Tag: ยุงกัดลูก

  • ยุงกัดลูก เสี่ยงโรคอันตราย และวิธีป้องกัน

    ยุงกัดลูก เสี่ยงโรคอันตราย และวิธีป้องกัน

    ยุง สัตว์ตัวเล็ก แต่แฝงไปด้วยพิษสง พาหะนำโรคมากมายที่คร่าชีวิตมนุษย์มาแล้วมากมาย เพราะยุงเมื่อกัดแล้ว ไม่เพียงจะเอาเลือดคุณไป แต่จะปล่อยสารโปรตีนทำให้เกิดอาการคัน และตุ่มแดงคันขึ้นบนผิวหนัง ซึ่งตุ่มยุงกัดจะอยู่บนร่างกายของเราประมาณ 1 วัน หรืออาจจะนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับการแพ้ของร่างกายของเรา

    บางคนร้ายแรงกว่านั้น คือเกิดการติดเชื้อ ซึ่งส่วนมากคนที่เกิดการติดเชื้อเนื่องจากไม่ค่อยได้ถูกยุงกันเท่าไร อยู่ในแหล่งที่มียุงน้อย หรือเป็นผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ในวัยที่เป็นอันตรายมากที่สุดคือวัยเด็ก เพราะระบบภูมิคุ้มกันในเด็กยังทำงานยังไม่เต็มที่เหมือนของผู้ใหญ่

    “ข้อห้ามหลังโดนยุงกัด”
    หากเมื่อเราโดนยุงกัด บางคนอาจมีการแพ้อย่างรุนแรง การเกาอย่างรุนแรงทำให้ผิวหนังเกิดแผล ทำให้แผลติดเชื้อได้ เนื่องจาก มือที่เราใช้เกาอาจจะมีเชื้อโรค ซึ่งทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและเกิดการติดเชื้อ และกลายเป็นแผลลามใหญ่หรือเป็นหนอง “หากเกิดแผลจากการเกาแล้วลุกลามให้รีบพบแพทย์เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลไปสู่ผิวหนังส่วนลึก จนทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้”
    ดังนั้น เมื่อเราถูกยุงกัด ให้หลีกเลี่ยงการเกา ให้ใช้ยาแก้คัน เช่น คาลามาย์ เป็นต้น เพื่อลดอาการคัน หรือถ้าไม่สามารถทนอาการคันได้ มีอีกวิธีคือหาผ้าสะอาดบางมารองก่อนการเกา แต่หากบางรายมีการแพ้มากคันมัก แนะนำให้กินยาแก้แพ้ และหากเกาแล้วมีแผล อย่างแรกที่ควรทำคือการล้างแผลให้สะอาดให้ใช้แอลกอฮอร์ในการล้างแผล อย่าปล่อยทิ้งไว้ ไม่อย่างนั้นแผลอาจติดเชื้อได้
    นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย
    (อ้างอิงข้อมูลจาก เว็บไซต์ MGR Online)

    ยิ่งไปกว่านั้น บางรายที่น้ำเหลืองไม่ดี การเกิดแผลเกาที่มาจากที่ยุงกัด จะทำให้แผลติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจาก ภาวะน้ำเหลืองที่มีการระบายที่ไม่ราบรื่น คั้งค้าง ทำให้เกิดการอักเสบ ง่ายกว่าคนที่ระบบน้ำเหลืองปกติหลายเท่า

    อาการหลังยุงกัดที่ควรพาลูกไปพบแพทย์

    ซึ่งสัญญาณเตือนว่าลูกของคุณพ่คุณแม่ได้ติดเชื้อจากการที่ลูกโดนยุงกัด คือ มีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และมีอาการปวดหัว ต้องพาลูกของคุณไปตรวจและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

    ลูกโดนยุงกัดเสี่ยงกับโรคอะไรบ้าง

    ทำไม่ยุงถึงเป็นพาหะ เพราะยุงไม่ได้กัดแค่เราเพียงคนเดียว แต่ไปกันสัตว์ หรือคนอื่นๆ ด้วย ดังนั้น เชื้อไวรัสต่างๆ จากสัตว์ หรือของคน ก็สามารถส่งผ่านจากยุงมาสู่งเราได้

