Tag: ไข้หวัดใหญ่

  • สิ่งที่ต้องรู้ก่อนฉีดวัคซีนให้ลูกน้อย

    สิ่งที่ต้องรู้ก่อนฉีดวัคซีนให้ลูกน้อย

    การฉีดวัคซีนสำหรับเด็กๆเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญโดยเฉพาะวัคซีนพื้นฐานที่เด็กๆควรได้รับในแต่ละช่วงวัย เพื่อลดอาการเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ลดความพิการและการเสียชีวิตค่ะ เนื่องจากเด็กๆโดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีมีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยได้ง่ายค่ะ ด้วยระบบการทำงานของร่างกายภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่างๆต่ำกว่าช่วงวัยอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

    • วัคซีนกลุ่มพื้นฐาน

    เป็นวัคซีนที่เด็กๆทุกคนต้องได้รับตั้งแต่แรกเกิด ถึงอายุ 12 ปี ได้แก่ บีซีจี, ตับอักเสบบี, คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี, โปลิโอชนิดหยอด, โปลิโอชนิดฉีด, หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน, ไข้สมองอักเสบเจอี เป็นต้น ซึ่งสามารถรับวัคซีนได้ที่ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ เช่น รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายค่ะ

    • วัคซีนกลุ่มทางเลือกหรือวัคซีนเสริม

    เป็นวัคซีนกลุ่มที่นอกเหนือจากวัคซีนกลุ่มพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกฉีดหรือไม่ก็ได้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการฉีดตามแต่ละประเภทของวัคซีนและบริการของโรงพยาบาลนั้นๆ เช่น วัคซีนป้องกันโรคท้องเสียจากไวรัสโรต้า, วัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซีนอีสุกอีใส, วัคซีนตับอักเสบเอ เป็นต้น

    ก่อนฉีดวัคซีนสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทราบ เพื่อประโยชน์ต่อตัวลูกน้อยและคุณพ่อคุณแม่ค่ะ เพราะวัคซีนเป็นวิธีการเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคที่สำคัญค่ะ นอกจากการไปตามนัดของคุณหมอแล้วสิ่งที่คุณแม่ต้องทราบ ได้แก่

    • หากลูกมีอาการไอ น้ำมูกไหล หรือถ่ายเล็กน้อย สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ถ้าลูกป่วยมีไข้สูงควร ให้รอ 1 สัปดาห์หรือให้ลูกหายก่อนแลัวค่อยฉีดค่ะ
    • วัคซีนไอกรน ไอกรน คอตีบ บาดทะยัก DTP (ฉีดเมื่อลูกอายุ 2, 4, 6, 18 เดือนและ 4 ขวบ) อาจส่งผลข้างเคียงได้เช่น มีไข้สูง เป็นต้น
    • ไม่ควรให้ลูกกินยาพาราก่อนไปรับวัคซีนเพื่อดักไข้ เพราะลดประสิทธิภาพของวัคซีนค่ะ
    • วัคซีนบางชนิดฉีดแล้วลูกยังป่วยได้ค่ะ แต่ลดความรุนแรงลงได้ 50-90% เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรต้า เป็นตัน เพราะการฉีดวัคซีนเป็นการกระตุ้นระบบภูมิต้านทานโรค ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและความรุนแรงของโรคค่ะ

    การดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน

    เนื่องจากการฉีดวัคซีนบางชนิดอาจส่งผลข้างเคียงได้ค่ะ เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวด บวมแดงบริเวณแผล และในบางรายอาจมีการแพ้รุนแรงได้ค่ะ ดังนั้นควรสังเกตอาการลูกน้อยหลังได้รับวัคซีนค่ะ หากสงสัยหรือพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ค่ะ แต่บางกรณีคุณสามารถดูแลลูกน้อยในเบื้องต้นได้ค่ะ เช่น

