Tag: สาเหตุ

  • ถุงน้ำอัณฑะในเด็ก

    ถุงน้ำอัณฑะในเด็ก

    ถุงน้ำในอัณฑะพบบ่อยในเด็กแรกเกิดโดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนดค่ะ ซึ่งไม่ใช่โรคอันตรายร้ายแรงสามารถหายได้เองและรักษาให้หายได้ค่ะ แต่เมื่อลูกเจ็บป่วยพ่อแม่คุณคนล้วนกังวลเป็นห่วง ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าวค่ะ

    ถุงน้ำอัณฑะ คืออะไร

    ถุงน้ำในอัณฑะ (hydrocele) เป็นภาวะที่มีปริมาณของเหลวอยู่ในถุงอัณฑะมากเกินไป อาการนี้พบได้ในทุกวัยแต่พบได้บ่อยที่สุดในทารกแรกเกิดโดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนด ส่วนใหญ่ภาวะถุงน้ำในอัณฑะในทารกแรกเกิดเพศชายจะดีขึ้นด้วยตัวเองค่ะ หากไม่หายได้เองจะรักษาด้วยการผ่าตัดค่ะ ไม่มีผลกระทบระยะยาว ไม่ส่งผลกระทบต่อลูกอัณฑะหรือภาวะเจริญพันธุ์ของเด็กชายในอนาคตค่ะ

    สาเหตุของถุงน้ำในอัณฑะในเด็ก

    ในช่วงเดือนที่เจ็ดของการพัฒนาของทารกในครรภ์ลูกอัณฑะจะย้ายจากช่องท้องไปยังถุงอัณฑะ เมื่อลูกอัณฑะเคลื่อนตัวลงมันจะนำเยื่อบุที่คล้ายถุงของช่องท้องไปด้วย ซึ่งโดยปกติเยื่อหุ้มของถุงอัณฑะจะมีอยู่ 2 ชั้นและจะมีของเหลวเล็กน้อยเพื่อหล่อลื่นค่ะ และถุงนี้มักปิดก่อนคลอดป้องกันไม่ให้ของเหลวเพิ่มขึ้นจากช่องท้องเข้าไปในถุงอัณฑะค่ะ

    อาการถุงน้ำในอัณฑะ

    เนื่องจากโรคถุงน้ำในอัณฑะพบได้บ่อยในทารกและไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดใดๆ ดังนั้นอาการเดียวที่คุณจะสังเกตได้คือลูกอัณฑะของลูกชายของคุณบวม มีลูกอัณฑะลูกเดียว มีลักษณะเป็นก้อนนุ่มที่ลูกอัณฑะข้างหนึ่งข้างใดโดยไม่ยุบหาย หรือเมื่อใช้ไฟฉายส่องมักจะเห็นว่าโปรงแสงเนื่องจากมีปริมาณของเหลวมากค่ะ ในบางรายโรคถุงน้ำในอัณฑะอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไส้เลื่อนในเด็กได้ค่ะ

    การรักษาโรคถุงน้ำในอัณฑะ

    โรคถุงน้ำในอัณฑะ(Hydroceles) มักจะดีขึ้นและหายได้เองภายในอายุ 1 ปีโดยไม่ต้องรักษาใดๆค่ะ หรือในกรณีที่มีขนาดใหญ่มากหรือโตขึ้นเรื่อยๆอาจต้องได้รับการผ่าตัด และหากพบในเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปมักจะรักษาด้วยการผ่าตัดถุงน้ำในอัณฑะค่ะ

    โรคถุงน้ำในอัณฑะ (hydrocele) ไม่เป็นอันตรายและไม่ทำให้ลูกชายของคุณเจ็บปวด อย่างไรก็ตามบางครั้งอาจถ้าถุงยังคงเปิดอยู่ลำไส้จะถูกผลักเข้าไปในช่องท้องซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไส้เลื่อนในเด็กได้ค่ะ หากพบว่าถุงอัณฑะลูกชายคุณมีขนาดใหญ่และแข็งมากควรพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยสาเหตุค่ะ

  • ภาวะขาดน้ำในเด็กเล็ก

    ภาวะขาดน้ำในเด็กเล็ก

    ภาวะขาดน้ำในเด็กเล็ก

    ภาวะขาดน้ำในเด็กอาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนหรือแม้กระทั่งในช่วงการติดเชื้อ การสูญเสียน้ำนั้นมีสาเหตุมากมายจากเหงื่อออกมากไปจนถึงท้องเสียเรื้อรัง ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าที่ได้รับ สร้างความขาดแคลนน้ำสำหรับการทำงานของร่างกายที่จำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญ เด็กวัยหัดเดินเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำได้มากกว่าในช่วงวัยอื่นๆ และหากร่างกายมีภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง อาจทำให้กิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตตาะ

    สาเหตุภาวะขาดน้ำในเด็ก

    การสูญเสียน้ำในร่างกายสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุได้แก่

    • โรคท้องร่วง เป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียน้ำในเด็ก เนื่องจากอุจจาระเหลวเรื้อรังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย หรือจากการแพ้อาหารทำให้เกิดการสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว
    • อาเจียนอย่างรวดเร็วทำให้ปริมาณน้ำในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับอาการท้องร่วงค่ะ
    • อุณหภูมิร่างกายสูงในช่วงมีไข้ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเมื่อมีเหงื่อออกมากๆ
    • ความร้อนและความชื้นสูงนำไปสู่การมีเหงื่อออกมากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่การคายน้ำและคลายความร้อนของร่างกาย เด็กที่เล่นกิจกรรมกลางแจ้งอาจเสี่ยงต่อการขาดน้ำได้
    • ภาวะเบาหวานที่ทำให้มีการปัสสาวะมากผิดปกติจากน้ำตาลในเลือดสูง

    อาการของการคายน้ำของร่างกาย

    อาการที่สามารถบ่งบอกของภาวะจาดน้ำของร่างกายได้แก่

    • อาการปากแห้ง เป็นสัญญาณแรกของการขาดน้ำในเด็ก คุณแม่สามารถสังเกตได้จากน้ำลายไหลที่น้อยลง และริมฝีปากแห้ง
    • ปัสสาวะน้อย โดยทั่วไปควรปัสสาวะอย่างน้อย1 ครั้งภายในชั่วโมง
    • น้ำตาน้อยลงกว่าปกติเมื่อลูกร้องไห้
    • ดวงตาของลูกดูเหมือนจมลง
    • ผิวที่แห้งแตกกว่าปกติ
    • เด็กจะไม่สนใจในกิจกรรมใดๆแลจะมีสมาธิน้อยลง

