Tag: โรคอีสุกอีใส

  • คนท้องเป็นอีสุกอีใส อันตรายต่อเด็กในท้องหรือไม่

    คนท้องเป็นอีสุกอีใส อันตรายต่อเด็กในท้องหรือไม่

    โรคอีสุกอีใสเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella virur) ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่วไป คือ มีไข้ อ่อนเพลีย และมีผื่นแดงราบตุ่มน้ำใส หรือตุ่มหนองขึ้นตามใบหน้า ลำตัว ฟลัง และสามารถติดต่อกันได้ง่าย โดยการสัมผัสกับตุ่มน้ำที่แตกออก การใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกัน หรือการหายใจ ไอจามรดกัน เชื้อนี้จะมีระยะฟักตัวประมาณ 2-3 สัปดาห์จนเกิดอาการ ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษา โรคสามารถหายไปได้เองใน 7-10 วัน

    คนท้องเป็นโรคอีสุกอีใส คงไม่ใช่เรื่องดี ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการได้รับเชื้อจากคนใกล้ตัว เช่น ญาติพี่น้อง หรือติดจากลูกคนแรกที่คุณแม่กำลังเลี้ยงอยู่ โดยไร้การป้องกันแต่อย่างใด เพราะไม่เคยเป็นมาก่อน จึงทำให้คุณแม่มีความกังวลว่าจะมีผลต่อลูกที่อยู่ในท้องหรือไม่ ในครั้งนี้เรามาค้นหาคำตอบกันค่ะ

    ความอันตรายของคนท้องที่เป็นโรคอีสุกอีใส

    ความอันตรายของคนท้องที่เป็นโรคอีสุกอีใส

    ในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายจะมีภูมิต้านทานที่ต่ำลง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายและมีความรุนแรงมากขึ้น ถ้ามีการติดเชื้อในช่วงตั้งครรภ์ จะทำให้เด็กในท้องมีความเสี่ยง โดยปกติแล้วหากช่วงท้องเป็นอีกสุกอีใส มักจะเป็นในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคุณแม่คลอดเนื่องจากระบบภูมิต้านทานของคนท้องจะลดลงกว่าปกติ เป็นเหตุทำให้คนท้องมีโอกาสติดเชื้อต่างๆได้ง่าย

    หากมีการติดเชื้อโรคอีสุกอีใสในภายใน 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้เป็นช่วงที่เด็กในครรภ์อยู่ในระหว่างการสร้างอวัยวะ ซึงหากคุณแม่ได้รับเชื้ออีสุกอีใส อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเด็กในครรภ์ หรือเรียกว่า Congenital varicella syndrome โดยเด็กที่อยู่ในครรภ์เกิดความผิดปกติบริเวณผิวหนัง หรือไม่ก็แขนขาลีบเล็ก สมองมีปัญหา เช่น ปัญหาอ่อน สมองฝ่อ สมองอักเสบ เป็นต้น หรือเด็กก็จะมีอาการชัก เป็นอัมพาต มีความผิดปกติทางสายตา เช่น เป็นต่อกระจก หรือไม่อาจส่งผลให้คุณแม่ต้องคลอดเด็กก่อนกำหนด ซึ่งโดยทั่วไปเด็กทารกที่ติดเชื้ออีสุกอีใสจะเสียชีวิตในช่วง 2 ปีแรก หรือไม่เด็กอาจเกิดมาแบบปกติ และเมื่อเข้าสู่อายุ 1 ขวบ ก็เริ่มแสดงอาการงูสวัดออกมา

    หากมีการติดเชื้อโรคอีสุกอีใสในช่วงที่ใกล้คลอด คือช่วง 7 วันก่อนคลอดไปถึงอีก 7 วันหลังคลอด อาจทำให้มีอาการหายใจล้มเหลว ปอดบวม ปอดอักเสบ ส่งผมทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งแม่และลูก แต่ในปัจจุบันก็มียาต้านเชื้อไวรัสอีสุกอีใสได้แล้ว แต่ยังคงมีราคาสูง และค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมากเช่นกัน ดังนั้นเพื่อลดความเสียงของโรค และเสี่ยงที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะ ควรทำการเลื่อนการคลอดออกไป อย่างน้อย 7 วัน หลังจากที่คุณแม่เป็นผื่น เพื่อเป็นการส่งภูมิคุ้มกันไปยังลูก แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจจากแพทย์เท่านั้น

    การรักษาคนท้องเป็นอีสุกอีใส

    การรักษาคนท้องเป็นอีสุกอีใส

    หากคุณแม่ได้ทำการตรวจวินิจฉัยจากหมอแล้วระบุว่าคุณแม่เป็นอีสุกอีใส แต่เชื้อยังไม่ได้ส่งไปยังทารกที่อยู่ในครรภ์แล้ว คุณหมอจะทำการรักษาไปตามอาการของคุณแม่ เช่นหากคุณแม่เป็นไข้ ก็ให้ยาลดไข้ หากคุณแม่อ่อนเพลีย ก็ให้ดื่มน้ำในปริมาณที่มากเพียงพอ และให้คุณแม่ได้นอนหลับพักผ่อน หรือในบางรายอาจได้รับน้ำเกลือช่วย เพื่อให้คุณแม่มีอาการสดชื่น และในระหว่างนี้ก็จะทำการเฝ้าระวังไม่ให้คุณแม่ไปแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

    แต่สำหรับคุณแม่บางรายตรวจพบว่าเป็นอีสุกอีใส แล้วมีการตรวจพบว่าเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์ได้รับเชื้อเช่นกัน ทางเดียวที่จะรักษาคือ คุณแม่จะต้องยุดิการตั้งครรภ์เพื่อรักษาชีวิตของคุณแม่เอาไว้

    การป้องกันคนท้องเป็นอีสุกอีใส

    • สำหรับคนแม่ที่ทำการตั้งครรภ์ แต่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส หรือได้รับการตรวจเลือดแล้วยังไม่มีภูมิคุ้มกัน จะให้หลีกเลี่ยงผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใส และควรรีบไปพบแพทย์ หากใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นอีสุกอีใส
    • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ไม่ควรไปรับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส เพราะมีความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และเด็กในครรภ์
    • สำหรับคุณแม่ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส และอยากวางแผนการมีลูก ควรต้องไปรับวัคซีนการป้องกันโรคอีสุกอีใสก่อน โดยการฉีดวัคซีนดังกล่าวสำหรับผู้ใหญ่จะต้องทำการฉีดเป็นจำนวน 2 เข็ม โดยเข็มที่ 1 กับเข็มที่ 2 จะมีระยะห่างประมาณ 1 เดือน และเมื่อได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วก็ควรเว้นระยะออกไป 1-3 เดือน ก่อนที่จะทำการตั้งครรภ์
    • คุณแม่ไม่จำเป็นต้องตรวจภูมิคุ้มกัน หากมีการตรวจไม่พบภูมิคุ้มกัน ก็ควรไปฉีดวัคซีนหลังมีบุตรไปแล้ว
    • การให้วัคซีนหลังคลอดนั้น คุณแม่สามารถให้นมบุตรได้

    การดูแลคุณแม่ที่เป็นโรคอีสุกอีใสระหว่างการตั้งครรภ์

    • ควรดื่มน้ำมากๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ
    • ตัดเล็มมือ เล็บเท้าให้สั้น ป้องกันการเกาผื่นที่มาจากโรคอีสุกอีใส และป้องกันการติดเชื้อ
    • หารมีไข้สูงควรกินยาลดไข้ และใช้น้ำชุมเช็ดตัวร่วมด้วย
    • หารอดทนต่ออาการคันไม่ไหวควรทาคาลาไมน์เพื่อบรรเทาอาการคัน หากซื้อยาแก้แพ้มากินเอง ควรต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์เสียก่อน
    • ควรหาสบู่ที่มีส่วนผสมยาฆ่าเชื้อมาอาบน้ำ ชำระร่างกาย
    • หากสำหรับคุณแม่ที่มีอาการหนัก ควรรีบปรึกษาแพทย์
    • สำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ควรหมั่นนับการดิ้นของลูก และการดิ้นของลูกน้อยกว่าปกติควรรีบไปแพทย์วินิจฉัยโดยทันที

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • สิ่งที่ต้องรู้ก่อนฉีดวัคซีนให้ลูกน้อย

    สิ่งที่ต้องรู้ก่อนฉีดวัคซีนให้ลูกน้อย

    การฉีดวัคซีนสำหรับเด็กๆเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญโดยเฉพาะวัคซีนพื้นฐานที่เด็กๆควรได้รับในแต่ละช่วงวัย เพื่อลดอาการเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ลดความพิการและการเสียชีวิตค่ะ เนื่องจากเด็กๆโดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีมีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยได้ง่ายค่ะ ด้วยระบบการทำงานของร่างกายภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่างๆต่ำกว่าช่วงวัยอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

    • วัคซีนกลุ่มพื้นฐาน

    เป็นวัคซีนที่เด็กๆทุกคนต้องได้รับตั้งแต่แรกเกิด ถึงอายุ 12 ปี ได้แก่ บีซีจี, ตับอักเสบบี, คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี, โปลิโอชนิดหยอด, โปลิโอชนิดฉีด, หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน, ไข้สมองอักเสบเจอี เป็นต้น ซึ่งสามารถรับวัคซีนได้ที่ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ เช่น รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายค่ะ

    • วัคซีนกลุ่มทางเลือกหรือวัคซีนเสริม

    เป็นวัคซีนกลุ่มที่นอกเหนือจากวัคซีนกลุ่มพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกฉีดหรือไม่ก็ได้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการฉีดตามแต่ละประเภทของวัคซีนและบริการของโรงพยาบาลนั้นๆ เช่น วัคซีนป้องกันโรคท้องเสียจากไวรัสโรต้า, วัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซีนอีสุกอีใส, วัคซีนตับอักเสบเอ เป็นต้น

    ก่อนฉีดวัคซีนสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทราบ เพื่อประโยชน์ต่อตัวลูกน้อยและคุณพ่อคุณแม่ค่ะ เพราะวัคซีนเป็นวิธีการเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคที่สำคัญค่ะ นอกจากการไปตามนัดของคุณหมอแล้วสิ่งที่คุณแม่ต้องทราบ ได้แก่

    • หากลูกมีอาการไอ น้ำมูกไหล หรือถ่ายเล็กน้อย สามารถฉีดวัคซีนได้ แต่ถ้าลูกป่วยมีไข้สูงควร ให้รอ 1 สัปดาห์หรือให้ลูกหายก่อนแลัวค่อยฉีดค่ะ
    • วัคซีนไอกรน ไอกรน คอตีบ บาดทะยัก DTP (ฉีดเมื่อลูกอายุ 2, 4, 6, 18 เดือนและ 4 ขวบ) อาจส่งผลข้างเคียงได้เช่น มีไข้สูง เป็นต้น
    • ไม่ควรให้ลูกกินยาพาราก่อนไปรับวัคซีนเพื่อดักไข้ เพราะลดประสิทธิภาพของวัคซีนค่ะ
    • วัคซีนบางชนิดฉีดแล้วลูกยังป่วยได้ค่ะ แต่ลดความรุนแรงลงได้ 50-90% เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรต้า เป็นตัน เพราะการฉีดวัคซีนเป็นการกระตุ้นระบบภูมิต้านทานโรค ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและความรุนแรงของโรคค่ะ

    การดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน

    เนื่องจากการฉีดวัคซีนบางชนิดอาจส่งผลข้างเคียงได้ค่ะ เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวด บวมแดงบริเวณแผล และในบางรายอาจมีการแพ้รุนแรงได้ค่ะ ดังนั้นควรสังเกตอาการลูกน้อยหลังได้รับวัคซีนค่ะ หากสงสัยหรือพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ค่ะ แต่บางกรณีคุณสามารถดูแลลูกน้อยในเบื้องต้นได้ค่ะ เช่น

