Tag: โรคหัด

  • โรคหัดระบาด กรมคุมโรคเร่งรณรงค์ฉีดวัคซีนกลุ่มเด็กอายุ 1-12 ปี

    โรคหัดระบาด กรมคุมโรคเร่งรณรงค์ฉีดวัคซีนกลุ่มเด็กอายุ 1-12 ปี

    หัด คือโรคชนิดหนึ่งที่พบการระบาดมากในช่วงฤดูหนาว ซึ่งในปีนี้พบผู้ป่วยในหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง นานาประเทศร่วมมือกันเพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์ของโรคหัด ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เร่งดำเนินการตามมาตรการรณรงค์ป้องกันโรคหัด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กอายุ 1 – 12 ปี ให้ได้รับการฉีดวัคซีนวัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมันในกลุ่มที่ยังไม่เคยได้รับตามเกณฑ์ “ฟรี” ทั่วประเทศ โดยผู้ปกครองสามารถพาเด็กๆเข้ารับการฉีดวัคซีนฟรี ณ สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งถึงเดือนมีนาคม 2563 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 ค่ะ 

    โรคหัดคืออะไร

    โรคหัด หรือไข้ออกผื่น เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจโดยเกิดจากเชื้อไวรัสหัด(Measles virus) ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 4 ปี และเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตในเด็กถึงแม้จะมีวัคซีนฉีดป้องกันโรค โรคหัดสามารถติดต่อกันได้ง่ายผ่านการไอ จาม หายใจรดกัน หรือการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส

    โรคหัดในเด็ก

    อาการของโรคหัด

    โรคหัดจะมีระยะฟักตัว 10 – 14 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส โดยจะมีอาการทั่วไปดังนี้

    • ในระยะแรกของการติดเชื้อ จะมีอาการคล้ายไข้หวัด อาจมีไข้ขึ้นสูงถึง 40 องศาเซลเซียส มีน้ำมูก ไอแห้งบ่อย เจ็บคอ ตาเยิ้มแดงและจะมีตุ่มคอพลิค (Koplik Spots) หรือตุ่มแดงที่มีสีขาวเล็กๆตรงกลางขึ้นในกระพุ้งแก้ม ซึ่งจะเป็นตุ่มที่เกิดเฉพาะในโรค “หัด” เท่านั้นค่ะ
    • หลังจากมีไข้สูงประมาณ 3 – 4 วัน จะมีผื่นแดงๆกระจายขึ้นตามร่างกาย แขนและขา โดยผื่นจะค่อยๆโตขึ้นและมีสีเข้มขึ้น และหลังจากผื่นคันนี้ 3 – 5 วัน อาการก็จะดีขึ้นเรื่อยๆและหายไปเองค่ะ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่นๆ

    ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของโรคหัด

    ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมักเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี หรือเด็กภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตในเด็กค่ะ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ อุจจาระร่วงซึ่งจะนำไปสู่อาการขาดน้ำ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ หูอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ตาบอด ตับอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือสมองอักเสบซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคหัด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาทันทีค่ะ

    ฉีดวัคซีน

    การป้องกันโรคหัด

    โรคหัดสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนตามกำหนดค่ะ ซึ่งเป็นวัคซีนที่ป้องกันได้ทั้งโรคหัด(Measles) คางทูม(Mumps) และหัดเยอรมัน(Rubella) โดยเข็มแรกจะฉีดตอนอายุ 9-12 เดือน และเข็มที่ 2 ตอนอายุ 2 ขวบครึ่ง ในการฉีดวัคซีนนี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น มีไข้ ผื่นขึ้นเล็กน้อยคล้ายผื่นโรคหัดและหายไปเองค่ะ นอกจากนี้การป้องกันโรคต่างที่ดีที่สุดคือ การดูแลรักษาสุขภาพของลูกน้อย ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคหัดควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่มีผู้คนมาก ห้างสรรพสินค้า หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคหัด เป็นต้น

