันอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งานค่ะ

    หน้ากากอนามัยชนิดผ้า

    • หน้ากากอนามัยชนิดผ้า เป็นหน้ากากชนิดที่สามรถนำกลับมาใช้ใหม่ได้สามารถป้องกันฝุ่นขนาดใหญ่และกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ แต่ยังไม่มีการรับรองว่าสามารถป้องกันเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคต่างได้ เนื่องจากหน้ากากอนามัยแบบผ้าดูดซับความชื้นมากกว่าหน้ากากชนิดอื่น แต่ปัจจุบันหน้ากากอนามัยแบบผ้าสามารถใส่แผ่นกรองคาร์บอนได้ สำหรับป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM2.5 ได้ค่ะ

    วิธีใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี

    การใส่หน้ากากอนามัยหรือที่เรียกอีกอย่างว่าแมสปิดจมูกอย่างถูกวิธีจะช่วยให้สามารถป้องกันเชื้อโรคต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ และการใส่หน้ากากอนามัยควรปฏิบัติดังนี้

    • ล้างมือให้สะอาดถูกต้องก่อนและหลังการใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ติดอยู่ที่มือค่ะ
    • เลือกหน้ากากอนามัยให้เหมาะสมกับในหน้า หากเป็นเด็กควรเลือกใช้หน้ากากอยามัยสำหรับเด็กเพื่อให้พอดีกับหน้าค่ะ
    • หน้ากากอนามัยประเภทใยสังเคราะห์สามชั้นหรือหน้ากาประเภททั่วไป ควรหันด้านสีเข้มไว้ด้านนอกเนื่องจากมีสารเคลือบสำหรับป้องการซึมผ่านของละอองน้ำ
    • จับสายคล้องหูทั้ง 2 ข้างสวมคลุมจมูกและปาก ดัดลวดให้แนบกับสันจมูกแบในหน้า และดึงด่านล่างให้คลุมใต้คางเป็นอันเรียบร้อยค่ะ
    • ไม่ควรสวมใส่หน้ากากร่วมกับผู้อื่นและระหว่างการใส่หน้ากากไม่ควรสัมผัสกับหน้ากากและสัมผัสกับดวงตาเพราะอาจทำให้ติดเชื้อโรคต่างได้ค่ะ
    • การใช้แอลกอฮอล์พ่นบนหน้ากากไม่ทำให้สามรถป้องกันเชื้อโรคได้ดีขึ้น

    เมื่อไหร่ที่ควรสวมหน้ากากอนามัย?

    • ป่วยเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค เป็นต้น
    • ผุ้ที่ต้องดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะโรคที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ
    • บุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากต้องให้การดูแลผู้ป่วย
    • เข้าไปในสถานที่ชุมชนหรือสถานที่แออัดอากาศถ่ายเทไม่สะดวก

    แม้ว่าหน้ากากอนามัยจะสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ แต่สิ่งสำคัญในการป้องกันโรคต่างๆคือการปฏิบัติร่วมกับวิธีอื่นๆ ได้แก่ หลีกเลี่ยงแหล่งชุมชนโดยเฉพาะที่มีการแพร่ระบาดของโรค ล้างมือสม่ำเสมอโดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดหรือการใช้สิ่งของเครื่องให้ร่วมกับผู้ป่วย การรับประทานอาหารปรุงสุกและหลากหลาก นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและดื่มน้ำสะอาดมากๆ ในเด็กควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ที่กำหนดค่ะ

  • อาการ “จาม” คืออะไร

    อาการ “จาม” คืออะไร

    อาการจาม หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Sneezing reflex เป็นปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นกับจมูก เพราะจมูกเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่หายใจจึงเป็นตัวช่วยในการป้องกันสิ่งสกปรก ฝุ่นผง ฝุ่นละอองขนาดเล็กๆ เข้าไปในปอด