    • หลังฉีดวัคซีนลูกอาจมีไข้ใน 1-2 วัน ยกเว้นวัคซีนหัด MMR อาจมีไข้หลังฉีด 1 สัปดาห์ ซึ่งสามารถทานพาราลดไข้ร่วมกับเช็ดตัวได้ค่ะ
    • กรณีมีเลือดออกรอยฉีดวัคซีนให้คุณแม่กดเบาๆนิ่งๆที่แผลห้ามถูไปมาค่ะ กรณีที่เลือดไม่หยุดไหลควรกลับไปพบแพทย์ค่ะ
    • มีอาการปวดบวมแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีนใน 24 ชั่วโมงแรกให้ประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดค่ะ โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นค่อยประคบบริเวณนั้นแต่ไม่ควรนาบตรงๆหรือแช่ไว้นานๆค่ะ และประคบอุ่นเพื่อลดอาการบวมช้ำค่ะ แต่หากอาการได้ดีขึ้นใน 7 วัน ควรพาลูกไปพบแพทย์ค่ะ
    • แผลฉีดวัคซีนเป็นก้อนไตแข็ง คุณแม่ไม่ต้องตกใจค่ะเนื่องจากก้อนไตนั้นสามารถหายได้เองใน 2-3 วันค่ะ
    • มีฝีหนองหรือแผลอักเสบเป็นหนอง ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ค่ะ
    • กรณีที่ลูกมีอาการกระสับกระส่าย หายใจลำบาก อาเจียน ท้องเสีย ชัก ฯลฯ ควรรีบพบแพทย์ทันทีค่ะ เพราะอาการเหล่านี้อาจเกิดจากการแพ้วัคซีนนั้นได้ค่ะ

    นอกจากนี้ในกรณีที่ไม่สามารถพาลูกมาฉีดวัคซีนตามกำหนดได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถพาน้องไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนตามความเหมาะสมได้ค่ะ หรือในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการฉีดวัคซีนก่อนกำหนด คุณพ่อคุณแม่สามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ได้ค่ะ แต่การฉีดวัคซีนที่ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุดควรได้รับได้กำหนดระยะเวลาค่ะ

  • 6 โรคยอดฮิตในฤดูหนาว ที่เด็ก ๆ มักเป็นกันบ่อย

    6 โรคยอดฮิตในฤดูหนาว ที่เด็ก ๆ มักเป็นกันบ่อย

    ตอนนี้เราได้เข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการแล้ว และหลายๆพื้นที่อาจมีอากาศเย็นลงบางแล้ว ซึ่งช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงคุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวัง เด็กๆไม่สบายเยอะมากค่ะ เนื่องจากอากาศแห้งและเย็นจึงเอื้อต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆ และในบางพื้นที่อาจจะเย็นลงโดยเฉียบพลัน ทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายต้องปรับอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายโดยเฉพาะเด็กๆ ซึ่งต้องระมัดระวัง 6 โรคระบาดที่มาพร้อมกับหน้าหนาว ดังนี้

    โรคไข้หวัดใหญ่(Influenza)

    โรคไข้หวัดใหญ่

    ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจคล้ายโรคหวัดธรรมดา แต่มีความรุนแรงมากกว่ามาก เกิดจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน จากเชื้อไวรัสอินฟลูเอ็นซาไวรัส (influenza virus) ไข้หวัดใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ชนิดเอ ชนิดบีและชนิดซี และเป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบบ่อยมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว

    อาการไข้หวัดใหญ่ โดยจะมีอาการหนาวสั่น มีไข้สูง 38-41 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะรุนแรง คัดจมูก มีน้ำมูกใส เจ็บคอ ปวดเหมื่อยตามกล้ามเนื้อ ในเด็กมักจะพบอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

    การรักษาไข้หวัดใหญ่ คุณแม่สามารถดูแลในเบื้องต้นได้ด้วยการทานยาสดไข้สำหรับเด็ก ดื่มน้ำสะอาดมากๆ นอนหลับพักผ่อน หากลูกมีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส ควรพบแพทย์ทันที เพื่อป้องกันอาการรุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

    การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป และการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

    (more…)

  • โรคอีสุกอีใส(chickenpox)

    โรคอีสุกอีใส(chickenpox)

    โรคอีสุกอีใส(chickenpox)
    คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่า โรคอีสุกอีใส หรือโรคสุกใส เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีค่ะ เป็นโรคที่มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและติดต่อกันง่าย โดยการหายใจ ไอจามใส่กัน รวมถึงการสัมผัสตุ่มแผลของโรคโดยตรง รวมถึงการสัมผัสเสื้อผ้า สิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆของผู้ป่วย
    โรคอีสุกอีใสเกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลล่า(Varicella) มีระยะฟักตัวประมาณ 10 – 21 วันหลังจากได้รับชื้อไวรัส อาการเริ่มต้นผิวหนังมีผื่นคัน มีตุ่มนูนขนาดเล็กหรือตุ่มน้ำใสๆทั่วร่างกาย และผู้ป่วยจะเริ่มแพร่เชื้อได้ในช่วงประมาณ 5 วันก่อนขึ้นผื่น ยาวไปจนถึงเมื่อตุ่มน้ำแห้งแตกเป็นสะเก็ดหมดแล้ว

