Tag: หน้ากาก N95

  • ประเภทของหน้ากากอนามัย และวิธีใส่หน้ากากอนามัยอย่างไรให้ปลอดภัย

    ประเภทของหน้ากากอนามัย และวิธีใส่หน้ากากอนามัยอย่างไรให้ปลอดภัย

    หน้ากากอนามัย หรือแมสปิดจมูก (Mask) คือหน้ากากสำหรับป้องกันฝุ่นละออง มลพิษและเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจรวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบตทีเรียสู่ผู้อื่นค่ะ แต่คุณทราบหรือไม่ว่าใส่หน้ากากอนามัยอย่างไรให้สามารถป้องกันเชื้อโรคต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และบทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจถึงวิธีการใส่หน้ากากอนามัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ 

    หน้ากากอนามัยแบบต่างๆที่นิยมใช้ทั่วไป ได้แก่

    •  ชั้นนอกมีสีเข้มเนื่องจากมีสารเคลือบกันน้ำ ชั้นกลางสำหรับกรองเชื้อโรคและอีกชั้นเป็นวัสดุนุ่มเนื่องจากต้องสัมผัสกับผิวค่ะ หน้ากากชนิดนี้ส่วนใหญ่ใช้ในทางการแพทย์และทั่วไปสามารถหาซื้อได้ง่ายราคาไม่แพงเนื่องจากเป็นชนิดที่ใช้แล้วทิ้งค่ะ หน้ากากชนิดนี้ใช้สำหรับป้องกันเชื้อโรคผ่านทางการไอหรือจามได้ค่ะ

    หน้ากาก N95

    • หน้ากาก N95 หน้ากากชนิดนี้สามารถป้องกันเชื้อโรคหรือฝุ่นละอองทีมีขนาดเล็กมากๆได้ ส่วนใหญ่มักใช้ในการทำงานกับสารเคมีหรือทางการแพทย์ที่ต้องป้องกันการติดเชื้อสูง อาทิ การป้องกันเชื้อวัณโรค เป็นต้น ราคาแพงกว่าหน้ากากชนิดอื่นๆรวมถึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมเนื่องจากขนาดและยี่ห้อที่แตกต่างกันอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการใช้งานค่ะ

    หน้ากากอนามัยชนิดผ้า

    • หน้ากากอนามัยชนิดผ้า เป็นหน้ากากชนิดที่สามรถนำกลับมาใช้ใหม่ได้สามารถป้องกันฝุ่นขนาดใหญ่และกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ แต่ยังไม่มีการรับรองว่าสามารถป้องกันเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคต่างได้ เนื่องจากหน้ากากอนามัยแบบผ้าดูดซับความชื้นมากกว่าหน้ากากชนิดอื่น แต่ปัจจุบันหน้ากากอนามัยแบบผ้าสามารถใส่แผ่นกรองคาร์บอนได้ สำหรับป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM2.5 ได้ค่ะ

    วิธีใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี

    การใส่หน้ากากอนามัยหรือที่เรียกอีกอย่างว่าแมสปิดจมูกอย่างถูกวิธีจะช่วยให้สามารถป้องกันเชื้อโรคต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ และการใส่หน้ากากอนามัยควรปฏิบัติดังนี้

    • ล้างมือให้สะอาดถูกต้องก่อนและหลังการใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ติดอยู่ที่มือค่ะ
    • เลือกหน้ากากอนามัยให้เหมาะสมกับในหน้า หากเป็นเด็กควรเลือกใช้หน้ากากอยามัยสำหรับเด็กเพื่อให้พอดีกับหน้าค่ะ
    • หน้ากากอนามัยประเภทใยสังเคราะห์สามชั้นหรือหน้ากาประเภททั่วไป ควรหันด้านสีเข้มไว้ด้านนอกเนื่องจากมีสารเคลือบสำหรับป้องการซึมผ่านของละอองน้ำ
    • จับสายคล้องหูทั้ง 2 ข้างสวมคลุมจมูกและปาก ดัดลวดให้แนบกับสันจมูกแบในหน้า และดึงด่านล่างให้คลุมใต้คางเป็นอันเรียบร้อยค่ะ
    • ไม่ควรสวมใส่หน้ากากร่วมกับผู้อื่นและระหว่างการใส่หน้ากากไม่ควรสัมผัสกับหน้ากากและสัมผัสกับดวงตาเพราะอาจทำให้ติดเชื้อโรคต่างได้ค่ะ
    • การใช้แอลกอฮอล์พ่นบนหน้ากากไม่ทำให้สามรถป้องกันเชื้อโรคได้ดีขึ้น

    เมื่อไหร่ที่ควรสวมหน้ากากอนามัย?

    • ป่วยเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค เป็นต้น
    • ผุ้ที่ต้องดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะโรคที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ
    • บุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากต้องให้การดูแลผู้ป่วย
    • เข้าไปในสถานที่ชุมชนหรือสถานที่แออัดอากาศถ่ายเทไม่สะดวก

    แม้ว่าหน้ากากอนามัยจะสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ แต่สิ่งสำคัญในการป้องกันโรคต่างๆคือการปฏิบัติร่วมกับวิธีอื่นๆ ได้แก่ หลีกเลี่ยงแหล่งชุมชนโดยเฉพาะที่มีการแพร่ระบาดของโรค ล้างมือสม่ำเสมอโดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดหรือการใช้สิ่งของเครื่องให้ร่วมกับผู้ป่วย การรับประทานอาหารปรุงสุกและหลากหลาก นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและดื่มน้ำสะอาดมากๆ ในเด็กควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์ที่กำหนดค่ะ

  • PM 2.5 ผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์

    PM 2.5 ผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์

    ปัจจุบันหลายๆจังหวัดในประเทศไทยประสบกับปัญหาฝุ่นละอองมลพิษทางอากาศอย่างหนัก และยังไม่มีแนวทางการแก้ไขอย่างชัดเจน ซึ่งปัญหามลภาวะทางอากาศนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพได้อย่างร้ายแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

    ฝุ่นควันและมลพิษที่ปนเปื้อนมาในอากาศโดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของท่อไอเสียรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม การเผาในที่โล่งแจ้ง กิจกรรมจากแหล่งที่อยู่อาศัยและธุรกิจการค้า ฯลฯ ซึ่งฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน มีความอันตรายกว่าฝุ่นควันปกติ เนื่องจากขนาดที่เล็กมากสามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจได้ง่าย และสามารถทะลุผนังถุงลมของปอดเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลต่อกระบวนการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย เซลล์เกิดความเสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกในครรภ์ ซึ่งองค์กรอนามัยโลก(WHO) กำหนดให้ PM 2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง แลกำหนดคุณภาพของอากาศความเข้มข้นเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของ PM2.5 ไม่ควรเกิน 25 µg/m3 , PM 10 ไม่เกิน 50 µg/m3

    ฝุ่น PM2.5 ผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

    เนื่องจากฝุ่นมีขนาดเล็กมากสามารถเข้าสู่ปอดและกระแสเลือดได้ง่าย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทำให้เกิดอาการไอ จาม แสบจมูก หายใจติดขัด แน่นหน้าอก ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหลอดลมอักเสบ ระคายเคืองหลอดลม และส่งผลกระทบต่อสุขภาพเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังในระยะยาวได้ค่ะ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ดังนี้

    – น้ำหนักทารกต่ำกว่าเกณฑ์(น้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม)หรือตัวเล็ก 

    – หญิงตั้งครรภ์ความเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษ และคลอดก่อนกำหนด การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด 1.09 เท่า 

    – ทารกตายในครรภ์ โดยเฉพาะในไตรมาสสามของการตั้งครรภ์มีคามเสี่ยงสูงของการเสียชีวิตของทารกในครรภ์

    – คุณแม่ตั้งครรภ์การได้รับอากาศมลพิษขณะตั้งครรภ์ ทารกหลังคลอดมีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด โรคหอบหืดเพิ่มสูงขึ้น

    การรับมือฝุ่น PM 2.5 สำหรับหญิงตั้งครรภ์

    – ติดตามข่าวสารสถานการณ์สภาวะอากาศในระดับต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือและปฏิบัติตามคำแนะนำ

    – หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือกิจกรรมนอกบ้าน 

    – สวมหน้ากาก N95 เมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้านหรือที่โล่งแจ้งเสี่ยงต่อมลพิษทางอากาศ

    – หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นควัน เพื่อลดการเกิดมลพิษทางอากาศ เช่น การเผาขยะ เป็นต้น

    – การปลูกต้นไม้ช่วยลดฝุ่นละอองหรือกรองอากาศได้บางส่วน เช่น ต้นเศรษฐีเรือนใน ต้นลิ้นมังกร ต้นพลูด่าง เป็นต้น

    – หากมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออก มีเลือดออกทางช่องคลอด ท้องแข็ง น้ำเดินหรือลูกดิ้นลดลง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที