Tag: มลพิษ

  • มลพิษทางอากาศผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก

    มลพิษทางอากาศผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก

    ปัจจุบันระดับมลพิษทางอากาศส่งผลเสียต่อสุขภาพ คุณภาพอากาศแย่ลงสุขภาพของเราก็แย่ลงเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบร้ายแรง เนื่องจากปอดยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาเช่นเดียวกับภูมิคุ้มกันค่ะ ซึ่งในบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจว่ามลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อเด็กอย่างไรรวมถึงการดูแลลูกน้อยของคุณ

    เด็กเล็กๆมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพมากขึ้นเนื่องจากคุณภาพทางอากาศไม่ดี และนี่คือส่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทราบเพื่อสามารถดูแลปกป้องลูกของคุณค่ะ ซึ่งเหตุผลที่เด็กๆไวต่อผลกระทบของมลพิษทางอากาศมากกว่าผู้ใหญ่ได้แก่

    • เด็กมักจะหายใจเร็วทำให้สามารถหายใจเอาสารมลพิษ ฝุ่นละอองทางอากาศในอัตราที่เร็วกว่าผู้ใหญ่
    • ปอดของเด็กเล็กอาจยังไม่พัฒนาเต็มที่จนกว่าเขาจะอายุครบ 6 ขวบ
    • เด็กมักใช้เวลาอยู่กลางแจ้ง วิ่งเล่นในสนามเด็กเล่นและสวนสาธารณะ ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เด็กๆ มีความไวต่อปัญหาสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากมีโอกาสในการสภาพมลพิษหรือฝุ่นละอองในอากาศมากนั่นเองค่ะ

    มลพิษทางอากาศที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกของคุณ ได้แก่

    • ไนโตรเจนออกไซด์ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของปอดโดยทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคือง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน
    • คาร์บอนมอนอกไซด์ เมื่อสูดดมเข้าสู่กระแสเลือดและผสมกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆของร่างกายลดน้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย สมองขาดออกซิเจน ซึ่งถ้าได้รับในปริมาณมากอาจทำให้ร่างกายขาดออกซีเจนเฉียบพลันถึงขั้นเสียชีวิตได้
    • อนุภาคในอากาศ ซึ่งประกอบด้วยซัลเฟต ละออง คาร์บอนและไนเตรต อนุภาคเหล่านี้อาจทำให้โรคทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด เป็นต้น 
    • สารเคมีขนาดเล็กในดีเซล มลพิษทางอากาศที่พบในชุมชนหรือในเมืองซึ่งนำไปสู่อาการอาการคลื่นไส้   เวียนหัว ระคายเคือง เป็นต้น
    • ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการถลุงแร่ที่มีกำมะถัน 
    • ตะกั่ว เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมันหรือของเสีย  เมื่อมันเข้าสู่ร่างกายมันอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะเกือบทั้งหมด อาจมีผลต่อระบบประสาทและไตของเด็กค่ะ

    มลพิษทางอากาศที่เป็นอันตรายอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิดค่ะ หากลูกของคุณได้รับมลพิษทางอากาศอยู่ตลอดเวลาอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้แก่ การรับมลพิษทางอากาศเป็นประจำมากเกินไปสามารถขัดขวางการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ปอด โรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืดในเด็ก นอกจากจะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจแล้วยังส่งผลต่อระบบประสาทอีกด้วยค่ะ

    การดูแลเด็กๆเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก

    • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานในแหล่งชุมชนโดยเฉพาะพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม จราจรหนาแน่น เป็นต้น  เวลาที่เหมาะสำหรับการเล่นกลางแจ้งหรือการเยี่ยมชมสวนคือตอนเช้าค่ะ
    • รับประทานอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำสะอาดมากๆ เพราะอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสามารถทำให้สุขภาพดีและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ค่ะ
    • หากคุณรู้สึกว่าคุณภาพอากาศในบ้านของคุณไม่ดีให้ใช้เครื่องฟอกอากาศเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและองค์ประกอบที่เป็นพิษในอากาศ รวมถึงการปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้านค่ะ

    มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาสำคัญซึ่งในปัจจุบันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อลดมลภาวะทางอากาศค่ะ

  • แนวทางดูแลป้องกันเด็กจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5

    แนวทางดูแลป้องกันเด็กจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5

    แนวทางดูแลป้องกันเด็กจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5
    กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขกำหนดแนวทางการดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยงและเด็กที่มีโรคประจำตัว เพื่อป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศ เนื่องจากในขณะนี้ประเทศไทยหลายพื้นที่ กำลังประสบปัญหามลพิษทางอากาศ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ถ้าหากได้รับมลพิษทางอากาศในปริมาณมากอาจเสี่ยงต่อโรคเรื่องรังในระยะยาวได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอดอักเสบ รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางระบบประสาท ความรู้ความสามารถทางสติปัญญาของเด็กได้ เพราะเด็กเล็กการเจริญเติบโตของร่างกายในเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ อัตราการหายใจถี่กว่าผู้ใหญ่ซึ่งส่งผลให้เด็กเล็กรับฝุ่นละอองนี้ได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงควรดูแลเด็กและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดค่ะ

    ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 คือฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมหรือครึ่งหนึ่งของขนาดเม็ดเลือด สามารถลอยในอากาศได้นานและไกลถึง 10 กิโลเมตร หากมีการสัมผัสในปริมาณมากอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อหลังในระยะยาว เช่น โรคมะเร็ง โรคปอด โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบ ได้แก่ เด็ก สตรีตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวค่ะ

    ทั้งนี้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดูแลเด็กเล็ก รวมถึงการลดมลภาวะทางอากาศที่อาจก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ เพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ดังนี้

    • ติดตามสถานการณ์ พื้นที่เสี่ยงของมลพิษทางอากาศฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เว็บไซต์ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ที่ www.anamai.moph.go.th หรือแอปพลิเคชัน Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ สามารถดาว์นโหลดได้ทั้ง android และ ios ค่ะ
    • ในพื้นที่ไหนหากมลพิษทางอากาศมีค่า PM2.5 หรืออยู่ในระดับสีแดง (91 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ขึ้นไป ห้ามออกนอกบ้าน
    • ปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิด และควรเปิดพัดลมให้อากาศหมุนเวียน
    • คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กๆไปทำกิจกรรมนอกบ้าน
    • กรณีที่มีความจำเป็นต้องออกไปนอกบ้านควรสวมใส่หน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนที่ได้มาตรฐาน
    • รับประทานผักผลไม้ อาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเพิ่มแอนตี้ ออกซิแดนต์ไว้ต่อสู้กับเชื้อโรค
    • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 6 – 8 แก้วต่อวัน
    • กรณีเด็กที่มีโรคประจำตัวควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และสังเกตอาการของเด็ก หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาทันที
    • งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ เช่น การเผาใบไม้ เผาขยะ เป็นต้น
    • ไม่ติดเครื่องยนต์เป็นเวลานานในบริเวณบ้าน
    • การปลูกต้นไม้เพื่อดักฝุ่นละอองและมลพิษอากาศ

    ทั้งนี้ การป้องกันและลดปัญหามลพิษทางอากาศนั้น ไม่ใช่เพียงแค่หน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยหนึ่งเท่านั้น แต่หากเป็นหน้าที่ของทุกคนควรพึงปฏิบัติดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม อาจจะเริ่มต้นด้วยการปลูกต้นไม้ งดการเผาไหม้หญ้าและขยะ งดการใช้รถยนต์ควันดำ เป็นต้น