Tag: สุขภาพทารก

  • ภาวะแทรกซ้อน – ทารกคลอดก่อนกำหนดควรระวัง

    ภาวะแทรกซ้อน – ทารกคลอดก่อนกำหนดควรระวัง

    ภาวะแทรกซ้อนทารกคลอดก่อนกำหนดควรระวัง

    สวัสดีค่ะ บทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของทารกคลอดก่อนกำหนด เพื่อเข้าใจถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

    การคลอดก่อนกำหนดคืออะไร

    โดยปกติแล้วการตั้งครรภ์ตลอดจนไปถึงการคลอดจะใช้เวลาประมาณ 37- 40 สัปดาห์ ถึงจะเป็นการตั้งครรภ์แบบครบกำหนด แต่การคลอดก่อนกำหนด คือ การที่คุณแม่มีภาวะปากเปิดซึ่งผลมาจากที่มดลูกเกิดการหดและขยายตัวของมดลูกก่อนกำหนดที่จะถึงสัปดาห์ที่ 37 ซึงการคลอดก่อนกำหนดจะมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่เกี่ยวข้อง ถึงแม้ในปัจจุบันจะเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยก็ แต่อย่างไรก็ตามคุณพ่อและคุณแม่ก็ต้องมีความจำเป็นที่จะต้องรู้และตระหนักถึงสาเหตุต่างๆ ของการคลอดลูกก่อนกำหนด เพราะเรื่องดังกล่ามมันมีความเสี่ยงถึงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นกับทารกของคุณ

    ภาวะแทรกซ้อนและความเสี่ยงทารกคลอดก่อนกำหนด

    ทารกคลอดก่อนกำหนดบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงระยะสั้น หรือปัญหาสุขภาพในระยะยาว แต่ด้วยการแพทย์สมัยใหม่และเทคโนโลยีใหม่ๆ ทารกมักจะสามารถอยู่รอดได้และใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเด็กทั่วไป โดยภาวะแทรกซ้อนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

    • ภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆสามารถรักษาให้หายได้ภายในเวลาที่กำหนด ดังนี้

    – อาการตัวเหลือง หรือโรคดีซ่าน พบมากที่สุดในเด็กทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากตับไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินออกจากร่างกายได้ ส่งผลให้บิลิรูบินสะสมในเลือดของทารก และแพร่กระจายเข้าไปในเนื้อเยื่อผิวของทารกจึงเปลี่ยนเป็นสีเหลือง วิธีการรักษาโรคดีซ่าน คือการส่องไฟเนื่องจากแสงไฟช่วยสลายบิลิรูบินลง ร่างกายสามารถกำจัดได้ง่ายขึ้นและหลังจากนั้น เมื่อตับโตเต็มที่ร่างกายสามารถกำจัดบิลิรูบินออกเอง

    – ปัญหาเกี่ยวกับไต ไตของทารกมักโตเร็วหลังคลอด แต่ปัญหาในการปรับสมดุลของเหลวในร่างกาย และของเสียสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วง 4-5 วันแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุน้อยกว่า 28 สัปดาห์ ของทารกอาจมีปัญหาของการกรองของเสียจากเลือด การผลิตปัสสาวะ เป็นต้น การรักษาที่ดีที่สุดคือ การกำจัดของเหลวและของเสียของจากร่างกาย

    – การติดเชื้อ ทารกคลอดก่อนกำหนดสามารถพัฒนาการติดเชื้อได้ในเกือบทุกส่วนของร่างกาย เด็กทารกอาจติดเชื้อในระยะใดก็ได้ตั้งแต่ขณะอยู่ในมดลูก ระหว่างคลอดและหลังคลอด ทารกคลอดก่อนกำหนดมีระบบภูมิคุ้มกันที่น้อยกว่าเด็กทั่วไป เนื่องจากระบบการทำงานและภูมิคุ้มกันยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ วิธีการรักษาจะเป็นการรักษาตามสาเหตุและอาการที่เกิดขึ้น

    – ปัญหาการหายใจ ในทารกคลอดก่อนกำหนดเกิดจากระบบทางเดินหายใจ ปอดยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ มักเกิดจากการขาดสารลดแรงตึงผิวซึ่งเป็นของเหลวที่เคลือบด้านในของปอด ช่วยให้ปอดของทารกสามารถขยายและหดตัวได้ตามปกติ ส่งผลให้ทารกมีความเสี่ยงของกลุ่มอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ

    – ปัญหาหัวใจ ภาวะหัวใจที่พบบ่อยที่สุดที่มีผลต่อทารกคลอดก่อนกำหนดคือ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน(PDA) ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดอาจทำให้เลือดสูบฉีดเข้าไปในปอด ทำให้เกิดการสะสมของเหลวในปอดซึ่งทำให้หัวใจล้มเหลวได้

    – ปัญหาสมองสามารถเกิดขึ้นได้ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด บางรายอาจมีอาการเลือดออกในสมอง หากเลือดออกไม่รุนแรงมักไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่สมองอย่างถาวร การรักษาปัญหาสมองอาจมีตั้งแต่ยาและการรักษาจนถึงการผ่าตัดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา

    • .ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวหรือถาวร ได้แก่

    – สมองพิการ เป็นความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่มีผลต่อกล้ามเนื้อ การประสานงานของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวและความสมดุล เกิดจากการติดเชื้อ การไหลเวียนของเลือดไม่ดีหรือบาดเจ็บที่สมองในระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอด การรักษาสมองพิการไม่มีวิธีรักษาเพื่อให้หายขาดได้ แต่การรักษาสามารถช่วยลูกได้เพื่ออำนวยความสะดวก เช่น เครื่องช่วยฟัง เครื่องช่วยเดิน การผ่าตัดเพื่อเพิ่มความคล่องตัว รวมถึงยาเพื่อช่วยในการป้องกันกล้ามเนื้อกระตุก ยากล่อมประสาท เป็นต้น

    – ปัญหาการมองเห็น ทารกคลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงสำหรับจอประสาทตา มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด การรักษาหากจอตามีความรุนแรงอาจใช้วิธีการรักษา เช่น การรักษาด้วยเลเซอร์ การผ่าตัดเพื่อเอาเนื้อเยื่อแผลเป็นออกจากตา เป็นต้น

    – ปัญหาการได้ยิน ทารกคลอดก่อนกำหนดบางคนมีอาการสูญเสียการได้ยิน การสูญเสียการได้ยินบางครั้งอาจเป็นผลรวมทำให้หูหนวก หลายครั้งที่การสูญเสียการได้ยินพบไม่บ่อยในทารก การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินในลูกน้อย การรักษาจะแตกต่างกันไปอาจรวมถึง การศัลยกรรมหู

    เครื่องช่วยฟัง หรือประสาทหูเทียม

    – พัฒนาการล่าช้า ทารกคลอดก่อนกำหนดมักประสบกับปัญหาความล่าช้าในการพัฒนา การเรียนรู้

    นอกจากนี้ทารกคลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ไวต่อการติดเชื้อและอาจประสบปัญหาสุขภาพอื่นๆได้ ดังนั้นการดูแลลูกน้อยควรเริ่มต้นเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ การฝากครรภ์และควรปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อพบอาการผิดปกติ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกคุณค่ะ

  • การดูแลสายสะดือทารกแรกเกิด

    การดูแลสายสะดือทารกแรกเกิด

    การดูแลสายสะดือของทารกหลังคลอดนั้นง่ายกว่าที่คิดและนี่คือสิ่งที่คุณแม่ต้องรู้ค่ะ วันนี้เราจะมาแชร์ข้อมูลดีๆเกี่ยวกับการดูแลสายสะดือของทารกค่ะ

    สายสะดือทำหน้าที่เป็นเส้นทางสำหรับสารอาหารแก่ทารกที่กำลังเจริญเติบโตภายในร่างกายของแม่ ในขณะที่ปลายอีกด้านเชื่อมต่อกับรกบนผนังด้านในของมดลูกที่ให้ออกซิเจน และการบำรุงที่จำเป็นแก่ทารกค่ะ ซึ่งสายสะดือจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 7 ของการตั้งครรภ์ การ ให้สารอาหารที่จำเป็นทั้งหมดแก่ทารกในครรภ์ระหว่างการเจริญเติบโต สายสะดือส่วนใหญ่ประกอบด้วย หลอดเลือดดำเพื่อลำเลียงออกซิเจน และเลือดจากรกของแม่ไปยังทารก เส้นเลือดแดงเพื่อส่งเลือดที่ไม่มีออกซิเจนและของเหลวอื่นๆจากทารกไปยังรกค่ะ