    ภูมิภาคของโลกที่ยุงเยอะที่สุดคือ ทวีปเอเชีย ทำให้โรคดังต่อไปนี้ มักจะระบาดในไทย และประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย

    • โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever) (อ่านต่อเรื่องโรคไข้เลือดออกได้โดยคลิ๊กที่ชื่อโรค)
      โรคยอดฮิค เมื่อปี 2562 อัตราของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงถึง 44,671 คน และทีการตายถึงโรคนี้ถึง 62 ราย สูงสงในรอบ 7 ปี (ข้อมูลอ้างอิง จากเว็บไซต์ Thai PBS) เป็นโรคที่กรมการอนามัยโรค (WHO) ประกาศออกมาเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เป็นโรคที่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว
      โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกิ เมื่อเชื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะแพร่กระจายทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง และอาการจะหนักกว่าผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดธรรมดา
    • โรคไข้มาลาเรีย (Malaria) (อ่านต่อเรื่องโรคไข้เลือดออกได้โดยคลิ๊กที่ชื่อโรค)
      ไข้มาลาเรีย คือโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น แต่อาการจะไม่รุนแรง อาจคิดว่าเป็นไข้ธรรมดา เพราะตรวจแล้วเชื้อสามารถซ่อนไม่ให้ตรวจเจอได้ เป็นโรคที่ระบุโรคยากมาก ดังนั้นวิธีแก้ที่ดีที่สุด หากอยู่ในพื้นี่เสี่ยงที่มีการระบายของโรค แล้วมีอาการที่เข้าข่าย ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาโดยทันที
    • โรคไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) (อ่านต่อเรื่องโรคไข้เลือดออกได้โดยคลิ๊กที่ชื่อโรค)
      คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียหลายชนิด ผู้ที่ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
      จะมีอาการซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ โดยสังเกตได้ดังนี้
      • ระยะอาการเริ่มแรกหลังจากรับเชื้อ 1 – 2 สัปดาห์ จะมีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ตัวแข็งเกร็ง ปวดเมื่อยตามข้อและกล้ามเนื้อ มีผื่นหรือตุ่มน้ำพองใสขึ้นที่ผิวหนัง และมักพบอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยค่ะ
      • ระยะสมองอักเสบเฉียบพลันในเด็กและทารก มีไข้สูง กระหม่อมทารกโป่งตึง คลื่นไส้ อาเจียน ไม่ยอมรับประทานอาหาร ซึม ไม่ตื่นตัว ร่างกายแข็งเกร็งหรือขยับตัวไม่ได้ ร้องไห้ไม่หยุด หรือบางรายมีอาการชักหมดสติ
      • ระยะพื้นโรคผู้ป่วยประมาณร้อยละ 40 – 60 ที่รอดชีวิต มักพบความผิดปกติทางระบบประสาท ระดับสติปัญญาลดลง ความผันแปรทางอารมณ์ อัมพาตและบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป
    • ชิคุนกุนยา (Chikungunya) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีการแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน โดยมีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออกแต่โรคชิคุนกุนยามีความรุนแรงน้อยกว่าโรคไข้เลือดออกและมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่องซึ่งอาจนานเป็นเดือนค่ะ ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีการวินิจฉัยโรคผิดว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้เช่นกันค่ะ

    วิธีการดูแลรักษาหลังลูกโดนยุงกัด

    • ทำความสะอาดบริเวณผิวหนังที่โดนยุงกัด
    • ทายา แก้คันบริเวณที่โดนยุงกัด
    • ใช้น้ำแข็งประคบเย็นบริเวณที่โดนยุงกัดเพื่อบรรเทาอาการ
    • หากมีอาการรุนแรง มีไข้ ปวดตามเนื้อตัว ให้ทายา
    • ลดการเกิดแผลจากการเกา โดยการตัดเล็บให้สั้น

    การป้องกันลูกไม่ให้ยุงกัด

    • หลีกเลี่ยงไปในพื้นที่ที่มีน้ำขังเป็นเวลานานๆ
    • ตรวจสอบรอบบ้าน ว่ามีแหล่งที่จะเป็นการเพาะพพันธุ์ยุงหรือไม่ ถ้ามีกำจัดทิ้ง
    • หลีกเลี่ยงทำกิจกรรมในบริเวณที่เป็นแหล่งของยุง
    • ใส่ทรายอะเบท เพื่อกำจัดยุงลายโดยใช้อัตราทราย 1 กรัม/น้ำ 10 ลิตร
    • หากอยู่ในพื้นที่ที่มียุงก็ควรหาเครื่องมือป้องกัน เช่น ยากันยุง มุ้ง เป็นต้น
    • หากมีการพ่นสารเคมีกำจัดยุง ก็ควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะอาจมีผลต่อคนได้
    • กลุ่มคนที่มีอาการสกีตเตอร์ซินโดรม ควรกินยาต้านฮิสจสมีนก่อน เมื่อทราบว่าต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มียุงเยอะ
    • หากไปในแหล่งที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส แล้วเผลอโดนยุงกัด ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อทำการฉีดวัคซีนป้องกัน หรือตรวจการติดเชื้อหรือไม่

  • โรคไข้เลือดออกในเด็ก

    โรคไข้เลือดออกในเด็ก

    โรคไข้เลือดออก ภัยใกล้ตัวลูกน้อยระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและมักพบในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี เสี่ยงเสียชีวิต คุณพ่อคุณแม่ฟังแล้วอย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ โรคนี้สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ค่ะหากมีการดูแลรักษาที่ถูกต้อง บทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคดังกล่าวไว้ให้แล้วค่ะ

    สาเหตุของไข้เลือดออก

    โรคไข้เลือดออก หรือโรคเดงกี่ เป็นโรคที่เกิดจาการติดเชื้อจากยุงอย่างเฉียบพลัน พบได้ในเขตร้อนและเขตร้อนชื้นทั่วโลกและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เชื้อไวรัสเดงกี่มีทั้งหมดมี 4 สายพันธุ์ คือ 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งแต่ละชนิดสามารถนำไปสู่โรคไข้เลือดออกและไข้เลือดออกที่รุนแรงได้ หากได้รับเชื้อไวรัสครั้งแรกมักไม่แสดงอาการหรือมีอาการเล็กน้อย คล้ายเป็นไข้หวัด โรคไข้เลือดออกสามารถเป็นซ้ำได้และเป็นได้มากกว่า 1 ครั้งค่ะ

    อาการของไข้เลือดออก

    อาการของไข้เลือดออก

    โรคไข้เลือดออกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่ง(ระยะมีไข้) ระยะที่สอง(ระยะวิกฤต) และระยะที่สาม(ระยะฟื้นตัว)

    • ระยะที่หนึ่ง หรือระยะมีไข้ ในระยะแรกนี้จะมีไข้สูงลอย(39-40°C)ติดต่อหลายวัน ทานยาลดไข้แล้วแต่ไม่ค่อยลงหรืออาจลงมาเหลือประมาณ 38-38.5°C (ไม่ลงมาถึง 37°C) หรือยังไม่ทันครบ 4 ชั่วโมง ไข้ก็กลับสูงขึ้นไปใหม่ค่ะ จะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อาจมีอาการเจ็บคอแต่ไม่มีน้ำมูก ปวดท้อง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกระดูก หน้าแดงและอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่นๆ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนมีเลือดปน ถ่ายอุจจาระสีดำ เลือดประจำเดือนออกมากผิดปกติ(เนื่องจากมีปริมาณเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติ) ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจพบตับโต มีอาการทางสมองเช่น ซึมหรือชัก เป็นต้น
    • ระยะที่สอง หรือระยะวิกฤต เป็นช่วงที่มีความสำคัญ เพราะไข้เลือดออกที่รุนแรงจะมีปัญหาเลือดออกหรือช็อกได้ ต้องติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดเป็นระยะเวลาประมาณ 24 – 48 ชม.ค่ะ ในบางรายจะมีอาการทรุดลง กระสับกระส่าย ซึม เหงื่อออก ปลายมือปลายเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็วและเบา อาจมีหายใจหอบ ปวดท้องมาก ท้องโตขึ้น เนื่องจากมีสารน้ำเหลืองรั่วเข้าสู่ช่องเยื่อหุ้มปอดและในช่องท้อง ในระยะนี้อาจมีอาการช็อก ความดันโลหิตต่ำ และถึงแก่ชีวิตได้ค่ะ แต่ในบางรายที่ไม่รุนแรงจะไม่มีระยะนี้ให้เห็นชัดเจนค่ะ ซึ่งหลังจากไข้ลงจะผ่านเข้าสู่ระยะฟื้นตัวเลย
    • ระยะที่สาม หรือระยะฟื้นตัว ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น โดยสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น อวัยวะต่างๆ เริ่มทำงานเป็นปกติ ชีพจรเต้นช้าและแรงขึ้น ความดันโลหิตกลับมาสู่ปกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ในบางรายอาจมีผื่นแดงขึ้นตามขาและเท้าและมักจะมีอาการคันร่วมด้วย ในรายที่มีปัญหาช็อกผ่านระยะที่สองมาแล้ว ช่วงนี้หมอต้องคอยเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดค่ะ เพื่อไม่ให้มีปัญหาน้ำเกินในระบบไหลเวียนโลหิต เนื่องจากสารน้ำที่รั่วออกนอกเส้นเลือดในระยะช็อกเริ่มกลับเข้าสู่เส้นเลือด ทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป เกิดภาวะหัวใจวายได้ค่ะ

    การรักษาโรคไข้เลือดออก

    โรคไขเลือดออกยังไม่มียาปฏิชีวนะทำลายเชื้อไวรัสเดงดี การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการและการรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ หากอาการไม่รุนแรงโรคนี้สามารถหายได้เองผู้ป่วยสามารถดูแลที่บ้านได้ ทานยาลดไข้(ยาพาราเซตามอล) ไม่ใช้ยาลดไข้ประเภทแอสไพรินและไอบูโพรเฟน ซึ่งอาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและเกิดปัญหาเลือดออกในกระเพาะอาหาร รวมถึงเลือดไม่แข็งตัวเมื่ออาการของไข้เลือดออกเป็นรุนแรงถึงขั้นระยะช็อกได้ค่ะ นอนพักผ่อน ไม่เล่นซนหรือออกแรงมาก หลีกเลี่ยงการกระทบกระแทก ไม่แคะจมูก หรือแปรงฟันเพราะทำให้เลือดออกได้ ดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำหวานบ่อยๆ เพื่อให้มีพลังงานเพียงพอค่ะ ในบางรายที่มีภาวะแทรกซ้อนแพทย์จะให้นอนพักที่โรงพยาบาลเพื่อติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดค่ะ

    วิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออก

    เนื่องจากโรคไข้เลือดออกนั้นมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นการป้องกันกัดและลดปริมาณยุงจึงเป็นวิธีที่สุดในการป้องกันโรคไขเลือดออกได้ค่ะ

    • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ไม่ให้มีน้ำขังอยู่ในบริเวณบ้าน เช่น กระถางต้นไม้ เศษภาชนะแตกหัก ฯลฯ เลี้ยงปลาที่กินลูกน้ำในบ่อน้ำ ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชู หรือผงซักฟอกหรือทราบอะเบทในน้ำหล่อขาตู้กับข้าว ปิดฝาโอ่ง หรือภาชนะที่บรรจุน้ำให้มิดชิดค่ะ เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงมาวางไข่ค่ะ
    • รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย โดยการจัดห้องให้โล่งโปร่งไม่มีกองสัมภาระรกรุงรังจะได้ไม่มียุงมาหลบอยู่ค่ะ เนื่องจากยุงลายชอบอยู่ในบริเวณอับมืดค่ะ
    • ควรนอนกางมุ้งแม้ในเวลากลางวัน ใส่เสื้อผ้าปกปิดผิวที่มีสีอ่อน เปิดพัดลมโชยเบาๆ เนื่องจากยุงลายจะมีลักษณะการออกหากินในเวลากลางวัน
    • ทาโลชั่นกันยุงที่ปลอดภัย หรือน้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันตะไคร้หอม เป็นต้น

    นอกจากนี้ หากพบว่าลูกมีอาการไข้สูงหรือหากสงสัยว่าลูกเป็นไข้เลือดออกคุณพ่อคุณแม่ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อตรวจยืนยันการวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง