วัคซีนที่ต้องฉีดตามกำหนด มีความจำเป็นและสำคัญเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ซึ่งรวมๆแล้ว ถ้าฉีดครบก็เป็นเกาะป้องกันสุขภาพร่างกายป็นอย่างดี
[table id=4 /]
วัคซีนที่ต้องฉีดตามกำหนด มีความจำเป็นและสำคัญเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ซึ่งรวมๆแล้ว ถ้าฉีดครบก็เป็นเกาะป้องกันสุขภาพร่างกายป็นอย่างดี
[table id=4 /]
โรคหัด หรือ โรคไข้ออกผื่น โรคชนิดหนึ่งที่พบมากในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูร้อน พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตค่ะ มีการระบาดและการติดต่อได้ง่าย คุณหมอ ผศ. นพ. ชนเมศ เตชะแสนสิริ สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ออกมาเตือนให้ระวังโรคหัดระบาดในหน้าหนาว พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันโรคหัดในเด็กค่ะ
โรคหัด หรือโรคไข้ออกผื่น เกิดจากเชื้อไวรัสหัด (Measles virus) ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ สามารถแพร่เชื้อและติดต่อกันได้ผ่านทางอากาศโดยการไอ จาม หายใจรดกัน การสัมผัสสารน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง หรือใช้สิ่งของร่วมกัน โดยเชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจก่อนแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กเล็กโดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กถึงแม้จะมีวัคซีนฉีดป้องกันโรคค่ะ
อาการของโรคหัดในเด็ก
โรคหัดจะมีอาการคล้ายไข้หวัดมีระยะฟักตัว 10 – 14 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส ระยะเริ่มแรกจะมีไข้ขึ้นสูงถึง 40 องศาเซลเซียส แล้วจึงมีน้ำมูก ไอแห้งบ่อยๆ เจ็บคอ ตาเยิ้มแดง จมูกแดง และจะมีตุ่มคอพลิค (Koplik Spots) หรือตุ่มแดงที่มีสีขาวเล็กๆตรงกลางขึ้นในกระพุ้งแก้ม ซึ่งจะเป็นตุ่มที่เกิดเฉพาะในโรค “หัด” เท่านั้น ในเด็กจะมีไข้สูงประมาณ 3 – 4 วัน แล้วจึงขึ้นผื่นแดงๆที่หลังหูคล้ายผื่นคันตามผิวหนัง จากนั้นลามไปยังหน้าและร่างกาย ภายใน 3 วันจะเกิดผื่นกระจายมาถึงมือและเท้า โดยผื่นจะค่อยๆโตขึ้นและมีสีเข้มขึ้น อาการผื่นคันนี้จะปรากฏอยู่ 3 – 5 วัน อาการก็จะดีขึ้นเรื่อยๆและหายไปเอง เพียงแต่สิ่งที่ต้องระวังคือภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อานเกิดขึ้นได้ค่ะ
ภาวะแทรกซ้อนโรคหัด
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัด เนื่องจากเชื้อไวรัสโรคหัดเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิต้านทานโรคในร่างกายอ่อนแอลง รววมถึงเด็กขาดสารอาหารจึงทำให้มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ ซึ่งมักพบหลังผื่นขึ้นหรือเมื่อไข้เริ่มทุเลาแล้ว เช่น ระบบทางเดินหายใจ(โรคปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ฯลฯ) ระบบทางเดินอาหาร(โรคอุจจาระร่วง ไส้ติ่งอักเสบ ตับอักเสบ ฯลฯ) ตาบอดในเด็กที่มีภาวะขาดวิตามินเอ โรคสมองอักเสบซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ขณะที่เป็นโรคหัด ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะลดลงทำให้มีโอกาสเป็นวัณโรคปอดได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ ในกรณีที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และป่วยเป็นโรคหัดในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ อาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด ทารกเสียชีวิตในครรภ์ เกิดความผิดปกติแต่กำเนิดในทารก ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยค่ะ
วิธีป้องกันโรคหัดในเด็ก
