โรคงูสวัดในเด็ก
โรคงูสวัดเป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กแต่มักไม่มีอาการรุนแรงเทากับโรคงูสวัดในผู้ใหญ่ค่ะ โรคงูสวัดเกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกันที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสซึ่งติดต่อได้ง่ายค่ะ และเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ รวมถึงจะมีวิธีการดูแลรักษาโรคงูสวัดอย่างไร เรามาทำความรู้จักกับโรคงูสวัดในเด็กกันค่ะ โรคงูสวัดเป็นผื่นผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลล่า (Varivella zoster) ของเส้นประสาทใต้ผิวหนังและเป็นไวรัสชนิดเดียวกันที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส เชื้อไวรัสทำให้เกิดผื่นพุพองบนผิวหนังสามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย โรคงูสวัดในเด็กมักจะไม่รุนแรงสามารถรักษาให้หายได้ค่ะ และปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคงูสวัดคือ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและผู้ที่ฟื้นตัวจากการเจ็บป่วยมีแนวโน้มที่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัดได้ง่าย เด็กที่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสก่อนอายุ 1 ปี รวมถึงขณะคุณแม่ตั้งครรภ์ป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสค่ะ อาการของโรคงูสวัดในเด็กนั้นมีอาการเหมือนกับโรคงูสวัดในผู้ใหญ่ค่ะ แต่มักมีอาการรุนแรงน้อยกว่าซึ่งอาการของโรคงูสวัดในแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันไปตามสุขภาพค่ะ และอาการเริ่มต้นของโรคงูสวัดด้วยความเจ็บปวด เสียวคันในบริเวณที่ผื่นกำลังจะขึ้น จากนั้นประมาณ 5 วันจะเริ่มมีตุ่มผื่นขึ้นจนกลายเป็นตุ่มพุพองตามแนวเส้นประสาทของผิวหนัง หลังจากนี้ 1 – 2 สัปดาห์ตุ่มหนองพุพองจะแตกออกและตกสะเก็ดค่ะ ในเด็กบางรายอาจมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลียหรือปวดที่ตุ่มพุพองร่วมด้วยค่ะ โรคแทรกซ้อนของโรคงูสวัดโดยทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นในเด็ก ได้แก่ การติดเชื้อที่ผิวหนังหากไม่รักษาความสะอาดของตุ่มแผล ปัญหาระบบประสาทและการสูญเสียการมองเห็นหรือสูญเสียการได้ยิน โรคงูสวัดที่อยู่บนใบหน้าหรือบริเวณรอบดวงตาสามารถนำไปสู่ความเสียหายอย่างรุนแรงได้ เนื่องจากเส้นประสาทตาและลูกตาอาจได้รับความเสียหายค่ะ และโรคงูสวัดอาจนำไปสู่โรคไข้สมองอักเสบได้ค่ะ การรักษาโรคงูสวัดในเด็ก การรักษาโรคงูสวัดในเด็กจะขึ้นอยู่กับอาการและสุขภาพโดยทั่วไปของเด็ก ซึ่งแพทย์ทำการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเพื่อลดความรุนแรงและป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมกับการทานยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดค่ะ การดูแลและควรหลีกเลี่ยงเมื่อเด็กป่วยโรคงูสวัด เพื่อบรรเทาอาการและป้องกันการแพร่เชื้อได้ดังนี้ การประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดแสบและการอักเสบจากผื่นพุพอง การดูแลรักษาความสะอาดผิวหนังบริเวณที่เกิดตุ่มพุพอง เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยการล้างแผลด้วยน้ำสบู่อ่อนๆและซับแผลให้แห้ง เมื่อตุ่มพุพองแห้งควรใช้ผ้าพันแผลปิดตุ่มผื่นพุพองให้มิดชิด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไปสู่ผู้อื่น เด็กที่ป่วยเป็นโรคงูสวัดควรให้เด็กหยุดเรียนจนกว่าแผลจะตกสะเก็ดและแห้งสนิทดี เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไปสู่ผู้อื่น […]