Tag: ลูกถ่ายมีเลือดปน

  • วิธีนวดท้องลูกแก้ท้องผูก

    วิธีนวดท้องลูกแก้ท้องผูก

    ลูกท้องผูก เป็นปัญหาสุขภาพที่เด็กทารกมักเป็น คุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่ให้เป็นพิเศษ เนื่องจากอาการท้องผูกจะไม่เหมือนกับอาการทั่วไปที่ทารกจะแสดงอาการออกมาเพื่อส่งสัญญาณให้พ่อแม่ได้รู้ โดยปกติแล้วเด็กทารกเมื่อเข้าสู่วัย 6 เดือน เด็กจะขับถ่ายวันละ 1-2 ครั้ง หรือสัปดาห์ละ 5-28 ครั้ง แต่ทั้งนี้เด็กอาจจะไม่ได้ถ่ายทุกวัน ซึ่งแสดงว่าหากลูกไม่ถ่าย ก็ไม่ถือว่าเด็กมีอาการท้องผูก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หากมีความสงสัยว่าลูกท้องผูก ต้องสังเกตุอาการอื่นร่วมด้วย

    คุณพ่อคุณแม่มักมีความกังวลเมื่อลูกท้องผูก และคิดว่าต้องพาไปหาหมอเท่านั้น ซึ่งหากลูกอาการไม่หนักก็ไม่จำเป็นที่คุณมีวิธีในการแก้ลูกท้องผูกได้ ซึ่งในครั้งนี้จะขอแนะนำ 1 วิธี คือวิธีการนวดท้องลูกแก้ท้องผูกได้ แต่ก่อนจะเข้าเรื่องเรามาทราบก่อนว่าอาการและสาเหตุอาการท้องผูกของลูกเกิดจากอะไร

    อาการลูกท้องผูก

    โดยปกติทั่วไป เด็กแต่ละคนจะมีความถี่ในการถ่ายแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับอาหารการกิน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นในการสังเกตุอาการหรือความผิดปกติในการขับถ่าย ซึ่งอาการที่จะแสดงว่าลูกท้องผูกมี ดังนี้

    • มีการขับถ่ายน้อย ซึ่งในแต่ละวันลูกจะขับถ่ายในจำนวนที่ไม่แน่นอน ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงที่ลูกอยู่ในระหว่างการสลับเปลี่ยนการกินนมมากินอาหารอื่น อยู่ในช่วงที่กระเพาะอาหารของลูกอยู่ในระหว่างการปรับตัว แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่สังเกตุว่าลูกไม่ยอมขับถ่ายติดต่อกันเป็นเวลานาน 2-3 วัน ให้คุณแม่คิดไว้เลยว่าลูกอาจจะท้องผูกได้
    • ลูกต้องใช้แรงเบ่งอุจจาระ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตุเห็นลูกต้องออกแรงเบ่งอุจจาระมากกว่าปกติ หรือมีความงอแงทุกครั้งเมื่อต้องขับถ่าย หากเป็นลักษณะนี้ ลูกอาจเป็นท้องผูกได้
    • อุจจาระของลูกมีเลือดปน หากอุจจาระของลูกมีเลือดปนที่เกิดจากท้องผูก เนื่องจากผนังทวารหนักฉีกขาดที่มามากออกแรงเบ่งอุจจาระ
    • ลูกไม่ยอมกินอาหาร หากลูกท้องผูก ลูกจะไม่ยอมกินอาหาร เนื่องจากลูกมีอาการไม่สบายท้องและอึดอัดที่เหตุมาจากไม่ได้ขับของเสีย
    • ลูกท้องแข็ง ท้องของลูกจะมีลักษณะตึง แน่น หรือแช็ง ซึ่งจะเป็นอาการท้องอืดร่วมด้วย

    สาเหตุของอาการลูกท้องผูกที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไป

    นมชง ซึ่งเด็กที่รับประทานเฉพาะนมชงเพียงอย่างเดียว มีความเสี่ยงต่ออาการท้องผูกสูง เพราะนมชงจะมีส่วนผสมที่ส่งผลทำให้ระบบย่อยอาหารของลูกทำงานหนัก ทำให้ลูกอุจจาระออกมาเป็นก้อน ไม่เพียงเท่านี้ หากเด็กที่มีอาการแพ้โปรตีนนมก็เกิดอาการท้องผูกได้เช่นกัน

    อาหาร เด็กอาจมีอาการท้องผูกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการกินอาหารจากการกินนมมาเป็นกินอาหารอื่น เนื่องจากเด็กได้รับของเหลวในปริมาณที่ไม่เท่าเดิม อีกทั้งอาหารบางชนิดมีปริมาณเส้นใยอาหารต่ำ ส่งผลทำให้เด็กมีอาการท้องผูก

    มีภาวะขาดน้ำ หากลูกมีภาวะขาดน้ำ หรือได้รับน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ร่างกายของลูกจะไปซึมซับน้ำที่มาจากอาหารเข้าไป รวมทั้งน้ำจากกากของเสียในร่างกาย ทำให้อุจจาระของลูกแห้งส่งผลทำให้ขับถ่ายยาก

    ลูกป่วย ปัญหาสุขภาพของลูกก็ส่งผลทำให้ลูกมีภาวะท้องผูกได้

    วิธีนวดท้องลูกแก้ท้องผูก

    คุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงยังไม่ทราบว่าวิธีการแก้ปัญหาโรคท้องผูกสามารถทำได้โดยไม่ต้องพึงหมอเพียงอย่างเดียว (หากอาการไม่รุนแรง) คือ การนวดท้องของลูกให้ลดอาการจุกเสียดและท้องผูกได้ โดยมีวิธีการนวดที่ถูกต้อง ต่อไปนี้

    1. จับลูกนอนหงายในลักษณะนำลำตัวเข้าหา และนำเบบี้อาย น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันงา ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากธรรมชาติและเหมาะสมสำหรับผิวเด็กด้วย จากนั้นเทใส่มือ ถูเบาๆที่ฝ่ามือก่อนนวด
    2. ใช้ปลายนิ้วนวดบริเวณศีรษะของลูกเบาเพื่อดูว่าลูกจะส่งสัญญาณการงอแงหรือไม่
    3. เทผลิตภัณฑ์ที่เตรียมไว้ขยีบนฝามือเบาก่อนการนวด
    4. วางมือของคุณแม่ลงบนหน้าท้องของลูก และถูลงมาในลักษณะเป็นเส้นตรง จากหน้าท้องไปยังขาหนีบ
    5. จากนั้นใช้ปลายนิ้วโป้งทั้ง 2 ข้างจรดชนกัน จากนั้นลางออกทั้ง 2 ข้าง ทำซ้ำอย่างเบามือ
    6. นวดในลักษณะใช้ฝ่ามือลงวนในทิศทาง 7 นาฬิกาไปถึง 5 นาฟิกา
    7. นวดในลักษณะเป็นรูปพระจันทร์เสี่ยว
    8. นวดในลักษณะใช้ 2 มือสลับกัน โดยมือข้างซ้ายนวดตรงบริเวณ กึ่งกลางหน้าท้องไปยังขาหนีบ ส่วนมือขวานวดจากขาหนีบด้านซ้ายวนไปถึงขาหนีบด้านขวา ทำสลับ 2 มือ
    9. เมื่อนวดหน้าท้องเสร็จแล้วให้ใช้มือน้ำข้อเท้าลูกทั้ง 2 ข้าง และยกขึ้นลงเบา เพื่อผ่อนคลายท้องของลูก
    10. จากนั้นยกข้อเท้าลูกทั้ง 2 ข้างและดันขาไปลูกไปยังหน้าท้องในลักษณะงอเข่าเพื่อเป็นการผ่อนคลายท้องของลูก
    11. ทำซ้ำทั้งหมด 3 ครั้ง
    12. สุดท้ายให้วางฝามือไว้หน้าท้องลูกทั้ง 2 ข้างวางไว้เฉยๆ สักครู่ และปิดท้ายด้วยการอุ้มขึ้นมากอด เป็นอันเสร็จสื้น

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung’s Disease)

    โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung’s Disease)

    โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด โรคที่เป็นความผิดกติของลำไส้ใหญ่พบบ่อยในเด็กทารกแรกเกิด โดยพบในเด็กเพศชายมากกว่าเด็กผู้หญิงค่ะ และเป็นภาวะที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหากปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ค่ะ

    โรคลำไส้โป่งพองคืออะไร

    โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung’s Disease) เป็นความปกติแต่กำเนิดที่เซลล์ประสาทขาดหายไปจากส่วนท้ายของลำไส้ โดยปกติหลอดอาหารกระเพาะอาหารลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่มีเซลล์ประสาทที่ควบคุมเกือบทุกอย่างของลำไส้ เซลล์ประสาทเหล่านี้ควบคุมกล้ามเนื้อที่เคลื่อนย้ายอาหารและของเสียหรืออุจจาระผ่านลำไส้ใหญ่ ซึ่งลำไส้ใหญ่เป็นส่วนสุดท้ายของทางเดินอาหาร โดยทารกที่เป็นโรคลำไส้โป่งพองจะขาดเซลล์ประสาทในลำไส้ใหญ่ทั้งหมดหรือบางส่วน และหากไม่มีเซลล์ประสาทเหล่านี้กล้ามเนื้อจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายอาหารและของเสียผ่านลำไส้ได้ สิ่งเหล่านั้นจะตกค้างอยู่ในลำไส้เกิดการอุดตันและเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องผูก ท้องบวม ปวดท้องและอาจนำไปสู่การติดเชื้อรุนแรงได้ค่ะ

    โรคลำไส้โป่งพองเกิดจากอะไร

    โรคลำไส้โป่งพอง (Hirschsprung’s Disease) เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาทในลำไส้ใหญ่ไม่สมบูรณ์ เส้นประสาทในลำไส้ใหญ่ไม่สามารถควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เคลื่อนอาหารและของเสียผ่านลำไส้ ทำให้เกิดการอุดตันและโป่งพองออกมาค่ะ

    อาการของลำไส้โป่งพองเป็นอย่างไร

    ลำไส้โป่งพองอาการจะแตกต่างกันไปตามอายุ โดยทารกส่วนใหญ่จะมีอาการในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด อาการที่พบบ่อยในทารก ได้แก่ ความล้มเหลวในการเคลื่อนไหวของลำไส้ใน 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด มีไข้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการอาเจียน ท้องผูก เป็นต้น ในกรณีเด็กโตอาการเริ่มแรกอาจมีอาการดังต่อไปนี้ การเจริญเติบโตล่าช้า เบื่ออาหาร อุจจาระขนาดเล็กหรือเป็นน้ำและมีเลือดปน อาการท้องผูกที่แย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปค่ะ

    การรักษาโรคลำไส้โป่งพอง

    การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการอายุ สุขภาพโดยทั่วไปและความรุนแรงของภาวะลำไส้โป่งพองในเด็ก ซึ่งรักษาด้วยการผ่าตัดเอาลำไส้ส่วนที่ไม่มีเซลล์ปมประสาทออก และดึงลำไส้ส่วนที่ปกติมาต่อบริเวณทวารหนักค่ะ ปัจจุบันสามารถผ่าตัดได้ตั้งแต่แรกเกิดค่ะ

    ภาวะแทรกซ้อนของโรค

    โรคลำไส้โป่งพองตั้งแต่กำเนิดหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งหมายความว่าอาหารและอุจจาระที่ย่อยแล้วไม่สามารถเคลื่อนไปได้ อาจนำไปสู่อาการรุนแรงการอุดตันจะสร้างแรงกดที่ด้านในของลำไส้ ทำให้ผนังลำไส้บางส่วนสึกหรอ เมื่อเวลาผ่านไปการติดเชื้อแบคทีเรีย ลำไส้แตกทะลุเกิดการติเชื้อในกระแสเลือดซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ค่ะ

    หากพบว่าลูกน้อยมีอาการน่าสงสัยหรือมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยที่ชัดเจนและรักษาที่ถูกต้องโดยเร็วที่สุดค่ะ เพื่อป้องกันภาวะรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ลูกถ่ายมีเลือดปน เสี่ยงโรคอันตรายหรือไม่

    ลูกถ่ายมีเลือดปน เสี่ยงโรคอันตรายหรือไม่

    การขับถ่ายของเด็กๆบางคนอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก และสร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่เช่นกันค่ะ โดยเฉพาะการถ่ายเป็นเลือดหรือมีเลือดปนออกมา คุณแม่อาจกำลังสงสัยว่าลูกน้อยจะเสี่ยงเป็นโรคอันตรายร้ายแรงหรือไม่ เรามาดูกันว่าลูกถ่ายมีเลือดปนมีสาเหตุจากอะไร และมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไรบ้างค่ะ