    การวินิจฉัยภาวะขาดน้ำในเด็ก

    การตรวจสอบว่าลูกของคุณมีภาวะขาดน้ำหรือไม่ โดยทั่วแพทย์จะทำการวินิจฉัยดังนี้

    • การตรวจเลือด เพื่อตรวจสอบระดับโซเดียมและโพแทสเซียมในเลือด
    • การทดสอบปัสสาวะ จะตรวจสอบปัสสาวะที่มีความเข้มข้นซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการขาดน้ำ และตัวบ่งชี้ระดับของเหลวในร่างกายได้

    การรักษาภาวะขาดน้ำในเด็ก

    ภาวะขาดน้ำในเด็กเล็กควรพบแพทย์และควรได้รับการรักษาตามความเหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปการรักษาภาวะขาดน้ำที่ดีที่สุดนั้น คือการเติมน้ำเข้าสู่ร่างกายด้วยการดื่มน้ำมากๆให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  และควรหลีกเลี่ยงน้ำผลไม้แก่เด็กที่มีอาการท้องร่วงอยู่ คุณแม่สามารถให้ผงน้ำตาลเกลือแร่ได้ด้วยการจิบเพียงเล็กน้อยแต่บ่อยครั้ง ในบางรายที่สูญเสียน้ำจากอาการเจ็บป่วย อาจต้องรักษาด้วยการให้น้ำเกลือผ่านเส้นเลือดค่ะ

    การป้องกันการขาดน้ำในเด็ก

    การป้องกันภาวะขาดน้ำเพื่อบรรเทาการสูญเสียน้ำของร่างกาย คุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยได้ดังนี้

    • การน้ำมาก โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนและการเล่นหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง เนื่องจากการสูญเสียของเหลวจากเหงื่อออกจะสูงขึ้นในสภาวะที่มีความชื้นสูง ค่ะ
    • ป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากอาจทำให้ท้องเสียและอาเจียน สภาวะที่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำ ดังนั้นควรสอนให้ลุกน้อยรักษาสุขอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ค่ะ เช่น การล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหาร เป็นต้น
    • การสวมใส่เสื้อผ้า ควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศค่ะ ในวันที่อากาศร้านควรสวมใส่เสื้อผ้าบางเบา ระบายอากาศได้ดีค่ะ

    การมีปริมาณน้ำเพียงพอเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันการขาดน้ำในเด็กได้ดี ดังนั้นการหมั่นสังเกตและเฝ้าระวังลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำของลูกน้อยค่ะ

  • ไวรัส RSV ระบาดหนักหน้าฝน เด็กเล็กต้องระวัง

    ไวรัส RSV ระบาดหนักหน้าฝน เด็กเล็กต้องระวัง

    ช่วงนี้ฝนตกอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เด็กๆเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะในเด็กเล็กซึ่งมีระบบภูมิต้านทานโรคยังไม่แข็งแรง และมีการระบาดหนักของเชื้อไวรัสอาร์เอสวี(RSV) หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเด็กเล็กต้องระวังค่ะ

    ไวรัส RSV คืออะไร

    RSV หรือ Respiratory syncytial virus เป็นไวรัสที่พบบ่อย เจริญเติบโตได้ดีช่วงที่มีอากาศชื้นและแพร่กระจายได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก อาการคล้ายกับไข้หวัดแต่มีความรุนแรงกว่า ในเด็กเล็กมักเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย อันตรายต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ

    สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส RSV

    การติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) สามารถติดต่อกันได้ง่ายๆจากการใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งผู้ป่วย เช่น การไอ จาม เป็นต้น โดยเชื้อไวรัสอาร์เอสวีเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูกและปาก เชื้อไวรัสพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝนและต้นฤดูหนาว ไวรัสแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการไอ หรือการจาม และจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง

    อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV

    การติดเชื้อไวรัส RSV ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจซึ่งมีอาการคล้ายกับโรคหวัด ได้แก่ คัดจมูก มีน้ำมูก มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ไอแห้ง เจ็บคอ ฯลฯ โดยเชื้อไวรัสนี้มีระยะการฟักตัว 4 – 6 วันหลังจากได้รับเชื้อ และสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคปอดบวม โรคหลอดลมฝอยอักเสบ เป็นต้น ซึ่งมักแสดงอาการดังนี้

    • ไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส เซื่องซึม เบื่ออาหาร
    • หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อยและหายใจลำบาก 
    • ไออย่างรุนแรง มีเสมหะข้นเหนียวมาก 
    • มีเสียงหวีดในปอด (จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว)
    • ปากหรือเล็บมีสีเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน

    หากลูกมีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีอาการแทรกซ้อนและทรุดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หยุดหายใจเป็นช่วงๆหรือหายใจล้มเหลวได้ค่ะ

    การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV

    การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV เป็นการรักษาตามอาการหรือการประคับประคอง เพื่อให้ระบบทางเดินหายใจดีขึ้นและป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ ในกรณีที่พบอาการรุนแรงหรือในผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เช่น การรับประทานยาลดไข้ ยาลดเสมหะหรือดูดเสมหะออก ลดอาการบวมของทางเดินหายใจ ในบางรายอาจต้องทำการพ่นยาเพื่อขยายหลอดลม อาจต้องและใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจหากพบว่ามีภาวะออกซิเจนต่ำหรือระบบหายใจล้มเหลว เป็นต้น 

    ภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อ RSV

    การติดเชื้อ RSV ในเด็กเล็ก อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบระยะยาวได้ เช่น โรคปอดบวมหรือหลอดลมฝอยอักเสบ ทำให้เกิดการอุดตันของระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อในหูชั้นกลาง โรคหอบหืด เด็กที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อ RSV รุนแรงมีความเสี่ยงระยะยาวในการพัฒนาเป็นโรคหอบหืดได้ ในบางรายอาจทำให้หัวใจลมเหลวเฉียบพลันและเสียชีวิตได้ค่ะ

    การป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

    เนื่องจาก RSV สามารถแพร่กระจายได้ง่ายโดยการสัมผัส และในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส RSV แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสได้ดังนี้

    • คุณพ่อคุณแม่ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสทารก
    • การสอนให้ลูกล้างมือให้สะอาดก่อน-หลังรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
    • รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย สิ่งของเครื่องใช้และของเล่นให้สะอาด 
    • หลีกเลี่ยงการการพาลูกน้อยไปยังที่แออัดในช่วงที่มีระบาดของเชื้อไวรัส
    • หากมีความจำเป็นต้องพาลูกไปสถานที่ชุมชน เช่น โรงพยาบาล ควรสวนใส่หน้ากากอนามัย
    • หากลูกป่วยเป็นหวัด ควรพักรักษาตัวให้หายก่อนไปโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น
    • หากผู้ปกครองเป็นหวัดควรหลีกเลี่ยงการกอดและจูบลูกจนกว่าจะหายดี
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และการพักผ่อนให้เพียงพอ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • อาหารเป็นพิษในเด็ก สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้