    • หลังฉีดวัคซีนลูกอาจมีไข้ใน 1-2 วัน ยกเว้นวัคซีนหัด MMR อาจมีไข้หลังฉีด 1 สัปดาห์ ซึ่งสามารถทานพาราลดไข้ร่วมกับเช็ดตัวได้ค่ะ
    • กรณีมีเลือดออกรอยฉีดวัคซีนให้คุณแม่กดเบาๆนิ่งๆที่แผลห้ามถูไปมาค่ะ กรณีที่เลือดไม่หยุดไหลควรกลับไปพบแพทย์ค่ะ
    • มีอาการปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีนใน 24 ชั่วโมงแรกให้ประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดค่ะ โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นค่อยประคบบริเวณนั้นแต่ไม่ควรนาบตรงๆหรือแช่ไว้นานๆค่ะ และประคบอุ่นเพื่อลดอาการบวมช้ำค่ะ แต่หากอาการได้ดีขึ้นใน 7 วัน ควรพาลูกไปพบแพทย์ค่ะ
    • แผลฉีดวัคซีนเป็นก้อนไตแข็ง คุณแม่ไม่ต้องตกใจค่ะเนื่องจากก้อนไตนั้นสามารถหายได้เองใน 2-3 วันค่ะ
    • มีฝีหนองหรือแผลอักเสบเป็นหนอง ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ค่ะ
    • กรณีที่ลูกมีอาการกระสับกระส่าย หายใจลำบาก อาเจียน ท้องเสีย ชัก ฯลฯ ควรรีบพบแพทย์ทันทีค่ะ เพราะอาการเหล่านี้อาจเกิดจากการแพ้วัคซีนนั้นได้ค่ะ

    นอกจากนี้ในกรณีที่ไม่สามารถพาลูกมาฉีดวัคซีนตามกำหนดได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถพาน้องไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนตามความเหมาะสมได้ค่ะ หรือในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการฉีดวัคซีนก่อนกำหนด คุณพ่อคุณแม่สามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ได้ค่ะ แต่การฉีดวัคซีนที่ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุดควรได้รับได้กำหนดระยะเวลาค่ะ

  • โรคเด็กที่มากับฤดูฝน

    โรคเด็กที่มากับฤดูฝน

    สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับโรคเด็กที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน รวมถึงวิธีการรับมือกับโรคต่างๆค่ะ มาดูกันเลยค่ะว่ามีโรคอะไรบ้าง

    โรคมาลาเรีย

    โรคมาลาเรีย โรคร้ายแรงที่พบบ่อยที่สุดในช่วงฤดูฝนและส่งผลกระทบต่อเด็กและผู้ใหญ่ โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค อาการทั่วไปของโรคมาลาเรียในเด็ก ได้แก่ มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ อาเจียน เบื่ออาหาร หงุดหงิดร้องไห้งอแง เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะรุนแรงขึ้นหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น อาการชักหมดสติ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อวัยวะล้มเหลวและอาจเสียชีวิตได้ค่ะ การป้องกันโรคมาลาเรียในเด็กที่ดีที่สุด คือการป้องกันการถูกยุงกัดสวมใส่เสื้อผ้ามิดชิด ทาโลชั่นป้องกันยุง จำกัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง แอ่งน้ำขังบริเวณบ้าน เป็นต้น

    โรคอหิวาตกโรค

    อหิวาตกโรคเกิดจากแบคทีเรียชนิดเฉียบพลันที่มักเจริญเติบโตในน้ำที่สกปรกหรือปนเปื้อนอาหาร ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารส่งผลให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง ช็อคหมดสติหรือเสียชีวิตได้ค่ะ การป้องกันอหิวาตกโรคด้วยการรักษาความสะอาด ควรล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ ดื่มน้ำสะอาด อาหารปรุงสุกใหม่หลีกเลี่ยงอาหารดิบค่ะ

    กระเพาะและลำไส้อักเสบ

    กระเพาะและลำไส้อักเสบมักเกิดจากไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิดที่ปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม ทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง อาเจียนอย่างรุนแรง ดังนั้นการป้องกันคือการรักษาความสะอาด รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ดื่มน้ำสะอาด ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้งค่ะ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ดและหวานจัดค่ะ

    โรคไข้เลือดออก

    ไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสแดงกี่โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งอาการของไข้เลือดออกจะแบ่งตามระยะของการเกิดโรคและมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไป เริ่มตั้งแต่มีไข้ติดต่อกันหลายวัน ปวดศีรษะ แต่ไม่มีน้ำมูก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ซึ่งหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ปัญหาเลือดออกหรือช็อกหมดสติได้ค่ะ การป้องกันไข้เลือดออก คือการป้องกันการถูกยุงกัดสวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อนมิดชิด ทาโลชั่นป้องกันยุง จัดบ้านให้สะอาดปลอดโปร่งไม่มีมุมอับทึบ เนื่องจากยุงลายชอบเกาะอาศัยบริเวณมุมมืด ในเวลากลางวันควรนอนกางมุ้งเพราะยุงลายมีนิสัยออกหากินในช่วงเวลากลางวัน จำกัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง แอ่งน้ำขังบริเวณบ้าน เช่น กระถางต้นไม้ จากรองขาตู้กับข้าว เป็นต้น

    โรคไข้หวัดใหญ่

    ไข้หวัดใหญ่ พบบ่อยในเด็กวัยเข้าเรียนเกิดจากเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วย การไอ จาม รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ค่ะ อาการส่วนใหญ่ที่พบคือ มีไข้สูง น้ำมูกไหล ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นต้น โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้จากการฉีดวัคซีน หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปสถานที่แออัดโดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค ในกรณีที่ลูกป่วยควรหยุดเรียน หลีกเลี่ยงการพาไปในที่ชุมชนเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นค่ะ

    โรคฉี่หนู

    โรคฉี่หนู เกิดจากการสัมผัสกับน้ำและดินที่มีการปนเปื้อนมักผสมกับปัสสาวะของสัตว์ที่มีเชื้อ เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลหรือการรับประทานอาหาร น้ำดื่มที่มีการปนเปื้อน รวมถึงการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด ลักษณะอาการที่พบคือ มีไข้หนาวสั่น เยื่อบุตาบวมแดง ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง เป็นต้น ควรรีบพบแพทย์ทันทีค่ะ การป้องการโรคฉี่หนูนั้นสามารถทำได้ด้วยการสวมรองเท้าที่เหมาะสมที่ช่วยป้องกันเท้าไม่ให้เปียก รีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันทีหากมีการแช่แหล่งน้ำขังที่อาจปนเปื้อนเชื้อ เป็นต้น

    โรคต่างๆในเด็กที่อาจเกิดขึ้นนั้นอาจไม่น่ากลัวค่ะ หากมีการป้องกันค่ะเพราะการป้องกันเป็นการรักษาที่ดีที่สุด การรักษาสุขภาพและการฉีดวัคซีนเป็นประจำเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายค่ะ

  • 9 โรคในเด็กอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา

    9 โรคในเด็กอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา

    สวัสดีค่ะ เนื่องจากช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเดี๋ยวแดดเดี๋ยวฝนตก เสี่ยงลูกน้อยป่วยบ่อยคุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และคุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่าโรคในเด็กบางโรคมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดาแต่มีความรุนแรงมากกว่า โดยอาการทั่วไปของไข้หวัดธรรมดาคือ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล ตาแดง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ฯลฯ ดังนั้นวันนี้เรามีตัวอย่าง 10 โรคในเด็กที่พบบ่อยมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา ดังนี้

    หูชั้นกลางอักเสบ

    หูชั้นกลางอักเสบในเด็ก เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยมากจากการติดเชื้อที่หูเมื่อไวรัสหรือแบคทีเรียเข้าสู่ช่องหูของเด็ก นอกจากอาการที่คล้ายโรคหวัดธรรมดาแล้วสามารถสังเกตจากอาการการดึงหูของเด็กทารก หรืออาการปวดหูซึ่งแสดงถึงอาการที่ผิดปกติเกิดขึ้นที่หู หูชั้นกลางอักเสบในเด็กส่วนใหญ่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แต่ในบางรายอาจนำไปสู่การสูญเสียการได้ยินค่ะ

    ภาวะการหายใจเสียงหวีด

    การหายใจเสียงหวีดในเด็กส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเป็นอาการของโรคหวัดเกิดการอุดตันที่จมูก ทำให้มีเสียงหายใจหวีด ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นนี้อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ เช่น หลอดลมฝอยอักเสบเฉียบพลัน ภาวะหยุดหายใจชั่วขณะ เป็นต้น ซึ่งเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตค่ะ หากพบว่าลูกหายใจเสียงดังหวีดควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป

    โรคไซนัสอักเสบในเด็ก

    โรคไซนัสอักเสบในเด็ก การติดเชื้อไซนัสหากตรวจไม่พบสามารถแพร่กระจายไปยังสมองของลูกน้อยของคุณได้ อาการของโรคมักมีอาการอื่นร่วมด้วย เข่น อาเจียน บวมรอบดวงตา ฯลฯ การติดเชื้อนี้หากได้รับการรักษาที่เหมาะสมทันเวลาก็ไม่ใช่โรคที่น่ากังวลมากค่ะ

    โรคหลอดลมฝอยอักเสบ

    โรคหลอดลมฝอยอักเสบ เป็นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจผลส่งให้หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจชั่วคราวได้ และส่วนใหญ่พบในทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาทันเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

    โรคไข้หวัดใหญ่

    โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดามากแต่ก็จะมีความแตกต่างเล็กน้อย เช่น อาการหนาวสั่น อาเจียน หรืออาจมีอาการท้องร่วง เป็นต้น โรคนี้สามารถดูแลได้เองที่บ้าน เช่น การทานยาลดไข้ การล้างจมูกเพื่อช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก เป็นต้น

    โรคปอดบวมในเด็ก

    โรคปอดบวมในเด็กจะมีอาการอื่นๆ นอกเหนือจากอาการหวัดทั่วไป ได้แก่ ท้องร่วง หายใจลำบาก หายใจแรง หอบเหนื่อย เป็นต้น โรคปอดบวมในเด็กมีความรุนแรงตามระยะของการเกิดโรค หากไม่ได้รับการรักษาช้าเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ค่ะ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียทำลายปอดทำให้ปอดล้มเหลวได้ เกิดน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น หากพบว่าลูกน้อยมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ทันทีค่ะ

    โรคไอกรนในเด็ก

    โรคไอกรนในเด็ก ลักษณะของอาการที่โดดเด่นนอกเหนือจากโรคไข้หวัดทั่วไปนั้น คือ การไออย่างรุนแรงต่อเนื่องโดยเฉพาะในเวลากลางคืน ส่งผลให้หายใจลำบาก หยุดหายใจขณะ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นอาการดังกล่าวในลูกน้อยของคุณ ควรเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษาป้องกันไม่ให้สภาพแย่ลงค่ะ

    โรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล

    โรคภูมิแพ้ตามฤดูกาลเนื่องจากอาการคล้ายกับโรคหวัดทั่วไป เช่น มีอาการน้ำมูกไหล จาม ขยี้ตาเนื่องจากคัน เป็นต้น ภูมิแพ้ตามฤดูกาลนั้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบางช่วงเวลาของปีเท่านั้น เพราะโรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคติดต่อทางเดินหายใจ แต่ถึงอย่างไรก็ควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป เพื่อปกกันปัญหาสุขภาพในระยะยาวได้ค่ะ

    โรค RSV (การติดเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจ)

    โรค RSV เป็นไวรัสที่พบบ่อยและเป็นโรคติดต่อสูงจาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ซึ่งมักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคหวัดทั่วไปเนื่องจากมีอาการคล้ายกัน เช่น มีไข้ แน่นจมูก แต่โปรดสังเกตว่าถ้าลูกน้อยของคุณหายใจดังครืดคราดร่วมด้วย หอบเหนื่อยและหายใจลำบาก มักบพบ่อยในเด็กเล็กวัยเริ่มเข้าเรียนค่ะ การติดเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจนี้ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว โดยอาจมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆหรือหายใจล้มเหลวได้ค่ะ

    จากตัวอย่างโรคในเด็กที่มีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา ดังนั้นควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด สังเกตอาการต่างๆที่เกิดขึ้นหากสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าลูกของคุณเป็นอะไร ควรปรึกษาแพทย์ทันทีและเพื่อเข้าการรักษาที่ทันท่วงทีค่ะ

  • เตรียมพร้อมรับมือไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

    เตรียมพร้อมรับมือไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

    เตรียมพร้อมรับมือไข้หวัดใหญ่
    สวัสดีค่ะ
    วันนี้เราจะมาเตรียมพร้อมรับมือไข้หวัดใหญ่ในเด็กซึ่งหลายๆท่านอาจจะยังคงเข้าใจว่า โรคไข้หวัดใหญ่มีการระบาดเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น แต่ความจริงแล้วโรคไข้หวัดใหญ่สามารถเป็นได้ตลอดทั้งปีและทุกช่วงวัยนะคะ ซึ่งอาการและความรุนแรงขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนในขณะนั้น ในบางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางรายมีอาการรุนแรงเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆจนเสียชีวิตได้ค่ะ ดังนั้นเรามาเตรียมพร้อมรับมือกับเจ้าไข้หวัดใหญ่กันค่ะ

    ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเกิดจาการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ A, B, และ C และมักจะรุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไป ซึ่งในบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ปอดบวม หลอดลมอักเสบ หรือมีผลกระทบต่อระบบประสาทและหัวใจจนทำให้เสียชีวิตได้ โรคไข้หวัดสามารถติดต่อกันผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย จาการไอจาม หรือการสัมผัสสิ่งของปนเปื้อนเชื้อไวรัสแล้วนำมือเข้าปาก ขยี้ตาค่ะ ซึ่งอาการของไข้หวัดใหญ่ที่เด่นชัด คือ มีไข้แบบเฉียบพลัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เจ็บคอ มีน้ำมูก เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่แล้วสมารถดูแลรักษาได้โดยการเช็ดตัว ทานยาลดไข้พาราเซตามอล ดื่มน้ำมากๆและพักผ่อนให้เพียงพอก็สามารถหายได้เองค่ะ แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ไข้ไม่ลดลงควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่อไปเพราะอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆได้ค่ะ

    การเตรียมพร้อมรับมือและป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

    • คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกสอนให้ลูกดูแลรักษาความสะอาด เช่น การล้างมือด้วยน้ำสบู่บ่อยๆ หรือก่อน/หลังการรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เป็นต้น
    • คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หรือล้างมือทุกครั้งก่อนป้อนอาหารลูก
    • การสอนให้ลูกไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อม แปรงสีฟัน เป็นต้น
    • การดูแลบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่เป็นที่เพาะเชื้อโรค อากาศถ่ายเทได้ดี เปิดหน้าต่างเพื่อให้แสงแดดเข้ามาฆ่าเชื้อ
    • ฝึกให้ลูกปิดปากทุกครั้งที่ไอจาม และการสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
    • การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำฤดุกาลเป็นประจำทุกปี เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันกับเชื้อไวรัสใหม่ๆที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ
    • การทำประกันสุขภาพที่คุ้มครองโรคไขหวัดใหญ่ เนื่องจากเด็กๆมีโอกาศป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี นอกจากการฉีดวัคซีนป้องกันแล้วคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกทำประกันสุขภาพให้ลูกๆไว้ด้วยค่ะ เพื่อคุ้มครองสุขภาพและดูแลค่าใช้จ่ายในการเข้ารักษาของลูกได้ค่ะ

    นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามนะคะ ในกรณีที่พบว่าลูกป่วยไม่ควรพาลูกไปในแหล่งชุมชนหรือโรงเรียน ควรให้ลูกหยุดพักผ่อนจนหายดีเสียก่อนเพื่อป้องกันการป่วยเรื้อรังหายเชื้อหรือการเกิดโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ และป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสสู่คนอื่นๆค่ะ ถ้าหากมีความจำเป็นที่จะต้องพาลูกออกไปด้วยควรฝึกให้ลูกสวมหน้ากากอนามัยค่ะ และการเจ็บป่วยทุกครั้งเราไม่สามารถคาดเดาได้ ดังนั้นการเตรียมตัวเตรียมใจพร้อมรับมืออยู่เสมอเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะได้ไม่มีคำว่าสายเกินไปค่ะ

  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่จำเป็นหรือไม่

    วัคซีนไข้หวัดใหญ่จำเป็นหรือไม่

    วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับเด็กจำเป็นต้องฉีดหรือไม่..?

    โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ ชนิด A, ชนิด B, และชนิด C เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กซึ่งมีความรุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไป ไข้หวัดใหญ่ติดต่อกันได้ง่าย เชื้อแพร่กระจายในอากาศ จากการไอ จามของผู้ป่วย หรือการจับสิ่งของที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย เช่น ของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆแล้วเอามือเข้าปากทำให้เชื้อโรคเข้าไปสู่ร่างกายได้ อาการไข้หวัดใหญ่ในเด็กเล็กจะพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตาแดงและอาจมีอาการภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบจาการติดเชื้ออย่างรุนแรง หรืออาการคล้ายติดเชื้อในกระแสเลือด จนถึงช็อกและเสียชีวิตได้ค่ะ หากพบว่าเด็กมีอาการคล้ายหวัด แต่มีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลียมาก ซึมลง ทานไม่ได้ ไอมากจนหายใจเหนื่อย และเป็นมากขึ้นหรือไม่ดีขึ้นเกิน 5 วัน ควรรับพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจและรักษาที่ถูกต้องค่ะ

    วัคซีนไขหวัดใหญ่ คือวัคซีนเสริมหรือวัคซีนทางเลือก เป็นกลุ่มวัคซีนที่ไม่จำเป็นจะต้องฉีดก็ได้ค่ะ แต่ถ้าฉีดจะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันการเกิดโรคไขหวัดใหญ่ ค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนนี้เป็นไปตามรายละเอียดของโรงพยาบาลกำหนดค่ะ วัคซีนไขหวัดใหญ่เหมาะสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายค่ะ โดยในช่วงแรกจะฉีดเมื่ออายุ 6 เดือนถึง 2 ปี จำนวน 2 เข็มห่างกัน 1 เดือน หลังจากนั้นฉีดปีละครั้งค่ะ

    วัคซีนไข้หวัดใหญ่จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กๆ มาดูความคิดเห็นจากคุณพ่อคุณแม่สมาชิกพันทิปกันค่ะว่ามีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้างค่ะ

    ความคิดเห็นจาก แม่ของน้องเตี้ยซ่า อะฮ่าอะฮ่า
    สำหรับเราจำเป็นค่ะ ลูกเราฉีดทุกปีแต่มีปีหนึ่งที่เค้าเป็นติดไข้หวัดใหญ่ (ถึงแม้จะฉีดแล้ว) แต่อาการเค้าน้อยมาก แค่ 3-4 วันก็หายแล้ว ไข้ไม่สูงมาก ไม่ซึม กินได้ เล่นได้ อีกอย่างไข้หวัดใหญ่แพร่เชื้อง่ายมาก ตอนนั้นแค่ 2-3 วัน แทบจะติดไข้กันทั้งบ้าน (พ่อ แม่ ลูกคนโต น้าชาย) จนตัดสินใจย้ายลูกคนเล็กวัย 4 เดือน ไปอยู่บ้านอีกหลังพร้อมกับย่า เพราะตอนนั้นยังไม่ได้รับวัคซีน

