Tag: อาหารสำหรับเด็ก

  • อาหารมื้อแรกของลูก เริ่มต้นอย่างไรดี

    อาหารมื้อแรกของลูก เริ่มต้นอย่างไรดี

    อาหารมื้อแรกของลูก เริ่มต้นอย่างไรดี

    อาหารมื้อแรกของลูกเริ่มต้นทานอะไรดี และมื้อแรกควรให้ปริมาณเท่าไหร่คะ เป็นคำถามยอดนิยมของคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เพราะการเริ่มต้นป้อนอาหารที่ดีคือ กุญแจสำคัญของระบบย่อยอาหารของลูกน้อย ดังนั้นบทความนี้เรารวบรวมข้อมูลอาหารสำหรับลูกน้อยมาฝากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ค่ะ

    ลูกควรเริ่มรับประทานอาหารมื้อแรกตอนไหน

    การเริ่มต้นป้อนอาหารให้กับลูกน้อยควรเริ่มเมื่อลูกอายุ 5 เดือนขึ้นไป หากป้อนอาหารลูกน้อยอายุต่ำกว่าห้าเดือนอาจทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้ได้ค่ะ รวมถึงควรเลือกอาหารที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัยของลูก โดยเริ่มต้นการป้อนอาหารทีละน้อยและเพิ่มปริมาณหรือความหลากหลายของอาหารมากขึ้นค่ะ ไม่ควรเริ่มต้นด้วยผลไม้ที่มีรสหวานจัดติดต่อกันเพราะอาจทำให้ลูกของคุณติดหวานได้ค่ะ และสิ่งที่สำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทราบคือ อาการหลังจากทานอาหารของลูกว่ามีอาการแพ้หรือไม่ เช่น ผื่นขึ้นตามร่างกาย ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด ร้องไห้งอแง เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นทันทีที่ทานอาหาร หรือภายหลังจากทานอาหารเสร็จหลายชั่วโมงค่ะ

    ผักผลไม้มื้อแรกสำหรับลูกน้อย

    การเริ่มต้นป้อนอาหารสำหรับทารกควรบดละเอียด เพื่อให้ลูกทานง่ายไม่ติดคอค่ะ วันนี้เรามีผักผลไม้สำหรับการเริ่มต้นมาแนะนำคุณแม่ที่กำลังเริ่มป้อนอาหารกับลูกน้อยมาฝากได้แก่

    • แอปเปิ้ล ซึ่งถือเป็นผลไม้เริ่มต้นที่ดีเพราะเด็กๆชอบรสชาติที่หวานอมเปรี้ยว มีเส้นใยสูงและมีไขมันต่ำทำให้มีความสุข 
    • กล้วย ผลไม้ทานง่ายเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่มและรสหวาน มีโฟเลตสูงช่วยในการบำรุงสมองและดีต่อกระเพาะอาหารของลูกน้อย
    • บีทรูท เด็กหลายคนชื่นชอบบีทรูทต้มจนสุกพอที่จะละลายในปาก บีทรูทมีคุณค่าทางโภชนาการสูงอุดมไปด้วยกรดโฟลิกที่ช่วยในการพัฒนาสมอง
    • ลูกแพร์ ผลไม้ที่ดีต่อระบบย่อยอาหารของลูกน้อย และยังอุดมไปด้วยฟอสฟอรัสและแคลเซียมซึ่งช่วยในกระบวนการสร้างกระดูก
    • เนื้อสัตว์ ปลาและไก่เป็นเนื้อที่ต่อลูกน้อยของคุณ เนื่องจากเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยโปรตีนและย่อยง่าย ควรทำเป็นซุปเพื่อให้ลูกทานง่ายขึ้นค่ะ
    • มัน สำหรับเด็กคืออาหารทางเลือกที่ดีเนื่องจากเนื้อนุ่มและเด็กมักชื่นชอบ มีเบต้าแคโรทีนซึ่งช่วยปรับปรุงการมองเห็นและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน

    ข้อควรระวังการป้อนอาหาร

    • การป้อนอาหารเริ่มต้นด้วยการทำเป็นซุปข้นหรือบดให้ละเอียด
    • การป้อนอาหารในครั้งแรกควรมีน้ำเป็นส่วนประกอบ เพื่อให้ทานง่ายขึ้นป้องกันการติดคอ
    • การป้อนหารควรให้ลูกนั่งทานอาหาร เพราะการป้อนอาหารขณะนอนอาจทำให้สำลักอาหารได้
    • หลีกเลี่ยงผักผลไม้ชิ้นเล็ก เช่น ถั่ว องุ่น ข้าวโพด เป็นต้น เนื่องจากมีขนาดเล็กพอที่จะติดอยู่ในหลอดลมได้
    • หลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาลและเกลือปริมาณมากในมื้ออาหาร เนื่องเกลือสามารถทำลายไตของลูกและน้ำตาลเพิ่มโอกาสของโรคเบาหวานและโรคอ้วน
    • หลีกเลี่ยงการทำให้ลูกหัวเราะขณะทานอาหาร เพราะอาจทำให้สำลักได้ค่ะ

    นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการบังคับเพราะอาจจะทำให้ลูกทานอาหารยากขึ้นค่ะ อย่างไรก็ตามการป้อนอาหารคุณแม่ต้องทำด้วยความอดทนค่ะ เพราะลูกน้อยของคุณจะเคี้ยวในเวลาไม่นานค่ะ

  • 14 อาหารสำหรับเด็กที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก

    14 อาหารสำหรับเด็กที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก

    14 อาหารสำหรับเด็กที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก

    การทำให้แน่ใจว่าลูกได้รับธาตุเหล็กมากพอ อาจดูยากเมื่ออยู่ในช่วงของวัยที่เลือกกินอาหาร แต่เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของร่างกาย และเกิดภาวะโลหิตจางได้ค่ะ ในทารกส่วนใหญ่ไม่ต้องการอาหารเสริมชนิดใดจนกว่าจะมีอายุอย่างน้อย 4 เดือน เพราะเด็กทุกคนได้รับธาตุเหล็กจากแม่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ค่ะ หากลูกน้อยของคุณเกิดมาก่อนกำหนดมีความเป็นไปได้ที่ลูกของคุณอาจประสบปัญหาการขาดธาตุเหล็กได้ค่ะ

    อาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ธาตุเหล็กในรูปฮีม (heme) พบในเนื้อสัตว์เท่านั้นซึ่งร่างกายสามารถดูดซับได้ง่าย และในรูปแบบอื่นๆ(non-heme) พบได้ในพืช, ถั่ว, ผลไม้, เนื้อสัตว์บางประเภท และอาหารเสริม เป็นต้น และบทความนี้เรารวบรวม 15 อาหารสำหรับเด็กที่อุดมด้วยธาตุเหล็กได้แก่

    1. เนื้อสัตว์ทั้ง เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อปลา ล้วนมีธาตุเหล็กโดยเฉพาะเนื้อแดงและตับ ซึ่งควรนำส่วนที่เป็นไขมันทั้งหมดของเนื้อสัตว์ออกก่อนปรุงอาหารเนื่องจากไม่มีธาตุเหล็กค่ะ และควรปรุงเนื้อสัตว์ให้สุกก่อนให้อาหารกับลูกของคุณ เพราะเนื้อสัตว์บางชนิดอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กที่จะเคี้ยวและย่อยได้ง่ายค่ะ
    2. ไข่แดง เป็นแหล่งธาตุเหล็กที่ดีสำหรับเด็กและปรุงเป็นอาหารทานได้ง่าย สามารถประยุกต์ได้กับอาหารได้หลากหลายแบบโดยไม่ต้องกินสิ่งเดียวกันทุกวันค่ะ
    3. ข้าวกล้อง อาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กสำหรับเด็กทารก ซึ่งข้าวอาจจะไม่ดึงดูดความสนใจของเด็ก คุณแม่สามารถเพิ่มรสชาติด้วยการผัดไข่หรือเพิ่มเนื้อสัตว์ รวมถึงการแต่งจานให้ดูน่ารับประทานมากขึ้นค่ะ
    4. ถั่ว ในถั่วเกือบทุกชนิดอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น ถั่วแระญี่ปุ่น ถั่วดำ ถั่วเหลือง ถั่วแดงหลวง เป็นต้น ซึ่งคุณแม่สามารถอบถั่วและปรุงรสด้วยเกลือและเครื่องเทศอ่อนๆก่อนที่จะให้ลูกทานได้ค่ะ
    5. มันเทศและมันฝรั่งหวาน เด็กส่วนใหญ่ชื่นชอบมันฝรั่งอบหรือนึ่ง นอกจากนี้คุณยังสามารถทำเป็นเฟรนช์ฟรายค่ะ
    6. อาหารทะเล ซึ่งเป็นแหล่งของสารอาหารต่างๆที่จำเป็นสำหรับเด็กรวมถึงธาตุเหล็กค่ะ ปลาทูน่า กุ้งเป็นแหล่งเหล็กที่ดีที่สุด ซึ่งคุณแม่สามารถปรุงอาหารได้หลายเมนูค่ะ แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ
    7. เนยถั่ว ในเนยถั่วเป็นอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวและมีโปรตีนสูง ซึ่งคุณแม่สามารถใช้เนยถั่วกับขนมปังซึ่งเป็นอาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพค่ะ
    8. เต้าหู้ ซึ่งมีธาตุเหล็กจำนวนมาก และคุณแม่สามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนูค่ะ
    9. ลูกพรุนและน้ำแครนเบอร์รี่ เป็นน้ำผลไม้ที่มีธาตุเหล็กสูงและรสชาติที่หวานจะช่วยดึงดูดเด็กๆได้ดีค่ะ นอกจากนี้น้ำผลไม้เหล่านี้ยังดีต่อสุขภาพทางเดินปัสสาวะและป้องกันอาการท้องผูกในเด็กได้ค่ะ
    10. ธัญพืชอบแห้ง เช่น เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง งา เป็นต้น ของขบเขี้ยวที่ยอดเยี่ยมและสนุกกับการแทะเล็มของเด็กๆ นอกจากนี้ยังสามารถทำเป็นกราโนล่า หรือใช้เป็นเครื่องโรยหน้าในพุดดิ้ง และขนมหวานอื่นๆเพื่อให้น่าสนใจมากขึ้นค่ะ
    11. ข้าวโอ๊ต ในข้าวโอ๊ตมีปริมาณธาตุเหล็กสูงที่สุดในบรรดาธัญพืช ข้าวโอ๊ตบดเพียงหนึ่งชามสามารถให้ธาตุเหล็กได้ประมาณ 60% ต่อวันค่ะ
    12. ผลไม้อบแห้ง เช่น แอปริคอต ลูกพรุน ลูกเกด เป็นต้น สามารถทำเป็นของว่างได้ค่ะแถมยังสุขภาพดีอีกด้วยค่ะ
    13. ผักใบเขียว ซึ่งเป็นการยากที่จะให้ลูกๆของคุณชอบทานผักสด โดยเฉพาะผักโขม บรอคโคลี่และคะน้าที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กรวมถึงสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นคุณแม่ควรปรุงหรือตกแต่งให้ดูน่ารับประทานสร้างความน่าสนใจให้กับลูกของคุณค่ะ
    14. มะเขือเทศ เป็นอีกอย่างที่เด็กๆมักไม่ชอบรับประทานแบบสดค่ะ ซึ่งคุณอาจจะนำมาทำเป็นซอลหรือซุป เช่น สปาเก็ตตี้กับซอสมะเขือเทศ เป็นต้นค่ะ

    หมายเหตุ : อาหารที่กล่าวข้างต้นนี้เป็นเพียงแนวทางและไม่ใช่สิ่งทดแทนตามคำแนะนำทางการแพทย์จากผู้เชี่ยวชาญ