Tag: โรคพันธุกรรม

  • เด็กดักแด้ ความผิดปกติทางพันธุกรรม

    เด็กดักแด้ ความผิดปกติทางพันธุกรรม

    Epidermolysis Bullosa หรือ โรคดักแด้ เป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรม ที่น้อยคนจะเป็น ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของยืนชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “ยืนเคราติน” ทำให้ผิวหนังเกิดความผิดปกติอย่างรุนแรง ผิวหนังแห้ง มีความเปาะบางอย่างรุนแรง ส่งผลทำให้เกิดแผลพุพองตามผิวหนัง หรือเยื้อเมือกในร่างกายถ้ามองเห็นภาพง่ายๆ ก็คือเหมือนแผลไฟไหม้ แต่จะเป็นทั้งร่างกาย และโรคนี้ยังสามารถลามไปอวัยวะภายในได้ เช่น ระบบทางเดินหายใจ หลอดอาหาร ลำไส้เล็ก กระเพาะอาหาร เป็นต้น ซึ่งสามารถเกิดแผลขึ้นมาได้เอง

    โรคดักแด้มันเกิดกับเด็กทางรกมากที่สุด หรือเรียกว่า “เด็กผีเสื้อ” ซึ่งอาการจะแบ่งความรุนแรงได้หลายระดับ ถ้าเป็นน้อย หรืออาการเบาบาง ก็จะดีขึ้นเอง แต่ถ้าอาการหนัก ก็มีความอันตรายถึงชีวิตได้

    โรคดักแด้มีทั้งหมด 5 ชนิด ซึ่งจะแบ่งความรุนแรงของอาการตามชั้นผิวหนัง ได้ดังนี้

    • Epidermolysis Bullosa Simplex จะเกิดความผิดปกติของผิวหนังในชั้นหนังกำพร้า โรคดักแด้ชนิดนี้ จะเกิดขึ้นผิวหนังชั้นหนังกำพร้าจะเป็นผิวหนังชั้นบนสุด พบได้บ่อยสุดบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า เป็นชนิดโรคดักแด้ในแบบเริ่มต้น และพบมากที่สุดในเด็กทารก ส่วนมากอาการจะไม่รุนแรงเท่ากับโรคดักแด้ชนิดอื่น ซึ่งผลสำรวจพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคดักแด้ จะเป็นโรคดักแด้ชนิดนี้ร้อยละ 70 ของผู้ที่เป็นโรคดักแด้
    • Dystrophic Epidermolysis Bullosa จะเกิดความผิดปกติของผิวหนังในชั้นหนังแท้ โรคดักแด้ชนิดนี้ จะเกิดขึ้นในบริเวณส่วนบนหนังแท้จะอยู่ลึกลงไปที่เยื่อบุรองรับเซลล์ ซึ่งสาเหตุเกิดจากที่ผิวหนังในชั้นนี้ไม่มีคอลลาเจนมามาหล่อเลี้ยงสร้างสมานผิวหนังทำให้ผิวหนังทำงานไม่ดี จึงทำให้ผิวหนังปิดไม่สนิท ซึ่งเด็กทารกที่เป็นโรคดักแด้ชนิดนี้ แรกเกิดจะยังไม่แสดงอาการออกมา แต่จะแสดงอาการหลังเข้าสู่ช่วงวัยเด็ก
    • Junctional Epidermolysis Bullosa จะเกิดความผิดปกติของผิวหนังในชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ โรคดักแด้ชนิดนี้จะมีความรุนแรงเป็นอันดับ 1 จะมีผู้ป่วยร้อยละ 5 ของโรคดักแด้ ซึ่งโรคดักแด้ชนิดนี้จะเกิดในชั้นผิวหนังที่เยื่อบุรองรับฐานของเซลล์ เป็นชั้นผิวหนังที่จะอยู่ระหว่างหนังแท้กับหนังกำพร้า
    • Kindler Syndrome จะเกิดความผิดปกติของผิวหนังได้หลายรูปแบบ ซึ่งจะเกิดจากรอยโรคในชั้นผิวที่ต่างกันออกไป ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากที่ผู้ป่วยสัมผัสกับแสงแดด และสีผิวจะเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด
    • Epidermolysis Bullosa Acquisita ความผิดปกติของผิวหนังจากการที่ได้รับบาดเจ็บ ส่วนมากพบได้บ่อยที่ มือ เท้า ข้อศอก โดยจะแสดงอาการเป็นเป็นตุ่มน้ำพองใส หรือไม่บางครั้งก็เกิดจากเมือกตุ่มน้ำพองที่บริเวณปาก จมูก หรือตา ซึ่งโรคดักแด้ชนิดนี้ จะเป็นชนิดเดียวที่จะไม่ได้ติดต่อทางพันธุกรรม และสามารถพบบ่อยในผู้ป่วยรายที่เป็นผู้ใหญ่

    อาการของโรคดักแด้

    โรคดักแด้ มักจะแสดงอาการที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะหรือบริเวณต่างๆ และ ขึ้นอยู่กับชนิดที่เป็น ซึ่งอาการทั่วไปของเด็กดักแด้ คือ บริเวณผิวหนังจะแห้ง หดตัว ซึ่งเด็กดักแด้มักจะเป็นตั้งแต่เกิด ถ้ายังอยู่ในน้ำคล้ำในครรภ์ ผิวหนังก็ยังชุ่มชื้นเป็นปกติ แต่เมื่อคลอดออกมาแล้วสัมผัสกับอากาศ จะทำให้ผิวหนังแห้ง และเมื่อผิวหนังแห้งก็ส่งผลทำให้เกิดการหดตัว จะดึงทุกส่วนที่เป็นช่องเปิดในร่างกาย เช่น ดวงตา ซึ่งจะทำให้หนังเยื่อบุตาปลิ้นออกมา หรือก็บริเวณปาก ทำให้เยื่อบุที่อยู่บริเวณปากปลิ้นออกมา ทำให้เกิดการระคายเคือง ดวงตาปิดไม่สนิท หรือทำให้ปากของเด็กไม่สามารถดูดนมได้

    ในรายเด็กที่อาการไม่รุนแรงก็จะใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ถ้าได้รับสารอาหารหรือน้ำที่เพียงพอ ซึ่งน้ำจะยังช่วยในการสร้างสมดุลน้ำในร่างกายได้ทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้น เพราะเด็กที่เป็นโรคดักแด้ จะมีความผิดปกติการสร้างสมดุลความชุ่มชื่นของผิวหนัง หรืออุณหภูมิในร่างกาย และเด็กที่เป็นโรคดักแด้จะ เด็กมีไข้ ไม่สบายอยู่บ่อยครั้ง และสูญเสียน้ำทางผิวหนังไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ต้องคอยระมัดระวังและต้องรักษาความชุ้มชื้นในผิวหนังอยู่ตลอดเวลา

    วิธีการรักษาโรคดักแด้

    โรคดักแด้ จากการสืบค้นทางการแพทย์ยังไม่พบวิธีการรักษาที่จะรักษาให้หายขาด แต่แพทย์จะรักษาตามอาการไม่ให้อาการแย่ลง ซึ่งหากเป็นไม่มาก ก็จะค่อยๆ ดีขึ้น การรักษา หมอจะเน้นการรักษาที่เป็นตุ่มน้ำ การป้องกันไม่ให้เกิดตุ่มน้ำในที่ใหม่ และรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจส่งผลถึงชีวิต การควบคุมโภชนาการ และการรักษาด้วยยาและการผ่าตัด

    แต่อย่างไรก็ตามโรคดักแด้ ถึงแม้รักษา อาการก็สามารถแสดงอาการที่รุนแรงได้ ซึ่งตัวอย่างการรักษาโรคนี้ที่ผ่านมามีดังนี้

