Tag: อาเจียน

  • อันตราย ลูกแพ้ยา สิ่งที่คุณแม่ต้องระวัง

    อันตราย ลูกแพ้ยา สิ่งที่คุณแม่ต้องระวัง

    อาการแพ้ยา (Drug Allergy) คืออาการที่เกิดจากฎิกริยาตอบสนองที่มาจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไปคล้ายการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม และหากมีอาการนี้มากเกินไปก็จะนำไปสู่การแพ้ยาแบบอ่อนๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง หรือร้ายแรงสุดก็เป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นหากมีอาการแพ้ยาใดๆ ก็ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบโดยด่วน

    ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่ที่สามารถแพ้ยาได้เพียงอย่างเดียว เด็กที่มีอายุ 1-5 ปี ก็สามารถมีโอกาสที่แพ้ยาได้เช่นกัน แต่การแสดงอาการอาจจะไม่รุนแรงเหมือนผู้ใหญ่ จึงทำให้ในบางครั้งเราที่เป็นพ่อและแม่ไม่สามารถทราบได้ว่าลูกแพ้ยาหรือไม่

    สาเหตุส่วนใหญ่ที่ลูกแพ้ยา

    ชนิดของยาที่ใช้

    เด็กที่แพ้ยาส่วนใหญ่ มักจะแพ้ยาปฎิชีวินะมากที่สุด ได้แก่กลุ่มยา Penicillins Cephalosporins และ Sulfonamide ในกลุ่มยา Penicillins เป็นกลุ่มยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้กับเด็กมากที่สุด ผลข้างเคียงของยาในกลุ่มนี้จะทำให้เกิดผื่นแพ้ยาได้แทบทุกชนิด มีทั้งแบบรุนแรง และไม่รุนแรง หรือมีผลถึงชีวิตเลยก็มี อีกกลุ่มยาที่จะทำให้เด็กแพ้ยาคือกลุ่มยากันชัก และยาแก้อักเสบซึ่งไม่ใช่ยาสเตอนอยด์

    แพ้ยาจากพันธุกรรม

    คือ การที่พ่อ หรือแม่มีอาการแพ้ยาชนิดนั้นๆ ลูกก็สามารถแพ้ยาชนิดนั้นได้เช่นกัน ซึ่งอาการแพ้ยาก็จะมีความแตกต่างกันออกไป หรือเด็กบางคนไม่แพ้ยาตอนเด็ก แต่ก็สามารถแพ้ยาตอนโตเป็นได้

    อาการของลูกแพ้ยา

    อาการลูกแพ้ยา

    อาการแพ้ยาสามารถพบได้บ่อยได้จากผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้สูงอายุ ซึ่งในบางครั้งผู้ป่วยมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาร่วมกันหลายชนิดเพื่อหลีกเลี่ยงตัวยาที่แพ้ ซึ่งในบางครั้งเปอร์เซนต์การแพ้ยาก็จะสูง อาการแพ้ยาอาจเพิ่มความรุนแรง ตลอดจนอันตรายถึงชีวิตได้ ไม่เพียงเท่านี้อาการแพ้ยาอื่นที่แสดงออกมาเช่น เป็นไข้เรื้อรัง มีอาการปวดข้อ มีแผลในปาก เกิดตับอักเสบ ไตวาย ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น

    อาการแพ้ยาที่เกิดจากปฎิกิริยาที่มาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะมีการแสดงอาการออกมาไวมาก ไม่ว่าจะมาทางใดก็ตาม มาจากการกิน ฉีด ทา หรือการสูดดม แต่อาการก็ไม่ได้เกิดขึ้นได้ทุกคน แต่เป็นเฉพาะคนที่มีอาการแพ้จากการต่อต้านของร่างกายเท่านั้น อาการข้างเคียงจะมีอาการเหมือนกันกับทุกคนที่ได้รับยาในชนิดเดียวกัน แต่เรื่องความรุนแรงแล้วแต่ละคน เช่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วงที่มาจากการบำบัด เป็นต้น อาการแพ้ยานี่ จะมีความแตกต่างจากที่เป็นผื่นผิวหนัง เพราะเกิดจากการได้รับยาที่เกิดขนาด ซึ่งสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

    อาการแพ้ยาชนิดรุนแรง ผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรง ถ้าหากได้รับยาเป็นครั้งแรก มักจะแสดงอาการหลังจากได้รับยาไปแล้วประมาณ 1-3 สัปดาห์ แต่หากเคยได้รับยาชนิดนี้มาแล้ว จะมีอาการหลังจากได้รับยาไปแล้ว 1-3 วัน โดยจะแสดงอาการมีไข้ ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล มีอาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว และต่อมาก็จะเริ่มมีผื่นขึ้นบริเวณใบหน้า ลำตัว แขน และขา

    ผื่นของอาการแพ้ยาจะมีลักษณะออกเป็นสีแดง ตรงกลางจะมีสีเข้ม หรือสีน้ำตาล หรือบางคนก็จะออกมาในลักษณะเป็นตุ่มน้ำพองเจ็บ และผื่นอาจจะมารวมกันเป็นวงกว้าง ซึ่งคนที่มีอาการรุนแรง จะพบว่าผิวหนังชั้นกำพร้านั้นตายไปแล้ว ทำให้มีการหลุดลอกของผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่มีการเสียดสี หรือมีการกดทับ หรืออาจมีอาการที่เยื่อบุ เช่น มีอาการอักเสบที่ตา ตาแดง มีแผลที่ปาก หรือมีแผลที่อวัยวะเพศ หรือมีแผลบริเวณอวัยวะภายใน ตับอักเสบ ไตวาย เม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนได้

    ดังนั้น ยาทุกชนิด หรือแม้กระทั้งยาสมุนไพร สามารถทำให้เกิดผื่นแพ้รุนแรงได้ โดยยาที่จะพบบ่อย เช่น ยารักษาโรคเกาต์ ยาลดการอักเสบในกลุ่ม NSAIDs,ยากันชัก และยาปฎิชีวนะ เช่น ในกลุ่มยา Sulfa

    การวินิจฉัยของอาการแพ้ยาของแพทย์

    การวินิจฉัยของอาการแพ้ยาของแพทย์ การได้ข้อมูลจากแค่ประวัติการแพ้จะยังไม่เพียงพอ เพื่อทำการยืนยันว่าผู้ป่วยแพ้ยาจริงหรือไม่ ซึ่งจากการสำรวจผู้ป่วยที่เป็นเด็ก พบว่าผู้ป่วยที่มี่ประวัติการแพ้ยา มีเพียง 10% เท่าน้นที่ทำการตรวจสอบและมีอาการแพ้ยาจริง ส่วนอีก 90% เมื่อผ่านการทดสอบแล้วสามารถกลับมาใช้ยาได้ปกติโดยไม่มีผลข้างเคียงหรือเกิดความผิดปกติ

    การทดสอบการแพ้ยาของแพทย์

    • การทดสอบทางผิวหนัง (Skin test) จะทำการทดสอบโดยการใช้ยาที่คาดว่าเด็กจะแพ้ในปริมาณน้อย สะกิดเข้าไปภายใต้ผิวหนังหากเด็กมีอาการแพ้ ผิวหนังแดง และเกิดตุ่มขึ้นมา การทดสอบนี้มีความแม่นยำสูงในกลุ่มที่แพ้ยาแพนิซิลลินควรทำหลังจากการเกิดอาการ 4-6 สัปดาห์
    • การทดสอบด้วยยาที่คาดว่าแพ้ (Drug provocation test) การทดสอบนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

    การรักษาการแพ้ยา

    การรักษาเป็นเพียงการป้องกันเท่านั้นคือการหลีกเลี่ยงยาที่แพ้ หรือถ้าได้รับยาตัวใหม่แล้วมีอาการแพ้ ก็จะทำการหยุดยาในทันทีและต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการป้องกันการแพ้ยา และแพทย์จะให้บัตรประวัตการแพ้ยาเอาพกติดตัว เพื่อเมื่อทำการรักษาครั้งต่อไปก็ยื่นใบนี้ให้แพทย์ผู้รักษาได้ทราบว่าแพ้ยาอะไรบ้าง