    อาหารเป็นพิษในเด็ก สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้

    อาหารเป็นพิษในเด็ก สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้

    อาหารเป็นพิษเป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยเด็กและผู้ใหญ่ แม้ในบางครั้งเด็กและผู้ใหญ่รับประทานอาหารแบบเดียวกัน แต่กลับพบว่าเด็กเกิดอาการอาหารเป็นพิษเท่านั้น เนื่องจากเด็กมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรียไม่เท่าผู้ใหญ่นั้นเองค่ะ ดังนั้นอาหารเป็นพิษจึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรรู้ เพื่อป้องกันและการดูแลรักษาที่ถูกวิธีค่ะ

    อาหารเป็นพิษคืออะไร

    อาหารเป็นพิษคือกลุ่มอาการที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย ในบางครั้งอาจเกิดจากเชื้อไวรัสหรือปรสิต ที่มีการปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมีโอกาสสูงกว่าในช่วงวัยอื่น เนื่องจากเด็กในช่วงวัยนี้ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงมากพอที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆเท่ากับช่วงวัยอื่นๆ และมักจะมีอาการรุนแรงกว่าเช่นกันค่ะ

    สาเหตุของอาหารเป็นพิษ

    อาหารเป็นพิษเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียหรือปรสิตในอาหารและน้ำดื่ม ซึ่งสามารถปนเปื้อนเชื้อต่างได้ตั้งแต่ระหว่างการเตรียมอาหาร การเก็บรักษา การขนส่งอาหารที่ผ่านการปรุงไม่ถูกวิธีสุอนามัย รวมถึงภาชนะเครื่องใช้ที่มีการปนเปื้อนค่ะ  ซึ่งเชื้อที่มักเป็นสาเหตุของภาวะอาหารเป็นพิษ เช่น ซาลโมเนลลา พบมากในเนื้อสัตว์ดิบ ไข่ดิบ นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม คลอสติเดียม โบทูลินัม มักพบในอาหารที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท โดยเฉพาะอาหารกระป๋องที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น หน่อไม้ดอง เนื้อสัตว์แปรรูป ฯลฯ หรือชิเกลล่า พบการปนเปื้อนทั้งในผลิตภัณฑ์อาหารสด น้ำดื่มที่ไม่สะอาด เป็นต้น

    อาการอาหารเป็นพิษในเด็ก

    โดยปกติอาการมักจะเกิดขึ้น 30 นาทีถึง 24 ชั่วโมงหลังจากกินอาหารนั้นเข้าไป ซึ่งมักแสดงอาการทั่วไปได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องและตะคริว ท้องร่วง อาการปวดหัว มีไข้ เป็นต้น อาการที่เกิดจากอาหารเป็นพิษนั้นรุนแรงในเล็กมากกว่าเด็กโตและวัยรุ่นค่ะ

    การรักษาอาหารเป็นพิษ

    อาหารเป็นพิษส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและจะดีขึ้นโดยไม่ต้องรักษา คุณแม่สามารถดูแลได้เองที่บ้าน ได้แก่

    • ควรให้ลูกดื่มน้ำสะอาดผสมผงเกลือแร่ด้วยการจิบน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์นมจนกว่าอาการท้องร่วงจะหยุด
    • เมื่อลูกรู้สึกหิวให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย อาจแบ่งเป็นมื้อเล็กๆแต่สามารถรับประทานได้บ่อย หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด น้ำอัดลม ฯลฯ
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
    • หลีกเลี่ยงการให้ลูกทานยาแก้ท้องเสีย ยาต้านอาการท้องร่วงอาจทำให้อาการนานขึ้นและผลข้างเคียงสำหรับเด็กอาจรุนแรง

    หากพบว่าลูกมีอาการรุนแรงหรือมีอาการอื่นๆร่วมด้วยควรรีบพบแพทย์ทันที ได้แก่

    • อาเจียนนานกว่า 12 ชั่วโมง
    • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียล
    • หัวใจเต้นแรง ปัญหาการหายใจ
    • อาการปวดท้องอย่างรุนแรงหลังจากอุจจาระแล้ว
    • อุจจาระเปื้อนเลือดหรืออาเจียนเป็นเลือด
    • ตามัวหรือมองเห็นไม่ชัด
    • ภาวะร่างกายขาดน้ำ ได้แก่ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปัสสาวะน้อย เวียนหัว ปากแห้ง กระหายน้ำมาก เป็นต้น
    • ฯลฯ

    การป้องกันอาหารเป็นพิษ

    ขั้นตอนในการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ ควรทำตามหลักปฏิบัติดังนี้

    • ควรสอนให้ลูกล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง
    • ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ หรือผ่านความร้อนเพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอาหาร
    • ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่เตรียมอาหารอยู่เสมอ
    • ปรุงอาหารหรือเก็บอาหารให้ถูกสุขอนามัย  เช่น แยกเก็บเนื้อสดออกจากอาหารชนิดอื่นๆ เป็นต้น
    • ตรวจสอบการใช้งานหรือวันที่บนบรรจุภัณฑ์ก่อนรับประทาน

    อาการอาหารเป็นพิษในเด็กไม่เกิดอาการที่ไม่รุนแรงได้ ถ้าคุณแม่สามารถรับมือและดูแลภาวะอาหารเป็นพิษที่ที่ถูกต้องได้ค่ะ และหากพบอาการผิดปกติควรพบแพทย์ทันทีนะคะ

  • โรคซึมเศร้าในเด็ก

    โรคซึมเศร้าในเด็ก

    โรคซึมเศร้าในเด็ก

    อาการซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย และในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอัตราภาวะซึมเศร้าในวัยเด็กเพิ่มมากขึ้น และหลายคนอาจสงสัยว่าเด็กๆจะซึมเศร้าได้หรือไม่ เนื่องจากหลายท่านยังคงเชื่อว่าเด็กจะไม่รู้สึกโศกเศร้าหรือหดหู่เพราะพวกเขายังเด็กมาก ดังนั้นบทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจ และตระหนักถึงภาวะซึมเศร้าในเด็กที่อาจขึ้นกับลูกของคุณค่ะ