    ฝุ่นละอองผ่านเข้าปอด

     แต่ด่านแรกที่ฝุ่นละอองเหล่านั้นจะเข้าไปได้จะต้องผ่านขนจมูกเป็นด่านแรกเสียก่อน ซึ่งขนจมูกจะทำหน้าที่กรองฝุ่นผง ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่ก่อน ส่วนฝุ่นผง ฝุ่นละออง เล็กๆจะสามารถผ่านเข้าไปในช่องโพรงจมูก แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ ในช่องโพรงจมูกก็จะมีเยื่อเมือก หรือที่เรียกว่า mucous blanket คอยจับฝุ่นผง ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมากๆ อยู่ค่ะ นอกจากนั้นยังไม่พอ นอกจากเรามีทั้งขนจมูก และเยื่อเมือก mucous blanket  จมูกของเรายังมีสารหลายชนิดที่ช่วยกันหลั่งออกมาในการป้องกันเชื้อโรคต่างๆ อีกด้วย เช่น ไลโซไซม์ (Lysozyme), แลคโตเฟอริน (lactoferrin), อิมมนูโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นต้น 

    เสียงที่เราจามที่เปล่งออกมา “ฮัดเช้ย,ฮัดชิ้ววว, ฮัดชู้ววว” เกิดจากการระคายเคืองของเส้นประสาทของทางเดินหายใจ ส่งกระแสผ่านไปทางเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 (เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 เป็นเส้นประสาทที่ควบคุมสมองของมนุษย์เรา มีทั้งหมด 12 คู่) ส่งผ่านไปยังสมองส่วนเมตัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) เป็นสมองที่อยู่ท้ายสุดมีหน้าที่สำคัญของสมองเมตัลลาออบลองกาตา คือเป็นศูนย์หลักในการควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ (แล้วเกิดภาวะตื่นตัวของระบบกล้ามเนื้อทำให้มีการขับลมออกมาอย่างรุ่นแรง และจะทำงานร่วมกันกับการเคลื่อนตัวลงของลิ้นไก่ การหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อท้อง กระบังลง และกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครง จึงเกิดเป็นเสียงจาม ฮัดเช้ยยย ออกมานั้นเอง 

    รู้สึกดี

    เวลาที่มนุษย์เราจามแล้วจะรู้สึกดี เราจะรู้สึกโล่งจมูก และหายใจได้สะดวกขึ้น เพราะการจามนั้นจะช่วยดันเอาสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่ร่างกายออกมา ก่อนที่สิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นจะเข้าไปกระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกปลายประสาทที่อยู่ในจมูกจะส่งสัญญาณผ่านเซลล์ประสาทรับความรู้สึกคือ Sensoy Nerve เป็นเซลล์ประสาทที่ตอบสนองต่อการสัมผัส และสิ่งเร้าอื่นๆ และส่งต่อสัญญาณ ไปที่ศูนย์การจาม Sneezing Center ตั้งอยู่ในตำแหน่งในไขกระดูกด้านข้าง rostral ซึ่งอยู่บริเวณแกนกลางของสมองและก็จะมีการสั่งการผ่านเซลล์ประสาทต่างๆ มากมาย ไปจนถึง Motor Nerve ซึ่งเป็นเซลล์ประสาทสั่งการที่จะรับสัญญาณจากสมองและไขสันหลัง และให้เกิดกล้ามเนื้อเกร็ง คลาย ทำให้ต่อมต่างๆ หลั่งสารต่างๆ  ไปยังตา จมูก ปอด กล้ามเนื้อหน้าอกและปาก เพื่อจามเอาสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งกระตุ้นออกไป

    น้ำมูกไหล

     ซึ่งเมื่อเราจามแต่ละครั้งจะขับน้ำและเมือกออกมา ซึ่งจะมีจุลินทรีย์และแบคทีเรีย เชื้อโรค ที่สามารถแพร่กระจายไปสู่คนอื่นได้ และอาการจามพบได้กับบุคคลทั่วไป่ และอาจเป็นอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้