    ความคิดเห็นจาก เตียวหยุนจูล่ง
    ฉีดเถอะครับ แลกกับความปลอดภัยของลูกยามไปติดหวัดจากเพื่อนมา กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ตัวร้อน ไข้สูง เช็ดตัวยังไงก็ไม่ลด เช็ดตัวก็ร้องเจ็บ ร้องหนาว ไอยังกะใจจะขาด ไอทั้งคืน และในบางคนกินแล้วอ้วกออกมา พ่อแม่ไม่ได้หลับได้นอน ต้องคอยตื่นทุกๆชั่วโมงเช็คไข้ลูก ตื่นปลุกลูกกินยา เผลอๆต้องลางานไปเฝ้าไข้ลูก ไหนจะค่ารักษา ค่าหมอ ค่าห้อง โรงพยาบาลรัฐบางทีห้องพิเศษก็ไม่ได้ว่างง่ายๆ
    ถ้าลูกป่วย ต้องไปอยู่ร่วมกับเด็กป่วยคนอื่นในห้องรวม มีโอกาสติดเชื้ออื่นเพิ่มอีก แถมบางที่มีลูกหลายคน เป็นหนึ่งคน อีกคนก็ติดอีก เหนื่อยคูณสอง ยาลูกเต็มตู้เย็นไปหมดจัดยาทีปวดหัวเลย แถมเสียเวลาเรียนด้วย กว่าจะหายต้องตามทำการบ้าน
    ถ้าฉีด โอกาสเป็นก็ลดลง แต่ก็ไม่ได้ฉีดแล้วจะกันได้100% นะครับ แต่คุ้มแน่ๆ ผมให้ลูกฉีดทุกวัคซีน ที่เค้ามีให้ฉีด อย่าน้อยเสียค่าวัคซีน เรารู้ว่าจะต้องจ่ายเท่าไหร่ แต่ถ้าป่วยหนักๆมาบางทีจะหลายพันไปถึงหลายหมื่น ถ้าแอดมินนานๆ จะแพงกว่านั้นอีกครับ ทำประกันไว้ยังไงก็มีส่วนต่างต้องจ่ายเยอะ

    ความคิดเห็นจาก 5021567
    ข้อแนะนำคือ แนะนำให้บุคคลที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน ฉีดทุกคนที่ไม่มีข้อห้ามการฉีด ประสิทธิภาพขึ้นกับการระบาดของเชื้อในปีนั้น จะตรงกับวัคซีนหรือไม่ ประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ที่ประมาณร้อยละ 66 ในเด็ก ถ้าจะฉีด ควรจะฉีดสองครั้ง ห่างกันประมาณ 4 สัปดาห์ เพื่อให้ประสิทธิภาพสูงกว่าร้อยละ 66 แต่วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่ได้ป้องกันเรื่องไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ H1N1 หรือไข้หวัดนก

    ความคิดเห็นจาก 1428399
    เราให้ลูกทั้ง3คน ฉีดค่ะ ส่วนตัวคิดว่าป้องกันไว้ก่อน ถ้าลูกป่วยคงไม่สนุก เพราะถึงแม้จะมีประกันสุขภาพและได้ส่วนลดในการแอดมิท เพราะพ่อของลูก(สามีเรา)เป็นหมอ ก็ไม่คุ้มค่ะ

    ความคิดเห็นจาก 5086851
    จริงๆ ไม่ใช่แค่ในเด็กนะครับทุกคนควรฉีดเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ รัฐบาลจะให้วัคซีนฟรีเฉพาุะในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ คนท้อง คนแก่ คนที่ป่วยเป็นเบาหวาน โรคปอด ภูมิคุ้มกันต่ำเป็นต้น วัคซีนนี้ควรฉีดอย่างน้อยมีละ 1 ครั้ง สามารถป้องกันและลดความรุนแรงของการเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ครับ ที่ทุกคนควรฉีดเพราะหากเป็นขึ้นมาไข้หวัดใหญ่อาการรุนแรง การเดินหายใจล้มเหลวได้ และเรายังสามารถแพร่เชื้อไปสู่ครอบครัวและชุมชนได้ครับ

    ความคิดเห็นจาก Tawan my sunshine
    จำเป็นมากค่ะ ลูกเราเป็นทั้งสายพันธ์เอ และบี ก่อนหน้าที่จะฉีดวัคซีน คือสงสารลูกมาก เป็นหนักเลย แต่พอฉีดวัคซีน คือเป็นแต่ไข้ธรรมดา มีน้ำมูก ไอบ้าง อาการไม่รุนแรง เท่าตอนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนค่ะ

  • โรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    โรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    โรคหลอดลมอักเสบในเด็กกลุ่มที่ได้รับความนิยมในหมู่เด็กหลายคนที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ บทความที่เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคหลอดลมอักเสบค่ะ

    โรคหลอดลมอักเสบ

    โรคหลอดลมอักเสบ

    คือโรคที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลมซึ่งเป็นท่อที่นำลม หรืออากาศที่หายใจเข้าสู่ปอด เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่งของเด็กค่ะ อาการโดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกับการเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ ไอและมีเสมหะ เจ็บคอ แสบคอ หรือเจ็บหน้าอกได้ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก หรืออาจหายใจมีเสียงดังหวีดได้ และอาจมีไข้ร่วมด้วย โรคหลอดลมอักเสบในเด็กโดยทั่วไปแล้วไม่มีความรุนแรงสามารถรักษาให้หายได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลให้ถูกวิธีอาจส่งผลให้ลุกลามไปเป็นปอดอักเสบ หรือปอดบวมในเด็กที่มีความรุนแรงได้ค่ะ หากมีอาการไข้สูงไม่ลดลงภายใน 48 ชั่วโมง ภายหลังกินยาลดไข้ มีอาการไอมาก ซึม เพลีย และมีอาการอาเจียน หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ควรรีบนำเด็กไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

    สาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก 

    สาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก 

    มีดังต่อไปนี้

    • เชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ ไวรัสโรคหัด ไวรัสRSV ซึ่งสาเหตุจากเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุพบบ่อยที่สุด
    • เชื้อแบคทีเรีย เช่น มัยโคพลาสมา หรือ คลามัยเดีย เชื้อโรคไอกรน ฯลฯ
    • การแพ้หรือระคายเคืองต่อสารบางอย่างที่สูดดมเข้าไป จนทำให้หลอดลมเกิดการอักเสบ เช่น ควันบุหรี่ เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง เป็นต้น

    การรักษาและการดูแลโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    การรักษาและการดูแลโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    การรักษาโรคนี้ส่วนมากจะรักษาตามอาการค่ะ เนื่องจากว่าโรคหลอดลมอักเสบนั้นเกิดขึ้นจากไวรัสเกือบทั้งหมด จึงไม่มียาที่จำเพาะสำหรับการรักษา เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากเชื้อไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ ที่จะมียาต้านทานไวรัสไข้หวัดใหญ่รักษาได้ค่ะ ในระยะแรกคุณหมออาจใช้วิธีพ่นยา ทานยาละลายเสมหะ และยาขยายหลอดลม หรือยาฆ่าเชื้อจนกว่าอาการจะดีขึ้นค่ะ และคุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกด้วยการให้ลูกพักผ่อนให้มากๆ ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ เพราะน้ำเป็นยาละลายเสมหะที่ดีที่สุด หลีกเลี่ยงการทานของเย็น รวมถึงการเลี่ยงอากาศที่เย็นโดยเฉพาะแอร์และพัดลมไม่ควรเป่าจ่อตัวลูกโดยตรงและควรห่มผ้าให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายค่ะ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ค่ะ

    การป้องกันโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    การป้องกันโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบางโรค เช่น โรคหัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไอกรน ฯลฯ เนื่องจากโรคเหล่านี้อยู่ในกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีผลให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบได้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้เด็กรู้จักการรักษาความสะอาดและสุขอนามัยพื้นฐาน เช่น การล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ก่อนและหลังการรับประทานอาหาร/หลังจากการเข้าห้องน้ำ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย การปิดปากปิดจมูกเวลาไอหรือจาม เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นค่ะ รวมถึงการพักผ่อนที่เพียงพอ ในระหว่างวันควรดื่มน้ำให้มากๆ รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และการออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคมากยิ่งขึ้นค่ะ นอกจากนี้ คุณพ่อและคุณแม่ควรใส่ใจดูแลในเรื่องสุขภาพของลูกอีด้วยค่ะ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงห่างไกลโรคต่างๆและยังทำให้ลูกมีชีวิตที่มีความสุขพัฒนาการสมวัยอีกด้วยค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง