Tag: โรคติดต่อในเด็ก

  • ประโยชน์ที่เด็กๆจะได้จากการเรียนว่ายน้ำ

    ประโยชน์ที่เด็กๆจะได้จากการเรียนว่ายน้ำ

    กิจกรรมว่ายน้ำหรือเล่นน้ำสำหรับเด็กๆมักเป็นกิจกรรมโปรดปรานทั้งเด็กที่ว่ายน้ำไม่เป็นและว่ายน้ำเป็น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การสอนลูกว่ายน้ำได้ประโยชน์มากกว่าความสนุกและได้ออกกำลังกายค่ะ ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างไรนั้นวันนี้เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับข้อดี และข้อควรระวังที่เกี่ยวข้องกับการว่ายน้ำค่ะ

    ประโยชน์ของการว่ายน้ำ

    ประโยชน์ของการว่ายน้ำ

    การว่ายน้ำเป็นกิจกรรมที่ยอดเยี่ยมและได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่อากาศร้อน นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ทางด้านอื่นๆ ดังนี้

    ด้านความปลอดภัย

    ความปลอดภัย

    การสอนลูกว่ายน้ำคือสิ่งจำเป็นมากสำหรับความปลอดภัย เนื่องจากพบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีเป็นอันดับ 1 ในทุกๆปีค่ะ ดังนั้น การสอนลูกว่ายน้ำช่วยให้เรียนรู้ทักษะการเอาตัวรอดเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำได้ค่ะ

    ด้านสุขภาพร่างกาย

    ด้านสุขภาพร่างกาย

    การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ได้ใช้ร่างกายทุกสัดส่วน ทำให้การประสานงานของร่างกายเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง ระบบทางเดินหายใจแข็งแรง และการว่ายน้ำเป็นกิจกรรมที่ช่วยลดอาการหอบหืดได้ดีกว่าการออกกำลังประเภทอื่นๆ

    ด้านสุขภาพทางอารมณ์

    ด้านสุขภาพทางอารมณ์

    การส่งเสริมให้ลูกว่ายน้ำสามารถปรับปรุงสุขภาพจิตและอารมณ์ เด็กหลายคนมีความสุขสนุกสนานและความเพลิดเพลินกับการเล่นน้ำ และการว่ายน้ำหรือการลอยตัวในน้ำช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายบรรเทาความเครียดมากกว่าการออกกำลังกายประเภทอื่นๆ 

    ด้านสังคม

    ด้านสังคม

    การเรียนว่ายน้ำนอกเหนือจากการช่วยให้ลูกของคุณได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ ช่วยให้ลูกของคุณมีโอกาสพัฒนาทักษะทางสังคม วิธีการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมกับผู้อื่น เป็นต้น

    ข้อควรระวังของการว่ายน้ำ

    ส่วนใหญ่คุณพ่อคุณแม่อาจจะได้ยินเกี่ยวกับข้อดีของการว่ายน้ำเท่านั้น แต่จะเชื่อหรือไม่ว่ามีควรระวังสำหรับกิจกรรมว่ายน้ำสำหรับเด็ก อย่างไรก็ตามทุกเรื่องดีย่อมมีข้อเสียหรือข้อควรระวังเหมือนเหรียญที่มีสองด้านค่ะ ดังนั้นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองต้องระวังเมื่อพาลูกไปเรียนว่ายน้ำได้แก่

    เด็กจมน้ำ

    – ไม่ควรปล่อยให้ลูกเข้าไปในสระน้ำโดยลำพัง ควรมีผู้ใหญ่ดูแลตลอดเวลาการว่ายน้ำ

    อาการป่วยจากการว่ายน้ำ

    – สภาพอากาศที่เหมาะสำหรับการว่ายน้ำ ไม่ควรเป็นวันที่ร้อนจัดหรือหนาวเนื่องจากน้ำที่เย็นหรืออากาศที่ร้อนมากๆ มักจะทำให้เด็กๆเจ็บป่วยได้ง่ายค่ะ

    แพ้น้ำคลอลีน

    – สารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาดสระว่ายน้ำ เช่น คลอรีนที่มีความเข้มข้นมากเกินไป ในเด็กบางคนอาจเกิดอาการแพ้ได้ซึ่งควรสังเกตอาการเมื่อลูกลงว่ายน้ำค่ะ

    โรคติดต่อจากการว่ายน้ำร่วมกัน

    – สระว่ายน้ำสาธารณะยังคงเป็นสถานที่เสี่ยงต่อโรคติดต่อกันได้ง่าย เนื่องจากเด็กจำนวนมากใช้ร่วมกันค่ะ

    การสอนลูกว่ายน้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรให้ความสำคัญและสนับสนุนเด็กๆเรียนว่ายน้ำค่ะ เพื่อป้องกันความความปลอดให้กับเด็กๆที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

  • 5 โรคในเด็กเล็ก ติดต่อจากการสัมผัส

    5 โรคในเด็กเล็ก ติดต่อจากการสัมผัส

    การสัมผัสจากผู้ใหญ่ด้วยความรักนั้น ในบางครั้งอาจนำเชื้อโรคมาสู่เด็กๆได้ โดยเฉพาะช่วงแรกเกิดถึงสองเดือน เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังทำงานไม่เต็มที่ประกอบกับความบอบบางของชั้นผิวหนังเด็กเล็ก ทำให้ได้รับเชื้อได้จากผู้ใหญ่โดยตรงผ่านการสัมผัสได้ง่าย รวมถึงเชื้อปนเปื้อนจากสิ่งของที่ใช้ร่วมกันได้ง่ายค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5 โรคร้ายที่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัส และแสดงอาการผ่านทางผิวหนังค่ะ

    1.ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus)

    ติดเชื้อโรค RSV จากการจูบเด็ก

    ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจซึ่งอาจทำให้เป็นปอดอักเสบ โดยเฉพาะในเด็กเล็กหรือเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น ต้องระวังเป็นพิเศษเพราะอาจทำให้เกิดอาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ เชื้อไวรัสสามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่งต่างๆในร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอ จาม โดยเฉพาะการติดต่อจากการสัมผัสค่ะ รวมทั้งไม่มียาสำหรับรักษาโดยเฉพาะดังนั้นวิธีการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเท้านั้นและไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้

