Tag: ลูกแพ้ยา

  • เด็กใช้ยาเพนนิซิลลิน เสี่ยงเด็กแพ้ยา

    เด็กใช้ยาเพนนิซิลลิน เสี่ยงเด็กแพ้ยา

    การใช้ยาต่างๆกับเด็กคุณแม่ต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก ในช่วงที่เด็กยังเล็ก คุณแม่ไม่ควรซื้อยาให้มาให้ลูกกินควรพาลูกไปหาหมอ เพราะอาจทำให้เด็กเกิดอาการแพ้ยาได้ โดยเฉพาะเด็กที่ใช้ยาในกลุ่มเพนนิซิลลิน

    ในครั้งนี้ทำไมถึงไม่ควรให้เด็กใช้ยาเพนนิซิลลิน ใช้แล้วมีอาการอย่างไร อันตรายอย่างไรมากน้อยเพียงใด

    ยาเพนนิซิลลิน คืออะไร

    ยาเพนนิซิลลิน คือ กลุ่มยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เป็นยาปฎิชีวนะ ซึ่งเป็นยาที่แพทย์สั่งหรือเภสัชกรจ่ายเท่านนั้น ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเม็ดยาที่จำเป็นต้องกินเป็นประจำ และจำนวนวันที่กินยา เพราะถ้าไม่ปฏิบัติตามตามที่หมอสั่ง กินยาไม่ตรงเวลา จะทำให้การรักษาไม่ได้ผลเต็มที่ และยิ่งเป็นยาเพนนิซิลลินด้วยแล้ว อัตราการแพ้ยาสูงมาก

    ความอันตรายของการที่เด็กใช้ยาเพนนิซิลลิน

    การใช้ยาเพนนิซิลลินมีความอันตรายหากใช้กับเด็ก ซึ่งผลข้างเคียงของยาเพนนิซิลลินจะทำให้มีอาการแพ้ มีลมพิษ ผื่นคันตามตัว แต่หากออกอาการรุนแรง อาจจะทำให้เกิดการหอบหืด หรือเป็นลมได้ หากมีอาการแพ้ยาควรหยุดยา แล้วรีบไปพบแพทย์ในทันทีหรือเภสัชเพื่อใช้ยาอื่นแทน ดังนั้น การใช้ยาเพนนิซิลลิน ต้องรู้ให้แน่ชัดก่อนว่าไม่เคยแพ้ยาเพนนิซิลลิน แต่สำหรับหากเป็นโรคภูมิแพ้ต้องมีความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายกว่าปกติ ไม่เพียงเท่านี้ ไม่ควรใช้ยากลุ่มเพนนิซิลลินกับหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร รวมไปถึงเด็กทารกที่ยังเล็ก เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงคือทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรือผื่นขึ้นเต็มตัวหลังจากการใช้ยา

    อาการแพ้ยาเพนนิซิลลิน

    ขึ้นผื่น

    ผื่นที่เกิดจากการแพ้ยาเพนนิซิลลินจะมีลักษณะหลายรูปแบบ บางครั้งก็จะแสดงออกมาในรูปของลมพิษ จะอยู่ไม่กี่ชั่วโมงก็หายไป แต่สักพักก็จะกลับมาใหม่ แต่ในเด็กบางคน ผื่นแพ้อาจจะไม่เหมือนของผู้ใหญ่ที่ขึ้นมาเป็นปื้นๆ แต่จะเป็นในลักษณะผื่นขึ้นนานเป็นวันๆ ซึ่งผื่นจะขึ้นหลังการใช้ยาไปแล้วไม่กี่วัน ดังนั้นหากผื่นขึ้นหลังการใช้ยาควรถ่ายรูปเก็บไว้ เพราะได้ช่วยให้คุณหมอได้วินิจฉัยโรคได้ง่ายมากขึ้น

    มีอาการบวม

    อาการบวมที่เกิดจากการแพ้ยาเพนนิซิลลินเป็นอาการแพ้ชนิดรุนแรง โดยจะมีลักษณะบวมทั้งตัว โดยเฉพาะบวมตรงใบหน้า และมีอาการลมพิษ แน่นคอ หายใจไม่สะดวก มีอาการไอ เหนื่อย หอบหืด ซึ่งประวัตการแพ้แบบนี้มีความสำคัญมาก เพราะอาการแพ้ครั้งต่อๆไป อาจทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม

    มีอาการแพ้อย่างรุนแรง

    เป็นอาการแพ้ที่รุนแรงมากขึ้น เพราะอาการที่เกิดขึ้น เริ่มจาก หนังตา ริมฝีปากจะบวม มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียร กล่องเสียงบวม ทำให้พูดไม่มีเสียงและหายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำ ซึ่งต้องนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนเพราะเป็นอันตรายมาก

    การแพ้ยามีอันตรายเริ่มตั้งแต่เป็นเพียงผื่น หรือลมพิษ ไปจนถึงหายใจลำบากและความดันโลหิตต่ำ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น การใช้ยาโดยเฉพาะกับคนท้องหรือเด็กเล็กต้องใช้ความระมัดระวัง ที่สำคัญควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรจะดีที่สุด พร้อมทั้งปฏิบัติตามในการทานยาหรือการใช้ยาเพื่อป้องกันการแพ้และการดื้อยา

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • อันตราย ลูกแพ้ยา สิ่งที่คุณแม่ต้องระวัง

    อันตราย ลูกแพ้ยา สิ่งที่คุณแม่ต้องระวัง

    อาการแพ้ยา (Drug Allergy) คืออาการที่เกิดจากฎิกริยาตอบสนองที่มาจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไปคล้ายการต่อต้านสิ่งแปลกปลอม และหากมีอาการนี้มากเกินไปก็จะนำไปสู่การแพ้ยาแบบอ่อนๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง หรือร้ายแรงสุดก็เป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นหากมีอาการแพ้ยาใดๆ ก็ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบโดยด่วน

    ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่ที่สามารถแพ้ยาได้เพียงอย่างเดียว เด็กที่มีอายุ 1-5 ปี ก็สามารถมีโอกาสที่แพ้ยาได้เช่นกัน แต่การแสดงอาการอาจจะไม่รุนแรงเหมือนผู้ใหญ่ จึงทำให้ในบางครั้งเราที่เป็นพ่อและแม่ไม่สามารถทราบได้ว่าลูกแพ้ยาหรือไม่

    สาเหตุส่วนใหญ่ที่ลูกแพ้ยา

    ชนิดของยาที่ใช้

    เด็กที่แพ้ยาส่วนใหญ่ มักจะแพ้ยาปฎิชีวินะมากที่สุด ได้แก่กลุ่มยา Penicillins Cephalosporins และ Sulfonamide ในกลุ่มยา Penicillins เป็นกลุ่มยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้กับเด็กมากที่สุด ผลข้างเคียงของยาในกลุ่มนี้จะทำให้เกิดผื่นแพ้ยาได้แทบทุกชนิด มีทั้งแบบรุนแรง และไม่รุนแรง หรือมีผลถึงชีวิตเลยก็มี อีกกลุ่มยาที่จะทำให้เด็กแพ้ยาคือกลุ่มยากันชัก และยาแก้อักเสบซึ่งไม่ใช่ยาสเตอนอยด์

    แพ้ยาจากพันธุกรรม

    คือ การที่พ่อ หรือแม่มีอาการแพ้ยาชนิดนั้นๆ ลูกก็สามารถแพ้ยาชนิดนั้นได้เช่นกัน ซึ่งอาการแพ้ยาก็จะมีความแตกต่างกันออกไป หรือเด็กบางคนไม่แพ้ยาตอนเด็ก แต่ก็สามารถแพ้ยาตอนโตเป็นได้

    อาการของลูกแพ้ยา

    อาการลูกแพ้ยา

    อาการแพ้ยาสามารถพบได้บ่อยได้จากผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้สูงอายุ ซึ่งในบางครั้งผู้ป่วยมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาร่วมกันหลายชนิดเพื่อหลีกเลี่ยงตัวยาที่แพ้ ซึ่งในบางครั้งเปอร์เซนต์การแพ้ยาก็จะสูง อาการแพ้ยาอาจเพิ่มความรุนแรง ตลอดจนอันตรายถึงชีวิตได้ ไม่เพียงเท่านี้อาการแพ้ยาอื่นที่แสดงออกมาเช่น เป็นไข้เรื้อรัง มีอาการปวดข้อ มีแผลในปาก เกิดตับอักเสบ ไตวาย ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น

    อาการแพ้ยาที่เกิดจากปฎิกิริยาที่มาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะมีการแสดงอาการออกมาไวมาก ไม่ว่าจะมาทางใดก็ตาม มาจากการกิน ฉีด ทา หรือการสูดดม แต่อาการก็ไม่ได้เกิดขึ้นได้ทุกคน แต่เป็นเฉพาะคนที่มีอาการแพ้จากการต่อต้านของร่างกายเท่านั้น อาการข้างเคียงจะมีอาการเหมือนกันกับทุกคนที่ได้รับยาในชนิดเดียวกัน แต่เรื่องความรุนแรงแล้วแต่ละคน เช่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วงที่มาจากการบำบัด เป็นต้น อาการแพ้ยานี่ จะมีความแตกต่างจากที่เป็นผื่นผิวหนัง เพราะเกิดจากการได้รับยาที่เกิดขนาด ซึ่งสามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

    อาการแพ้ยาชนิดรุนแรง ผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรง ถ้าหากได้รับยาเป็นครั้งแรก มักจะแสดงอาการหลังจากได้รับยาไปแล้วประมาณ 1-3 สัปดาห์ แต่หากเคยได้รับยาชนิดนี้มาแล้ว จะมีอาการหลังจากได้รับยาไปแล้ว 1-3 วัน โดยจะแสดงอาการมีไข้ ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล มีอาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว และต่อมาก็จะเริ่มมีผื่นขึ้นบริเวณใบหน้า ลำตัว แขน และขา

    ผื่นของอาการแพ้ยาจะมีลักษณะออกเป็นสีแดง ตรงกลางจะมีสีเข้ม หรือสีน้ำตาล หรือบางคนก็จะออกมาในลักษณะเป็นตุ่มน้ำพองเจ็บ และผื่นอาจจะมารวมกันเป็นวงกว้าง ซึ่งคนที่มีอาการรุนแรง จะพบว่าผิวหนังชั้นกำพร้านั้นตายไปแล้ว ทำให้มีการหลุดลอกของผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่มีการเสียดสี หรือมีการกดทับ หรืออาจมีอาการที่เยื่อบุ เช่น มีอาการอักเสบที่ตา ตาแดง มีแผลที่ปาก หรือมีแผลที่อวัยวะเพศ หรือมีแผลบริเวณอวัยวะภายใน ตับอักเสบ ไตวาย เม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนได้

    ดังนั้น ยาทุกชนิด หรือแม้กระทั้งยาสมุนไพร สามารถทำให้เกิดผื่นแพ้รุนแรงได้ โดยยาที่จะพบบ่อย เช่น ยารักษาโรคเกาต์ ยาลดการอักเสบในกลุ่ม NSAIDs,ยากันชัก และยาปฎิชีวนะ เช่น ในกลุ่มยา Sulfa

    การวินิจฉัยของอาการแพ้ยาของแพทย์

    การวินิจฉัยของอาการแพ้ยาของแพทย์ การได้ข้อมูลจากแค่ประวัติการแพ้จะยังไม่เพียงพอ เพื่อทำการยืนยันว่าผู้ป่วยแพ้ยาจริงหรือไม่ ซึ่งจากการสำรวจผู้ป่วยที่เป็นเด็ก พบว่าผู้ป่วยที่มี่ประวัติการแพ้ยา มีเพียง 10% เท่าน้นที่ทำการตรวจสอบและมีอาการแพ้ยาจริง ส่วนอีก 90% เมื่อผ่านการทดสอบแล้วสามารถกลับมาใช้ยาได้ปกติโดยไม่มีผลข้างเคียงหรือเกิดความผิดปกติ

    การทดสอบการแพ้ยาของแพทย์

    • การทดสอบทางผิวหนัง (Skin test) จะทำการทดสอบโดยการใช้ยาที่คาดว่าเด็กจะแพ้ในปริมาณน้อย สะกิดเข้าไปภายใต้ผิวหนังหากเด็กมีอาการแพ้ ผิวหนังแดง และเกิดตุ่มขึ้นมา การทดสอบนี้มีความแม่นยำสูงในกลุ่มที่แพ้ยาแพนิซิลลินควรทำหลังจากการเกิดอาการ 4-6 สัปดาห์
    • การทดสอบด้วยยาที่คาดว่าแพ้ (Drug provocation test) การทดสอบนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

    การรักษาการแพ้ยา

    การรักษาเป็นเพียงการป้องกันเท่านั้นคือการหลีกเลี่ยงยาที่แพ้ หรือถ้าได้รับยาตัวใหม่แล้วมีอาการแพ้ ก็จะทำการหยุดยาในทันทีและต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการป้องกันการแพ้ยา และแพทย์จะให้บัตรประวัตการแพ้ยาเอาพกติดตัว เพื่อเมื่อทำการรักษาครั้งต่อไปก็ยื่นใบนี้ให้แพทย์ผู้รักษาได้ทราบว่าแพ้ยาอะไรบ้าง

    บทความที่เกี่ยวข้อง