โรคหัด เป็นโรคที่มีการติดต่อกันได้ง่ายและสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกน้อยไปรับวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) ได้ฟรีที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย ตามกำหนดให้ครบ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 9-12 เดือน และ 2 ปีครึ่ง และไม่จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีก วัคซีนจะทำงานโดยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้หลั่งภูมิคุ้มกันออกมาต่อสู้เชื้อที่อ่อนแอลงเหล่านี้
ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนนั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าวัคซีน MMR หรือ MMRV จะทำให้เกิดภาวะออทิสติก แต่อาจมีผลข้างเคียงเล็กๆ น้อยๆได้ เช่น มีไข้ มีผื่นเล็กน้อย ปวดตามข้อ เกล็ดเลือดต่ำชั่วคราว ต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณแก้ม คอ หรือใต้ขากรรไกร หรือชักจากการมีไข้สูง เป็นต้น
ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคหัดคุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่มีผู้คนมาก ห้างสรรพสินค้า หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคหัด หรือสวมหน้ากากอนามัยไปในที่ชุมชน รวมถึงฝึกให้เด็กรักษาอนามัยส่วนบุคคล เช่น การล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนและหลังรับประทาน เป็นต้น
โรคหัดเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนค่ะ สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อลูกป่วยคุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตุอาการของลูกอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆร่วมด้วย ต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที่เพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ทันท่วงทีค่ะ
โรคหัดเยอรมัน
โรคหัดเยอรมันในเด็กไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เนื่องจากโรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรงที่เกิดกับคนทั่วไปและความรุนแรงน้อยกว่าหัดค่ะ สามารถป้องกันและรักษาได้ค่ะ อย่างไรก็ตามอาจเป็นอันตรายสำหรับหญิงตั้งครรภ์ค่ะ บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคหัดเยอรมัน สาเหตุ อาการและการรักษาโรคหัดเยอรมันค่ะ
โรคหัดเยอรมัน คืออะไร หัดเยอรมัน หรือในประเทศไทยเรียกว่า เหือด(Rubella) เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า รูเบลลา เชื้อไวรัสนี้จะอยู่ในสารคัดหลั่งน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โรคหัดเยอรมันมีความคล้ายคลึงกับโรคหัดหรือไข้ออกผื่น แต่มีความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าหัด สามารถติดต่อได้โดยการ ไอ จาม หรือหายใจรดกัน เช่นเดียวกับไข้หวัดหรือหัด ซึ่งมีระยะฟักตัว 14 – 21 วันหลังได้รับเชื้อไวรัส โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรงมักจะหายได้เองโดยไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่ถ้าในกรณีที่เกิดในคุณแม่ตั้งครรภ์ระยะ 3 – 4 เดือนแรก เชื้ออาจแพร่กระจายเข้าทารกในครรภ์ ทำให้ทารกมีอวัยวะต่างๆผิดปกติได้ตั้งแต่กำเนิดได้ค่ะ โรคหัดเยอรมันนี้เป็นแล้วจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีกค่ะ