    ลูกถ่ายมีเลือดปน เกิดจากอะไร

    สาเหตุบางประการของอุจจาระเป็นเลือดในเด็ก โดยอาจมีสาเหตุจากการสิ่งต่างๆดังนี้

    • โรค Hirschsprung’s disease เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของลำไส้ใหญ่ มักเกิดในทารกแรกเกิดเป็นภาวะที่รุนแรงที่ลำไส้ของทารกมีเซลล์ประสาทน้อยลงหรือขาดไปโดยสิ้นเชิง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ล้มเหลวทำให้ช่องท้องบวมและทารกอาเจียน อุจจาระมีเลือดปนเช่นกันค่ะ
    • ความผิดปกติของเลือด การมีเลือดปนในอุจจาระอาจไม่ใช่เพราะปัญหาในทวารหนัก แต่เป็นปัญหาในเลือดเองเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดหรือความผิดปกติในการสร้างหลอดเลือด ทำให้เลือดออกทางทวารหนักได้ค่ะ ซึ่งเมื่อเกิดความผิดปกติของเลือดมักมีอาการของผื่นหรือฟกช้ำตามร่างกายค่ะ
    • ติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อ ภาวะนี้พบได้บ่อยในเด็กอายุระหว่าง 2 ถึง 10 ปี ติ่งเนื้อเป็นโครงสร้างขนาดเล็กที่เติบโตตามเยื่อบุด้านในของลำไส้ใหญ่ โดยทั่วไปการที่อุจจาระผ่านไปจะทำให้ติ่งเนื้อเหล่านี้แตกออกซึ่งส่งผลให้มีเลือดออกๆได้ค่ะ
    • โรคอุจจาระร่วงจากการติดเชื้อ อาการท้องร่วงเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ในการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ปรสิตหรือแม้แต่ไวรัสที่เป็นอันตราย สิ่งเหล่านี้จะเข้าไปในระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงค่ะ
    • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งอาจส่งผลให้มีเลือดปนในอุจจาระ อย่างไรก็ตามเลือดไม่ได้เป็นของทารกอาจเป็นของแม่ที่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าคุณแม่นมแห้งแตก เมื่อทารกกินนมอาจดูดที่รอยแตกทำให้เลือดไหลออกมาค่ะ อาจเป็นเพียงไม่กี่หยดแต่ก็เพียงพอที่จะปรากฏในอุจาระของลูกน้อยได้ค่ะ
    • อาการลำไส้แปรปรวน คือภาวะที่การเคลื่อนไหวของลำไส้ไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกและท้องร่วง อาจทำให้เซลล์เม็ดเลือดแตกส่งผลให้มีเลือดออกทางทวารหนักได้เช่นกันค่ะ
    • โรคโครห์น (Crohn’s Disease) เป็นโรคที่เกิดการอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินอาหารหรือลำไส้ การติดเชื้อนี้ส่งผลให้เกิดแผลในระบบทางเดินซึ่งทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง แผลเหล่านี้ส่งผลให้อุจาระเป็นเลือดได้ค่ะ
    • การแพ้นมวัว ความไวต่อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวอาจส่งผลให้อุจจาระเป็นเลือด การบริโภคนมวัวของมารดาสามารถส่งต่อไปยังทารกผ่านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เช่นกันค่ะ

    วิธีรักษาลูกถ่ายมีเลือดปน

    การรักษาเป็นการรักษาตามการและสาเหตุที่เกิดขึ้นค่ะ โดยทั่วไปเด็กส่วนใหญ่ที่ถ่ายเป็นเลือดหรือมีเลือดปนออกมามักเกิดจากอาการท้องร่วงที่เกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนแบคทีเรียและปรสิต ซึ่งรักษาด้วยการทานยาและป้องกันภาวะขาดน้ำค่ะ นอกจากนี้อาการอจาระเป็นเลือดยังพบบ่อยเด็กที่มีอาการท้องผูกอุจาระเป็นก้อนแข็งขับถ่ายลำบาก โดยทั่วไปเงื่อนไขดังกล่าวสามารถดูแลได้โดยการดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารย่อยง่ายมีกากใยหรือการใช้สารหล่อลื่นที่ทำให้อุจจาระนิ่มลงและทำให้อุจจาระผ่านได้ง่ายโดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารและลำไส้ค่ะ

    ควรปรึกษาแพทย์เมื่อใด

    หากคุณพ่อคุณแม่ดูแลเด็กๆในเบื้องต้นแล้วแต่ไม่ได้ผล และหากคุณสังเกตเห็นสัญญาณต่อไปนี้ให้ปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ

    • มีไข้
    • บริเวณทวารหนักได้รับบาดเจ็บ
    • ปวดอย่างรุนแรงในช่องท้องพร้อมกับอาเจียนเป็นเลือด
    • อุจจาระมีสีเข้มสม่ำเสมอและมีเลือดมาก

    ในบางครั้งการเห็นเลือดในอุจจาระของลูกเป็นเรื่องน่ากลัวแต่ไม่ใช่เรื่องแปลก โดยมักมีสาเหตุทั่วไปจากการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมหรือการติดเชื้อภายนอกสามารถดูแลรักษาได้ค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง