ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด
ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดคืออะไร อันตรายต่อตัวลูกน้อยหรือไม่ ลองไปหาคำตอบพร้อมๆกันเลยค่ะ ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอดหรือเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เกิดขึ้นจากการแตกของเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดสารบิลิรูบินหรือสารที่ให้สีเหลืองในเลือดสูงเกินไป สารนี้จะอยู่ในกระแสเลือด โดยปกติสารนี้จะถูกนำเข้าไปสู่ตับแล้วขับออกจากร่างกายผ่านไปในทางเดินน้ำดี เข้าสู่ลำไส้และขับออกทางอุจจาระเป็นส่วนใหญ่ ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด จะพบได้ในเด็กแรกเกิดเกือบทุกคนและเมื่ออายุ 3-5 วัน จะค่อยๆเหลืองน้อยลงจนหายไปได้เองค่ะ แต่ในบางกรณีที่มีภาวะตัวเหลืองผิดปกติหรือตัวเหลืองจากโรค โดยสาเหตุของทารกตัวเหลืองจากความผิดปกติที่พบบ่อยได้แก่ ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เป็นภาวะที่ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงแตก ทำให้มีปริมาณบิลิรูบินในเลือดสูงขึ้น เลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากัน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกมาก พบในแม่เลือดกรุ๊ป O และลูกเป็น กรุ๊ป A หรือ B หรือหมู่เลือดระบบอาร์เอชต่างกัน ตับทำงานบกพร่อง เนื่องจากเด็กแรกเกิดการทำงานของตับยังไม่สมบูรณ์หรือโรคกรรมพันธุ์บางอย่างของตับ อาจทำให้ไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินออกได้ การบกพร่องเอนไซม์ ส่งผลทำให้เกิดการสะสมของอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ ภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) เด็กที่มีภาวะขาดไทรอยด์ เนื่องจากไม่มีต่อมไทรอยด์หรือต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง อาจส่งผลให้มีภาวะตัวเหลือง สาเหตุอื่นๆ เช่น คลอดก่อนกำหนด การติดเชื้อ มารดาเป็นเบาหวาน ท่อน้ำดีอุดตันหรือถุงน้ำดีผิดปกติ ลำไส้อุดตัน และความผิดปกติต่างๆของการขับถ่ายสารสีเหลือง เป็นต้น อาการตัวเหลืองในเด็กภาวะตัวเหลืองและตาเหลืองในเด็ก เกิดขึ้นในเด็กแรกเกิด 2-3 วันแรกและเด็กที่คลอดก่อนกำหนด […]