วัคซีนที่ต้องฉีดตามกำหนด มีความจำเป็นและสำคัญเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ซึ่งรวมๆแล้ว ถ้าฉีดครบก็เป็นเกาะป้องกันสุขภาพร่างกายป็นอย่างดี
[table id=4 /]
วัคซีนที่ต้องฉีดตามกำหนด มีความจำเป็นและสำคัญเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ซึ่งรวมๆแล้ว ถ้าฉีดครบก็เป็นเกาะป้องกันสุขภาพร่างกายป็นอย่างดี
[table id=4 /]
การฉีดวัคซีนเป็นหนึ่งทางเลือกในการลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยของเด็ก เพราะเด็กเล็กมักเจ็บป่วยได้ง่าย เนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆได้ง่ายค่ะ โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ถึงแม้ว่าจะได้รับการดูแลสุขภาพจากคุณอย่างดีก็ตาม ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องลูกน้อยจากโรคเด็กที่พบบ่อย คือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคค่ะ และปัจจุบันมีวัคซีนรวมที่มีการรวม 6 โรคไว้ในเข็มเดียว เจ็บครั้งเดียวแต่สามารถปกป้องลูกน้อยจาก 6 โรคในเด็ก ซึ่งสามารถฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 (อายุ 2 เดือน) เข็มที่ 2(อายุ 4 เดือน) และเข็มที่ 3(อายุ 6 เดือน) ดังนั้นในบทความนี้เรานำข้อมูลดีๆเกี่ยวกับวัคซีนรวมมาฝากคุณแม่ค่ะ
6 โรคอันตรายในเด็กสามารถป้องกันได้ในวัคซีนเข็มเดียว ได้แก่
คอตีบ เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากเชื้อแบคทีเรียรุนแรงแบบเฉียบพลัน สามารถติดต่อได้ง่ายจากการไอ จาม สัมผัสกับผู้ป่วยหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้อวัยวะในลำคอบวม หายใจลำบาก กล้ามเนื้ออักเสบ และอาจทำให้เสียชีวิตได้เนื่องจากเกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจค่ะ
ไอกรน เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบอร์เดเทลลา เพอร์ทัสซิส(Bordetella pertussis) ซึ่งสามารถติดต่อได้ง่ายจากผ่านการไอ จาม หรือการหายใจร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อเป็นเวลานาน โดยเชื้อโรคจะกระจายอยู่ในละอองน้ำมูก น้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย การเกิดโรคในระยะแรกอาการจะคล้ายกับโรคหวัดธรรมดา จากนั้นจะมีอาการไออย่างรุนแรงหรือไอติดต่อกันต่อเนื่องจนทำให้หายใจไม่ทัน ในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี มักมีอาการรุนแรงซึ่งอาจทำให้ไอจนหยุดหายใจและชักได้
บาดทะยัก เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียโดยเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล เชื้อบาดทะยักส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ทำให้มีอาการเจ็บปวด เกร็งกล้ามเนื้อ ชักกระตุก ขากรรไกรแข็งอ้าปากไม่ได้และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งสามารถพบได้ในเด็กแรกเกิดได้เช่นกันค่ะ จากกรณีแผลอักเสบจากสะดือที่ไม่สะอาดจนทำให้ติดเชื้อค่ะ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากแบคทีเรียฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซ่า ชนิดบี(Haemophilus Influenzae Type B) ทำให้เกิดการอักเสบและบวมบริเวณเนื้อเยื่อหุ้มสมอง เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดอักเสบ ข้ออักเสบ และหูชั้นกลางอักเสบ โรคฮิบสามารถติดต่อผ่านการสัมผัส ไอ จาม มักเกิดในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ
ตับอักเสบบี เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อได้ง่ายจากแม่สู่ลูก โดยที่แม่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี และเด็กได้รับเชื้ออาจเป็นพาหะสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นค่ะ ไวรัสตับอักเสบบีทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง ตับวายและเกิดมะเร็งตับได้ค่ะ
โปลิโอ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนของเชื้อไวรัส ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบประสาททำให้กล้ามเนื้อแขนขาลีบอ่อนแรงเป็นอัมพาต หายใจลำบากและอาจำให้เสียชีวิตได้ค่ะ นอกจากนี้ยังเป็นโรคที่ไม่มียารักษาจึงจำเป็นต้องได้รับวัคซีนป้องกันโปลิโอในช่วงแรกเกิดเพื่อป้องกันการเกิดโรคค่ะ
ดังนั้นคุณแม่อย่าลืมพาลูกน้อยเข้ารับวัคซีนให้ครบตามที่กำหนดในแต่ละช่วงวัยนะคะ เพื่อป้องกันลูกน้อยจากโรคต่างๆค่ะ
โรคคอตีบ ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน
โรคคอตีบป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรคอันตรายอาจทำให้เสียชีวิตได้ และมีการระบาดของโรคในหลายพื้นที่สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กและผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจและวิธีการป้องกันโรคคอตีบค่ะ วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลไว้ให้แล้วค่ะ
โรคคอตีบ(Diphtheria) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียโครินแบคทีเรีย ดิพทีเรีย เฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบ มีแผ่นเยื้อเกิดขึ้นในลำคอ ในรายที่อาการรุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่ายทางเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย เช่น การไอหรือจาม รวมถึงการใช้ภาชนะสิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ป่วยค่ะ พบบ่อยในเด็กอายุระหว่าง 1 – 6 ปี และเป็นเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับไม่ครบ โดยมีระยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 2 – 5 วัน หลังจากได้รับเชื้อดังกล่าว
อาการโรคคอตีบ
โรคคอตีบ หลังจากเกิดการติดเชื้อจะพบว่าผู้ป่วยจะมีไข้สูงแต่มักไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส อาจมีอาการหนาวสั่น รู้สึกเหมือนเป็นหวัด อ่อนเพลีย เจ็บคอกลืนอาหารลำบาก หลังจากนั้นจะมีอากาหายใจลำบากติดขัด หายใจเร็ว เหนื่อยหอบ ชีพจรเต้นเร็ว และไอคล้ายเสียงเห่า ร่วมกับมีอาการคอบวม มีแผ่นเยื่อสีเหลืองปนเทาในจมูก ต่อมทอนซิล ลำคอ กล่องเสียงและลิ้นไก่ ถ้าใช้ช้อนเขี่ยแรง ๆ แผ่นเยื่อดังกล่าวจะหลุดออกมาได้ แต่จะมีเลือดออกมาด้วยค่ะ ในบางรายอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง ได้แก่ ทางเดินหายใจตีบตัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปลายประสาทอักเสบทำให้อัมพาต ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ
การวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะวินิจฉัยโรคคอตีบในเบื้องต้นจากประวัติอาการ ประวัติการฉีดวัคซีน การตรวจร่างกายเพื่อดูอาการของผู้ป่วยว่ามีอาการบ่งบอกว่าเป็นโรคคอตีบหรือไม่ เช่น ไอเสียงก้องคล้ายเสียงเห่า เจ็บคอ และการตรวจหาแผ่นเยื่อในลำคอ บริเวณทอนซิล และลิ้นไก่ ร่วมกับกับการทดสอบระบบทางเดินหายใจมีอาการตีบตันหรือไม่ นอกจากนี้ แพทย์อาจจะทำการเพาะเชื้อด้วย เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจ เป็นต้น
การรักษาโรคคอตีบ
โรคคอตีบสามารถรักษาให้หายได้ หากมาพบแพทย์โดยเร็วและไม่ปล่อยให้อาการหนัก -โดยแพทย์จะทำการรักษาด้วยการให้ยาต้านสารพิษ Diphtheria antitoxin ยาปฏิชีวนะ และการฉีดวัคซีนโรคคอตีบเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อโรค เด็กที่เป็นโรคคอตีบจะต้องพักเต็มที่อย่างน้อย 2 – 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทางหัวใจซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ที่สองค่ะ
การป้องกันโรคคอตีบ เนื่องจากเป็นโรคที่สามารถติดต่อกับได้ง่ายจากการสัมผัสและการหายใจ ดังนั้น เราควรป้องกันดังนี้
ทั้งนี้ หากเด็กป่วยโรคคอตีบคุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวังสังเกตอาการของของอย่างใกล้ชิด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ เพราะสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญความเริ่มต้นจากการดูแลและเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดค่ะ