ลูกท้องอืด รับมืออย่างไร
ปัญหาท้องอืดในทารกเกิดขึ้นได้บ่อยมากและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัว อึดอัด ร้องไห้งอแง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการท้องผูกในเด็ก วิธีการป้องกันและการบรรเทาอาการท้องอืดของลูกน้อยค่ะ อาการท้องอืดในเด็กทารกอาจเกิดจากกระบวนการย่อยและการดูดซึมอาหารยังพัฒนาได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงทำให้ยังย่อยและดูดซึมอาหารได้ไม่สมบูรณ์เกิดจากการมีแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารมากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด อึดอัดแน่นท้อง รู้สึกไม่สบายตัวนั่นเอง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้ การกลืนนมที่มีฟองอากาศหรือลมมากเกินไป มักพบในเด็กที่ดูดนมจากขวดเนื่องจากในขณะนอนการผสมนมผงกับน้ำอาจทำให้เกิดฟองอากาศค่ะ หรือในช่วงที่นมหมดการปล่อยให้ลูกดูดขวดนมเปล่าอาจทำให้เด็กดูดเอาลมเข้าไปด้วยค่ะ การดูดนมช้าหรือเร็วเกินไป ทำให้ไม่สามารถควบคุมการดูดกลืนและการหายใจ ส่งผลให้ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปมากขึ้นในระหว่างดูดนม และทำให้เกิดแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารได้มากเช่นกัน การร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะการร้องไห้มากเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปจำนวนมาก การดูดจุกหลอก แม้ว่าในบางครั้งจุกหลอกอาจจะช่วยให้ลูกน้อยหยุดร้องได้ แต่การดูดจุกหลอกก็เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ลูกดูดเอาลมเข้าไปในท้องได้ค่ะ แพ้โปรตีนนมวัว เป็นภาวะการย่อยแลคโตสผิดปกติส่งผลให้ลูกเกิดอาการท้องอืดได้ค่ะ การรับประทานอาหารบางประเภทอาจทำให้มีแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ เช่น ธัญพืช พืชตระกูลถั่ว บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี เป็นต้น อาการท้องอืดสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุ 2 สัปดาห์ขึ้นไปค่ะ โดยมักจะแสดงอาการดังนี้ ร้องไห้งอแง ท้องป่องหรือท้องแข็ง ปวดท้องเหมือนมีลมอยู่ในท้อง ดิ้นตลอดเวลาโดยเฉพาะหลังจากดื่มนมเมื่อเคาะท้องแล้วจะได้ยินเหมือนมีลมอยู่ เป็นต้น วิธีบรรเทาอาการท้องอืดให้กับลูกน้อย ในเบื้องต้นคือการกระตุ้นให้ลูกน้อยเรอออกมาระหว่างป้อนนมและหลังป้อนนมเพื่อระบายแก๊สในกระเพาะอาหารค่ะ ทำได้ง่ายๆดังนี้ การอุ้มพาดบ่าหรืออุ้มลูกในท่านั่งโดยประคองศีรษะของลูกไว้ จากนั้นลูบหลังลูกเบาๆจากล่างขึ้นบนหรือตบหลังเบาๆค่ะ การนวดท้องโดยการวางในท่านอนหงายแล้วนวดบริเวณหน้าท้องเบาๆ เริ่มจากด้านขวาไปยังด้านซ้ายประมาณ 2-3 ครั้ง ท่านี้ช่วยให้ระบบหมุนเวียนของลำไส้ดีขึ้นค่ะ การปั่นปั่นจักรยานอากาศ ให้ลูกน้อยนอนหงายจากนั้นจับขาทั้ง 2 […]