    • การรักษาตุ่มน้ำที่เกิดขึ้นด้วยวัสดุทางการแพทย์โดยเฉพาะ และยังใช้ผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาด และครีมบำรุงที่แพทย์แนะนำ (ต้องอยู่ในการดูแลและการควบคุมของแพทย์)
    • การรักษาโรคดักแด้ด้วยยา ซึ่งการรักษาด้วยยาจะช่วยในเรื่องการระงับความเจ็บปวด และลดอาการคันให้กับผู้ป่วย หรือถ้าหากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อแทรกซ้อน ก็จะรับยาฆ่าเชื้อควบคู่ไปด้วย
    • การให้อาหารผ่านท่อสายยาง ซึ่งจะทำในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้ด้วยตัวเอง หรือสามารถกินทางปากได้เล็กน้อย แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ด้วยวิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารตรงตามโภชนาการได้เต็มที่ และเพื่อควบคุมน้ำหนักให้สมดุลปกติ
    • การรักษาด้วยการผ่าตัด ในวิธีนี้จะทำได้แค่เพียงบางกรณี อธิเช่น หลอดอาหารตีบตันที่เกิดจากการเกิดตุ่มน้ำหรือมีแผลที่หลอดอาหาร ดังนั้นก็ต้องทำการผ่านตัดเพื่อขยายหลอดอาหาร เพื่อทำการผ่าตัดจะทำให้ผู้ป่วยช่วยให้รับประทานอาหารได้ง่ายขึ้น อาหารจะผ่านทางหลอดอาหารได้สะดวกขึ้น
    • ทำการผ่าตัดบริเวณที่ผิวหนังติด ซึ่งสาเหตุหลักๆ เกิดจากแผลเป็นที่มาจากโรค ทำให้นิ้วติด ข้อติดได้ หมอจึงทำการผ่าตัดให้ข้อหรือขยับเคลื่อนไหวได้

    วิธีการป้องกันโรคดักแด้

    โรคดักแด้ ในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีป้องกันอย่างร้อยเปอร์เซนต์ ดังนั้น ต้องมีการวางแผนตั้งแต่ตั้งครรภ์ และลองนึกดูว่า คนในครอบครัวมีใครเป็นโรคนี้บ้าง และปรึกษาแพทย์ เพทย์ก็จะทำการตรวจ เพื่อวินิจฉัย ว่าเด็กมีความเสี่ยงของโรคนี่้หรือไม่
    แต่หากมีลูกเป็นโรคนี้แล้ว วิธีการป้องกันและรับมือ มีดังนี้

    • ควรสัมผัสกับเด็กที่เป็นโรคนี้อย่างเบา เครื่องนุ่งห่มก็ควรเป็นผ้าที่อ่อนนุ่ม อธิเช่น ทำมาจากเส้นใยไหม รวมทั้งจัดหาหมอนเพื่อมาหนุนบริเวณก้นเด็ก หลีกเลี่ยงการอุ้มหรือจับบริเวณข้อพับใต้แขนหากไม่จำเป็น
    • หลีกเลี่ยกการใช้ผ้าอ้อมแบบสำเร็จให้ใช้ผ้าอ้อมแบบผ้าธรรมดาที่มีความอ่อนนุ่ม และไม่ควรใช้แผ่นทำความสะอาดต่างๆ เช็ดตัวเด็ก เพราะอาจทำให้เกิดแผลได้
    • ห้องของเด็กที่เป็นโรคดักแด้ ควรมีความเย็นสบายอากาศถ่ายเท ไม่ร้อน
    • คุณพ่อคุณแม่ควรมีเจลปิโตเลียม หรือง่ายคือวาสลืน คอยทาผิวลูกที่เป็นโรคดักแด้ ให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้อยู่เสมอ
    • ควรหมั่นตรวจสอบเล็บมือเล็บเท้าของลูก ตัดให้สั้น เพราะเล็บอาจเป็นอันตรายต่อผิวเด็กได้
    • หากต้องออกไปภายนอกให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าแขนยาวขายาว เพื่อปกป้องผิวจากอากาศและแสงแดด
    • งดใช้พลาสเตอร์ยาเป็นเป็นแบบกาวติดสนิท เพราะอาจสร้างความเสียหายกับผิวเด็กและเกิดบาดแผลเพิ่ม
    • รองเท้าหรือถุงมือ ควรเลือกแบบสวมสบายและนุ่มนวล
    • อาหารควรเลือกที่เป็นประโยชน์และถูกต้องตามโภชนการ

    โรคดักแด้ เป็นโรคที่น้อยคนที่จะเป็น แต่หากเป็นแล้ว ก็ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด และควรให้อยู่ในการดูแลของแพทย์ เพราะอันตรายถึงชีวิตได้สำหรับโรคนี้

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง รับมืออย่างไร

    ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง รับมืออย่างไร

    อาการแพ้เหงื่อตัวเอง เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่ร่างกายหรือผิวหนังก่อปฏิกิริยากับเหงื่อ โดยอาการแพ้มักจะแสดงอาการออกมาในรูปผื่นคันหรืออาการแดงที่ผิวหนังตามร่างกาย ซึ่งเป็นโรคหนึ่งที่พบบ่อยในเด็กค่ะ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาหรืออุปสรรคในการทำกิจกรรมต่างๆ และอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูกๆมักจะสร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่เสมอ ดังนั้นวิธีการดูแลและป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญค่ะ แต่เราจะมีวิธีรับมืออาการแพ้เหงื่อตัวเองอย่างไร บทความนี้มีคำตอบค่ะ

    อาการแพ้เหงื่อตัวเองเกิดขึ้นเมื่อร่างกายตอบสนองต่อความร้อนชื้นเมื่อเหงื่อออกผื่นความร้อนมักปรากฏขึ้นมาค่ะ และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัยค่ะ แต่มักพบได้ในเด็กเล็กเนื่องจากเด็กมีต่อมน้ำเหงื่อที่เล็กกว่าและไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายของพวกเขาได้ จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดผดผื่นมากกว่าผู้ใหญ่ค่ะ ซึ่งปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้เหงื่อในเด็กได้แก่ ประวัติภายในครอบครัวเป็นภูมิแพ้แบบต่างๆ เช่น แพ้ฝุ่น แพ้อากาศ ไข้ละอองฟางหรือหอบหืด เป็นต้น เป็น ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ผิวบอบบางง่ายต่อการแพ้ค่ะ

    อาการแพ้เหงื่อของตัวเองในเด็กโดยมักแสดงมีอาการผื่นแดง คันหรืออักเสบตามส่วนต่างๆของร่างกายในเวลาที่มีเหงื่อออกค่ะ เช่น เด็กในช่วงอายุ 2 เดือน ถึง 2 ปี มักมีอาการผิวแห้ง มีผื่นแดงหรือผิวหนังอักเสบบริเวณแก้ม หน้าผาก ซึ่งเกิดจากการเสียดสีกับที่นอน หมอน เสื้อผ้า ฯลฯ เด็กในช่วงอายุ 4 ถึง 10 ปี มักมีอาการผิวแห้ง ผื่นแดงบริเวณข้อพับต่างๆโดยเฉพาะตามจุดที่มีเหงื่อออกมาก เช่น ข้อพับแขน ข้อพับหัวเข่า คอ หรือข้อเท้า เป็นต้น และอายุ 12 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มักจะมีอาการผิวแห้ง คันและแพ้ง่ายค่ะ

    วิธีดูแลป้องกันการแพ้เหงื่อในเด็ก

    เนื่องจากอาการแพ้เหงื่อตัวเองคือโรคภูมิแพ้ผิวหนังชนิดหนัง ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ค่ะและไม่ใช่โรคติดต่อร้ายแรงค่ะ แต่ก็สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ค่ะ ดังนั้นการดูแลป้องกันอาการแพ้จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลูกของคุณค่ะ เพื่อลดและบรรเทาอาการแพ้ค่ะ อาทิเช่น 

    • การหลีกเลี่ยงการทำกรรมกลางแจ้งหรือที่มีอาการร้อนจัด 
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมาก หรืออาบน้ำทันทีหลังทำกิจกรรม
    • อาบน้ำ ให้สะอาดหลังทำกิจกรรมที่ต้องเสียเหงื่อ หรือในวันที่มีอาการร้อนอบอ้าว
    • ไม่อาบน้ำร้อนหรือเปิดแอร์เย็นจัด ซึ่งจะทำให้ผิวแห้งแตกได้ค่ะ
    • ทำความสะอาดที่นอนและเครื่องนอนเสมอ เพื่อขจัดและป้องกันไรฝุ่น
    • การทำยาแก้ผดผื่น เช่น คาลาไมน์ ฯลฯ
  • ลูกนอนกัดฟัน ปัญหาการนอนหลับในเด็ก

    ลูกนอนกัดฟัน ปัญหาการนอนหลับในเด็ก

    การนอนกัดฟันหรือการขบเขี้ยวเคี้ยวฟันในขณะนอนหลับ ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่เท่านั้นแต่ยังพบได้บ่อยในเด็กในเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งในเด็กส่วนใหญ่มันจะหายไปเองเมื่ออายุ 6 ปี ซึ่งการนอนกัดฟันอาจสร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้นวันนี้เรามาหาสาเหตุและการแก้ไขการนอนกันฟันของลูกน้อยกันค่ะ

    สาเหตุของการนอนกัดฟันในเด็ก

    การนอนกัดฟันยังไม่ทราบสาเหุที่แน่ชัด แต่ก็มักจะเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่นๆ เช่น  ความเครียด ความวิตกกังวลหรือปัญหาการนอนหลับ พันธุกรรม ปัญหาการงอกของฟันหรือการสบฟันที่ผิดปกติ การติดเชื้อในหู โรคภูมิแพ้อากาศ เป็นต้น ซึ่งในเด็กเล็กอจใช้เป็นวิธีบรรเทาอาการปวดฟัน ปวดศีรษะ ปวดหุ ฯลฯ และในเด็กโตการบดฟันอาจเป็นสัญญาณของความเครียดหรือความวิตกกังวลกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันหรือรู้สึกไม่สบายค่ะ

    การนอนกัดฟันมีผลอย่างไร

    การนอนกัดฟันของลูกนอกจากสร้างความกังวลของคุณพ่อคุณแม่ การนอนกัดฟันยังอาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ได้แก่ การสึกหรอของฟัน เสียวฟัน ฟันบิ่น ฟันร้าว จนกระทั่งฟันแตกหัก รวมถึงส่งผลให้ปวดตรงข้อต่อขากรรไกรหรือปวดกรามร้าวไปยังหูได้ค่ะ

    การแก้ปัญหาการนอนกัดฟัน

    การนอนกัดฟันของลูกคุณพ่อคุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการนอนกันฟันของลูกคุณค่ะ ในเบื้องต้นคุณสามารถดูแลเพื่อลดปัญหาการกัดฟันได้ดังนี้

    • อาบน้ำอุ่นๆ หรือการนวดหลังลูกเบาๆ เพทชื่อให้ลูกรูสึกผ่อนคลาย
    • การช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายก่อนเข้านอน เพื่อลดความเครียดหรือความวิตกกังวล เช่น การเล่นนิทาน การร้องเพลงกล่อม เป็นต้น
    • สังเกตการงอกของฟัน โดยเฉพาะเด็กในวัย 6 ปีหรือเมื่อฟันแท้ขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ
    • ลดอาการปวดจากโรคติดเชื้อในหูด้วยการทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่งค่ะ

    เนื่องจากการนอนกัดฟันเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กจึงไม่สามารถป้องกันได้ แม้ว่าการนอนกัดฟันในบางครั้งอาจมีสาเหตุมาจากความเครียดที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ตามค่ะ หากคุณพ่อคุณแม่กังวลกับส่งที่เกิดขึ้นควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาค่ะ