  • 6 โรคยอดฮิตในฤดูหนาว ที่เด็ก ๆ มักเป็นกันบ่อย

    6 โรคยอดฮิตในฤดูหนาว ที่เด็ก ๆ มักเป็นกันบ่อย

    ตอนนี้เราได้เข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการแล้ว และหลายๆพื้นที่อาจมีอากาศเย็นลงบางแล้ว ซึ่งช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงคุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวัง เด็กๆไม่สบายเยอะมากค่ะ เนื่องจากอากาศแห้งและเย็นจึงเอื้อต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆ และในบางพื้นที่อาจจะเย็นลงโดยเฉียบพลัน ทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายต้องปรับอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายโดยเฉพาะเด็กๆ ซึ่งต้องระมัดระวัง 6 โรคระบาดที่มาพร้อมกับหน้าหนาว ดังนี้

    โรคไข้หวัดใหญ่(Influenza)

    โรคไข้หวัดใหญ่

    ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจคล้ายโรคหวัดธรรมดา แต่มีความรุนแรงมากกว่ามาก เกิดจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน จากเชื้อไวรัสอินฟลูเอ็นซาไวรัส (influenza virus) ไข้หวัดใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ ชนิดเอ ชนิดบีและชนิดซี และเป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบบ่อยมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว

    อาการไข้หวัดใหญ่ โดยจะมีอาการหนาวสั่น มีไข้สูง 38-41 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะรุนแรง คัดจมูก มีน้ำมูกใส เจ็บคอ ปวดเหมื่อยตามกล้ามเนื้อ ในเด็กมักจะพบอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

    การรักษาไข้หวัดใหญ่ คุณแม่สามารถดูแลในเบื้องต้นได้ด้วยการทานยาสดไข้สำหรับเด็ก ดื่มน้ำสะอาดมากๆ นอนหลับพักผ่อน หากลูกมีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส ควรพบแพทย์ทันที เพื่อป้องกันอาการรุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

    การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป และการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

    (more…)

  • โรคในเด็กที่มากับฤดูหนาว

    โรคในเด็กที่มากับฤดูหนาว

    โรคในเด็กที่มากับฤดูหนาว

    สวัสดีค่ะ
    ช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ มักจะมาพร้อมกับโรคภัยไข้เจ็บของเด็กๆ วันนี้แอดมินจะพาคุณพ่อคุณแม่มารู้จักโรคและการรับมือกับโรคต่างๆที่มาพร้อมกับฤดูหนาว ตามมากันเลยค่ะ

    โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

    โรคไข้หวัดใหญ่(Influenza)
    โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลันเช่นเดียวกับไข้หวัด แต่เกิดจากไวรัสคนละชนิดและมีความรุนแรงสูงกว่าโรคหวัดธรรมดามาก ไข้หวัดใหญ่มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ ชนิดเอ ชนิดบีและชนิดซี โดยจะมีอาการหนาวสะท้าน มีไข้สูง ปวดศรีษะรุนแรง คัดจมูก เจ็บคอ ปวดเหมื่อยตามร่างกาย ในเด็กจะพบอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หากพบว่ามีอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายและรักษาต่อไป
    การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรดื่มน้ำให้มากค่ะ หรือการฉีดวัคซีนซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไปค่ะ รวมถึงการไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น ใช้หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่เชื้อ และใช้ยาที่ถูกต้องจากแพทย์ค่ะ

    โรคไข้หวัด(Common cold)

    โรคไข้หวัด(Common cold)
    โรคหวัดธรรมดา เป็นโรคที่พบบ่อยมาก ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ แพร่เชื้อได้ง่ายด้วยการไอ จาม หรือสัมผัสที่ของที่ปนเปื้อนเชื้อโรคแล้วนำเข้าปาก ลักษณะอาการใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่แต่อาการไม่รุนแรง มีไข้(แต่ไม่สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส) คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม บางคนครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย และอาการคันคอเป็นอาการเด่น อาการส่วนใหญ่จะหายได้เองใน 3-4 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์
    โรคไข้หวัดธรรมดาไม่มีวัคซีนป้องกัน เนื่องจากมีเชื้อไวรัสหลายชนิด วิธีการรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ถ้าลูกมีไข้ให้ทานยาลดไข้พาราเซตามอลและเช็ดตัวเพื่อลดไข้ หรือหากมีอาการไอ เจ็บคอ เลือกรับประทานยาแก้ไอขับเสมหะ ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรดื่มน้ำให้มากๆ