    อาการโรคอีสุกอีใส
    อาการโรคอีสุกอีใส,สาเหตุ

    อาการโรคอีสุกอีใส เริ่มต้นด้วยการมีไข้ รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามตัว เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะ เจ็บคอ รู้สึกอ่อนเพลียช่วง 1 – 2 วันแรกหลังจากนั้นไข้จะลดลงอาการต่างๆดีขึ้น แต่จะมีผื่นคนเป็นจุดแดงๆขึ้นตามหน้า ลำตัว หลัง แขนขา รวมถึงอวัยวะเพศค่ะ และต่อจากนั้นผื่นแดงจะเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใสๆ(ตุ่มหนองเมื่อเชื้อแบคทีเรีย) หรืออาจมีตุ่มพองทยอยเกิดต่อเนื่องได้อีกภายใน 3 – 6 วัน หลังจากนั้นตุ่มจะแห้งตกสะเก็ดภายใน 1 – 3 วัน และสะเก็ดแผลจะค่อยๆลอกจางหายไปกลับเป็นปกติภายในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ค่ะ

    ภาวะแทรกซ้อนโรคอีสุกอีใส
    โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ไม่รุนแรงและหายเองได้ โดยความรุนแรงของโรคขึ้นกับอายุและสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย รวมถึงการรักษาที่ไม่ถูกต้องก็อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ค่ะ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อ โรคปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีปัญหาเลือดออก ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ

    การรักษาโรคอีสุกอีใสในเด็ก

    การดูแลลูกเมื่อเป็นโรคอีสุกอีใส
    โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่หายได้เองและอาการไม่รุนแรงสามารถดูแลตนเองได้ที่บ้าน ซึ่งการรักษาทั่วไปจะเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนค่ะ หากลูกมีไข้ให้คุณพ่อคุณแม่เช็ดตัวร่วมกับการทานยาลดไข้พาราเซตามอล ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำมากๆและพักผ่อนให้เพียงพอ ทายาแก้คันเพื่อบรรเทาอาการคัน หลีกเลี่ยงการพาลูกไปในที่ชุมชมเพื่อลดการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกด้วย หากพบว่าถ้ามีไข้สูง มีผื่นขึ้นตามตัวมาก มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงขึ้น เช่น แน่นหน้าอก หายใจหอบ ซึมลง ชัก ควรพาลูกไปพบคุณแพทย์ทันที เพราะอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ค่ะ

    การดูแลรักษาแผลอีสุกอีใสไม่ให้เป็นแผลเป็น
    การป้องกันแผลอีสุกอีใสเพื่อไม่ให้เป็นแผลทางที่ดีที่สุดคือ ไม่ควรไปเกาหรือแกะตุ่มใส หากมีอาการคันให้ทายาแก้คัน ตัดเล็บให้สั้นเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียที่มือและเล็บสามารถเข้าสู่กระแทรกเลือด อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆต่อมาได้ค่ะ แต่ถ้าแผลมีการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นหนองแล้วสามารถทานยาปฏิชีวนะจะทำให้แผลตกสะเก็ดหลุดหายไปได้เองค่ะ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่ควรซื้อยามาทานเองค่ะ

    การป้องกันโรคอีสุกอีใส
    เนื่องจากโรคสุกใสสามารถติดต่อได้โดยการไอจามและหายใจรดกัน รวมทั้งสัมผัสกับผื่นของโรคหรือของใช้ส่วนตัวผู้ป่วย ดังนั้นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส โดยเริ่มฉีดเข็มแรกได้ตั้งแต่อายุประมาณ 12-15 เดือน และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4 – 6 ปี สำหรับท่านไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคจะต้องฉีด 2 เข็มเช่นเดียวกันค่ะ โดยการฉีดวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่ 2 ห่างกันประมาณ 28 วันค่ะ การฉีดวัคซีนเพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดโรคและลดความรุนแรงของโรคได้ค่ะ สำหรับสตรีมีครรภ์หรือหรือมีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการฉีดวัคซีนค่ะ

  • โรคในเด็กที่มากับฤดูหนาว

    โรคในเด็กที่มากับฤดูหนาว

    โรคในเด็กที่มากับฤดูหนาว

    สวัสดีค่ะ
    ช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ มักจะมาพร้อมกับโรคภัยไข้เจ็บของเด็กๆ วันนี้แอดมินจะพาคุณพ่อคุณแม่มารู้จักโรคและการรับมือกับโรคต่างๆที่มาพร้อมกับฤดูหนาว ตามมากันเลยค่ะ

    โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

    โรคไข้หวัดใหญ่(Influenza)
    โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลันเช่นเดียวกับไข้หวัด แต่เกิดจากไวรัสคนละชนิดและมีความรุนแรงสูงกว่าโรคหวัดธรรมดามาก ไข้หวัดใหญ่มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ ชนิดเอ ชนิดบีและชนิดซี โดยจะมีอาการหนาวสะท้าน มีไข้สูง ปวดศรีษะรุนแรง คัดจมูก เจ็บคอ ปวดเหมื่อยตามร่างกาย ในเด็กจะพบอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หากพบว่ามีอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายและรักษาต่อไป
    การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรดื่มน้ำให้มากค่ะ หรือการฉีดวัคซีนซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไปค่ะ รวมถึงการไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น ใช้หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อ และใช้ยาที่ถูกต้องจากแพทย์ค่ะ

    โรคไข้หวัด(Common cold)

    โรคไข้หวัด(Common cold)
    โรคหวัดธรรมดา เป็นโรคที่พบบ่อยมาก ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ แพร่เชื้อได้ง่ายด้วยการไอ จาม หรือสัมผัสที่ของที่ปนเปื้อนเชื้อโรคแล้วนำเข้าปาก ลักษณะอาการใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่แต่อาการไม่รุนแรง มีไข้(แต่ไม่สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส) คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม บางคนครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย และอาการคันคอเป็นอาการเด่น อาการส่วนใหญ่จะหายได้เองใน 3-4 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์
    โรคไข้หวัดธรรมดาไม่มีวัคซีนป้องกัน เนื่องจากมีเชื้อไวรัสหลายชนิด วิธีการรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ถ้าลูกมีไข้ให้ทานยาลดไข้พาราเซตามอลและเช็ดตัวเพื่อลดไข้ หรือหากมีอาการไอ เจ็บคอ เลือกรับประทานยาแก้ไอขับเสมหะ ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรดื่มน้ำให้มากๆ

    โรคบอดบวมในเด็ก

    โรคปอดบวม (Pneumonia)
    โรคปอดบวม หรือ ภาวะการอักเสบของปอด เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และพยาธิ โดยเชื้อแบคทีเรียพบบ่อยในเด็ก ได้แก่ เชื้อนิวโมคอคคัส เชื้อรา หรือสารเคมี เป็นต้น โดยสามารถแพร่กระจายออกมาเวลาไอ จามค่ะ อาการจะคล้ายไข้หวัดธรรมดาคือ มีไข้ ไอ คัดจมูก แต่จะมีอาการอื่นๆร่วม ดังนี้ หนาวสั่น หายใจเหนื่อย ไอแห้งๆ หรือมีเสมหะ มีเสียงหายใจครืดคราด มีการเจ็บหน้าอกบริเวณที่อักเสบ
    โรคปอดบวมสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโรคที่ทำให้เกิดปอดบวม เช่น วัคซีนไอพีดี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น รวมถึงการหลีกเหลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคปอดบวม หมั่นทำความสะอาดบ้าน สวมใส่เสื้อกันหนาวและเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกายเสมอ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนฝึกให้ลูกล้างมือบ่อยๆ และดื่มน้ำมากๆค่ะ

    โรคหัดหรือไข้ออกผื่นในเด็ก

    โรคหัด (Measles)
    โรคหัด หรือ โรคไข้ออกผื่น มักพบในเด็กอายุ 2-14 ปีและพบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่เรียกว่า รูบีโอราไวรัส (rubeola virus) โดยเชื้อจะมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ และปัสสาวะของผู้ป่วย สามารถติดต่อได้โดยการไอ จามรดกันโดยตรงหรือการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าไป รวมถึงการสัมผัสการใช้สิ่งเครื่องใช้ต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ของเล่น เป็นต้น โรคหัดหากเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ อาการระยะก่อนออกผื่น จะมีไข้สูงอยู่ตลอดเวลารับประทานยาลดไข้ก็ไม่ลด เด็กจะมีอาการซึม กระสับกระส่าย ร้องงอแง ไม่ทานอาหาร เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มักไอแห้งตลอดเวลา มีน้ำมูกมาก ปากและจมูกแดง และอาจจะมีไข้สูงประมาณ 3 – 4 วัน จึงเริ่มมีผื่นจากหลังหูลามไปยังหน้าและร่างกาย มีลักษณะราบสีแดงขนาดเท่าหัวเข็มหมุด เป็นผื่นแบบไม่คันและหลังจากผื่นออกเต็มที่แล้วจะค่อย ๆ จางลง และหายไปภายใน 7-10 วัน แต่บางรายก็อาจนานกว่านั้น
    การป้องกันรักษาสามารถทำได้โดยการวัคซีนป้องกันโรคเพียงครั้งเดียวในช่วงที่เด็กมีอายุ 9-12 เดือน รวมถึงควรดูแลสุขภาร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำมากๆและพักผ่อนให้เพียงพอ

    โรคอีสุกอีใสในเด็ก

    โรคอีสุกอีใส (Chickenpox/Varicella)
    โรคอีสุกอีใส หรือโรคไข้สุกใส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาไวรัส (Varicella virus) หรือ Human herpesvirus type 3 โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 10-21 วัน และสามารถติดต่อผ่านทางลมหายใจ ไอ จาม การสัมผัสถูกตุ่มน้ำของผู้ป่วยหรือการใช้สิ่งของเครื่องของร่วมกัน ลักษณะของอาการมีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นแดง ตุ่มนูน ตุ่มพองใส หรือบางที่เป็นตุ่มกลัดหนอง และสะเก็ดแผลก็จะค่อยๆ ลอกจางหายกลับเป็นปกติ ควรหลีกเลี่ยงการแกะเกาตุ่ม ดื่มน้ำให้มาก พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

    โรคหัดเยอรมันในเด็ก

    โรคหัดเยอรมัน (Rubella)
    โรคหัดเยอรมัน หรือ หัดสามวัน เป็นโรคไข้ออกผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสรูเบลลาไวรัส (Rubella virus) ซึ่งมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย สามารถแพร่เชื้อและติดต่อโดยการ ไอ จาม หรือหายใจรดกัน เช่นเดียวกับไข้หวัดหรือหัด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้และออกผื่นคล้ายกับโรคหัด แต่จะมีความรุนแรงน้อยกว่าหัด และมักจะหายได้เองโดยไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ลักษณะของผื่นเป็นเม็ดละเอียดสีแดง กระจัดกระจาย ทั่วร่างกายอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น และจะหายไปภายใน 3 วัน
    การป้องกันรักษาสามารถทำได้โดยการวัคซีนป้องกันโรคโรคหัดตามช่วงอายุที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดค่ะ

    โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

    โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Gastroenteritis)
    โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และปาราสิต ซึ่งเชื้อไวรัสโรต้า (Rota virus) มักพบได้บ่อยในเด็กอายุเล็กต่ำกว่า 5 ปี ทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรงอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว และมักมีอาการไข้ อาเจียน ในเด็กมีอาการซึม มือเท้าเย็น ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ตาโหล ปากแห้ง กระหายน้ำ ซึ่งเกิดจากร่างกายขาดน้ำ ต้องระวังให้มากอาจเกิดการช็อกได้
    การป้องกันเบื้องต้นทำได้โดยรับประทานอาหารที่สุก ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการรับประทานอาหาร การป้องกันสามารถฉีดวัคซีนป้องกัน โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้าได้ ล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหารทาน เลือกอาหารที่ปรุงสุก สะอาด สด ร้อน เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่แฝงมากับอาหารค่ะ

    นอกจากนี้ การป้องกันดูแลลูกให้ห่างไกลโรคต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่ และสังเกตอาการลูกเสมอ หากพบว่าลูกป่วยควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