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ภาวะกระเพาะส่วนปลายตีบตันในทารก

    ภาวะกระเพาะส่วนปลายตีบตันในทารก

    ภาวะกระเพาะส่วนปลายตีบตันภัยเงียบในทารกแรกเกิด หากไม่สังเกตดีๆอาจคิดว่าลูกน้อยเป็น overfeeding หรือพฤติกรรมการกินนมเยอะเกินไปของทารก กินจนล้นกระเพาะ ท้องอืด ไม่สบายท้อง แหวะนม ภาวะกระเพาะส่วนปลายตีบตันเป็นโรคมีกพบในเด็กอายุ 2 – 8 สัปดาห์ และเป็นภาวะที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้นค่ะ

    ภาวะกระเพาะอาหารส่วนปลายตีบตัน (Infantile hypertrophic pyloric stenosis)  เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างในระบบทางเดินอาหาร ความหนาของกล้ามเนื้อไพโลเรอสที่อยู่ระหว่างส่วนปลายของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ทำให้เกิดการอุดตันขัดขวางทางเดินอาหาร ส่งผลให้ทารกขาดสารอาหารอัตราการเจริญเติบโตช้า การอาเจียนซ้ำๆ จะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคืองและทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ค่ะ ภาวะดังกล่าวยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค ดังนั้นการสังเกตอาการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดูแลเอาใจใส่ทารกอย่างใกล้ชิดค่ะ

    อาการกระเพาะอาหารส่วนปลายตีบตัน

    อาการที่พบบ่อยที่สุดที่พบในทารกที่มีภาวะกระเพาะอาหารส่วนปลายตีบตัน คือการอาเจียนออกตลอดทุกครั้งที่กินนม หรือบางทีอ้วกพุ่งออกจมูก ท้องอืด ปวดท้องไม่สบายตัว ท้องผูก น้ำหนักไม่ขึ้นหรือลดลง งอแง ฯลฯ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดภาวะขาดน้ำ ชักและเสียชีวิตได้ค่ะ

    การรักษาภาวะกระเพาะอาหารส่วนปลายตีบตันในทารก คือการผ่าตัดเปิดแผลทางหน้าท้องเพื่อขยายกล้ามเนื้อไพโลเรอสทางเดินเชื่อมต่อเพื่อให้อาหารเข้าสู่ลำไส้และถูกย่อยค่ะ และการดูแลหลังการผ่าตัดมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาค่ะ โดยแพทย์จะแนะนำวิธีการต่างๆ เพื่อให้แผลผ่าตัดถูกสุขลักษณะและจนกว่าจะหายสนิทค่ะ

    ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด ควรรีบพาทารกไปพบแพทย์ทันทีหากคุณพบอาการต่อไปนี้

    • มีไข้สูง แผลสีแดงและอักเสบรอบๆรอยเย็บ มีหนองเลือดหรือของเหลวใสไหลออกมาจากแผล
    • อาการบวมของส่วนใดส่วนหนึ่งของช่องท้อง
    • อาเจียนออกมาอย่างต่อเนื่องหรืออาเจียนมากเกินสามวันหลังการผ่าตัด
    • เด็กดูเหมือนจะเจ็บปวดแม้จะมียาบรรเทาอาการปวด

  • การดูแลเด็กแรกเกิด สำหรับพ่อแม่มือใหม่ : 7 อาการผิดปกติต่างๆ ในร่างกายของเด็กแรกเกิด

    การดูแลเด็กแรกเกิด สำหรับพ่อแม่มือใหม่ : 7 อาการผิดปกติต่างๆ ในร่างกายของเด็กแรกเกิด

    อาการผิดปกติของเด็กแรกเกิดมีมากมาย เนื่องจากร่างกายของเด็กแรกเกิดอยู่ในช่วงกำลังปรับสภาพให้คุ้นชินกับสิ่งแวดล้อมนอกครรภ์ของคนเป็นแม่ ซึ่งอาการผิดปกติบางอย่าง เป็นเรื่องปกติที่เด็กทารกจะเป็น และเมื่อเด็กทารกโตขึ้นไปสักระยะ ร่างกายก็จะเข้าที่และเป็นปกติค่ะ

    ตาเอก หรือ ตาเข (Premier or squint eye)

    เด็กแรกเกิดในช่วงเดือนแรก ตาดำของเด็กอาจจะเลือนเข้าไปด้านในสุด หรือนอกสุด ทำให้เห็นว่าลูกอาจเป็นตาเข หรือตาเอก แต่คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะในเดือนแรกของเด็กบริเวณกล้ามเนื้อตายังไม่แข็งแรง การทำงานยังไม่ดี  แต่เมื่อเด็กโตขึ้น ดวงตาก็จะกลับมาตรงเองค่ะ

    แต่อย่าเพิ่งวางใจ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตแล้วว่าดวงตาของลูกเขอยู่ตลอดเวลา ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจ และหาแนวทางแก้ไข เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นผลร้ายต่อดวงตาของลูกได้ เพราะตาเขจะทำให้ลูกมองทุกอย่างเป็น 2 วัตถุเสมอ สมองอาจสั่งงานให้ลืมภาพจากตาข้างหนึ่งเพื่อจะได้เห็นภาพเดียว นานๆเข้าตาข้างนั้นก็เลยเข รับภาพได้แต่สมองสั่งงานไม่รับภาพ กลายเป็นตาบอดทั้งที่ไม่ได้บอดจริง

    เสียงหายใจดัง (Loud breathing)

    เด็กแรกเกิดสามารถนอนกรนได้ จะมีลักษณะคล้ายกับเสียงกรนของผู้ใหญ่ เพราะเด็กแรกเกิด ร่างกายของเด็กยังไม่สามารถควบคุมเพดานอ่อน จึงทำเกิดเสียงดังในเวลานอนหลับ

    เสียงดังอีกอย่างในขณะที่เด็กแรกเกิดหายใจ อาจเกิดมาจากหลอดกล่องเสียง (Larynx) อ่อน ทำให้เวลาที่เด็กหายใจ จะเกิดเสียงดังจากในหลอดที่อยู่บริเวณลำคอ (Stridor) ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเด็กทารก ที่กำลังหลับสบายดี แต่แค่การหายใจเสียงดังจึงทำให้พ่อแม่เป็นกังวล โดยเฉพาะเวลานอนหงายจะเกิดได้มากกว่านอนคว่ำเมื่อโตขึ้นก็จะหายไปเอง

    แต่สิ่งที่ควรคอยระมัดระวังจริงๆ คือ ถ้าเด็กกำลังหลับสบาย แต่ก็มีเสียงหายใจดังถี่ๆ ขึ้นแบบไม่มีสาเหตุ ต้องระวังเพราะอาจมีโรคหอบหืดหรือโรคระบบหายใจอย่างอื่น หรืออาจมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปขัดขวางทางเดินหายใจได้

    สะอึก

    อาการสะอึกบ่อยมักจะพบใจเด็กแรกเกิดในระหว่างอายุ 2-3 เดือนแรก มักจะเป็นหลังจากมื้อนม แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไป แค่เพียงคุณพ่อคุณแม่อุ้มพาดบ่าลูกหลังลูกไล่ลมไปสักระยะ หรืออีกวิธีให้ดูดน้ำอุ่น ก็อาจหายได้ แต่ลองแล้ว แล้วยังไม่หาย รอสักพักจะหายไปเอง

    กลั้นหายใจเวลาโกรธ (bay hold your breath when angry.)

    บางคนเวลาโกรธจะร้องเสียงดังพร้อมทั้งกลั้นหายใจจนหน้าเขียว ควรจะพาไปพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าลูกไม่มีความผิดปกติใดๆ ซ่อนอยู่ เช่น โรคหัวใจ แพทย์จะได้แนะนำวิธีแก้ไขด้วย

    ทารกผวา สะดุ้งง่าย (baby scared)

    ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกของการคลอด เด็กแรกเกิดบางคนมักจะมีเสียงดังนิดหน่อย หรือพริกตัวไปเองก็จะตกใจมาก  ถ้าใครอุ้มหลวมๆ ไม่กระชับก็ร้องมือเท้าสั่น บางคนพอวางลงนอนหงาย แค่หลังแตะพื้นก็สะดุ้งพร้อมทั้งร้องจ้า คุณแม่ก็ต้องเบามือ รวมๆ 6 เดือนต่อมาจะดีขึ้นเอง แต่ถ้าเด็กขี้ตกใจมาก ควรปรึกษาแพทย์

    ลูกแหวะนม (Baby throw milk)

    ลูกแหวะนม

    เมื่อเด็กแรกเกิดแหวะนม จะเป็นน้ำนมไหลรินๆ ออกมาทางปากเล็กน้อย ทั้งนี้ เกิดจากหูรูดบริเวณปากกระเพราะไม่กระชับแน่น เมื่อดูดนมมากก็ไหลเอ่อออกมา โตขึ้นจะหายไปเอง ระวังอย่าอุ้มลูกให้แน่นมาก ถ้าอุ้มเหวี่ยงแรงๆ หรือรีบให้เด็กแรกเกิดนอนราบทันทีหลังดื่มนม ก็ทำให้แหวะนมได้

    อาการแหวะนมพบเสมอๆ ในเด็กแรกเกิดในช่วง 2-3 เดือนแรก ไม่มีอันตรายใดๆ

    ลูกอาเจียน (Baby vomiting)

    นมในกระเพาะจะพุ้งออกอย่างแรง อาจจะพุ้งออกทางปาก 2-3 นิ้ว คุณแม่ไม่ต้องตกใจ ถ้าลูกแข็งแรงก็ดีก็ไม่น่าเป็นห่วง บางคนอาเจียนวันละครั้ง มักเป็นเด็กแรกเกิดที่ร้องมาก ขี้โมโห อาจเป็นอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์

    ถ้าลูกผอมลงต้องมีอะไรผิดปกติ ควรพาไปพบแพทย์

    ถ้าทารกอาเจียนทุกมื้อ ควรจะไปปรึกษาแพทย์ หรืออาเจียนอกมาเป็นน้ำดีสีเขียวๆ แสดงว่าผิดปกติ เพราะอาจเป็นลำไส้อุดตัน ทารกที่อาเจียนมาก ผอมลง อุจจาระผูก มีก้อนวิ่งในท้องให้เป็นเวลานอน อย่างนี้อย่ารอช้าให้รีบไปพบแพทย์ทันที

    อาเจียนจากระเพาะอุดตัน มักเกิดกับเด็กแรกเกิดเพศชายในช่วงอายุ 2-3 สัปดาร์แรก เด็กแรกเกิดอาจจะอาเจียนพุ่งออกมาอย่างแรง เกิดขึ้นหลังให้นมสักครู่สังเกตจะเห็นบริเวณใต้อก (ตรงตำแหน่งกระเพาะ) เป็นก้อนโป่งและคลำได้ด้วย รีบพาลูกไปหาแพทย์โดยเร็ว เพราะโรคนี้รักษาโดยการผ่9าตัดจึงจะหายขาด ถ้าไม่พบแพทย์มีอันตรายได้

    อาเจียนเพราะป่วย เด็กแรกเกิดที่ไม่เคยอาเจียนมาก่อนเลย อยู่ๆ เกิดอาเจียนควรดูว่ามีไข้ไหม บางคนพอเริ่มไม่สบายก็อาเจียนทันที

    อาเจียนโดยไม่รู้สาเหตุ เด็กแรกเกิดที่อาเจียนโดยไม่รู้สาเหตุ มักทุเลาและหายไปเองในวัยที่นั่งได้ บางคนหายตอนเริ่มเดินได้ บางครั้งฟันงอกก็เริ่มอาการอีกแต่ไม่มาก ถ้าลูกแข็งแรง ร่าเริง แม้จะมีอาเจียนบ้างก็อย่ากังวล

  • Overfeeding ในเด็กทารก

    Overfeeding ในเด็กทารก

    Overfeeding คือพฤติกรรมของลูกน้อยที่กินนมเยอะเกินไป หรือกินจนล้นกระเพาะ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบการย่อยอาหาร ท้องโต ท้องอืด ไม่สบายท้อง อาเจียนแวะนม เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กที่ดูดนมจากเต้าและจากขวดนม วันนี้เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มาทำความเข้าใจอาการ Overfeeding ในเด็ก รวมถึงวิธีการรับมือและการป้องกันค่ะ

    อะไรคือสาเหตุของการกินนมมากเกินไป

    โดยทั่วไปเด็กทารกจะกินนมเมื้อรู้สึกหิวและจะหยุดเมื่อรู้สึกอิ่ม ดังนั้นสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่คุณแม่บางท่าน อาจเข้าใจว่าลูกตื่นนอนหรือร้องไห้เพราะหิว หรือกังวลว่าลูกน้อยอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจึงพยายามป้อนนมในปริมาณที่มากเกินไปหรือบ่อยเกินไปค่ะ ซึ่งพบได้ทั้งเด็กที่กินนมแม่และนมผงหรือจากเต้าและจากขวดนมค่ะ แต่พบว่าเด็กที่กินนมผงมีโอกาสเสี่ยงการเกิดภาวะ Overfeeding มากกว่าเด็กที่กินแม่ เนื่องกระเพาะอาหารและลำไส้ของเด็กทารกสามารถดูดซึมสารอาหารในนมแม่ได้ดี อาการของทารกที่ได้รับอาหารมากไป ส่วนใหญ่สามารถสังเกตได้ค่อนข้างง่าย เช่น ร้องไห้งอแง อึดอัดแน่นท้องหรือรู้สึกไม่สบายท้อง แหวะนมมากกว่าปกติและอาจถ่ายเหลวร่วมด้วย เป็นต้น

    Overfeeding ในเด็กทารกอันตรายอย่างไร

    การกินนมอิ่มมากเกินไปหรือล้นกระเพาะในเด็กทารกนั้น มีผลกระทบต่อตัวลูกน้อยมากที่สุดคือ อึดอัดไม่สบายตัว ร้องไห้งอแง การแหวะนม แต่ถึงอย่างไรก็มักจะส่งผลกระทบในระยะยาวได้เช่นกันค่ะ เช่น โรคอ้วน เนื่องจากร่างกายอาจมีการปรับตัวเพื่อรับสารอาหารและเริ่มกักเก็บสารอาหารไขมัน ทำให้มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นหรือเกินเกณฑ์ตามแต่ละช่วงวัย ส่งผลให้เป็นโรคอ้วนในเด็กได้ และอาจตามมาด้วยโรคอื่นๆได้ค่ะ

    การป้องกันการให้อาหารมากไปในเด็ก โดยเคล็ดลับง่ายๆเพื่อการลดโอกาสเสี่ยงที่จะให้เกิดการให้นมลูกน้อยมากเกินไป ได้แก่

    • การให้กินนมในปริมาณที่พอเหมาะ ซึ่งทั่วไปการกินนมในปริมาณ 4 ออนซ์ ลูกจะอิ่มท้องประมาณ 4 ชั่วโมง
    • ลูกกินนมเพียงพอในหนึ่งวันหรือไม่ สามารถสังเกตได้จากจำนวนการปัสสาวะของเด็ก 6 ครั้งในหนึ่งวัน หรืออุจจาระ 2 ครั้งในหนึ่งวัน เป็นต้น
    • สังเกตอาการหรือสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยอิ่ม คือ เบือนหน้าหนี การดูดนมช้าลงหรือเว้นช่วงการดูดนานขึ้น เป็นต้น
    • อย่าพยายามเลี้ยงลูกด้วยการให้กินนมทันทีที่เขาเริ่มร้องไห้ เนื่องจากการร้องไห้อาจแสดงถึงอาการอื่นได้

    การให้อาหารมากไปเด็กทารกแรกเกิดเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องตระหนักถึงและให้ความสำคัญค่ะ เพราะอาจนำไปสู่อาการหรือโรคอื่นๆได้ค่ะ