    โรคบอดบวมในเด็ก

    โรคปอดบวม (Pneumonia)
    โรคปอดบวม หรือ ภาวะการอักเสบของปอด เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และพยาธิ โดยเชื้อแบคทีเรียพบบ่อยในเด็ก ได้แก่ เชื้อนิวโมคอคคัส เชื้อรา หรือสารเคมี เป็นต้น โดยสามารถแพร่กระจายออกมาเวลาไอ จามค่ะ อาการจะคล้ายไข้หวัดธรรมดาคือ มีไข้ ไอ คัดจมูก แต่จะมีอาการอื่นๆร่วม ดังนี้ หนาวสั่น หายใจเหนื่อย ไอแห้งๆ หรือมีเสมหะ มีเสียงหายใจครืดคราด มีการเจ็บหน้าอกบริเวณที่อักเสบ
    โรคปอดบวมสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโรคที่ทำให้เกิดปอดบวม เช่น วัคซีนไอพีดี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น รวมถึงการหลีกเหลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคปอดบวม หมั่นทำความสะอาดบ้าน สวมใส่เสื้อกันหนาวและเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกายเสมอ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนฝึกให้ลูกล้างมือบ่อยๆ และดื่มน้ำมากๆค่ะ

    โรคหัดหรือไข้ออกผื่นในเด็ก

    โรคหัด (Measles)
    โรคหัด หรือ โรคไข้ออกผื่น มักพบในเด็กอายุ 2-14 ปีและพบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่เรียกว่า รูบีโอราไวรัส (rubeola virus) โดยเชื้อจะมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ และปัสสาวะของผู้ป่วย สามารถติดต่อได้โดยการไอ จามรดกันโดยตรงหรือการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าไป รวมถึงการสัมผัสการใช้สิ่งเครื่องใช้ต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ของเล่น เป็นต้น โรคหัดหากเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ อาการระยะก่อนออกผื่น จะมีไข้สูงอยู่ตลอดเวลารับประทานยาลดไข้ก็ไม่ลด เด็กจะมีอาการซึม กระสับกระส่าย ร้องงอแง ไม่ทานอาหาร เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มักไอแห้งตลอดเวลา มีน้ำมูกมาก ปากและจมูกแดง และอาจจะมีไข้สูงประมาณ 3 – 4 วัน จึงเริ่มมีผื่นจากหลังหูลามไปยังหน้าและร่างกาย มีลักษณะราบสีแดงขนาดเท่าหัวเข็มหมุด เป็นผื่นแบบไม่คันและหลังจากผื่นออกเต็มที่แล้วจะค่อย ๆ จางลง และหายไปภายใน 7-10 วัน แต่บางรายก็อาจนานกว่านั้น
    การป้องกันรักษาสามารถทำได้โดยการวัคซีนป้องกันโรคเพียงครั้งเดียวในช่วงที่เด็กมีอายุ 9-12 เดือน รวมถึงควรดูแลสุขภาร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำมากๆและพักผ่อนให้เพียงพอ

    โรคอีสุกอีใสในเด็ก

    โรคอีสุกอีใส (Chickenpox/Varicella)
    โรคอีสุกอีใส หรือโรคไข้สุกใส เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาไวรัส (Varicella virus) หรือ Human herpesvirus type 3 โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 10-21 วัน และสามารถติดต่อผ่านทางลมหายใจ ไอ จาม การสัมผัสถูกตุ่มน้ำของผู้ป่วยหรือการใช้สิ่งของเครื่องของร่วมกัน ลักษณะของอาการมีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นแดง ตุ่มนูน ตุ่มพองใส หรือบางที่เป็นตุ่มกลัดหนอง และสะเก็ดแผลก็จะค่อยๆ ลอกจางหายกลับเป็นปกติ ควรหลีกเลี่ยงการแกะเกาตุ่ม ดื่มน้ำให้มาก พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