    2.โรค 4 เอส (SSSS : Staphylococcal Scalded Skin Syndrome)

    โรค 4S หรือ โรคssss ในเด็ก

    โรค 4 เอส หรือ ssss เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียทางผิวหนังผ่านการสัมผัส มักพบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคนี้ก่อให้เกิดการอักเสบและแยกชั้นของผิวหนังบริเวณหนังกำพร้า ในเด็กที่ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อาการจะแสดงออกอย่างรวดเร็ว ได้แก่ มีไข้ ร้องไห้งอแง เนื่องจากรุ้สึกไม่สบายตัว จากนั้นผื่นแดงเริ่มขึ้นกระจายไปทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณตา รอบปาก รอบคอ เยื่อบุจมูก และมีอาการเจ็บเมื่อสัมผัสบริเวณผื่นแดง หลังจากผื่นแดงนี้ขึ้นประมาณ 1 – 2 วัน ผิวที่แดงจะค่อยๆเป็นรอยเหี่ยวย่นหรือพองเป็นตุ่มน้ำโดยเฉพาะบริเวณข้อพับต่างๆ และผิวหนังจะค่อยๆหลุดลอกเป็นแผ่นเป็นขุยคล้ายผิวถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ ซึ่งต้องได้รับการรักษาและคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่นนั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อบริเวณแผลที่เกิดขึ้นค่ะ

    3.เริม (Herpes)

    โรคเริมในเด็ก

    โรคเริม เป็นกลุ่มโรคในเด็กเล็กที่มีความรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้เลยค่ะ โรคเริมในเด็กแรกเกิดมักเกิดจากการติดเชื้อในช่วงระหว่างการคลอดทางช่องคลอด ถ้าขณะคลอดมารดาติดเชื้อนี้ที่อวัยวะเพศ ส่วนโรคเริมในเด็กเล็กมักเกิดจากการสัมผัสกับแผลผู้ป่วย น้ำลายหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เมื่อสัมผัสใกล้ชิด การใช้สิ่งของเครื่องใช้ การทานอาหารด้วยภาชนะร่วมกัน การจูบ เป็นต้น อาการของโรคเริมมีได้หลายแบบโดยในระยะแรกของการติดเชื้อเด็กจะมีอาการซึม มีไข้ ไม่กินนม มีตุ่มน้ำใสที่ผิวหนังหรือแผลในปาก ฯลฯ และในรายที่มีการติดเชื้อแบบแพร่กระจาย ซึ่งเด็กจะมีความไวต่อการกระตุ้น หายใจลำบาก การชักได้ค่ะ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาท หรือมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ นอกจากนี้โรคเริมยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคโยเฉพาะค่ะ

    4.ไวรัสโรต้า (ROTAVIRUS)

    ไวรัสโรต้า ท้องร่วงรุนแรงในเด็ก

    โรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า (ROTAVIRUS) เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อทางเดินอาหารหรือโรคอุจจาระร่วง พบบ่อยมากในเด็ก แพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วเนื่องจากเชื้อชนิดนี้ทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกายคนได้นาน และเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหารหรือการดื่มน้ำ หรือสิ่งของที่นำเข้าปากมีการปนเปื้อนเชื้อ ในทารกและมักมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ โดยเด็กที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้มักมีอาการดังนี้ มีไข้สูง อาเจียนบ่อย ท้องเสียรุนแรงนานกว่า 24 ชั่วโมงในบางรายอาจมีเลือดปน เซื่องซึม ภาวะขาดน้ำ(ปัสสาวะลดลงหรือไม่มีปัสสาวะ ปากแห้ง ตาโบ๋ มือเท้าเย็น ร้องไห้ไม่มีน้ำตา อ่อนเพลีย) ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาเพื่อกำจัดเชื้อไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ โดยส่วนใหญ่อาการจะค่อยๆดีขึ้นและหายเป้นปกติได้เองค่ะ แต่สิ่งที่คุณแม่ควรระวังคือภาวะขาดน้ำซึ่งอาจทำให้เด็กช็อกหมดสติหรือเสียชีวิตจากภาวะขาดน้ำได้ค่ะ

    5.โรคมือเท้าปาก (hand foot mouth disease)

    โรคมือเท้าปากในเด็ก

    โรคมือ เท้า ปาก พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส สามารถติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายและน้ำจากตุ่มใส การไอจามรดกันค่ะ โรคนี้ทำให้มีตุ่มหรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณมือ ฝ่ามือ เท้า ฝ่าเท้า และภายในปาก และสร้างความเจ็บปวดในกับเด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้ ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง จนนำไปถึงการเสียชีวิตได้ค่ะ วิธีการรักษาสำหรับโรคมือเท้าปากไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดในทันที โดยแพทย์จะรักษาตามอาการทั่วๆไปเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และโรคมือเท้าปากปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันค่ะ

    วิธีการป้องกันเด็กเล็กจากโรคติดต่อ คุณพ่อคุณแม่สามารถปฏิบัติเพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อโรคต่าางๆ รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของโรคได้ดังนี้

    • ล้างมือให้สะอาดก่อนการสัมผัสตัวเด็กทุกครั้ง
    • เด็กทารกไม่ควรให้คนอื่นๆอุ้มโดยไม่จำเป็น
    • ไม่เข้าใกล้เด็กเล็กหากรู้ว่าตัวเองป่วย
    • ไม่ควรพาเด็กเล็กไปในที่แออัดโดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโรค
    • ระวังเด็กเล็กนำสิ่งของเข้าปาก 
    • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานแก่ลูกน้อย
    • ควรเข้ารับวัคซีนตามแต่ละช่วงวัย

     

  • โรคเยื่อบุตาอักเสบในเด็ก

    โรคเยื่อบุตาอักเสบในเด็ก

    โรคเยื่อบุตาอักเสบในเด็ก
    เยื่อบุตาอักเสบ(Conjunctivitis) หรือโรคตาแดง เกิดจากการติดเชื้อที่ส่งผลกระทบต่อเยื่อใสที่ครอบคลุมตาขาวและด้านในของเปลือกตา ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากไวรัส แบคทีเรีย หรือเกิดจากสารที่ก่อภูมิแพ้ ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ บวมแดง ระคายเคือง โรคตาแดงเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปสามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถติดต่อกันได้ง่ายโดยการสัมผัส สิ่งของปนเปื้อนเชื้อแล้วนำเข้าปาก หรือสัมผัสใบหน้า หรือจากการขยี้ตา เป็นต้น

    สาเหตุของโรคเยื่อยุตาอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิเช่น

    • เยื่อบุตาอักเสบจากการติดเชื้อ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถติดต่อได้ง่าย เช่น การสัมผัส การหยิบจับสิ่งของที่มีการปนเปื้อนเชื้อแล้วนำเข้าปาก หรือการสัมผัสใบหน้า การขยี้ดวงตา การใกล้ชิดกับผู้ป่วย สัมผัสสารคัดหลั่งการไอหรือจาม รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เป็นต้น
    • เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ เกิดจากปฏิกิริยาการแพ้ การสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่น พชบางชนิด ฯลฯ และมักพบในเด็กที่มีประวัติของการแพ้ เช่น ไข้ละอองฟาง โรคหืด ฯลฯ โรคเยื่อบุตาอักเสบชนิดนี้ไม่ทำให้ติดต่อกันหรือแพร่จากคนสู่คนได้

    อาการโรคเยื่อบุตาอักเสบ อาจมีความแตกต่างกันตามสาเหตุของการเกิดโรค ซึ่งอาการมักจะเกิดขึ้นภายใน 24 – 72 ชั่วโมงหลังจากติดเชื้อ และสามารถหายเองได้ใน 1-3 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่มักมีอาการ ดังนี้

    • ระคายเคืองดวงตา คันตา ตาไวต่อแสง
    • รู้สึกเหมือนมีเม็ดทรายเล็กๆที่เปลือกตา
    • ตาแฉะ มีน้ำตาไหล
    • ตาขาวมีสีชมพูหรือสีแดง
    • เปลือกตาอาจบวมเล็กน้อย
    • มีขี้ตาสีเหลืองไหลออกจากดวงตา ทำให้เปลือกตาเหนียวลืมตาได้ยากในเวลาตื่นนอน
    • เยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ อาการหวัด ขี้ตามีสีเหลืองหรือเขียว ในบางรายอาจเกิดการติดเชื้อในหู เป็นต้น
    • เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้มักมีอาการ เช่น คันตา น้ำตาไหล หรือตาบวม

    การรักษาโรคเยื่อบุตาอักเสบ
    เยื่อบุตาอักเสบ สามารถหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษาใน 1-3 สัปดาห์ หรือทำการรักษาโดยการใช้ยาหยอดตายาปฏิชีวนะหรือครีม ตามคำแนะนำของแพทย์ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของตาแดง และผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดตามกำหนดการรักษา เพื่อป้องกันการกลับมาติเชื้อซ้ำได้
    การทำความสะอาดดวงตาด้วยสำลีที่แช่ในน้ำอุ่น โดยการเช็ดไปในทิศทางเดียวเท่านั้นด้านหัวตาออกมาทางหางตา วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ดวงตาข้างอื่นติดเชื้อหากดวงตาข้างใดข้างหนึ่งได้รับผลกระทบ และทิ้งสำลีในถังขยะและไม่นำกลับมาใช้ซ้ำค่ะ

    การป้องกันโรคเยื่อบุตาอักเสบ
    เนื่องจากโรคเยื่อบุตาอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียนั้น สามารถติดต่อกันได้ง่ายโดยการสัมผัส ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย การใช้ส่งของร่วมกัน การล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากมีการสัมผัสสิ่งต่างๆ ไม่ควรขยี้ตาแรงๆ การเช็ดน้ำตาควรใช้ทิชชู่หรือผ้าสะอาด และในกรณีที่ลูกของคุณเป็นโรคเยื่อบุตาอักเสบ ควรให้หยุดเรียนหรือหลีกเลี่ยงการไปในที่สาธารณะจนกว่าจะหาย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นค่ะ

  • โรคเริมในเด็ก

    โรคเริมในเด็ก

    “เริม” โรคผิวชนิดหนึ่งที่พบเห็นได้บ่อยในผู้ใหญ่และไม่มีอาการรุนแรงสามารถรักษาให้หายได้ แต่คุณทราบหรือไม่ว่าถ้าหากเด็กเล็กเป็นเริมอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ เริมเกิดจากไวรัส Herpes simplex virus type 1 (HSV-1) การติดเชื้อในช่องปากและริมฝีปากและ Herpes simplex virus type 2 (HSV-2) การติดเชื้อที่อวัยวะเพศ ระบบประสาท และโรคเริมชนิดแพร่กระจายทั่วร่างกายในทารกแรกเกิด

    สาเหตุของโรคเริมในเด็ก

    โรคเริมในทารกแรกเกิด ซึ่งมักจะเกิดจากการติดจากคุณแม่ตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์ โดยเกิดจาการติดเชื้อในระหว่างการคลอดทางช่องคลอด จาการติดเชื้อเริมในขณะที่มารดามีการติดเชื้อที่อวัยวะเพศ รวมถึงการสัมผัสแผล น้ำลาย หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยโรคเริม เช่น การจูบ การสัมผัสแผล เป็นต้น โรคเริมจะมีอาการปรากฏประมาณ 2-3 วัน หรืออาจนานถึง 3 สัปดาห์หลังจากการได้รับเชื้อไวรัส ในระยะแรกของการติดเชื้อเด็กจะมีอาการซึม มีไข้ ไม่ดูดนม มีตุ่มน้ำใสที่ผิวหนังหรือแผลในปาก ในบางรายที่มีการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง จะมีอาการของการอักเสบของเนื้อสมอง มีการชักถี่ๆ และในรายที่มีการติดเชื้อแบบแพร่กระจาย ซึ่งเด็กจะมีความไวต่อการกระตุ้น หายใจลำบาก การชักจากการติดเชื้อที่สมอง ปอด ตับ และต่อมหมวกไต และอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ เช่น ตาบอดได้หานเชื้อเกิดที่ตา มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผื่น เป็นต้น

    โรคเริมในเด็ก

    การรักษาโรคเริมสำหรับเด็ก

    โดยในระยะแรกที่มีตุ่มน้ำใสหรือสงสัยว่าเด็กมีการติดเชื้อไวรัส คุณแม่ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการรักษาที่ทันท่วงทีค่ะ ซึ่งคุณหมอจะทำการรักษาโรคเริมในเด็กโดยการให้ยาต้านไวรัสเริม ซึ่งมียาหลายตัวและหลายรูปแบบทั้งยาฉีด ยารับประทาน และยาทาภายนอก โดยคุณหมอจะพิจารณาให้ตามข้อบ่งชี้ในการรักษาและความรุนแรงของอาการค่ะ รวมถึงคุณแม่ต้องการรักษาความสะอาดของร่างกาย การล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนการสัมผัสเด็กหรือทันทีที่มีการจับต้องแผลหรือสารคัดหลั่งผู้ป่วย เพราะอาจจะนำเชื้อไปสู่ส่วนอื่นของร่างกายได้ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น เช่น การจูบ ใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกันโดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ฯลฯ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง

    การป้องกันเริมในเด็ก

    ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเริมค่ะ ดังนั้น คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หากมีประวัติเคยเป็นโรคเริมมาก่อนหรือยังคงมีอาการของโรคอยู่ ควรแจ้งให้คุณหมอที่ดูแลทราบด้วยนะคะ และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อเริม เช่น การหอมแก้มหรือจูบตามร่างกายของเด็กหากพบว่าตัวเองมีแผลเริมบริเวณริมฝีปากหรือมีตุ่มน้ำใสๆ หรือมีอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ระวังการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นเริม ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น ฯลฯ และรักษาความสะอาดล้างมือก่อนมีการสัมผัสลูกน้อยทุกครั้งค่ะ

    นอกจากเชื้อเริมแล้วคุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังโรคอื่นๆที่มีการติดต่อทางการสัมผัสกับทารกค่ะ เช่น ไวรัสหวัด สุกใส หัด โรคตาแดง แผลอักเสบที่ผิวหนัง เป็นต้น เนื่องจากทารกมีภูมิต้านทานยังไม่สมบูรณ์ทำให้สามารถรับเชื้อโรคต่างๆได้ง่ายค่ะ รวมถึงควรระมัดระวังการสัมผัสทารกหลังคลอดจากบุคคลอื่น เพราะเราไม่รู้ได้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะพาเชื้อโรคอะไรมาติดทารกบ้างค่ะ

  • ไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

    ไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

    ไข้หวัดใหญ่ในเด็ก(influenza หรือ flu)
    สวัสดีค่ะ ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงปลายฝนต้นหนาว กลางวันหน้าร้อนแบบนี้ แอดมินมีสาระความรู้เรื่องของไข้หวัดใหญ่มาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

    โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดเอ(Type A)พบได้ในคนและสัตว์ ชนิดบี(Type B)พบในมนุษย์เป็นหลัก และชนิดซี(Type C)พบในมนุษย์เป็นหลักเช่นกัน โดยในแต่ละชนิดก็ยังสามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิดย่อยๆได้อีกจำนวนมาก เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แพร่ระบาดได้ง่ายผ่านการไอจามรดกันและการสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยที่ปนเปื้อนกับส่งของเครื่องใช้ต่างๆ

    อาการของไข้หวัดใหญ่
    เชื้อไขหวัดใหญ่จะมีระยะฟักตัว 1 – 3 วันหลังจากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขน ต้นขา รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ต่อมาจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอแห้งๆ ไอแห้งๆ โดยในเด็กอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงร่วมด้วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน แต่บางรายที่มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปอดอักเสบ รุนแรง จะพบอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้นะค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อย หากพบว่าลูกเป็นหวัด มีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลียมาก ไอมากจนหายใจเหนื่อย และอาการเป็นมากขึ้นหรือไม่ดีขึ้นเกิน 5 วัน ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจร่างกายและการรักษาที่ถูกต้องการโรคต่อไปค่ะ

    การดูแล/รักษาโรคไข้หวัดใหญ่
    กรณีที่เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนและมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต โดยคุณหมออาจทำการรักษาด้วยยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าลูกเป็นไข้หวัดใหญ่ค่ะ ในส่วนของเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป พ่อคุณแม่อาจดูแลลูกตามอาการให้ทานยาลดไข้ ยาแก้ไอ ล้างจมูก ให้นอนพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ รวมถึงการรับประทานอาการที่มีประโยชน์ และบางรายอาจต้องทานยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่หรือยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไซนัสอักเสบ, หูชั้นกลางอักเสบ, หลอดลมอักเสบ เป็นต้น โดยแพทย์จะพิจารณาการรักษาเป็นรายๆไปค่ะ ละสังเกตอาการที่ต้องไปพบคุณหมอเช่น ซึมลง ทานไม่ได้ ไข้สูง อ่อนเพลียมาก ไอมากจนหอบเหนื่อย เป็นต้นค่ะ

    การป้องกันโรคไขหวัดใหญ่
    ปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่สามารถฉีดได้ในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป และบุคคลที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหืด โรคหัวใจ โรคระบบประสาท โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้ค่ะ ซึ่งการฉีดในแต่ละครั้งจะสามารถป้องกันโรคได้นานถึงหนึ่งปี และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสและคลุกคลีกับผู้ป่วย สร้างวินัยในการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลให้กับลูก เช่น การล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ก่อนและหลังการรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เป็นต้น เมื่อลูกป่วยควรหลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชนค่ะ เพื่อลดการแพร่เชื้อไข้หวัดและรับเชื้อไวรัสอื่นๆ

