โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease: CHD) เป็นหนึ่งในโรคที่ร้ายแรงที่สุดที่มีผลต่อทารก เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื้อต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอและส่งผลกระทบต่อระบบหายใจมากที่สุด โรคหัวใจพิการเป็นหนึ่งโรคที่พบบ่อยในทารกแรกเกิดค่ะ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันค่ะ โดยแบ่งเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้ ความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเกิดจากทำงานของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดของหัวใจทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควรค่ะ ความผิดปกติของผนังหัวใจ เกิดรูรั่วระหว่างห้องหัวใจซึ่งอาจทำให้เลือดและออกซิเจนจากหัวใจทั้งสองห้องมาผสมกันได้ค่ะ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ในบางรายอาจมีลิ้นหัวใจแคบเกินไป ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิทจนทำให้เลือดไหลย้อนกลับค่ะ สาเหตุของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหัวใจพิการปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของความผิดปกติ ซึ่งอาจมีปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสของการเกิดโรคหัวใจพิจารแต่กำเนิดได้ ได้แก่ พันธุกรรม การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ การทานยาบางชนิดระหว่างการตั้งครรภ์ที่อาจส่งผลกระทบ รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติดขณะตั้งครรภ์ค่ะ อาการของโรคหัวใจพิการ ในเด็กที่มีภาวะหัวใจพิการในบางรายอาจแสดงอาการตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และภายหลังจากคลอด ซึ่งอาจแสดงอาการทั่วไปดังนี้ ผิว ริมฝีปาก ลิ้นและเล็บมีสีสีเทาหรือเขียว มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ไม่กินนม ง่วงซึม มีอาการบวมบริเวณขา ท้องหรือรอบดวงตา เป็นต้น ในเด็กบางที่รายที่ไม่แสดงอาการใดๆจนเริ่มโตมักจะแสดงอาการต่างๆที่คุณสามารถสังเกตได้ดังนี้ เวียนหัว เหนื่อยง่ายหรือหมดสติในระหว่างการออกกำลังกายหรือในระหว่างการทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังค่ะ การรักษาโรคหัวใจพิการ การรักษาความผิดปกติของหัวใจในเด็กจะขึ้นอยู่กับความผิดปกติที่เกิดขึ้นค่ะ ซึ่งในกรณีที่ภาวะความผิดปกติไม่รุนแรงอาจหายดีได้โดยไม่ต้องรักษาค่ะ แต่ในกรณีที่มีภาวะรุนแรงต้องได้รับการรักษาทันทีที่ตรวจพบค่ะ โดยอาจจะรักษาด้วยการทานยา การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ การสวนหัวใจและหลอดเลือด […]