    เด็กๆประสบกับภาวะซึมเศร้าได้หรือไม่

    ภาวะซึมเศร้าในเด็ก (Depression) เป็นความเข้าใจผิดที่ผู้ใหญ่หลายท่านเข้าใจว่า เด็กๆไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้เพียงเพราะอายุ ความจริงแล้วภาวะซึมเศร้าในเด็กนั้นเป็นเรื่องปกติมากกว่าที่คุณคิด โดยพฤติกรรมของเด็กที่ซึมเศร้าอาจแตกต่างจากพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่มีภาวะซึมเศร้าค่ะ ภาวะซึมเศร้าอาจอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรงและมีอาการเฉพาะบางอย่าง ภาวะซึมเศร้าในเด็กสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้

    1. ภาวะซึมเศร้าดิสทีเมีย ดีเพรสชั่น (Dysthymia Depression) เป็นประเภทของภาวะซึมเศร้าที่มีอาการรุนแรงน้อยแต่มีแนวโน้มที่จะเรื้อรังนานกว่า 2 ปี
    2. ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ความผิดปกติทางอารมณ์จากฤดูที่เปลี่ยนแปลง และมักเกิดขึ้นกับผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศเขตหนาว เนื่องจากกลางวันสั้นลง กลางคืนยาวนานทำให้คนซึมเศร้า จิตตก รู้สึกเฉื่อยชามากขึ้น
    3. ภาวะซึมเศร้าแบบสองขั้ว (Bipolar depression) ลูกของคุณมีแนวโน้มที่อารมณ์ขึ้นและลง บางรายจะมีอารมณ์ซึมเศร้าสลับกับอาการลิงโลด โดยเป็นอารมณ์ที่ต่างขั้วกัน
    4. ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorder) เป็นภาวะความกดดันก่อให้เกิดความเครียด จนไม่สามารถปรับตัวได้ เช่น การเสียชีวิตของผู้ใกล้ชิด เป็นต้น

    สาเหตุของอาการซึมเศร้าในเด็ก

    อาการซึมเศร้าในเด็กไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ อาจเป็นผลกระทบมาจากปัจจัยต่างๆประกอบกัน เช่น สุขภาพร่างกาย ประวัติครอบครัวภาวะซึมเศร้า ความเจ็บป่วยทางจิต ความอ่อนแอทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และความไม่สมดุลทางชีวเคมี เป็นต้น ทางการแพทย์เชื่อว่าภาวะซึมเศร้าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสมอง

    สัญญาณและอาการซึมเศร้าในเด็ก

    อาการของภาวะซึมเศร้าสามารถอยู่ได้นานหลายสัปดาห์ หลายเดือนและหลายปีหากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งอาจส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อชีวิตประจำวันของลูกรวมถึงกิจกรรมที่โรงเรียน อาการของภาวะซึมเศร้านอกเหนือจากความหงุดหงิดแล้ว ถ้าลูกของคุณแสดงอาการต่อไปนี้ลูกของคุณประสบกับปัญหาภาวะซึมเศร้าได้ค่ะ

    • โศกเศร้าบ่อยครั้ง น้ำตาไหล ร้องไห้บ่อย
    • รู้สึกหงุดหงิด และอารมณ์โกรธ
    • อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย
    • ขาดสมาธิ ปัญหาด้านการเรียนรู้
    • รู้สึกผิด ความนับถือตนเองต่ำ
    • ความโดดเดี่ยวทางสังคมการสื่อสารไม่ดี
    • ทำตัวห่างไกลจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและชอบอยู่คนเดียว ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนุกสนานอีกต่อไป
    • การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการกิน ความผันผวนของน้ำหนัก และมีปัญหากับการนอนหลับ
    • การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการก่อให้เกิดอันตรายกับตัวเอง

    เด็กอาจเป็นเรื่องยากที่จะระบุภาวะซึมเศร้าด้วยความถูกต้อง และขึ้นอยู่กับอาการเหล่านี้เพียงอย่างเดียว แต่ถ้าลูกของคุณแสดงอาการเหล่านี้มานานกว่า 2-3 สัปดาห์ก็ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ

    การวินิจฉัยอาการซึมเศร้าในเด็ก

    หากลูกของคุณแสดงอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ คุณควรพาเขาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อขอคำปรึกษาและวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าของเด็กได้อย่างถูกต้อง และในส่วนหนึ่งของการประเมินแพทย์อาจต้องการพูดคุยกับผู้ปกครองเช่นเดียวกับลูกของคุณค่ะ รวมถึงอาจขอข้อมูลจากครูและเพื่อนร่วมชั้นเพื่อระบุพฤติกรรม เพื่อใช้การวิเคราะห์ภาวะซึมเศร้าในเด็กโดยเฉพาะค่ะ

    การรักษาภาวะซึมเศร้าในเด็ก

    การรักษาภาวะซึมเศร้าในวัยเด็กมีความคล้ายคลึงกับผู้ใหญ่ที่มีภาวะซึมเศร้า ด้วยจิตบำบัดหรือการใช้ยาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสภาพความซึมเศร้า ในเด็กที่มีความรุนแรงระดับปานกลางมักรักษาได้ด้วยจิตบำบัดเพียงอย่างเดียว นอกเหนือจากการบำบัดการใช้ยามักจะต้องใช้ในกรณีรุนแรงของภาวะซึมเศร้า ซึ่งการหายาที่เหมาะสมและขนาดยาอาจต้องใช้เวลา นอกจากนี้การใช้ยาเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถแก้ปัญหาภาวะซึมเศร้าได้

    ภาวะซึมเศร้าในเด็กสามารถป้องกันได้หรือไม่

    ภาวะซึมเศร้าในวัยเด็กในระดับหนึ่งสามารถป้องกันได้ โดยสิ่งสำคัญคือเด็กต้องเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเลี้ยงดูที่แนบแน่นระหว่างเด็กและผู้ปกครอง การให้ความรักและการดูแลเอาใจใส่ เมื่อลูกของคุณถูกล้อมรอบจากครอบครัวที่เข้มแข็งความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อพัฒนาทักษะการเผชิญปัญหาที่ดี และควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ดี

    อาการซึมเศร้าอาจส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อชีวิตของลูกคุณ ดังนั้นการจัดการกับเด็กที่มีภาวะซึมเศร้าอาจทำให้เกิดความเครียด และต้องใช้เวลารวมถึงความพยายามอย่างมาก ขั้นตอนแรกคือการพูดคุยกับลูกของคุณเกี่ยวกับความรู้สึกและอารมณ์ของพวกเขาทุกครั้งที่ลูกต้องการพูดคุย การให้การสนับสนุนและการสละเวลาให้กับลูกของคุณนั้นเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการฟื้นฟูที่ดีที่สุดค่ะ