    เมื่อทารกคลอดออกมาจากครรภ์ของแม่สายนี้จะถูกดึงออกมาด้วย ซึ่งแพทย์จะทำการตัดออกโดยที่ปลายด้านหนึ่งถูกหนีบใกล้กับร่างกายของทารก และติดอยู่กับทารกเป็นเวลา 7 – 21 วัน ลักษณะของสายสะดือนั้นมีสีเขียวอมเหลืองเมื่อแรกเกิด และจะเปลี่ยนเป็นสีดำในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่มันจะผ่านกระบวนการทำให้แห้งตามธรรมชาติและหลุดออกไปในที่สุดค่ะ ซึ่งต้องได้รับการดูแลและใส่ใจเพื่อป้องกันการระคายเคืองและการติดเชื้อ

    เคล็ดลับสำหรับการดูแลสายสะดือทารกแรกเกิด

    • ความสะอาดและแห้งเป็นสิ่งสำคัญมากค่ะ สายสะดืออาจดูไม่สะอาดและเหนียวในบางครั้ง แต่นั่นคือสัญญาณแสดงถึงความจำเป็นต้องทำความสะอาด คุณแม่สามารถเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่นหมาดๆ และซับด้วยผ้าแห้งอ่อนนุ่มให้แห้งค่ะ อย่าใช้แอลกอฮอล์หรือสบู่นะคะ เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้เนื่องจากผิวบริเวณนั้นมีความบอบบางมากค่ะ
    • การอาบน้ำให้ลูกน้อย เลือกใช้ฟองน้ำอาบน้ำแทนการแช่น้ำเป็นเวลานานๆค่ะ
    • หลีกเลี่ยงการปกคลุมด้วยผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป เนื่องจากผ้าอ้อมเด็กอาจกดทับที่สายสะดื้อของทารก และอาจทำให้เกิดการอับชื้นได้ค่ะ
    • ไม่ควรดึงหรือแคะสายสะดื้อ ควรให้หลุดเองไปตามธรรมชาติซึ่งอาจทำให้เป็นแผลและเลือดออกได้ เสี่ยงต่อการติดเชื้อค่ะ

    สัญญาณของการติดเชื้อสายสะดือ

    การติดเชื้อสายสะดือ พบไม่บ่อยนักในเด็กแรกเกิด แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งที่คุณแม่จะต้องคอยเฝ้าดูบริเวณสะดือ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อเกิดขึ้น ซึ่งคุณแม่สามารถสังเกตอาการผิปกติได้ดังนี้ ฐานของสายสะดือเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือบวม ท้องของทารกบวม สายสะดือมีหนองหรือมีกลิ่นเหม็นออกมา มีไข้สูง ง่วงซึม เบื่ออาหาร ไม่สบายตัว ร้องไห้กวน การรักษาสายสะดือติดเชื้อ แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อ และหากพบว่าลูกมีอาการผิดปกติเพิ่มขึ้น มีเลือดออกที่สะดือควรรับพบแพทย์ทันทีค่ะ

    สายสะดือมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ และต้องการการดูแลอย่างเพียงพอเมื่อทารกเกิดค่ะ การตระหนักถึงวิธีการที่เหมาะสมในการดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

  • ทารกตาแฉะ ขี้ตาเยอะอันตรายหรือไม่

    ทารกตาแฉะ ขี้ตาเยอะอันตรายหรือไม่

    ทารกตาแฉะ ขี้ตาเยอะอันตรายหรือไม่

    สวัสดีค่ะ คุณพ่อคุณแม่สงสัยหรือไม่ว่าทำไม่ทารกตาแฉะ ขี้ตาเยอะและจะเป็นอันตรายหรือไม่ วันนี้เราจะพามาหาคำตอบกันค่ะ รวมถึงวิธีการดูแลดวงตาลูกน้อยค่ะ

    ทารกช่วงอายุ 1-3 เดือนหลังคลอดในบางรายอาจพบว่ามีขี้ตาเยอะ อาการตาแฉะหรือน้ำตาไหล โดยสาเหตุที่พบบ่อยคือทารกมีท่อน้ำตาที่แคบทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำตา หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระหว่างการคลอด โดยอาจเป็นเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างค่ะและอาการที่พบ ได้แก่ มีของเหลวสีเหลืองหรือสีขาวที่มุมของดวงตาและอาจเปลี่ยนเป็นสีเขียวได้ อาจมีรอยแดงเล็กน้อยและเกิดการอักเสบรอบหรือใต้ตา หรือมีน้ำตาไหลซึ่งอาจเป็นผลมาจากการฉีกขาดของท่อน้ำตาค่ะ เป็นต้น นอกจากนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น กระจกตาอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ สิ่งแปลกปลอมเข้าตา เป็นต้น

