Tag: อาหารสำหรับคุณแม่

  • มะระ ประโยชน์และความเสี่ยงสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    มะระ ประโยชน์และความเสี่ยงสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    การตั้งครรภ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายในร่างกายของผู้หญิงและเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ซึ่งในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจในเรื่องของสุขภาพและการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ค่ะ บทความนี้เรารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของมะระสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มาฝากค่ะ

    ประโยชน์ของการกินมะระระหว่างตั้งครรภ์

    มะระผักสีเขียวรสขมที่หลายๆคนอาจไม่ชอบ แต่เต็มไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่ดีต่อสุขภาพและนิยมใช้เป็นยาจากธรรมชาติค่ะ ซึ่งจะมีประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ

    • มะระเต็มไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เช่น สังกะสี โพแทสเซียม แมงกานีส แมกนีเซียม กรดแพนโทธีนิก เป็นต้น
    • เพิ่มภูมิคุ้มกัน การเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดปัญหามากมายในระหว่างตั้งครรภ์ แค่ไข้หวัดธรรมดาหวัดหรือไอก็ส่งผลร้ายต่อร่างกายได้ค่ะ ในมะระมีวิตามินซีในปริมาณที่เพียงพอซึ่งวิตามินซีเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และจะช่วยให้คุณต่อสู้กับความเจ็บป่วยทั่วไปได้ค่ะ
    • ป้องกันอาการท้องผูกและริดสีดวงทวาร อาการท้องผูกและโรคริดสีดวงทวารเป็นปัญหาทั่วไปในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งในมะระมีไฟเบอร์สูงซึ่งช่วยป้องกันปัญหาอาการท้องผูกได้ดีค่ะ
    • ลดปัญหาอาการท้องอืดระหว่างตั้งครรภ์ ปัญหาการย่อยอาหารยังเป็นปัญหาที่พบบ่อยในระหว่างตั้งครรภ์ ความผันผวนอย่างมากของฮอร์โมนและการขยายตัวของมดลูกทำให้เกิดปัญหาท้องอืดค่ะ
    • ป้องกันโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์และเป็นอันตรายต่อตัวลูกน้อยในครรภ์ ในมะระประกอบด้วยสารอาหาร polypeptide-P และ charantin ที่ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีค่ะ
    • มะระอุดมไปด้วยโฟเลต ซึ่งมีความจำเป็นในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อป้องกันหรือลดข้อบกพร่องของระบบประสาทในทารกในครรภ์ค่ะ

    ความเสี่ยงของการกินมะระในระหว่างตั้งครรภ์

    แม้ว่ามะระจะเป็นผักที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ แต่ก็มีความเสี่ยงบางประการที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นกันค่ะ โดยในเฉพาะคุณแม่ที่ร่างกายไวต่อการตอบสนองสิ่งต่างๆ ซึ่งการบริโภคมากเกินไปอาจทำให้มีความเสี่ยงของการแท้งบุตรหรือภาวะการคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากสารเคมีในผลหรือเมล็ดมะระอาจทำให้มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ

    ดังนั้นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับอาหารมากเป็นพิเศษ เพราะคุณไม่สามารถคาดเดาได้ว่ากระเพาะอาหารของคุณจะตอบสนองต่อนั้นอย่างไรบ้าง ดังนั้นควรสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและสังเกตอาการความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาการค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ลูกแพ้อาหาร อันตรายถึงชีวิต สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้

    ลูกแพ้อาหาร อันตรายถึงชีวิต สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้

    การแพ้อาหารพบบ่อยมากในเด็กเล็กค่ะ เมื่อถึงช่วงอายุที่ลูกน้อยต้องเริ่มรับประทานอาหารอื่นๆนอกเหนือจากนม ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ความกังวล การเลือกอาหารให้ลูกน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการแพ้อาหารในเด็ก ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรู้สัญญาณของปฏิกิริยาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นค่ะ เนื่องจากการแพ้อาหารรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ

    การแพ้อาหารเป็นปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันที่มีผลหลังจากรับประทานอาหารบางชนิด ความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละคนค่ะ ซึ่งเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้อาการสูงคือ พ่อแม่หรือคนในครอบครัวมีประวัติการแพ้อาหาร หรือโรคหอบหืด อาการแพ้โดยทั่วไปมักจะแสดงอาการต่างๆ ดังนี้