  • โรคระบาดในเด็กที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวัง

    โรคระบาดในเด็กที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวัง

    โรคระบาดในเด็กที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวัง
    โรคระบาดในเด็ก อันตรายที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวังอาจทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ เนื่องจากเด็กเล็กๆยังมีภูมิต้านทานที่ไม่ดีนัก ทำให้มีโอกาสของการติดเชื้อโรคระบาดได้ง่ายและมักมีภาวะแทรกซ้อนและมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่เรื่องของสุขภาพลูกให้มากๆค่ะ วันนี้แอดมินจึงรวบรวมโรคระบาดในเด็ก พร้อมกับอาการและวิธีป้องกันที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวังมาฝากค่ะ

    โรคไข้หวัดใหญ่
    ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสไขหวัดใหญ่ชนิดเอและบีซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ เชื้อสามารถแพร่กระจากได้ง่ายติดต่อกันทางระบบทางเดินหายใจ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวเพราะอากาศที่เย็นลงและความชื้นทำให้โรคในกลุ่มไวรัสที่เกิดกับระบบทางเดินหายใจนั้นเจริญเติบโตได้ดีกว่าปกติ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี มีมีอาการรุนแรงและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ค่ะ
    อาการ
    เด็กที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการไข้สูง คัดจมูก มีน้ำมูกใส เจ็บคอ ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ ในบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีโรคแทรกซ้อนได้ค่ะ เช่น ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือ ปอดอักเสบได้
    การป้องกัน
    ไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน ควรฉีดประมาณ 1 – 2 เดือนก่อนฤดูกาลระบาดของโรคทุกๆปี และสามารถฉีดได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป รวมถึงการฝึกให้ลูกใช้หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ รับประทานอาหารให้ถูกสุขอนามัย เลือกกินแต่อาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆจะดีที่สุด และหลีกเสี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยค่ะ

    โรคไข้เลือดออก
    ไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคสามารถระบาดได้ทั้งปีแต่มักพบบ่อยในช่วงฤดูฝน เพราะมีโอกาสที่น้ำจะขังมากทำให้ยุงวางไข่และขยายพันธุ์ได้ดี มีโอกาสเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นทำให้เกิดภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารและมีภาวะช็อคได้
    อาการ
    เด็กที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก อาการของโรคมักคล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ แต่มักไม่มีอาการหวัดร่วมด้วย หลังได้รับเชื้อแล้วจะมีไข้สูงเกิน 3 วันขึ้นไป กินยาลดไข้แล้วอาการไข้ลดลงเพียงเล็กน้อย ตาและหน้าจะเริ่มแดง มีความรู้สึกอ่อนเพลีย และปวดท้อง ปวดหัว ปวดกระบอกตา หรือปวดเมื่อยตามตัว และอาจตรวจพบจุดเลือดออกบริเวณผิวหนัง โรคไข้เลือดออกยังส่งผลให้เกิดภาวะตับอักเสบได้อีกด้วย
    การป้องกัน
    วัคซีนไข้เลือดออกกำลังอยู่ระหว่างการทดลอง คาดว่าจะนำมาใช้ในการป้องกันโรคอย่างแพร่หลายในเร็วๆนี้ค่ะ การป้องกันที่ดีที่สุดคุณพ่อคุณแม่ควรพยายามอย่าให้ยุงกัดลูก อาจให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด หรือใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง รวมถึงจำกัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณรอบๆบ้าน จัดบ้านให้โปร่งไม่มีมุมมืดอับทึบ เนื่องยุงลายชอบอยู่ในที่มืดและชื้น อาการที่ควรเฝ้าระวังเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อลูกมีไข้สูงซึ่งอาจทำให้ช็อคได้ หรือมีอาการซึม มือเท้าเย็นโดยเฉพาะเมื่อไข้ลดลง ควรพบแพทย์เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

    โรคมือเท้าปาก
    โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส พบมากในช่วงหน้าฝนมีการแพร่ระบาดได้บ่อยตามสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลหรือเนิร์สเซอรี่ และพบมากในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วยโดยตรง หรือทางอ้อม เช่น ของเล่น ใช้ของร่วมกับผู้ป่วย น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ เป็นต้น หากพบว่าลูกป่วยโรคมือเท้าปากคุณแม่ต้องแจ้งทางโรงเรียนทันที เพื่อให้ปิดเรียนและทำความสะอาด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อค่ะ
    อาการ
    เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก จะมีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย หลังจากนั้น 2 – 3 วัน จะมีแผลในช่องปากทำให้รับประทานอาหารและน้ำไม่ค่อยได้ โดยมีตุ่มแดงทั้งที่ลิ้น เพดานปากและกระพุ้งแก้มแล้วกลายเป็นตุ่มพองใสในที่สุด และพบตุ่มใสขึ้นที่ฝ่ามือฝ่าเท้าแต่ไม่มีอาการคัน จากนั้นอาการจะค่อยๆดีขึ้น และหายเป็นปกติภายใน 7 – 10 วัน โรคมือเท้าปาก อาจมีภาวะแทรกซ้อนทางสมองที่รุนแรงได้แต่พบน้อยมาก คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังอย่าให้ลูกมีไข้สูงเกินไป เพราะอาจทำให้ชักได้เสียงต่อภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาค่ะ
    การป้องกัน
    เนื่องจากไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมือเท้าปาก คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นดูแลเรื่องความสะอาด อาหาร น้ำดื่ม รวมถึงของเล่นและของใช้ของลูกเป็นประจำ หากไม่จำเป็นไม่ควรให้ลูกเข้าไปอยู่ในสถานที่แออัด ควรมีกระติกน้ำหรือแก้วน้ำส่วนตัวให้ลูกไปใช้ที่โรงเรียน ปลูกฝังและฝึกให้ลูกล้างมือก่อนกินข้าว และใช้ช้อนกลางทุกครั้งค่ะ

    โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV
    ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก มีอาการคล้ายกับไข้หวัด เช่น มีไข้ ไอ จาม เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่แยกความแตกต่างของอาการหวัดและไวรัสได้ยากค่ะ ในบางรายอาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงจนถึงขั้นปอดอักเสบได้ค่ะ
    อาการ
    เด็กที่มีการติดเชื้อ RSV จะมีไข้ คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล หายใจเร็วมีเสียงครืดคราดร่วมด้วย หอบเหนื่อยและหายใจลำบาก ไออย่างรุนแรง มีเสมหะมาก มีเสียงหวีดในปอด (จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว) เนื่องจากเชื้อไวรัส RSV แพร่กระจายไปยังทางเดินหายใจส่วนล่างและทำให้เกิดโรคปอดบวมหรือโรคหลอดลมอักเสบได้ หากลูกมีโรคประจำตัวอย่างหอบหืด ภูมิแพ้ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว โดยอาจมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆหรือหายใจล้มเหลวได้ค่ะ
    การป้องกัน
    ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส RSV แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เริ่มต้นด้วยการฝึกให้ลูกหมั่นล้างมือบ่อยๆ ก่อนหลังการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการสัมผัส หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและสถานที่ที่มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้หวัด หากลูกป่วยควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการไอจามแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นค่ะ

    เพราะสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ หากพบว่าลูกป่วยควรพาไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องต่อไปคะ

  • ไวรัสโรต้า ท้องร่วงรุนแรงในเด็ก

    ไวรัสโรต้า ท้องร่วงรุนแรงในเด็ก

    ไวรัสโรต้า ท้องร่วงรุนแรงในเด็ก
    ภาวะท้องร่วงรุนแรงในเด็ก อันตรายใกล้ตัวที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ บทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปทำความรู้จักกับไวรัสโรต้าสาเหตุทำให้เกิดโรคท้องร่วงรุนแรงในเด็ก รวมถึงการป้องกันและการดูแลลูกน้อยมาฝากค่ะ

    ไวรัสโรต้า(ROTAVIRUS) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียฉับพลันและติดต่อกันได้ง่ายผ่านการนำมือ อาหาร หรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก โดยมักพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เพราะเด็กมักจะหยิบอะไรได้ก็ส่งเข้าปากทันที ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่ายดาย เชื้อไวรัสโรต้าพบการแพร่ระบาดมากในช่วงฤดูหนาวโดยเฉพาะช่วงเดือน ตุลาคม ถึง กุมพาพันธ์ แฝงตัวอยู่กับสิ่งของรอบตัวไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า อาหาร หรือของเล่น และแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว เชื้อไวรัสโรต้าทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกายคนได้นาน ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องระวังเป็นอย่างมากค่ะ

    เชื้อไวรัสโรต้าแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อชนิดนี้ทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกายคนได้นาน โดยจะเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหารหรือการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมถึงการนำนิ้วมือที่สัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก นอกจากนี้ เชื้อไวรัสโรต้ายังสามารถปะปนไปกับอุจจาระของผู้ติดเชื้อตั้งแต่ในช่วงก่อนที่จะแสดงอาการป่วย และสามารถอาศัยอยู่ในร่างกายต่อไปได้นานถึง 10 วันหลังหายดีแล้ว บุคคลเหล่านี้จึงกลายเป็นพาหะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว

    อาการและการรักษาโรคท้องร่วงที่อาจเกิดจากไวรัสโรต้า โดยสังเกตได้ดังนี้
    ไวรัสโรตัาเมื่อได้รับเชื้อไวรัสโรตาเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัว 48 ชั่วโมง จะมีอาการท้องเสียหนักมาก ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำและถ่ายบ่อยกว่าปกติ ปวดท้องอย่างรุนแรง เด็กบางรายจะมีอาการซึม มือเท้าเย็น มีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากอุจจาระบ่อยจนอาจหมดแรงและสูญเสียน้ำในร่างกาย หรืออาเจียนร่วมด้วยไม่สามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้ มีไข้ น้ำมูกและไอเล็กน้อยคล้ายการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ อาการท้องร่วงหากอาการไม่รุนแรงจะหายได้เองใน 3 – 7 วัน แต่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง คือการเสียน้ำในร่างกายซึ่งทำให้เกิดการช็อกได้ค่ะ ควรดื่มเกลือแร่ ทานอาการอ่อนย่อยง่ายค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการหากพบภาวะอื่นร่วมด้วยหรือความผิดปกติควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

    การป้องกันไวรัสโรต้า

    1.การรักษาสุขอนามัย ซึ่งเป็นการป้องกันที่สำคัญที่สุดค่ะ
    – เด็กอายุ 6 – 12 เดือน คุณพ่อคุณแม่ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดก่อนและหลังการสัมผัส ป้อนอาหารลูกน้อย หมั่นควรทำความสะอาดของใช้เด็กเป็นประจำค่ะ
    – เด็กวัยอนุบาล ควรฝึกวินัยนิสัยสร้างสุขอนามัยที่ดี เช่น การล้างมือก่อนและหลังการหยิบของเข้าปาก เป็นต้น
    2. รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ไม่มีแมลงวันตอม
    3. หลีกเลี่ยงการพาลูกไปในที่ชุมชนหนาแน่น หรือที่ที่มีการระบาดของโรค
    4. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนก็ไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโรต้าได้ 100 % เพียงแต่ช่วยให้มีอาการท้องร่วงน้อยลงค่ะ

    นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อลูกป่วย คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดค่ะ หากพบว่าลูกมีอาการผิดปกติ เช่น ลูกไม่สามารถรับประทานอะไรได้ มีอาการซึม หรืออาเจียนบ่อยครั้ง คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบพาลูกมาพบคุณหมอทันทีค่ะ เพื่อตรวจยืนยันการวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป

  • โนโรไวรัส ตัวการท้องเสียในเด็ก

    โนโรไวรัส ตัวการท้องเสียในเด็ก

    โนโรไวรัส ตัวการท้องเสียในเด็ก
    ภาวะท้องร่วงในเด็ก เรื่องใกล้ตัวที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง บทความนี้แอดมินจะพาคุณพ่อคุณแม่มารู้จักกับโนโรไวรัสโรตัวการท้องเสียในเด็ก รวมถึงอาการและการป้องกันมาฝากค่ะ ตามแอดมาเลยจ้า…..

    โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร มีระยะฟักตัว 12 – 48 ชั่วโมงหลังได้รับเชื้อ ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นอาการของอาหารเป็นพิษซึ่งมีอาการคล้ายคลึงกันค่ะ พบระบาดมากในช่วงหน้าหนาวเป็นไวรัสที่มีการแพร์ระบาดได้ง่ายในสภาพอากาศเย็นและรวดเร็ว สามารถทนต่อความร้อนและน้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆได้ดี ในบางรายที่มีอาการอาจหนักอาจร้ายแรงถึงขึ้นชีวิตได้ค่ะ ดังนั้น การรู้เท่าทันไวรัสชนิดนี้ย่อมช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลป้องกันและดูแลรักษาได้ทันท่วงทีค่ะ

    อาการเมื่อติดเชื้อโนโรไวรัส
    อาการที่พบบ่อยหลังได้รับเชื้อโนโรไวรัสภายใน 12 – 48 ชั่วโมง ลักษณะอาการคล้ายกับอาหารเป็นพิษเช่น คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง ปวดท้องถ่ายเหลวเป็นน้ำ มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ รวมถึงปวดเมื่อยตามร่างกาย และรู้สึกอ่อนเพลีย เด็กเล็กและผู้สูงอายุมักมีอาการรุนแรง ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ มีชีพจรเบาเร็ว และมีความดันโลหิตต่ำได้

    การติดต่อและการแพร่กระจายโนโรไวรัส
    เชื้อโนโรไวรัสสามารถติดต่อและแพร่กระจายได้ง่าย โดยสัมผัสสิ่งของปนเปื้อนเชื้อแล้วนำนิ้วเข้าปากโดยเฉพาะในเด็ก การรับประทานอาหาร น้ำดื่มที่ปนเปื้อนไวรัสนี้โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงไม่สุก และติดต่อทางอากาศการหายใจรับเชื้อโนโรไวรัสเข้าสู่ร่างกาย พบการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล ฯลฯ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัว 12 – 48 ชั่วโมงและอาศัยอยู่บริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเกิดความผิดปกติของการดูดซึมไขมันและน้ำตาลของลำไส้เล็ก เมื่อตรวจอุจจาระจะพบเชื้ออยู่ได้นานเป็นสัปดาห์ หลังจากผู้ป่วยไม่มีอาการแล้ว

    การรักษาโนโรไวรัส
    ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะเจาะจงในการขจัดเชื้อไวรัสนี้ การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ทานยาแก้อาเจียน ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ และการให้ยาปฏิชีวนะในบางราย โดยทั่วไปอาการต่างๆมักดีขึ้นในเวลา 3 – 4 วัน

    การป้องกันโนโรไวรัส
    เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันเชื้อโนโรไวรัสนี้ ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับคุณพ่อคุณแม่คือการดูแลใส่ใจเรื่องความสะอาด สุขอนามัยของลูกน้อย เพราะเป็นโรคที่ติดต่อง่ายมากค่ะ คุณแม่ควรให้ลูกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด ดื่มน้ำที่สะอาด ฝึกให้ลูกล้างมือให้สะอาดหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้ง และก่อน/หลังการรับประทานอาหารหรือการหยิบจับสิ่งของเข้าปาก หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ใช้ช้อนกลางหากต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น แก้วน้ำ เป็นต้น และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยค่ะ

    นอกจากนี้ การดูแลและป้องกันลูกที่ดีที่สุดคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่ หมั่นสังเกตลูกเสมอ หากพบว่าลูกป่วยควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ทันท่วงทีต่อไปค่ะ

  • โรคไข้สมองอักเสบ ภัยร้ายที่มาพร้อมยุง

    โรคไข้สมองอักเสบ ภัยร้ายที่มาพร้อมยุง

    โรคไข้สมองอักเสบ ภัยร้ายที่มาพร้อมยุง
    โรคไข้สมองอักเสบ ภัยร้ายที่มาพร้อมยุง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรคอันตรายถ้าหากเด็กเป็นแล้วมีโอกาสเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้ พบบ่อยในประเทศไทย และวันนี้แอดมินจะพาคุณพ่อคุณแม่มารู้จักพร้อมกับวิธีการป้องกันโรคไข้สมองอักเสบไปพร้อมๆกันค่ะ

    โรคไข้สมองอักเสบ(Encephalitis) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียหลากหลายชนิดที่สมองหรือปัญหาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีอาจเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนได้ ซึ่งทำให้เสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้และในบางรายที่รอดชีวิตก็มีโอกาสที่จะพิการด้วยเช่นกัน โรคไข้สมองอักเสบบทความนี้เราจะพูดถึงการอักเสบของเนื้อสมองที่เกิดจากเชื้อไวรัส JE หรือ Japanese Encephalitis โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค โรคไข้สมองอักเสบสามารถพบได้ตลอดทั้งปี แต่พบบ่อยที่สุดในช่วงฤดูฝน

    อาการของโรคไข้สมองอักเสบ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ โดยสังเกตได้ดังนี้

    • ระยะอาการเริ่มแรกหลังจากรับเชื้อ 1 – 2 สัปดาห์ จะมีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ตัวแข็งเกร็ง ปวดเมื่อยตามข้อและกล้ามเนื้อ มีผื่นหรือตุ่มน้ำพองใสขึ้นที่ผิวหนัง และมักพบอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยค่ะ
    • ระยะสมองอักเสบเฉียบพลันในเด็กและทารก มีไข้สูง กระหม่อมทารกโป่งตึง คลื่นไส้ อาเจียน ไม่ยอมรับประทานอาหาร ซึม ไม่ตื่นตัว ร่างกายแข็งเกร็งหรือขยับตัวไม่ได้ ร้องไห้ไม่หยุด หรือบางรายมีอาการชักหมดสติ
    • ระยะพื้นโรคผู้ป่วยประมาณร้อยละ 40 – 60 ที่รอดชีวิต มักพบความผิดปกติทางระบบประสาท ระดับสติปัญญาลดลง ความผันแปรทางอารมณ์ อัมพาตและบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป

    การรักษาไข้สมองอักเสบ ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยเฉพาะค่ะ การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาและฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงขึ้น เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่ออาการที่อาจรุนแรงขึ้น ภาวะแทรกซ้อน รวมไปถึงการเสียชีวิตได้ด้วยค่ะ

    การป้องกันไข้สมองอักเสบ
    การป้องกันไข้สมองอักเสบที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส JE หรือ Japanese Encephalitis โดยมียุงเป็นพาหะนำโรคสามารถทำได้โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง น้ำขังในบริเวณบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงมาวางไข่ ควรนอนกางมุ้ง ทาโลชั่นกันยุงหรือน้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันตะไคร้หอม ฯลฯ และการฉีดวัคซีป้องกันเด็ก ซึ่งควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี เมื่ออายุ 1 ปี เข็มต่อมาห่างกัน 1 – 2 สัปดาห์ และอายุ 2 ปีครึ่งตามลำดับ โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หลังจากฉีดวัคซีนแล้วมักพบอาการข้างเคียงบริเวณที่ฉีดวัคซีน เช่น ปวด บวม แดง เป็นต้น

    หากพบว่าลูกมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรงหรือหากสงสัยว่าลูกเป็นไข้สมองอักเสบ คุณพ่อคุณแม่อย่าชะล่าใจค่ะ ควรรีบพาลูกมาพบแพทย์ เพื่อตรวจยืนยันการวินิจฉัยและให้การรักษาที่ท่วงที ลดอัตราเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตได้ค่ะ

  • โรคคางทูม

    โรคคางทูม

    โรคคางทูม เป็นอีกโรคหนึ่งที่มักพบบ่อยในเด็กๆ วันนี้แอดมินมีข้อมูลเรื่องโรคคางทูม อาการ การรักษาและการป้องกันมาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

    โรคคางทูม เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจจากคนสู่คนจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อมัมส์ (Mumps) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus ติดต่อกันโดยสัมผัสละอองน้ำลาย การไอหรือจาม รวมทั้งการใช้สิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนของผู้ป่วย ระยะฟักตัวของโรค 12 – 25 วัน หลังจากได้รับเชื้อทำให้มีการอักเสบของต่อมน้ำลายที่อยู่บริเวณขากรรไกรทั้งสองข้างและหน้าใบหู มักพบบ่อยในเด็กอายุ 6 – 10 ปี

    อาการของโรคคางทูม
    ระยะเริ่มแรกผู้ป่วยจะมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว บางคนอาจปวดหูขณะเคี้ยวอาหาร หรือกลืนอาหาร ต่อมาภายใน 12 – 24 ชั่วโมง จะมีอาการปวดบริเวณข้างแก้ม ขากรรไกรและใบหู อาการปวดเป็นมากขึ้นเวลาขยับขากรรไกร เวลาที่รับประทานอาหาร หรือการกลืนอาหารก็ทำได้ยากเช่นกันค่ะ หลังจากนั้นต่อมน้ำลายบริเวณขากรรไกรจะเริ่มบวมและลามไปยังหลังใบหู มากขึ้นในเวลา 1 – 3 วัน ในบางคนอาจบวมที่ใต้คางด้วย ถ้าต่อมน้ำลายใต้คางเกิดการอักเสบ โรคคางทูมส่วนใหญ่จะมีอาการคางบวมทั้ง 2 ข้าง โดยเป็นข้างหนึ่งก่อน แล้วจะเป็นอีกข้างตามมา หลังจากนั้นอาการบวมจะค่อยๆลดลงภายใน 3 – 7 วัน และอาการต่างๆจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน ในกรณีที่มีอาการไข้มากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะมาก อาเจียน ปวดฟัน เหงือกบวม ปวดท้องมาก ปวดฟัน เหงือกบวมเจ็บในคอมาก หรือต่อมทอนซิลบวมแดง อัณฑะบวม ก้อนคางทูมที่บวม มีลักษณะบวมแดงมากหรือปวดมาก เป็นต้น คุณแม่ควรรีบพาลูกมาพบแพทย์ทันที

    การรักษาโรคคางทูม
    การรักษาโรคคางทูม เนื่องจากยังไม่มีวิธีรักษาโรคคางทูมโดยเฉพาะ และหายไปเองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ ดังนั้นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงขึ้น ทำได้โดยการดื่มน้ำ พักผ่อนให้มากๆ สามรถทางยาลดไข้และบรรเทาอาการปวด ได้แก่ ยาไอบูโพรเฟน พาราเซตตามอล และไม่ควรให้ยาแอสไพรินแก่เด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปี เพราะอาจเกิดกลุ่มอาการไรย์ซินโดรม ซึ่งจะทำให้ตับและสมองบวม อาเจียน อ่อนเพลีย ชัก และหมดสติได้ค่ะ ร่วมกับการประคบเย็นหรือร้อนบริเวณที่บวมเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด และควรรับประทานอาหารอ่อนหลีกเลี่ยงอาหารหรือน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว หากอาการไม่ดีขึ้นหลังผ่านไปเจ็ดวัน หรือทรุดลงกะทันหันให้รีบพบแพทย์ทันทีค่ะ

    ภาวะแทรกซ้อนของคางทูม
    โรคคางทูมสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เพราะเชื้อสามารถเข้าสู่กระแสโลหิต จึงสามารถแพร่กระจายไปทั่วร่างกายจึงอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่นๆได้ เช่น อัณฑะอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ หรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส รังไข่อักเสบ เกิดภาวะแท้งบุตรได้ ประสาทหูอักเสบ สูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราวและหายไปได้เอง ฯลฯ

    การป้องกันโรคคางทูม
    โรคคางทูมในเด็กสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนรวมป้องกันหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) เริ่มฉีดครั้งแรกในเด็กอายุ 9 – 12 เดือน และครั้งที่ 2 ตอนอายุ 2 ปีครึ่งหรือ 4 – 6 ปี ค่ะ

    โรคคางทูมถึงแม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่เป็นอีกหนึ่งโรคที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามค่ะ เพราะสุขภาพของลูกเป็นส่งสำคัญ..