อาการของโรคหัดเยอรมันในเด็ก โรคหัดเยอรมันมีความคล้ายคลึงกับไข้หวัด โดยมีไข้ต่ำถึงปานกลาง ต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะบริเวณคอ ท้ายทอย และหลังหู ร่วมกับมีผื่นเล็กๆสีแดง หรือสีชมพูอ่อนขึ้นที่ใบหน้าก่อนจะลามลงมาตามผิวหนังส่วนอื่นๆ เช่น แขน ขา และลำตัว โดยผื่นมักมีลักษณะกระจายตัว ซึ่งอาจมีอาการคันหรือไม่ก็ได้ ในบางรายอาจมีผื่นขึ้นโดยไม่มีไข้หรือมีไข้โดยไม่มีผื่น ผื่นดังกล่าวจะค่อยๆจางหายภายใน 3 – 5 วัน โดยไม่ทิ้งรอยแผลจากผื่นทิ้งไว้ และในบางรายอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปวดศรีษะ แสบตาเคืองตา ปวดเมื่อยตามร่างกายเล็กน้อย ไม่อยากอาหาร เป็นต้น อาการโดยทั่วไปมักไม่ค่อยรุนแรง และอาจไม่มีอาการแสดงใดๆเลยก็ได้ค่ะ
ภาวะแทรกซ้อนของหัดเยอรมัน โรคหัดเยอรมันเป็นการติดเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงระดับปานกลาง และไม่ค่อยพบภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เนื่องจากได้รับการฉีดวัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม แต่ในบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ เช่น โรคข้ออักเสบที่นิ้วมือ ข้อมือ นิ้วเท้า และหัวเข่า สมองอักเสบอาจพบได้บ้างแต่น้อยมาก
ควรระวังหากเกิดในหญิงตั้งครรภ์ในช่วง 3 – 4 เดือนแรก ซึ่งอาจส่งผลทำให้ทารกในครรภ์พิการได้ หรือมีอวัยวะต่างๆผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น ต้อกระจก ต้อหิน หูหนวก หัวใจพิการแบบต่างๆ เด็กน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ มีจ้ำเขียวขึ้นตามตัว สมองอักเสบ เป็นต้น หรือโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดในทารกเมื่อมารดาติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์
การรักษาหัดเยอรมัน โรคหัดเยอรมันไม่มีวิธีการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง แต่เป็นการรักษาตามอาการเป็นหลัก โดยทั่วไปอาการของโรคจะไม่ร้ายแรงและมักดีขึ้นภายใน 7-10 วัน การรักษาในเด็กและผู้ใหญ่ทั่วไปที่ไม่ตั้งครรภ์ แพทย์จะทำการรักษาตามอาการ เช่น ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ หากมีอาการคันให้ทายาแก้ผดผื่นคัน ในกรณีที่พบในหญิงตั้งครรภ์ระยะ 3 – 4 เดือนแรก หรือคุณแม่ตั้งครรภ์หากมีไข้ร่วมกับการมีผื่น หรืออยู่ใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคหัดเยอรมัน แม้จะไม่มีอาการอะไรก็ตาม ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจโรค ซึ่งอาจต้องตรวจเลือดพิสูจน์ หากพบว่าเป็นโรคหัดเยอรมันแพทย์อาจพิจารณาให้ยุติการตั้งครรภ์ค่ะ สำหรับทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือสงสัยว่าติดเชื้อหัดเยอรมัน แพทย์จะตรวจหาความผิดปกติต่างๆ ตั้งแต่หลังคลอดและนัดเด็กมาตรวจเป็นระยะๆ เพราะอาการบางอย่างอาจปรากฏเมื่อเด็กอายุมากขึ้นค่ะ
การป้องกันโรคหัดเยอรมัน โรคหัดเยอรมันสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม โดยเริ่มฉีดเข็มแรกเมื่ออายุ 9 – 12 เดือน และฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อ 2 ขวบครึ่ง แต่ถ้าเริ่มฉีดเข็มแรกตอนโตก็ไม่จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นค่ะ และผู้หญิงที่วางแผนจะมีบุตรในกรณีที่ไม่เคยฉีดวัคซีน ควรฉีดวัคซีนในระยะที่มีประจำเดือนพร้อมกับคุมกำเนิดอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อป้องกันโอกาสที่วัคซีนจะทำให้ทารกติดเชื้อได้ รวมถึงการหลีกเลี่ยงในการคลุกคลี หรือใช้สิ่งของเครื่องใช้กับผู้ป่วยซึ่งเสี่ยงต่อการรับเชื้อมาได้โดยง่ายค่ะ
แม้ว่าโรคหัดเยอรมันจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่มักพบได้บ่อยในทารกและเด็ก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกเข้ารับวัคซีนให้ครบตามคำแนะนำของแพทย์ค่ะ