    • ผื่นรอบปาก ผื่นคัน หรือผื่นคล้ายลมพิษตามร่างกาย ซึ่งเป็นอาการเบื้องต้นที่คุณสามารถสังเกตได้ในเด็กที่มีอาการแพ้ค่ะ
    • คันคอและลิ้น หรือดวงตา น้ำตาไหล
    • ใบหน้าริมฝีปากหรือลิ้นบวม
    • จามต่อเนื่อง มีน้ำมูกใสหรือจมูกอุดตัน
    • ไออย่างต่อเนื่อง 
    • คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
    • ปวดท้อง หรือท้องเสีย หากมีอาการท้องเสียต้องระมัดระวังภาวะร่างกายขาดน้ำค่ะ
    • ปัญหาระบบทางเดินหายใจ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจดังเสียงฮืด
    • หมดสติ ซึ่งอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ

    อาหารที่มักก่อให้เกิดอาการแพ้ที่พบได้บ่อยในเด็ก ได้แก่

    • ไข่ 
    • ถั่วเหลือง
    • นมวัว หรือที่เรียกว่า แพ้โปรตีนนมวัว
    • อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลาหมึก เป็นต้น
    • ธัญพืชต่างๆ เช่น งา วอลนัท,อัลมอนด์ เป็นต้น
    • ขาวสาลี หรือแป้งสาสี ซึ่งมักเป็นส่วนประกอบอาหารหลากหลายชนิด เช่น เบเกอรี่ สปาเก็ตตี้ ซาลาเปา มันฝรั่งทอด ขนมกรอบบางชนิด ฯลฯ

    การรักษาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นการรักษาตามอาหารและความรุนแรงค่ะ เช่น การทานยาแก้แพ้ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง หรือใบบางรายที่มีอาการแพ้เฉียบพลันหรือรุนแรงต้องได้รับการฉีดยาทันทีที่มีอาการค่ะ อาการแพ้อาหารในบางรายสามารถหายหรือรับประทานอาหารชนิดนั้นได้เมื่อโตขึ้นค่ะ

    ควรทำอย่างไรถ้าลูกมีอาการแพ้

    หากลูกน้อยของคุณจะแสดงอาการสัญญาณของการเกิดอาการแพ้อาหาร สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือ ให้ลูกของคุณหยุดทานอาหารนั้นทันทีพร้อมสังเกตอาการที่เกิดขึ้นค่ะ และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

    อาการแพ้อาหารในเด็กทารกสามารถลดหรือป้องกันได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

    • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยลดโอกาสของการแพ้เนื่องจากน้ำนมแม่นั้นอุดมไปด้วยแอนติบอดีจึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงค่ะ
      *ให้นมแม่นานขนาดไหน
      *อาหารสำหรับแม่ที่กำลังให้นมลูก
    • หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ก่อนอายุ 6 เดือนค่ะ
    • เด็กทารกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ ควรหลีกเลี่ยงของอาหารหรือนมสูตรถั่วเหลือง เนื่องจากโปรตีนจากถั่วเหลืองสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ในทารกได้ค่ะ
    • เมื่อเริ่มรับประทานอาการควรเริ่มให้ลูกทานครั้งละน้อยๆ พร้อมสังเกตอาการหลังรับประทานอาหาร รวมถึงลักษณะอุจจาระของลูกน้อย เนื่องจากเด็กบางรายอาจมีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลวจากการรับประทานอาหารบางชนิด
    • หากพบอาการผิดปกติหรือมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

    บทความที่เกี่ยวกับการแพ้อาหาร

    *ลูกแพ้อาหารผ่านนมแม่

  • อาหารที่เหมาะสมกับแม่ที่กำลังให้นมลูก และเทคนิคการให้นมแม่

    อาหารที่เหมาะสมกับแม่ที่กำลังให้นมลูก และเทคนิคการให้นมแม่

    อาหารที่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่กำลังให้นมแม่

    อาหารสำหรับคุณแม่ที่กำลังให้นมแม่ ต้องมีส่วนประกอบของแร่ธาตุ เพราะแร่ธาตุที่มีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของลูก มีหลายอย่าง โดยเฉพาะแร่ธาตุแคลเซียม ซึ่งแร่ธาตุนี้จะช่วยในการสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก ส่งผลให้ทารกเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น นมที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ ก็เป็นหนึ่งในอาหารที่สำคัญที่คุณแม่ที่กำลังให้นมลูกที่จำเป็นต้องกิน และอาหารอีกอย่างที่คุณแม่ก็ควรกินก็คือ ผลไม้ที่มีวิตามินซีที่สูง รวมไปถึงเนื้อสัตว์ที่มีโปรตีนสูง ถ้าสรุปกันง่ายๆ คุณแม่ที่กำลังให้นมลูก ควรที่จะกินอาหารที่ให้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกายที่ต้องกาย

    ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นของอาหารสุกๆดิบ อาหารที่เป็นหมักของดอง น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง หรืออาหารที่จะแสลงต่อร่างกาย เป็นต้น

    เกล็ดความรู้ “คุณแม่ที่กำลังให้นมลูกควรดื่นน้ำก่อนการให้นมประมาณ 10- 15 นาที”

    เทคนิคการช่วยให้นมลูกง่ายขึ้น

    ให้ลูกดูดนมบริเวณลานนมด้วย

    เด็กส่วนมากจะมักดูดนมเฉพาะบริเวณหัวนม ซึ่งคุณแม่ควรที่จะให้ลูกดูดบริเวณลงคล้ำที่อยู่รอบบริเวณหัวนม เรียกว่า “ลานนม” ด้วย เพราะบริเวณลานมจะมีท่อน้ำนมที่เชื่อมต่อ

    “ทำไมต้องให้ดูดบริเวณลานนมด้วย” เพราะจะช่วยให้คุณแม่ไม่เจ็บขณะที่ลูกดูดนม และเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมเพิ่มมากขึ้น

    วิธีการให้ลูกไม่ดูดนมแค่หัวนม โดยการที่คุณแม่ใช้ปลายนิ้ว (ตัดเล็บด้วยเพราะเล็บอาจทำอันตรายต่อเด็กได้) สอดเข้าไปทางมุมปากพร้อมกับยื่นบริเวณลานนมเข้าไปให้ลึก พยายามให้ลูกดูดบริเวณลานนมเสมอ

    ลูกดูดนมหมดเต้า

    คุณแม่หลายท่านนิยมให้ลูกดูดนมข้างใดข้างหนึ่งจนหมดเกลี้ยง เพราะมีความเข้าใจว่าจะช่วยให้ผลิตน้ำนมที่มากขึ้น และเมื่อลูกจะกินในมื้อต่อไป ก็จะเปลี่ยนข้าง

    แต่ที่จริงแล้ว ควรดูดนมทั้ง 2 ข้าง โดยข้างหนึ่งประมาณ 10-15 นาที ไม่ควรเกินกว่านี้ หากลูกยังไม่อิ่มก็เปลี่ยนไปอีกข้าง

    5 ลักษณะของทารกที่ได้จากการดูดนม

    • ดูดแบบหิวโซ เด็กทารกกลุ่มนี้ จะเป็นทารกที่กินจุ ดูดแบบเร็ว ใช้เวลาไม่นานนมแม่ก็หมดเกลี้ยงเต้า ข้อควรระวัง อย่าให้ทารกดูดเร็วมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้หัวนมแตกและเกิดอาการเจ็บนมได้
    • ดูดเพราะตื่นเต้น เด็กทารกกลุ่มนี้ จะดูดแบบลักษณะงับหัวนมแบบ งับๆ หลุดๆ พอหลุดก็จะโมโหร้องกรี๊ด วิธีแก้ทารกกลุ่มนี้คือการอุ้มเบาๆ พร้อมปรอบลูก 2-3 นาที เมื่อทารกอารมเย็นลงก็ค่อยให้ดูดนมต่อ จะเป็นแบบดังกล่าวประมาณ 2-3 วัน ทารกก็จะกลับมาเรียบร้อยปกติ
    • ดูดแบบไม่เรียกร้อง ทารกกลุ่มนี้ จะรักความสบาย ก็ไม่มีนมมาให้ดูดก็ไม่เรียกร้องที่จะต้องดูด ถ้ามีมาให้ดูดก็ดูด เป็นทารกที่เลี้ยงง่ายไม่กวนใจคนเป็นแม่
    • ดูดบบนักชิม ทารกกลุ่มนี้ อนาคตน่าเป็นนักวิจารณ์อาหารแน่นอน เพราะก่อนกินก็จะเอาลิ้นมาแตะที่หัวนม จะทำแบบนี้สะพัก แล้วค่อยดูดนม แต่หากคุณแม่เผลอไปเร่ง ลูกอาจจะโกรธได้ ต้องรอให้ลูกได้ปรับตัว
    • ดูแบบสายชิว ทารกกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่จะดูดแบบเรื่อยๆ ดูดแปปๆ ปล่อย แล้วกลับมาดูดใหม่ สายชิว ดังนั้นคุณแม่ต้องใจเย็นจนกว่าจะหยุดดูด อย่าได้เร่งลูกเป็นอันขาด ไม่งั้น ลูกได้หรรษาแน่นอนค่ะ