    โรคหัดเยอรมันในเด็ก

    โรคหัดเยอรมัน (Rubella)
    โรคหัดเยอรมัน หรือ หัดสามวัน เป็นโรคไข้ออกผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสรูเบลลาไวรัส (Rubella virus) ซึ่งมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย สามารถแพร่เชื้อและติดต่อโดยการ ไอ จาม หรือหายใจรดกัน เช่นเดียวกับไข้หวัดหรือหัด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้และออกผื่นคล้ายกับโรคหัด แต่จะมีความรุนแรงน้อยกว่าหัด และมักจะหายได้เองโดยไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ลักษณะของผื่นเป็นเม็ดละเอียดสีแดง กระจัดกระจาย ทั่วร่างกายอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น และจะหายไปภายใน 3 วัน
    การป้องกันรักษาสามารถทำได้โดยการวัคซีนป้องกันโรคโรคหัดตามช่วงอายุที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดค่ะ

    โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

    โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Gastroenteritis)
    โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และปาราสิต ซึ่งเชื้อไวรัสโรต้า (Rota virus) มักพบได้บ่อยในเด็กอายุเล็กต่ำกว่า 5 ปี ทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรงอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว และมักมีอาการไข้ อาเจียน ในเด็กมีอาการซึม มือเท้าเย็น ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ตาโหล ปากแห้ง กระหายน้ำ ซึ่งเกิดจากร่างกายขาดน้ำ ต้องระวังให้มากอาจเกิดการช็อกได้
    การป้องกันเบื้องต้นทำได้โดยรับประทานอาหารที่สุก ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการรับประทานอาหาร การป้องกันสามารถฉีดวัคซีนป้องกัน โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้าได้ ล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหารทาน เลือกอาหารที่ปรุงสุก สะอาด สด ร้อน เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่แฝงมากับอาหารค่ะ

    นอกจากนี้ การป้องกันดูแลลูกให้ห่างไกลโรคต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่ และสังเกตอาการลูกเสมอ หากพบว่าลูกป่วยควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

  • โรคหัดในเด็ก (Measles)

    โรคหัดในเด็ก (Measles)

    สวัสดีค่ะ บทความนี้เราจะมาพูดคุยเกี่ยบกับโรคหัด ไข้ออกผื่น ที่มาพร้อมกับหน้าหนาวพบบ่อยได้ในเด็กเล็ก โดยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดในช่วงเด็กอายุ 1 – 6 ปี โรคหัดส่วนมากจะหายจากหัดได้เองแต่ในบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอื่นๆขึ้นมาได้และอาจเสียชีวิตได้ค่ะ ดังนั้นหากลูกเป็นโรคหัด คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร รวมถึงมีวิธีการป้องกันโรคหัดอย่างไรบ้างไปหาคำตอบกันค่ะ

    โรคหัด คืออะไร

    โรคหัดในเด็ก

    โรคหัด (Measles) เกิดจากไวรัส Rubeola Virus เป็นโรคที่ทำให้เกิดไข้ออกผื่น มีลักษณะเด่นคือ มีไข้ร่วมกับการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น มีน้ำมูก ไอบ่อย ตาแดง มีผื่นขึ้นที่ผิวหนังลักษณะเป็นผื่นนูนแดงติดกันเป็นปื้นๆ ผื่นจะขึ้นที่หน้าบริเวณชิดขอบผมแล้วกระจายไปตามลำตัว แขน ขา หลังจากนั้นไข้จะเริ่มลดลงและผื่นจะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีแดงคล้ำและจะจางหายไปเองค่ะ โรคหัดมีการติดต่อสู่คนได้ง่ายจากการหายใจ การไอ จามรดกัน การใช้สิ่งของร่วมกัน ของเล่น-ของใช้ที่ปนเปื้นเชื้อโรคและมักนำเข้าปากในเด็กเล็ก เนื่องจากเชื้อไวรัสจะอยู่ในละอองน้ำลายและน้ำมูกของผู้ป่วยค่ะ

    อาการของโรคหัด

    อาการของโรคหัดโดยทั่วไปจะเกิดอาการหลังจากได้รับเชื่อภายใน 14 วัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

    มีไข้
    • ระยะก่อนออกผื่น ลุกจะเริ่มด้วยการมีไข้สูง น้ำมูกไหล ไอแห้ง เจ็บคอ มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย จะเป็นแบบนี้อยู่ประมาณ 3-4 วันค่ะ
    มีไข้และออกผื่น
    • ระยะออกผื่น เด็กจะมีผื่นนูนแดงเป็นปื้นๆ ไม่คัน โดยขึ้นที่บริเวณโคนผม ใบหน้าก่อน หลังจากนั้นจะแพร่กระจายไปทั่วตัว เมื่อผื่นขึ้นไข้จะเริ่มลดลงค่ะ ผื่นจะมีสีแดงต่อมาสีจะเข้มขึ้นจนแดงคล้ำและหายไปเอง

    การรักษาโรคหัด

    พาลูกไปหาหมอ

    โรคหัด เนื่องจากยังไม่มีการรักษาเฉพาะจึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้อักเสบ ฯลฯ และโรคหัดสามารถหายเองได้ภายใน 7 – 10 วัน เมื่อดูปเป็นโรคหัดคุณพ่อคุณแม่สามารถดูแดลูกน้อยโดยการเด็กนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ ทานอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อเพิ่มภูมิต้านทางโรคให้แก่เด็กค่ะ แต่ถ้าหากลูกมีอาการไอมาก เสมหะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเขียว หรือหายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

    ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัด

    ภาวะแทรกของดรคหัด ซึ่งมักเกิดกับทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ในเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เด็กขาดสารอาหาร และภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ไปจนถึงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่สุขภาพไม่ดีค่ะ ภาวะแทรกที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ หูส่วนกลางอักเสบซึ่งอาจมีผลต่อการได้ยินของเด็กได้ โรคปอดอักเสบติดเชื้อ โรคสมองอักเสบ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร อุจจาระร่วง ไส้ติ่งอักเสบ ตับอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเสียชีวิตได้เช่นกันค่ะ ในกรณีของสตรีมีครรภ์ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหัด และติดเชื้อไวรัสนั้นมีโอกาสเสี่ยงแท้งบุตรหรือทารกเสียชีวิตในครรภ์หรือคลอดก่อนกำหนด

    การดูแลป้องกันโรคหัดในเด็ก

    การฉีดวัคซีน

    โรคหัดสามารถป้องกันได้ค่ะ หากเด็กได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดครบตามกำหนด ซึ่งเป็นวัคซีนที่ป้องกันได้ทั้งโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน โดยทารกสามารถรับวัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 9 – 12 เดือน และครั้งที่สองเมื่ออายุ 2 ปี 6 เดือน คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรพาบุตรหลานไปรับวัคซีนตามกำหนด เพื่อป้องกันโรคหัดและโรคแทรกซ้อนอันตรายอื่นๆที่อาจเกิดตามมาได้ค่ะ

    โรคหัดในเด็กอันตรายใกล้ตัวที่คุณพ่อคุณแม่ดูแลและป้องกันได้ค่ะ เพราะยุขภาพลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญ การดูแลป้องกันย่อยดีกว่าการแก้ไขเสมอค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • โรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    โรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    โรคหลอดลมอักเสบในเด็กกลุ่มที่ได้รับความนิยมในหมู่เด็กหลายคนที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ บทความที่เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคหลอดลมอักเสบค่ะ

    โรคหลอดลมอักเสบ

    โรคหลอดลมอักเสบ

    คือโรคที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลมซึ่งเป็นท่อที่นำลม หรืออากาศที่หายใจเข้าสู่ปอด เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่งของเด็กค่ะ อาการโดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกับการเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ ไอและมีเสมหะ เจ็บคอ แสบคอ หรือเจ็บหน้าอกได้ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก หรืออาจหายใจมีเสียงดังหวีดได้ และอาจมีไข้ร่วมด้วย โรคหลอดลมอักเสบในเด็กโดยทั่วไปแล้วไม่มีความรุนแรงสามารถรักษาให้หายได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลให้ถูกวิธีอาจส่งผลให้ลุกลามไปเป็นปอดอักเสบ หรือปอดบวมในเด็กที่มีความรุนแรงได้ค่ะ หากมีอาการไข้สูงไม่ลดลงภายใน 48 ชั่วโมง ภายหลังกินยาลดไข้ มีอาการไอมาก ซึม เพลีย และมีอาการอาเจียน หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ควรรีบนำเด็กไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

    สาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก 

    สาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก 

    มีดังต่อไปนี้

    • เชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ ไวรัสโรคหัด ไวรัสRSV ซึ่งสาเหตุจากเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุพบบ่อยที่สุด
    • เชื้อแบคทีเรีย เช่น มัยโคพลาสมา หรือ คลามัยเดีย เชื้อโรคไอกรน ฯลฯ
    • การแพ้หรือระคายเคืองต่อสารบางอย่างที่สูดดมเข้าไป จนทำให้หลอดลมเกิดการอักเสบ เช่น ควันบุหรี่ เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง เป็นต้น

    การรักษาและการดูแลโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    การรักษาและการดูแลโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    การรักษาโรคนี้ส่วนมากจะรักษาตามอาการค่ะ เนื่องจากว่าโรคหลอดลมอักเสบนั้นเกิดขึ้นจากไวรัสเกือบทั้งหมด จึงไม่มียาที่จำเพาะสำหรับการรักษา เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากเชื้อไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ ที่จะมียาต้านทานไวรัสไข้หวัดใหญ่รักษาได้ค่ะ ในระยะแรกคุณหมออาจใช้วิธีพ่นยา ทานยาละลายเสมหะ และยาขยายหลอดลม หรือยาฆ่าเชื้อจนกว่าอาการจะดีขึ้นค่ะ และคุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกด้วยการให้ลูกพักผ่อนให้มากๆ ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ เพราะน้ำเป็นยาละลายเสมหะที่ดีที่สุด หลีกเลี่ยงการทานของเย็น รวมถึงการเลี่ยงอากาศที่เย็นโดยเฉพาะแอร์และพัดลมไม่ควรเป่าจ่อตัวลูกโดยตรงและควรห่มผ้าให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายค่ะ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ค่ะ

    การป้องกันโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    การป้องกันโรคหลอดลมอักเสบในเด็ก

    สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบางโรค เช่น โรคหัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไอกรน ฯลฯ เนื่องจากโรคเหล่านี้อยู่ในกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีผลให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบได้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้เด็กรู้จักการรักษาความสะอาดและสุขอนามัยพื้นฐาน เช่น การล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ก่อนและหลังการรับประทานอาหาร/หลังจากการเข้าห้องน้ำ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย การปิดปากปิดจมูกเวลาไอหรือจาม เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นค่ะ รวมถึงการพักผ่อนที่เพียงพอ ในระหว่างวันควรดื่มน้ำให้มากๆ รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และการออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคมากยิ่งขึ้นค่ะ นอกจากนี้ คุณพ่อและคุณแม่ควรใส่ใจดูแลในเรื่องสุขภาพของลูกอีด้วยค่ะ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงห่างไกลโรคต่างๆและยังทำให้ลูกมีชีวิตที่มีความสุขพัฒนาการสมวัยอีกด้วยค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง