Tag: ภาวะแทรกซ้อน

  • ไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา แตกต่างกันอย่างไร

    ไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา แตกต่างกันอย่างไร

    ไวรัส RSV โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคระบาดที่มาพร้อมช่วงปลายฤดูฝนต้นหนาว เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่รุนแรงกว่ามากค่ะ หากไม่ได้รับการดูและอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในเด็กเล็กอันตรายถึงชีวิตได้เลยค่ะ ดังนั้นเราไม่ควรประมาทกับอาการป่วยของลูกถึงแม้ว่าการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีจะคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา แต่เราก็สามารถสังเกตผิดความผิดปกติได้ค่ะ ซึ่งบทความนี้จะมาพูดถึง ไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา แตกต่างกันอย่างไรค่ะ

    ไวรัส RSV คืออะไร

    ไวรัส RSV (Respiratory syncytial virus) เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจ เจริญเติบโตและแพร่กระจายได้ง่ายได้ดีช่วงที่มีอากาศชื้นหรือช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวค่ะ อาการคล้ายกับไข้หวัด เช่น มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล แต่มีความรุนแรงกว่ามากโดยเฉพาะนเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ทันท่วงทีค่ะ

    อะไรคือสาเหตุของการติดเชื้อไวรัส RSV

    การติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝนและต้นฤดูหนาว ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ง่ายๆ ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งต่างๆในร่างกาย เช่น ละอองน้ำลายจากการไอหรือจาม น้ำมูก เป็นต้น และเชื้อไวรัสสามารถจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้นานเป็นเวลาหลายชั่วโมงค่ะ

    ไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา แตกต่างกันอย่างไร

    โรคไข้หวัดและไวรัสอาร์เอสวี เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีอาการเบื้องต้นคล้ายกัน ได้แก่ มีไข้ คัดจมูก มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ไอแห้ง เจ็บคอ เป็นต้น แต่มีอาการบ้างอย่างที่คุณแม่สามารถสัเกตเห็นถึงความแตกต่างกันระว่างไวรัส RSV กับไข้หวัดธรรมดา ได้แก่

    อาการไวรัส RSV

    • ไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส เซื่องซึม เบื่ออาหาร
    • หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อยและหายใจลำบาก 
    • ไออย่างรุนแรง มีเสมหะข้นเหนียวมาก 
    • มีเสียงหวีดในปอด (จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว)
    • ปากหรือเล็บมีสีเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน
    • หากลูกมีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีอาการแทรกซ้อนและทรุดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หยุดหายใจเป็นช่วงๆหรือหายใจล้มเหลวได้ค่ะ

    อาการไข้หวัดธรรมดา

    • มีไข้สูง 37-39 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะ
    • ไอ เจ็บคอ
    • มีน้ำหมูกไหล

    การดูแลรักษาไข้หวัด สามารถรักษาด้วยการทานยา พักผ่อนมากๆ ทานอาหารและดื่มน้ำสะอาดมากๆค่ะ

    การรักษา ไวรัส RSV

    เนื่องจาก RSV ยังไม่มียารักษาโรคติดเชื้อไวรัส RSV โดยตรง ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการหรือการประคับประคอง เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้ไอละลายเสมหะ พ่นยาขยายหลอดลม เคาะปอด ดูดเสมหะออก เป็นต้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ ในบางรายอาจต้องใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจหากพบว่ามีภาวะออกซิเจนต่ำหรือระบบหายใจล้มเหลวค่ะ

    การป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

    ไวรัส RSV สามารถติดเชื้อและแพร่กระจายได้ง่ายโดยการสัมผัส ซึ่งสามารถป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสได้ดังนี้

    • รักษาความสะอาด หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อต้องสัมผัสหรือทำอาหารให้ลูกน้อย
    • การสอนให้ลูกรักษาสุขอนามัยส่วนบุลคล การล้างมือให้สะอาดก่อน-หลังรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
    • รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย สิ่งของเครื่องใช้และของเล่นให้สะอาด 
    • หลีกเลี่ยงการการพาลูกน้อยไปยังที่แออัด โดยเฉพาะในช่วงที่มีระบาดของเชื้อไวรัส
    • หากมีความจำเป็นต้องพาลูกไปสถานที่ชุมชน เช่น โรงพยาบาล ควรสวนใส่หน้ากากอนามัย
    • หากลูกป่วยเป็นหวัด ควรพักรักษาตัวให้หายก่อนไปโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และการพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงดื่มน้ำสะอาดมากๆค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ไวรัส RSV ระบาดหนักหน้าฝน เด็กเล็กต้องระวัง

    ไวรัส RSV ระบาดหนักหน้าฝน เด็กเล็กต้องระวัง

    ช่วงนี้ฝนตกอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เด็กๆเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะในเด็กเล็กซึ่งมีระบบภูมิต้านทานโรคยังไม่แข็งแรง และมีการระบาดหนักของเชื้อไวรัสอาร์เอสวี(RSV) หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเด็กเล็กต้องระวังค่ะ

    ไวรัส RSV คืออะไร

    RSV หรือ Respiratory syncytial virus เป็นไวรัสที่พบบ่อย เจริญเติบโตได้ดีช่วงที่มีอากาศชื้นและแพร่กระจายได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก อาการคล้ายกับไข้หวัดแต่มีความรุนแรงกว่า ในเด็กเล็กมักเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย อันตรายต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ

    สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส RSV

    การติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) สามารถติดต่อกันได้ง่ายๆจากการใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งผู้ป่วย เช่น การไอ จาม เป็นต้น โดยเชื้อไวรัสอาร์เอสวีเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูกและปาก เชื้อไวรัสพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝนและต้นฤดูหนาว ไวรัสแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการไอ หรือการจาม และจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง

    อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV

    การติดเชื้อไวรัส RSV ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจซึ่งมีอาการคล้ายกับโรคหวัด ได้แก่ คัดจมูก มีน้ำมูก มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ไอแห้ง เจ็บคอ ฯลฯ โดยเชื้อไวรัสนี้มีระยะการฟักตัว 4 – 6 วันหลังจากได้รับเชื้อ และสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคปอดบวม โรคหลอดลมฝอยอักเสบ เป็นต้น ซึ่งมักแสดงอาการดังนี้

    • ไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส เซื่องซึม เบื่ออาหาร
    • หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อยและหายใจลำบาก 
    • ไออย่างรุนแรง มีเสมหะข้นเหนียวมาก 
    • มีเสียงหวีดในปอด (จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว)
    • ปากหรือเล็บมีสีเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน

    หากลูกมีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีอาการแทรกซ้อนและทรุดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หยุดหายใจเป็นช่วงๆหรือหายใจล้มเหลวได้ค่ะ

    การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV

    การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV เป็นการรักษาตามอาการหรือการประคับประคอง เพื่อให้ระบบทางเดินหายใจดีขึ้นและป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ ในกรณีที่พบอาการรุนแรงหรือในผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เช่น การรับประทานยาลดไข้ ยาลดเสมหะหรือดูดเสมหะออก ลดอาการบวมของทางเดินหายใจ ในบางรายอาจต้องทำการพ่นยาเพื่อขยายหลอดลม อาจต้องและใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจหากพบว่ามีภาวะออกซิเจนต่ำหรือระบบหายใจล้มเหลว เป็นต้น 

    ภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อ RSV

    การติดเชื้อ RSV ในเด็กเล็ก อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบระยะยาวได้ เช่น โรคปอดบวมหรือหลอดลมฝอยอักเสบ ทำให้เกิดการอุดตันของระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อในหูชั้นกลาง โรคหอบหืด เด็กที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อ RSV รุนแรงมีความเสี่ยงระยะยาวในการพัฒนาเป็นโรคหอบหืดได้ ในบางรายอาจทำให้หัวใจลมเหลวเฉียบพลันและเสียชีวิตได้ค่ะ

    การป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

    เนื่องจาก RSV สามารถแพร่กระจายได้ง่ายโดยการสัมผัส และในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส RSV แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสได้ดังนี้

    • คุณพ่อคุณแม่ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสทารก
    • การสอนให้ลูกล้างมือให้สะอาดก่อน-หลังรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
    • รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย สิ่งของเครื่องใช้และของเล่นให้สะอาด 
    • หลีกเลี่ยงการการพาลูกน้อยไปยังที่แออัดในช่วงที่มีระบาดของเชื้อไวรัส
    • หากมีความจำเป็นต้องพาลูกไปสถานที่ชุมชน เช่น โรงพยาบาล ควรสวนใส่หน้ากากอนามัย
    • หากลูกป่วยเป็นหวัด ควรพักรักษาตัวให้หายก่อนไปโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น
    • หากผู้ปกครองเป็นหวัดควรหลีกเลี่ยงการกอดและจูบลูกจนกว่าจะหายดี
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และการพักผ่อนให้เพียงพอ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ไข้มาลาเรียในเด็ก

    ไข้มาลาเรียในเด็ก

    โรคไข้มาลาเรีย โรคร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและผู้ใหญ่ พบว่าเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มาลาเรียมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค การติดเชื้อนี้ทำให้เกิดไข้หนาวสั่นและมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในเด็กเล็ก โรคมาลาเรียสามารถรักษาได้ค่ะ แต่จะต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว เพราะถ้าหากติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและอาจทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ

    มาลาเรีย (Malaria) เป็นโรคมที่มียุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะ แพร่กระจายในเด็กเล็กและผู้ใหญ่ผ่านการกัดของยุงตัวเมียที่ติดเชื้อปรสิตที่เกิดจากเชื้อ พลาสโมเดียม (Plasmodium) ซึ่งทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายและส่งผลกระทบต่อเด็กรุนแรง เชื้อพลาสโมเดียมที่ทำให้เกิดโรคในคนมี 5 ชนิด ได้แก่

    • พลาสโมเดียมฟัลซิพารัม (P. falciparum) เป็นเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย
    • พลาสโมเดียมไวแว็กซ์ (P. vivax) เป็นเชื้อที่พบในเอเชียและละตินอเมริกา
    • พลาสโมเดียมโอวาเล่ (P.ovale) พบในหมู่เกาะแปซิฟิกและแอฟริกาตะวันตก
    • พลาสโมเดียมมาลาเรีย (P. malariae) เชื้อชนิดนี้ค่อนข้างหายากและเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการติดเชื้อเรื้อรัง
    • พลาสโมเดียมโนว์ไซ Z(P. Knowlesi)X พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การติดเชื้อชนิดนี้ส่งผลกระทบรุนแรงและรวดเร็ว

    นอกเหนือจากการถูกยุงกัด สาเหตุอื่นของมาลาเรียยังรวมถึงการถ่ายเลือดหรือการใช้เข็มร่วมกัน และคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อมาลาเรียอาจแพร่เชื้อไปสู่ลูกในครรภ์ก่อนหรือระหว่างการคลอด เรียกว่า มาลาเรียที่มีมาแต่กำเนิด มาลาเรียมีระยะฟักตัวระหว่าง 10 วันถึง 4 สัปดาห์หลังจากการติดเชื้อค่ะ

    อาการของโรคมาลาเรียในเด็ก

    ทารกที่ได้รับผลกระทบจากมาลาเรีย อาจมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน เช่น ไม่ไข้ ไอ เบื่ออาหาร ง่วงนอน หงุดหงิด กระสับกระส่าย ในบางรายมีอาการคลื่นไส้และท้องร่วง เป็นต้น ซึ่งอาการทั่วไปของโรคมาลาเรียในเด็กที่พบ ได้แก่

    • ไข้สูง หนาวสั่น ซึ่งการที่ร่างการมีอุณหภูมิสูงไม่จำเป็นต้องเป็นไข้ธรรมดา มันอาจบ่งบอกว่ามีการติดเชื้อหรือโรคร้ายแรงได้เช่นกันค่ะ
    • เบื่ออาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นวิธีที่ร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อและความรุนแรง
    • ปวดศีรษะเป็นเรื่องธรรมดาในเด็กทีมีไข้ร่วมด้วย
    • กระสับกระส่าย มาลาเรียสามารถทำให้เกิดอาการต่างๆในเด็ก ในบางคนมันทำให้เกิดอาการง่วงนอน และในขณะที่บางคนก็นอนไม่หลับค่ะ

    ภาวะแทรกซ้อนของโรคมาลาเรีย

    การติดเชื้อมาเลเรียอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ดังนี้

    • การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อสมอง อาจทำให้เกิดการบวมในสมองหรือนำไปสู่ความเสียหายของสมองอย่างถาวรหรืออาการโคม่าได้ค่ะ
    • อาการชัก หรือมาลาเรียในสมองเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในกรณีของการติดเชื้อ P. falciparum อย่างรุนแรง อาการของการติดเชื้อที่ซับซ้อนนี้รวมถึงอาการชักที่คาดเดาไม่ได้
    • ไตเสื่อม ในบางกรณีไข้มาลาเรียจะนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ P. falciparum บางครั้งแม้แต่ P. vivax และ P. malariae ก็มีส่วนทำให้การทำงานของไตในผู้ป่วยมาลาเรียเสื่อมถอยได้ค่ะ
    • โรคโลหิตจาง เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำออกซิเจนมาสู่อวัยวะในร่างกายได้อย่างเพียงพอ ทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอนตลอดทั้งวัน และมาลาเรียสามารถนำไปสู่โรคโลหิตจางรุนแรงได้ค่ะ
    • ปอดบวม หรืออาการบวมน้ำที่ปอด ในบางครั้งไข้มาลาเรียทำให้เกิดการกักเก็บของเหลวในปอดและอาจทำให้หายใจลำบากได้ค่ะ
    • ม้ามโตเป็นอาการที่พบบ่อยในมาลาเรีย
    • อวัยวะล้มเหลว ซึ่งรวมถึงไตตับสมองหรือปอดล้มเหลวและอาจถึงแก่ชีวิตได้ค่ะ

    การฟื้นตัวจากโรคมาลาเรียขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิดของมาลาเรีย ความรวดเร็วของการรักษาและภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย นอกจากนี้ชนิดของมาลาเรียจะกำหนดความรุนแรงและการติดเชื้อค่ะ

  • โรคงูสวัดในเด็ก

    โรคงูสวัดในเด็ก

    โรคงูสวัดเป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กแต่มักไม่มีอาการรุนแรงเทากับโรคงูสวัดในผู้ใหญ่ค่ะ โรคงูสวัดเกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกันที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสซึ่งติดต่อได้ง่ายค่ะ และเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ รวมถึงจะมีวิธีการดูแลรักษาโรคงูสวัดอย่างไร เรามาทำความรู้จักกับโรคงูสวัดในเด็กกันค่ะ

    โรคงูสวัดเป็นผื่นผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลล่า (Varivella zoster) ของเส้นประสาทใต้ผิวหนังและเป็นไวรัสชนิดเดียวกันที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส เชื้อไวรัสทำให้เกิดผื่นพุพองบนผิวหนังสามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย โรคงูสวัดในเด็กมักจะไม่รุนแรงสามารถรักษาให้หายได้ค่ะ และปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคงูสวัดคือ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอและผู้ที่ฟื้นตัวจากการเจ็บป่วยมีแนวโน้มที่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัดได้ง่าย เด็กที่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสก่อนอายุ 1 ปี รวมถึงขณะคุณแม่ตั้งครรภ์ป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสค่ะ

    อาการของโรคงูสวัดในเด็กนั้นมีอาการเหมือนกับโรคงูสวัดในผู้ใหญ่ค่ะ แต่มักมีอาการรุนแรงน้อยกว่าซึ่งอาการของโรคงูสวัดในแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันไปตามสุขภาพค่ะ และอาการเริ่มต้นของโรคงูสวัดด้วยความเจ็บปวด เสียวคันในบริเวณที่ผื่นกำลังจะขึ้น จากนั้นประมาณ 5 วันจะเริ่มมีตุ่มผื่นขึ้นจนกลายเป็นตุ่มพุพองตามแนวเส้นประสาทของผิวหนัง หลังจากนี้ 1 – 2 สัปดาห์ตุ่มหนองพุพองจะแตกออกและตกสะเก็ดค่ะ ในเด็กบางรายอาจมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลียหรือปวดที่ตุ่มพุพองร่วมด้วยค่ะ

    โรคแทรกซ้อนของโรคงูสวัดโดยทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นในเด็ก ได้แก่ การติดเชื้อที่ผิวหนังหากไม่รักษาความสะอาดของตุ่มแผล ปัญหาระบบประสาทและการสูญเสียการมองเห็นหรือสูญเสียการได้ยิน โรคงูสวัดที่อยู่บนใบหน้าหรือบริเวณรอบดวงตาสามารถนำไปสู่ความเสียหายอย่างรุนแรงได้ เนื่องจากเส้นประสาทตาและลูกตาอาจได้รับความเสียหายค่ะ และโรคงูสวัดอาจนำไปสู่โรคไข้สมองอักเสบได้ค่ะ

    การรักษาโรคงูสวัดในเด็ก

    การรักษาโรคงูสวัดในเด็กจะขึ้นอยู่กับอาการและสุขภาพโดยทั่วไปของเด็ก ซึ่งแพทย์ทำการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเพื่อลดความรุนแรงและป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมกับการทานยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดค่ะ

    การดูแลและควรหลีกเลี่ยงเมื่อเด็กป่วยโรคงูสวัด เพื่อบรรเทาอาการและป้องกันการแพร่เชื้อได้ดังนี้

    • การประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดแสบและการอักเสบจากผื่นพุพอง
    • การดูแลรักษาความสะอาดผิวหนังบริเวณที่เกิดตุ่มพุพอง เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนัง โดยการล้างแผลด้วยน้ำสบู่อ่อนๆและซับแผลให้แห้ง
    • เมื่อตุ่มพุพองแห้งควรใช้ผ้าพันแผลปิดตุ่มผื่นพุพองให้มิดชิด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไปสู่ผู้อื่น
    • เด็กที่ป่วยเป็นโรคงูสวัดควรให้เด็กหยุดเรียนจนกว่าแผลจะตกสะเก็ดและแห้งสนิทดี เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไปสู่ผู้อื่น
    • ไม่ควรสัมผัสบริเวณแผลที่เกิดขึ้น อาจทำให้เกิดการอักเสบและเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงได้
    • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

    โรคงูสวัดเป็นโรคติดเชื้อที่สร้างความเจ็บปวดมากให้กับลูกของคุณ ดังนั้นหากลูกของคุณมีอาการดังกล่าวหรือสงสัยของลูกอาจเป็นโรคงูสวัด ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

  • ลูกอาเจียนบ่อย

    ลูกอาเจียนบ่อย

    ลูกอาเจียนบ่อย
    ลูกอาเจียนหรืออ๊วกบ่อย เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยผ่านไปค่ะ เนื่องจากการอาเจียนเป็นอาการอย่างหนึ่งที่พบร่วมกับโรคต่างๆมากมาย เช่น โรคของทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ลำไส้อุดตัน โรคของระบบประสาท เช่น เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เนื้องอกในสมอง ภาวะน้ำคั่งในสมอง หรืออาจเกิดจากรับประทานยาบางอย่างก็ได้ การอาเจียนมักเกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ วันนี้เรารวบรวมสาเหตุหลักๆที่ทำให้เด็กอาเจียน ภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการดูแลลูกน้อยของคุณ

    ลูกอาเจียนบ่อยมักมีด้วยกันหลายสาเหตุตั้งแต่สาเหตุเล็กน้อยไปจนถึงสาเหตุหนัก โดยมีปัจจัยดังต่อไปนี้

    • โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ คือสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด อาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ไข้สูง ไซนัสอักเสบ คออักเสบ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น หากพบว่าลูกอาเจียนมีเลือดปนมาด้วยถือว่าอันตรายมากค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
    • การรับประทานอาหารมากเกินไป โดยพบว่าทารกที่กินนมแม่มากเกินไป จนทำให้ลูกอิ่มมาก นมล้นกระเพาะ ก็ส่งผลทำให้ลูกอาเจียนออกมาได้ หรือในกรณีที่เด็กอายุ 6 เดือนถึง 1 ขวบ ซึ่งมีการป้อนอาหารเสริมแล้วอย่างน้อย 1-2 มื้อต่อวัน หากคุณแม่ให้ทานมากเกินความต้องการของร่างกาย ก็เป็นสาเหตุทำให้ลูกอาเจียนได้เช่นกันค่ะ ส่งผลให้เด็กบางคนอาจเป็นกระเพาะคราก หรือเกิดภาวะของกรดไหลย้อนก็ได้ค่ะ
    • อาการท้องเสียและมีการอาเจียนร่วมด้วย ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหรือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร การอุดตันของกระเพาะ ลำไส้ หรือมีการอักเสบ ของทางเดินอาหาร ฯลฯ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้บ่อย ถ้าหากพบว่าลูกมีอาการซึม ปวดหัว หรืออาจมีไข้ร่วมด้วย คุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพราะหากปล่อยไว้จะยิ่งทำให้ร่างกายลูกสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างหนักได้ค่ะ
    • อาเจียนมากและบ่อยครั้งจากภาวะการติดเชื้อในตำแหน่งต่างๆของร่างกาย โรคติดเชื้อเฉียบพลันในเด็ก ซึ่งมักจะส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุล เนื่องจากร่างกายมีการต่อต้านอาหารและสิ่งที่ทานเข้าไปทำให้อาเจียนออกมาทุกครั้งที่ทานอะไรเข้าไป หรืออาเจียนระหว่างวันบ่อยๆ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันที หากปล่อยไว้จะทำให้ร่างกายลูกขาดน้ำและสารอาหารอย่างรุนแรงค่ะ
    • โรคของสมองและระบบประสาทที่กระตุ้นศูนย์ควบคุมการอาเจียนโดยตรง ในกรณีที่มีการอาเจียนติดต่อกันรุนแรงควรนึกถึงภาวะความดันในสมองสูง และโรคไมเกรนด้วยเสมอ ในผู้ป่วยที่มีอาเจียนพุ่ง โดยเฉพาะเวลาหลังตื่นนอน ร่วมกับมีอาการปวดศีรษะ ชัก กระหม่อมโป่งตึง หัวโต ฯลฯ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตดูว่าถ้าจู่ๆ ลูกอ้วกออกมา แล้วตามมาด้วยการมีไข้ขึ้นสูง ร้องไห้งอแงมาก และมีการชักจากไข้สูงก็อาจเกิดจากการมีภาวะติดเชื้อในสมอง หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ค่ะ

    อาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวังเมื่อมีการอาเจียนร่วมด้วยควรรับพาลูกไปพบแพทย์ทันที

    • ในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน เมื่อมีการอาเจียนหรือท้องเสียค่อนข้างมาก ควรพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดอันตรายจากการขาดน้ำ หรือการติดเชื้อรุนแรง เนื่องจากอาการของเด็กเล็ก จะสังเกตดูได้ยากกว่าเด็กโตค่ะ
    • มีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่คุยร่าเริง ร่างกายดูอ่อนเพลีย ในบางรายอาจดูกระสับกระส่ายสลับกับอาการซึม
    • การเต้นของหัวใจหรือชีพจรค่อนข้างเบาและเร็ว
    • ในกรณีอาจมีอาการชัก และซึมลงร่วมด้วย
    • กระหม่อมหน้าบุ๋มลึก หรือมีกระบอกตาลึก ริมฝีปากแห้ง
    • ร้องไห้ไม่ค่อยมีน้ำตาออกมา น้ำลายแห้ง
    • ผิวหนังไม่สดใส เหี่ยวย่น แห้งๆ
    • ไม่ค่อยปัสสาวะ หรือออกมาน้อย หรือดูที่ผ้าอ้อมลูกไม่มีปัสสาวะเปียกเลยหลายชั่วโมง (6-8 ชั่วโมง)

    การดูแลลูกในเบื้องต้นเมื่อมีการอาเจียนดังนี้

    • หากลูกมีอาการอาเจียนควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของการอาเจียนที่ถูกต้องและทันท่วงที เนื่องจากความรุนแรงของการอาเจียนในเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน และอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมาได้ เช่น ภาวะขาดน้ำ เสียสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
    • สำหรับเด็กที่อาเจียนไม่มาก โดยทั่วไปคุณหมอมักจะแนะนำให้ทานอาหารอ่อนย่อยง่ายในปริมาณที่ลดน้อยลงจากปกติ ให้ทานน้ำเกลือแร่ ORS เพื่อทดแทนเกลือแร่ที่เสียไปกับอาเจียน โดยให้จิบทีละน้อยแต่บ่อยๆ และทานยาแก้อาเจียนตามที่แพทย์สั่ง
    • สำหรับเด็กที่มีการอาเจียนมากหรือรุนแรง อาจต้องงดอาหารและให้น้ำเกลือแทน ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของอาการและสาเหตุที่ทำให้อาเจียนค่ะ ซึ่งในบางรายอาจรับประทานอาหารหรือน้ำไม่ได้เลย มีอาการซึมลง ขาดน้ำ กระหม่อมบุ๋ม ปากแห้งมาก ตาโหลหรือผิวหนังเหี่ยว แพทย์จะพิจารณาให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดต่อไปค่ะ

    การอาเจียนเป็นอาการแต่ไม่ใช่โรคต้องวินิจฉัยค้นหาสาเหตุ เพราะสาเหตุบางอย่างอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะการอาเจียนมักมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเสียความสมดุลค่ะ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

  • โรค 4S ภัยร้ายใกล้ตัวลูกน้อย

    โรค 4S ภัยร้ายใกล้ตัวลูกน้อย

    โรค 4S ภัยร้ายใกล้ตัวลูกน้อยที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง ลักษณะผิวหลุดลอกทั้งตัว บวมแดงปวดแสบปวดร้อนคล้ายถูกน้ำร้อนลวก หากรักษาไม่ถูกต้องและทันท่วงทีเสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด ถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ โรคSSSS คืออะไร ทำไมดูน่ากลัวจังและจะมีวิธีอย่างไรในการดูแลป้องกันลูกน้อย วันนี้แอดมินจะพาคุณแม่มารู้จักกับโรคนี้ค่ะ

    โรค 4S หรือ โรค SSSS (Staphylococcal scalded skin syndrome) พบบ่อยในทารกแรกเกิด หรือเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นกลุ่มอาการผิวหนังลอกทั้งตัว เกิดจากท็อกซินของเชื้อแบคทีเรีย S.aureus phage group II phage type 71 หรือ 55 เมื่อมีการติดเชื้อที่ผิวหนัง เชื้อจะสร้างสารพิษที่มีชื่อว่า exfoliation ทำให้เกิดตุ่มน้ำในระหว่างชั้นของหนังกำพร้า เกิดการอักเสบและแยกชั้นของผิวหนังบริเวณหนังกำพร้า เมื่อขนาดขยายใหญ่ขึ้นทำให้หนังกำพร้าชั้นบนหลุดลอกออกจากผิวหน้งชั้นล่างตลอดทั้งตัว และจากการวิจัยพบว่าเชื้อ S. aureus ที่ติดจากการสัมผัสโดยทางตรงและทางอ้อม เป็นสาเหตุอันดับ 3 ของการติดเชื้อในกระเเสเลือด พบอัตราการเสียชีวิตจากเชื้อนี้ได้ร้อยละ 26 จากการรักษาช้า เชื้อดื้อยา และจากการติดเชื้อที่รุนแรง

    อาการโรค SSSS
    โรค SSSS พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด นื่องจากไตไม่สามารถกำจัดทอกซินได้ อาการที่พบจะมีไข้ ผิวหนังแดงทั้งตัว โดยเฉพาะที่ตา รอบปาก เยื่อบุจมูก และลำคอ ร้องกวนและเวาลาจับตัวจะร้องเนื่องจากรู้สึกเจ็บ ตอมาจะพบมีตุ่มน้ำใส ผนังบาง เหี่ยวย่น โดยเฉพาะบริเวณซอกพับ หลังจากนั้น 24 – 48 ชั่วโมงต่อมา ตุ่นน้ำใสจะขยายใหญ่ขึ้น แล้วลอกออกมาเป็นแผ่นