การเริ่มอาหารมื้อแรกของลูก
อาหารมื้อแรกของลูก ก็เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่ถกเถียงกันมากในกลุ่มของแม่ๆ ทั้งหลาย ซึ่งอันที่จริงแล้วมันเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายนิดเดียว เนื่องด้วยองค์การอนามัยโลกด้านอาหารสำหรับทารกระบุไว้ว่า เด็กทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือนควรรับประทานเพียงแต่นมเท่านั้น และเมื่อทารกมีอายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไปก็ควรรับประทานนมแม่ต่อเนื่องโดยควบคู่กับอาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัยไปจนถึงเด็กมีอายุ 2 ปีหรือมากกว่านั้น ซึ่งในประเทศไทยรณรงค์ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกตลอดมา แต่ปัญหาก็คือ จำเป็นไหมต้อง 6 เดือนขึ้นไปเท่านั้นถึงรับประทานอาหารอย่างอื่นได้ พ่อแม่หลายครอบครัวซีเรียทกับเรื่องนี้เอามากๆ หากลูกยังไม่ครบ 6 เดือน ไม่สามารถกินอาหารอื่นได้นอกจากนม ซึ่งความเป็นจริงแล้วระบบร่างกายของเด็กไม่ได้ถูกกำหนดตายตัวแบบเป๊ะๆ แบบนั้น ซึ่งตามหลักการศึกษาวิจัย คือ อาหารมื้อแรกของลูก เริ่มได้เมื่อพร้อมแต่ไม่ควรให้กินในช่วงที่ลูกมีอายุเพียง 17 สัปดาห์ เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กยังไม่พร้อมสำหรับการย่อยอาหารในชนิดอื่นนอกจากนม กล่าวคือหากเด็กยังไม่อายุครบ 4 เดือนขึ้นไปไม่ควรที่จะให้เด็กรับประทานอาหารอื่นนอกจากนม แต่บางครอบครับที่อาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจจะไปป้อนกล้อยหรืออาหารอื่นให้กับลูก ซึ่งอาจจะส่งผลให้เด็กถึงแก่ชีวิตได้จากโรคลำไส้อักเสบอุดตัน ในปัจจุบันแพทย์ของประเทศญี่ปุ่น ยุโรป และในอเมริกา แนะนำให้เด็กเริ่มรับประทานอาหารมื้อแรกให้เร็วกว่า 6 เดือน แต่ขึ้นอยู่กับพัฒนาการความพร้อมในการกินของเด็ก ซึ่งสามารถสังเกตุได้ดังนี้ สามารถนั่งหลังตรงโดยการประคอง สามารถนั่งบนเก้าอี้เด็กได้ มีความสนใจในอาหาร สามารถใช้มือหยิบจับของเข้าปาก ถ้าเด็กมีพฤติกรรมแบบนี้จึงเครื่องบ่งชี้แล้วว่าลูกของคุณแม่มีความพร้อมที่สามารถจะรับประทานอาหารมื้อแรกได้แล้ว ซึ่งในเด็กบางคนก็มีอายุเพียง 5 เดือนก็สามารถพร้อมที่จะรับประทานอาหารได้แล้ว แต่เด็กบางคนก็อาจมีความพร้อมช้าอาจจะพร้อมหลังมี 6 […]