  • อาหารไม่ย่อยในเด็ก

    อาหารไม่ย่อยในเด็ก

    อาหารไม่ย่อยในเด็ก

    เด็กมักมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ง่าย แม้ว่าจะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ทั้งในเรื่องของอาหารและสุขอนามัยที่ดีของลูก โดยเฉพาะเด็กวันเข้าโรงเรียนที่จะต้องเผชิญกับองค์ประกอบภายนอกที่จะมีผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพ และหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยคืออาหารไม่ย่อยหรือปวดท้อง ดังนั้นบทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารไม่ย่อยในเด็ก สาเหตุและการดูแลรักษาค่ะ

    อาหารไม่ย่อยในเด็กคืออะไร

    อาการอาหารไม่ย่อยเกิดขึ้นที่ส่วนบนของท้อง เมื่อเด็กรับประทานอาหารมากเกินไปหรือเร็วเกินไปไม่เหมาะกับร่างกาย สามารถมาพร้อมกับอาการท้องอืด แสบร้อน การเรออย่างต่อเนื่องและคลื่นไส้ อาการอาหารไม่ย่อยในเด็กมักพบหลังมื้ออาหาร และไม่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงอาจหายไปในไม่กี่ชั่วโมง อย่างไรก็ตามหากเกิดซ้ำคุณแม่อาจต้องระบุสาเหตุที่แท้จริงและใช้มาตรการป้องกันการเกิดค่ะ

    สาเหตุของการอาหารไม่ย่อยในเด็ก

    อาหารไม่ย่อยมักจะเกิดขึ้นเมื่อกรดในกระเพาะอาหารที่จะมาทำลายเยื่อบุป้องกันของระบบย่อยอาหาร ซึ่งนำไปสู่การระคายเคืองของช่องท้องส่วนบน สาเหตุที่เกิดขึ้นเหล่านี้ควรได้รับการวินิจฉัยที่เหมาะสมเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมสำหรับเด็ก หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ถูกรักษาการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่สำคัญได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจสาเหตุของอาการอาหารย่อยในเด็กอาจเป็นกุญแจสำคัญ เพื่อป้องกันและบรรเทาอาหารที่ถูกต้อง สาเหตุทั่วไปของอาการอาหารไม่ย่อย ได้แก่

    • การใช้ยาบางชนิด อาหารไม่ย่อยสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากการใช้ยาบางชนิด มักจะเกิดขึ้นกับยาที่มีองค์ประกอบของไนเตรตซึ่งช่วยขยายหลอดเลือด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารทำให้กรดในกระเพาะอาหารรั่วไหล และเกิดการระคายเคืองเยื่อบุของระบบย่อยอาหาร หรือยาอื่นๆ เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ฯลฯ เนื่องจากยาเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของระบบย่อยอาหารและกรดในกระเพาะอาหาร
    • โรคอ้วน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็กและผู้ใหญ่จากนิสัยการรับประทานอาหารในปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อลูกของคุณเป็นโรคอ้วนมีแรงกดดันเพิ่มขึ้นภายในช่องท้อง ซึ่งอาจทำให้เกิดกรดไหลย้อนในหลอดอาหารในแต่ละครั้งที่ลูกของคุณรับประทานอาหาร
    • ความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนแม้กระทั่งกับเด็กๆก็ตาม อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการกินและการนอนหลับที่ผิดปกติ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การย่อยในเด็ก
    • โรคไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatus hernia) เป็นภาวะที่ส่วนของกระเพาะส่วนหนึ่งดันเข้าไปในกะบังลมปิดกั้นหลอดอาหาร สามารถทำให้เกิดการย่อยที่ไม่มีประสิทธิภาพและการไหลย้อนของกรดตามมา
    • การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) สาเหตุทั่วไปอีกประการของการย่อยอาหารบ่อยครั้งเกิดจากการติดเชื้อ อาจนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหารและมะเร็ง ดังนั้นหากลูกของคุณกำลังมีอาการอาหารไม่ย่อยบ่อยครั้ง ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจที่ถูกต้อง
    • โรคกรดไหลย้อน(GERD) เกิดขึ้นเนื่องจากมีอาการอาหารไม่ย่อยในเด็กซ้ำ ทำให้เกิดการอักเสบและการระคายเคืองของหลอดอาหาร อาหารไม่ย่อยจากสาเหตุนี้ต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
    • แผลในกระเพาะอาหาร ในกรณีที่กระเพาะอาหารของเด็กมีแผลเปิดซึ่งมีส่วนทำให้เกิดปัญหาอาหารไม่ย่อยได้เช่นกันค่ะ

    อาการอาหารไม่ย่อยในเด็ก

    อาการอาหารไม่ย่อยที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คืออาการไม่สบายบริเวณช่องท้องส่วนบน และจุดที่ควรทราบคืออาการส่วนใหญ่เกิดขึ้นทันทีหลังอาหารค่ะ ในกรณีที่อาหารไม่ย่อยอย่างรุนแรงลูกของคุณอาจบ่นถึงความเจ็บปวดที่ไม่สามารถทนทานได้ ซึ่งอาการทั่วไปของอาการอาหารไม่ย่อยคือ ท้องอืดรู้สึกอึดอัดในท้อง เรอหรือผ่านลมบ่อย กรดไหลย้อนที่เพิ่มขึ้นซึ่งทำให้อาหารหรือของเหลวออกจากกระเพาะอาหารกลับเข้าไปในปาก คลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ ในกรณีลูกของคุณมีอาการอาหารไม่ย่อยหลังอาหารเกือบทุกมื้อ และมีอาการอื่นๆร่วมด้วยควรพบแพทย์ ได้แก่ ลูกของคุณลดน้ำหนัก เบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก หายใจไม่ออกหรือเหงื่อออกโดยไม่มีเหตุผล มีอาการอาเจียนอย่างต่อเนื่อง อาเจียนหรืออุจจาระมีเลือดปน เป็นต้น

    การรักษาอาการอาหารไม่ย่อยในเด็ก

    แม้ว่าอาหารไม่ย่อยในเด็กส่วนใหญ่ไม่ต้องการการรักษาจากแพทย์ แต่ในกรณีที่อาการยังคงอยู่นานกว่า 2-3 ชั่วโมง ลูกของคุณรู้สึกไม่สบายรู้สึกเจ็บปวดมากคุณอาจต้องไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งคุณแม่จะต้องแจ้งรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับอาการอาการของลูก รวมถึงนิสัยการรับประทานอาหารของลูกและข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ลูกของคุณใช้ค่ะ

    การรักษาโดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการกดบริเวณรอบๆท้อง เพื่อทำความเข้าใจตำแหน่งของความเจ็บปวด ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยนี้เขาอาจกำหนดวิธีการรักษา หรือขอการตรวจสอบเพิ่มเติมในรูปแบบของการสแกน X-ray ช่องท้องหรือตรวจอุจจาระและปัสสาวะ เพื่อบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยในทันทีลูกของคุณ อาจได้รับยาลดกรดอ่อนเพื่อบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยค่ะ

    การป้องกันอาหารไม่ย่อยในเด็ก

    หากลูกของคุณมีระบบย่อยอาหารที่ละเอียดอ่อน สิ่งสำคัญคือคุณต้องกำหนดข้อจำกัดทางโภชนาการบางอย่าง อย่าให้ลูกกินอะไรผิดปกติที่ไม่เหมาะกับท้องของเขา และเคล็ดลับพื้นฐานในการป้องกันการย่อยในเด็ก ได้แก่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำมันในปริมาณสูง หลีกเลี่ยงช็อคโกแลตในปริมาณมาก ปลูกฝังนิสัยการกินช้าๆเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน มองหาวิธีที่จะทำให้ลูกของคุณมีความสุข อย่าปล่อยให้ลูกวิ่งหรือออกกำลังกายทันทีหลังอาหารมื้อใหญ่

    อาหารไม่ย่อยเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กและผู้ใหญ่หลายคนเช่นกันค่ะ อย่างไรก็ตามควรใช้ความระมัดระวังการดูแลเอาใจใส่กับรายละเอียด และสังเกตลูกของคุณว่าเขามีปฏิกิริยาอย่างไรกับอาหารที่แตกต่างกัน และควรแพทย์ทันทีเมื่อพบสิ่งผิดปกติที่เกิดกับลูกของคุณค่ะ

  • สาเหตุทั่วไปของอาการปวดท้องในเด็ก

    สาเหตุทั่วไปของอาการปวดท้องในเด็ก

    อาการปวดท้องมักสร้างความทรมานให้กับลูกของคุณ และเป็นเรื่องยากที่เราจะเข้าให้ถึงสาเหตุของการปวดท้อง แม้ว่าในบางครั้งลูกอาจบอกได้ว่าปวดบริเวณส่วนไหนของท้อง เนื่องจากอาการปวดท้องสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุตั้งแต่การกินอาหารที่มากไปจนถึงการแพ้อาหารค่ะ ดังนั้นบทความนี้จะมาพูดถึงสาเหตุของอาการปวดท้องในเด็กที่พบบ่อยค่ะ

    สาเหตุทั่วไปของอาการปวดท้องที่พบบ่อยในเด็ก

    • อาการท้องผูก เป็นสาเหตุของอาการปวดท้องที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก เนื่องจากการดื่มน้ำน้อยระหว่างวัน การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย และสัญญาณของอาการท้องผูกสังเกตได้จากพฤติกรรมการขับถ่ายลำบาก อุจจาระแข็ง เป็นต้น การบรรเทาอาการท้องผูกในเด็ก คุณแม่สามารถทำได้ด้วยการให้ลูกรับประทานอาหารที่ช่วยการอ่อนตัวของอุจจาระ เช่น น้ำลูกพรุน มะละกอสุก เป็นต้น ร่วมถึงการสวนก้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนดำเนินการค่ะ อาการท้องผูกสามารถป้องกันได้ด้วยการรับประทานที่มีกากใยอาหารสูง ดื่มน้ำสะอาดมากๆ เป็นต้น
    • ก๊าซในกระเพาะอาหารและลำไส้ อาการปวดท้องที่เกิดจากการสะสมก๊าซเป็นอีกปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็ก โดยมีสาเหตุจากนิสัยการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการสะสมของก๊าซในกระเพาะอาหารและสำไส้ การบรรเทาอาการก๊าซในกระเพาะอาหารได้แก่ ในเด็กเล็กการเรอหลังจากดื่มนมทุกครั้งหรือการนวดที่ท้องเบาๆ ในกรณีของเด็กโตอาจให้รับประทานโปรไบโอติก ช่วยในการบรรเทาแก๊สโดยช่วยรักษาแบคทีเรียที่ดีในระบบย่อยอาหาร
    • แพ้โปรตีนนมวัว อาการแพ้นมวัวในเด็กมักมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน ผื่นแพ้ขึ้น เป็นต้น ในบางกรณีเมื่อเด็กมีอาการแพ้นมอย่างรุนแรงอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ เด็กที่มีอาการแพ้นมมักจะได้รับผลกระทบจากผลิตภัณฑ์นมอื่นๆเช่นกันค่ะ ดังนั้นนมถั่วเหลืองจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเด็กที่มีอาการแพ้นม ในกรณีที่ลูกของคุณอาจแพ้นมวัวและนมถั่วเหลือง คุณควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อทดแทนนมด้วยอาหารอื่น เพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของเด็กค่ะ
    • อาการเมารถ เด็กหลายคนมีอาการเมารถในการเดินทางระยะไกล ส่งผลให้เกิดอาการไม่สบายท้องหรือคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย เชื่อกันว่าอาการเมารถเกิดขึ้นระหว่างสิ่งที่เห็นภายนอกและอวัยวะที่ไวต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่สัมพันธ์กัน และปัญหานี้สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการหยุดพักระหว่างการเดินทางบนท้องถนน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์และรับประทานอาหารที่เบา และสร้างความสดชื่นระหว่างการเดินทางค่ะ

    อาการปวดท้องในเด็ก ถือเป็นเรื่องปกติ แต่มักทำให้พ่อแม่กังวลใจมากเมื่อทำให้ลูกต้องทนทุกข์ทรมาน ดังนั้นการเข้าใจถึงสาเหตุเบื้องต้นของอาการปวดท้องในเด็ก ก็จะเป็นการป้องกันหรือบรรเทาอาการในเบื้องต้นของลูกของคุณได้ค่ะ

  • โรคแอลดี (Learning Disabilities)

    โรคแอลดี (Learning Disabilities)

    โรคแอลดีหรือความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งในเด็กไม่ใช่เรื่องแปลกและหลายคนเอาชนะและประสบความสำเร็จในสาขาที่ตนเลือก ความบกพร่องทางการเรียนรู้นั้นไม่ได้หมายความว่า ลูกของคุณไม่ฉลาดหรือมีภาวะปัญญาอ่อนค่ะ ดังนั้นบทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคแอลดีค่ะ

    โรคแอลดีคืออะไร

    โรคแอลดี (LD : Learning Disabilities) หรือความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ความสามารถในการจดจำ และการทำความเข้าใจในบางสิ่งบางอย่าง ความบกพร่องทางการเรียนรู้มีหลายประเภทที่มีผลต่อสมองในด้านต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะพบความบกพร่องทางด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งแต่ละคนมีพฤติกรรมและส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนี้

    • ความบกพร่องด้านการได้ยินหรือการฟัง ความผิดปกตินี้เกี่ยวข้องกับการที่สมองประมวลผลหรือไม่สามารถตีความจากการฟังได้ ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างคำที่คล้ายกัน ส่งผลให้อาจมีปัญหาในการอ่าน การจดจำคำพูดหรือไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ยิน
    • ความบกพร่องด้านการใช้ภาษาและการพูด(Dyslexia) ส่งผลกระทบต่อกระทบต่อทักษะการอ่านและการเข้าใจในภาษา การตีความภาษา ไม่สามารถจับใจความเรื่องที่อ่านได้ หรือไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
    • ความบกพร่องด้านการเขียน(Dysgraphia) ส่งผลต่อความสามารถทางด้านการเขียนหนังสือ การสะกดคำ และความสามารถในการคิดและเขียนในเวลาเดียวกันได้
    • ความบกพร่องด้านการคำนวณ(Dyscalculia) หรือความบกพร่องของทักษะทางคณิตศาสตร์ ส่งผลกระทบต่อการเข้าใจในตัวเลขและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีความผิดปกตินี้มักจะมีปัญหากับการเรียนรู้ลำดับของตัวเลข การนับ หรือสูตรการแก้โจทย์คณิตศาสตร์พื้นฐาน
    • ความบกพร่องด้านการมองเห็น ส่งผลกระทบต่อการแยกแยะความหมายจากข้อมูลที่เห็น ขาดทักษะในการตีความจากภาพหรือตากับมือเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน

    สัญญาณความบกพร่องทางการเรียนรู้

    ความบกพร่องทางการเรียนรู้ของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้ในแต่ละช่วงวัยของลูกน้อย

    • อายุก่อนวัยเรียน คุณจะสังเกตเห็นว่าลูกของคุณมีปัญหาเหล่านี้ 
      • การรูดซิป หรือคาดเชือกผูกรองเท้า
      • ความยากลำบากในการออกเสียง หรือการใช้คำที่ถูกต้อง
      • ปัญหาการเรียนรู้รูปทรง ตัวอักษรและตัวเลข
      • ปัญหาการเรียนรู้กิจวัตรประจำวัน
      • ปัญหาเกี่ยวกับการจับดินสอหรือสี
      • ฯลฯ
    • อายุ 5-9 ปี คุณจะสังเกตเห็นว่าลูกของคุณมีปัญหาเหล่านี้ 
      • ปัญหาในการรวมเสียงเพื่อสร้างคำหรือการสะกดคำ คำพื้นฐาน
      • ปัญหาในการบอกเวลาและลำดับเหตุการณ์ง่ายๆ
      • ปัญหาการเรียนรู้แนวคิดคณิตศาสตร์พื้นฐาน
      • ปัญหาในการเชื่อมโยงตัวอักษรกับเสียงที่เกี่ยวข้อง
      • ความเชื่องช้าเมื่อพูดถึงการเรียนรู้ทักษะใหม่
      • ฯลฯ
    • อายุ 10-13 ปี คุณจะสังเกตเห็นว่าลูกของคุณมีปัญหาเหล่านี้ 
      • ปัญหาการเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น
      • ปัญหากับคำถามที่เปิดกว้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทดสอบ
      • การสะกดที่แตกต่างกันสำหรับคำเดียวกัน
      • ความยากลำบากในการอ่านออกเสียง และไม่ชอบการทดสอบ
      • ปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจในการอ่านและแนวคิดทางคณิตศาสตร์
      • ความยากลำบากในการสนทนาในชั้นเรียน
      • ฯลฯ

    สาเหตุความบกพร่องทางการเรียนรู้

    ภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น อาจมีปัจจัยบางอย่างกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติ ได้แก่

    • กรรมพันธุ์ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้ในเด็ก และอาจเกิดจาการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่
    • พัฒนาการสมอง ความบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถเชื่อมโยงกับปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาสมองของเด็ก เช่น การขาดสารอาหารในระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนดหรือสมองขาดออกซิเจน เป็นต้น และแม้แต่การบาดเจ็บที่ศีรษะอาจทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนาสมองซึ่งอาจทำให้เกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้
    • อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม เด็กมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยทางสภาพแวดล้อมตั้งแต่สารพิษไปจนถึงสารอาหาร ปัจจัยเหล่านี้อาจมีอิทธิพลต่อศูนย์การเรียนรู้ของสมองและทำให้เกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้

    การรักษาความบกพร่องทางการเรียนรู้

    ความบกพร่องทางการเรียนรู้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีวิธีที่จะช่วยให้ลูกของคุณรับมือกับความผิดปกติที่เกิดขึ้น ได้แก่ การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลูกของคุณ ความเอาใจใส่จากพ่อแม่และคนใกล้ชิดทั้งทางด้านสุขภาพร่างกายและอารมณ์ของลูกน้อย ในบางกรณีอาจใช้ยาหรือการเยียวยาตามคำแนะนำของแพทย์ค่ะ 

    การป้องกันความบกพร่องทางการเรียนรู้

    ความบกพร่องทางการเรียนรู้ในเด็กอาจป้องกันได้ตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์ ซึ่งควรเริ่มต้นเมื่อคุณแม่ทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดความผิดปกติต่างๆในระหว่างการตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารทีมีประโยชน์ต่อตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ รวมถึงเมื่อคลอดแล้วการดูแลเอาใจใส่อย่างเหมาะสมในตั้งแต่ช่วงวัย เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการของของลูกน้อยให้สมบูรณ์เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

    การมีลูกที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ท้าทายของคุณพ่อคุณแม่และคนใกล้ชิด อย่างไรก็ตามในสภาพแวดล้อมปัจจุบันความบกพร่องทางการเรียนรู้ ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสมค่ะ

  • อาการผมร่วงในเด็กทารก

    อาการผมร่วงในเด็กทารก

    อาการผมร่วงในเด็กทารก

    (more…)

  • ตาบอดในเด็ก

    ตาบอดในเด็ก

    ภาวะตาบอดในเด็ก

    สวัสดีค่ะ หลายคนอาจเคยได้ยินว่า “ดวงตา” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในประสาทสัมผัสของร่างกายมนุษย์ เนื่องจากชีวิตที่ปราศจากการมองเห็นเป็นสิ่งเราต่างหวาดกลัวค่ะ และเมื่อสูญเสียไปก็ไม่สามารถหาสิ่งใดเพื่อมาทดแทนได้ สำหรับผู้เป็นพ่อแม่ความกังวลนี้มีมากขึ้นเมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลกกว้างใบใหม่ เนื่องจากเด็กหลายคนมีภาวะตาบอดตั้งแต่กำเนิด หรือมีปัญหาเรื่องการมองเห็นเมื่อเด็กโตขึ้น และการอยู่โดยไม่มีสายตานั้นยากที่จะปรับตัว หากคุณสังเกตได้ว่าลูกน้อยไม่ตอบสนองตามแสงสว่าง หรือวัตถุเคลื่อนที่ก็อาจเป็นข้อบ่งชี้ของปัญหาทางด้านการมองเห็น ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการตาบอดในเด็ก สาเหตุและจะรักษาได้อย่างไร

    การบกพร่องทางการมองเห็นคืออะไร

    การบกพร่องทางการมองเห็นนั้นไม่จำเป็นต้องหมายความว่าลูกของคุณจะมองไม่เห็นเลย(ตาบอด) การบกพร่องทางการมองเห็นอาจหมายถึงการสูญเสียการมองเห็นอย่างสมบูรณ์ หรือการมองเห็นบางส่วนจะไม่ชัดเจน หรือแม้แต่ตาบอดสีและความผิดปกติที่เกี่ยวข้อง โดยปกติแล้วทารกจะสามารถจ้องมองหรือติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุได้ในช่วง 6 – 8 สัปดาห์แรก การบกพร่องทางการมองเห็นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

    1. วิสัยทัศน์ในการมองเห็นต่ำ

    การมองเห็นต่ำ หมายถึง การมองเห็นวัตถุหรือบางสิ่งได้แต่ไม่สามารถมองเห็นทุกสิ่งที่เด็กในวัยของเขาควรจะมองเห็นได้ชัดเจน เช่น การมองเห็นแบบพร่ามัวไม่ชัดเจน ตาบอดสีซึ่งเด็กอาจจะไม่สามารถเห็นสีเฉพาะสีได้ เป็นต้น

    1. ตาบอด

    เด็กที่มีภาวะตาบอดไม่สามารถมองเห็นวัตถุหรือมองตามสิ่งที่เคลื่อนไหวเมื่ออายุ 8 สัปดาห์ หรือไม่สามารถโฟกัสภาพหรือวัตถุได้ เมื่อเทียบกับหลักเกณฑ์มาตรฐานการพัฒนาการทางด้านสายตาของเด็ก

    สาเหตุของการตาบอดในเด็ก

    การตาบอดในเด็กอาจมีสาเหตุหลายประการตั้งแต่อุบัติเหตุจนถึงพันธุกรรม ได้แก่

    • จอตามีความผิดปกติในทารกที่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากสมองขาดออกซิเจนไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เซลล์สมองเสียหายส่งผลกระทบต่อหลอดเลือดที่จอตาซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการมองเห็น
    • มีเลือดออกในสมอง ซึ่งอาจส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการตาบอดได้
    • ภาวะขาดวิตามินเอ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับดวงตาที่ช่วยให้การทำงานได้ดี และช่วยป้องกันการเกิดโรคที่ส่งผลกระทบต่อดวงตา
    • อุบัติเหตุจากการมีวัตถุสิ่งแปลกปลอมเข้าตาก็สามารถทำให้ตาบอดได้เช่นกันค่ะ
    • ต้อกระจกตั้งแต่กำเนิดเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตาบอดได้ในเด็ก ซึ่งอาจเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือแม่ที่เป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์
    • โรคเบาหวานในเด็กสามารถส่งผลให้จอประสาทตาซึ่งสามารถทำให้สูญเสียการมองเห็นทีละน้อย

    อาการตาบอดในเด็ก

    อาการตาบอดในเด็กอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กที่จะอธิบายตั้งแต่อายุยังน้อยก่อนที่เขาจะมองเห็นได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นการมองหาอาการสามารถช่วยให้คุณเข้าใจหากการสูญเสียการมองเห็นเกิดขึ้น ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้ดังนี้

    • รูม่านตาของเด็กอาจมีขนาดไม่เท่ากัน หรืออาจมีสีขาวมากกว่าสีดำ
    • หากคุณวางสิ่งของหรือเดินเข้าไปข้างหน้าของลูกน้อย แต่ดวงตาของลูกไม่ขยับมองคุณ
    • ตาดูเหมือนจะไม่ได้มุ่งเน้นไปที่สิ่งใด หรือไม่สามารถโฟกัสภาพหรือวัตถุได้
    • ดวงตาของลูกมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ
    • ขยี้ตาบ่อยครั้ง หรือกระพริบบ่อยเกินไป 
    • ดวงตาไวต่อแสงมากและมีน้ำตาไหลเป็นประจำ

    ผลกระทบของการตาบอดในเด็ก

    การตาบอดไม่เพียงส่งผลต่อการมองเห็นลูกเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อบุคลิกภาพด้านอื่นๆ เช่น ลูกของคุณอาจมีปัญหาในการสื่อสาร เนื่องจากเป็นเรื่องยากสำหรับเขาที่จะเห็นคนโบกมือหรือแสดงท่าทางต่างๆ ปัญหาทางด้านความสัมพันธ์ทางด้านสังคมเนื่องจากไม่สามารถเล่นกับผู้อื่นได้ ไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืน ลูกของคุณอาจไม่พยายามเคลื่อนไหวเพราะไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่น่าสนใจวางอยู่ตรงหน้า รวมถึงการเรียนรู้ที่จะเขียนและอ่านก็ยากเช่นกัน

    การรักษาอาการตาบอดในเด็ก

    การสูญเสียการมองเห็นอาจเป็นเรื่องปกติในเด็ก เช่น ภาวะตาขี้เกียจ ตาเข เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่คุณจะเริ่มทำการรักษาตั้งแต่แรกค่ะ จึงควรไปพบแพทย์หากคุณสงสัยว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับสายตาของลูกน้อย และควรอธิบายถึงสัญญาณทั้งหมดที่ทำให้คุณรู้สึกว่าลูกของคุณอาจตาบอดกับแพทย์ เพราะในบางกรณีการผ่าตัดอาจเป็นคำตอบของปัญหา หรือในเด็กวัยเรียนหลายๆคนการใส่คอนแทคเลนส์หรือแว่นตาอาจเป็นทางออกของการรักษา และการขาดสารอาหารอาจทำให้ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ดังนั้นควรให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ค่ะ การตาบอดเป็นปัญหาร้ายแรง ดังนั้นคุณควรไปพบแพทย์ทันทีที่คิดว่ามีบางอย่างผิดปกติค่ะ