โรคหัด โรคที่มากับฤดูหนาว
โรคหัด หรือ โรคไข้ออกผื่น โรคชนิดหนึ่งที่พบมากในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูร้อน พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตค่ะ มีการระบาดและการติดต่อได้ง่าย คุณหมอ ผศ. นพ. ชนเมศ เตชะแสนสิริ สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ออกมาเตือนให้ระวังโรคหัดระบาดในหน้าหนาว พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันโรคหัดในเด็กค่ะ โรคหัด หรือโรคไข้ออกผื่น เกิดจากเชื้อไวรัสหัด (Measles virus) ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ สามารถแพร่เชื้อและติดต่อกันได้ผ่านทางอากาศโดยการไอ จาม หายใจรดกัน การสัมผัสสารน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง หรือใช้สิ่งของร่วมกัน โดยเชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจก่อนแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กเล็กโดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กถึงแม้จะมีวัคซีนฉีดป้องกันโรคค่ะ อาการของโรคหัดในเด็กโรคหัดจะมีอาการคล้ายไข้หวัดมีระยะฟักตัว 10 – 14 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส ระยะเริ่มแรกจะมีไข้ขึ้นสูงถึง 40 องศาเซลเซียส แล้วจึงมีน้ำมูก ไอแห้งบ่อยๆ เจ็บคอ ตาเยิ้มแดง จมูกแดง และจะมีตุ่มคอพลิค (Koplik Spots) หรือตุ่มแดงที่มีสีขาวเล็กๆตรงกลางขึ้นในกระพุ้งแก้ม ซึ่งจะเป็นตุ่มที่เกิดเฉพาะในโรค […]