    ทำอย่างไรไม่ให้เรา “จาม”

    ควัน

    – หลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการระคายเคือง ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น ควัน เกสรดอกไม้ สารเคมี หรือบริเวณที่มีคนพลุกพล่าน

    การป้องกันการจาม

    – อาการจามที่เกิดจากโรค จะสามารถแพร่กระจายติดต่อกันได้ ผู้ป่วยควรหาผ้าปิดจมูก หรือจะใช้กระดาษทิชชู่ ปิดปาก ปิดจมูกเวลาจาม หรือถ้าเราไม่สามารถควบคุมการจามได้ ก็ให้สวมผ้าปิดจมูกไว้ตลอด หรือถ้าหากระดาษทิชชู่ และผ้าปิดจมูกไม่ได้จริงๆ ขอแนะนำแขนเสื้อของเราค่ะ เพราะสามารถช่วยป้องกันคนอื่นที่จะติดต่อกับเราได้มากเลยทีเดียว

    การล้างมือ

    – ขยันล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ น้ำสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ ทุกครั้งนะคะ

    คนป่วยไข้หวัด

    – หากทราบว่าตัวเองกำลังป่วยจากการเป็นโรคทางเดินหายใจที่สามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้ ควรรักษาตัวแยกกับผู้อื่น หรือหลีกเลี่ยงจากผู้ที่ไม่ป่วย

  • ไวรัสโคโรนา (Coronavirus)

    ไวรัสโคโรนา (Coronavirus)

    ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ ไวรัสอู่ฮี่น พบการแพร่ระบาดครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ ส่งผลรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจซึ่งมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต และสามารถติดต่อกันได้ง่ายผ่านสารคัดหลั่งน้ำลาย น้ำมูกจากการไอ จาม รวมถึงการรับประทานอาหารหรือใช้สิ่งของเครื่องใช้ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส ไวรัสโคโรมาสายพันธุ์ใหม่นี้สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากเมนูเปิปพิศดารซุปค้างคาวที่กำลังเป็นกระแสนิยมในประเทศจีน

    อาการเบื้องต้นของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา

    อาการของ โคโรน่า ไวรัส

    จะมีอาการางระบบทางเดินหายใจคล้ายกับโรคหวัดทำให้ส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงความรุนแรงคือ มีไข้ หนาวสั่น ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ หลังจากนั้นจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น หายใจลำบากเหนื่อยหอบ เจ็บหน้าอกขณะไอหรือจาม และปอดอักเสบรุนแรงซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ

    กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสอู่ฮั่นได้ง่าย คือ กลุ่มเด็กเล็กเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง สตรีตั้งครรภ์ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเนื่องจากร่างกายไม่แข็งแรงพอจะสู้กับไวรัสจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย คนดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยซึ่งรวมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์ค่ะ

    การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 

    การรักษา โคโรน่า ไวรัส

    เนื่องจากตอนนี้ยังไม่มียาสำหรับต้านเชื้อไวรัสนี้โดยตรง ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้นค่ะ เพื่อป้องกันบรรเทาอาการและป้องกันภาวะปอดอักเสบรุนแรง

    การป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

    การป้องกัน โคโรน่า ไวรัส

    – สวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องออกนอกบ้านไปในแหล่งชุมชน

    – หลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมชน สถานที่แออัดหรือสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน

    – หมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการนำมือสัมผัสตา จมูก ปากเมื่อไม่จำเป็น

    – หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล และมีเสมหะ

    – หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่ป่วยหรือใกล้ตาย

    – หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น  เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เนื่องจากเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ

    – รับประทานอาหารปรุงสุกโดยเฉพาะประเภทเนื้อสัตว์และไข่ให้สุกด้วยความร้อน

    – นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำสะอาดมากๆ

    – ควรปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจามทุกครั้ง

    – หากมีอาการป่วย มีไข้สูง ไอและมีน้ำมูก ควรรีบพบแพทย์