    การดูแลลูกน้อยเมื่อมีอาการตาแฉะหรือขี้ตาเยอะ โดยที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ที่บ้านได้แก่

    1. การทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่นที่ต้มสุก ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดโดยมีขั้นตอนดังนี้

    • ล้างมือคุณพ่อหรือคุณแม่ให้สะอาดก่อนการทำความสะอาดรอบดวงตาของลูกน้อย
    • นำสำลีชุบน้ำอุ่นที่ต้มสุกแล้วบีบสำลีหมาดๆ เริ่มต้นเช็ดจากหัวตาไปหางตาเบาๆ
    • เปลี่ยนสำลีใหม่และทำซ้ำจนกว่าขี้ตาของลูกน้อยจะหมดค่ะ
    • ควรเช็ดวันละ 2 – 3 ครั้ง หรือเวลาที่ลูกน้อยมีขี้ตาเยอะหรือตาแฉะ

    2. การนวดหัวตา เป็นการนวดบริเวณที่อยู่ใกล้กับดวงตาและจมูกเบาๆอย่างน้อยรอบละ 20-30 ครั้ง ซึ่งจะช่วยในการเปิดท่อน้ำตาที่ถูกปิดกั้นอยู่และควรนวดอย่างน้อย 4 ครั้งต่อวัน

    3. ยาป้ายตาปฏิชีวนะหรือยาหยอดตาปฏิชีวนะ การใช้ยาเพื่อรักษาอาการตาแฉะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของกุมารแพทย์อย่างเคร่งครัดไม่ควรซื้อยามาหยอดให้ลูกเองเด็ดขาดค่ะ

    4. การผ่าตัดหรือการแยงท่อน้ำตา ในเด็กบางรายที่มีอาการรุนแรงหรือการดูแลรักษาเบื้องต้นแต่ไม่หาย แพทย์จะทำการผ่าตัดหรือการแยงท่อน้ำตาเพื่อแก้ไขภาวะท่อน้ำตาอุดตัน

    5. การใช้น้ำนมแม่หยอดตา ซึ่งเป็นวิธีที่ทางการแพทย์ไม่มีข้อมูลสนับสนุนการใช้น้ำนมแม่หยอดตา แต่มีคุณแม่หลายท่านที่มีประสบการณ์จำนวนมากใช้น้ำนมแม่ เพื่อเช็ดสิ่งสกปรกที่ตกค้างออกจากดวงตาของลูกน้อยค่ะ

    ภาวะตาแฉะหรือขี้ตาเยอะในเด็กทารกส่วนใหญ่จะไม่ร้ายแรงและสามารถรักษาได้เองด้วยการหมั่นทำความสะอาดค่ะ และอาการตาแฉะหรือขี้ตาเยอะในเด็กอันตรายหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรคค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการและดูแลดวงตาของลูกน้อย หากพกอาการผิดปกติหรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ

  • อาการแพ้ไข่ในเด็ก

    อาการแพ้ไข่ในเด็ก

    อาการแพ้ไข่ในเด็ก

    การแพ้ไข่นั้นคล้ายกับการแพ้อาหารอื่นๆ เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของทารกแสดงต่อโปรตีนในไข่ภายในไม่กี่นาทีถึงหนึ่งชั่วโมงหลังจากการบริโภคไข่เข้าไปค่ะ และจะทราบได้อย่างไรว่าลูกน้อยแพ้ไข่หรือไม่ วันนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่มาหาคำตอบกันค่ะ

    การแพ้ไข่นั้นคล้ายกับการแพ้อาหารอื่นๆ เช่น การแพ้โปรตีนนมวัว การแพ้ถั่ว เป็นต้น การแพ้ไข่ในเด็กเกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายต่อไข่ผ่านกลไกทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ เช่น อาการน้ำมูกไหล การอักเสบและผื่นที่ผิวหนัง เด็กสามารถเกิดอาการแพ้ไข่ได้ทุกรูปแบบ ไข่มีโปรตีนหลายชนิดที่สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ซึ่งพบว่าการแพ้โปรตีนในไข่ขาวมากกว่าโปรตีนในไข่แดง และปัจจัยที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ไข่ ได้แก่

    • โรคภูมิแพ้ทั่วไป หากเด็กที่มีการแพ้อาหารอื่นๆทำให้มีโอกาสแพ้ไข้ได้เช่นกันค่ะ
    • ความบกพร่องทางพันธุกรรม หากคุณพ่อคุณแม่หรือคนในครอบครัวมีอาการแพ้ไข้ ทำให้เด็กมีโอกาสการแพ้ไข้ได้ถึง 40%

    อาการของภูมิแพ้ไข่ในเด็ก
    โรคภูมิแพ้ไข่ในเด็กมักจะแสดงอาการต่างๆ ดังนี้

    • ผื่นบนผิวหนัง บวมแดง ผื่นแพ้ไข่ในทารกเป็นหนึ่งในอาการที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด
    • อาการบวมและของตา ริมฝีปาก ลิ้นบวมและแดง น้ำมูกไหล ซึ่งมักเป็นอาการแรกที่สามารถสังเกตเห็นถึงอาการแพ้
    • คออาจแดงและบวม ซึ่งอาจทำให้เกิดความยากลำบากในการกลืนและหายใจ
    • คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ปวดท้อง ในเด็กบางรายอาจพบอาการปวดท้องร่วมกับอาการท้องเสีย
    • ในเด็กบางราย อาจเกิดการแพ้อย่างรุนแรงซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต การเต้นของหัวใจอย่างรวดเร็วการเต้นของหัวใจอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การสูญเสียเลือดไปยังสมองทำให้เกิดการช็อคหมดสติได้

    การวินิจฉัยอาการแพ้ไข่ในทารก
    การวินิจฉัยเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์อาหาร ประวัติของโรคภูมิแพ้และโรคอื่นๆ ดังนี้

    • การปรับเปลี่ยนอาหาร โดยแพทย์จะทำการเลือกอาหารที่ต้องสงสัยทั้งหมดที่สามารถทำให้เกิดการแพ้จากอาหารของทารก เพื่อหาปฏิกิริยาการแพ้
    • การทดสอบโดยหยดสารก่อภูมิแพ้ลงบนผิวหนัง โดยแพทย์จะวางสารสกัดจากสารก่อภูมิแพ้เล็กน้อย แล้วจึงค่อยๆ ทิ่มผิวหนัง หากผิวหนังบริเวณที่ทดสอบสารก่อภูมิแพ้ชนิดใดแสดงจุดสีแดงภายใน 20 นาทีของการทดสอบ แสดงว่าลูกน้อยแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้นๆ
    • การตรวจเลือด เพื่อทำการตรวจหาแอนติบอดีที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ไข่

    การรักษาอาการแพ้ไข่ในทารก
    การรักษาโรคภูมิแพ้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปฏิกิริยาการแพ้ที่เกิดขึ้น เช่น การทานยาแก้แพ้จะใช้ในการรักษาอาการไม่รุนแรง หากมีอาการแพ้แบบเฉียบพลันรุนแรงต้องได้รับยาฉีดอิพิเนฟริน(Epinephrine) หรืออะดรีนาลีน(Adrenaline) ซึ่งสามารถฉีดได้ด้วยตัวเอง และไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติม

    อาหารทดแทนไข่ในกรณีที่เด็กมีอาหารแพ้ไข่ ได้แก่ เนื้อจากสัตว์ปีกเป็นสิ่งทดแทนไข่ได้ดี เป็นแหล่งโปรตีนและแร่ธาตุในอาหารเพื่อช่วยให้ทารกเจริญเติบโตได้ดี นมถั่วเหลืองเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่แพ้แลคโตสและแพ้ไข่ พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น

    อาการแพ้ไข่สามารถหายได้หรือไม่
    การแพ้ไข่สามารถรักษาได้ค่ะ และเด็กส่วนใหญ่ที่แพ้ไข่จะมีอาการดีขึ้นเมื่อโตขึ้น หรืออาจไม่แพ้ไข่อีกเลยก็ได้ค่ะ ในปัจจุบันมีการรณรงค์ให้ลูกทานนมแม่ในช่วง 6 เดือนแรกเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับลูกน้อยลดการเกิดโรคภูมิแพ้ต่างๆได้ค่ะ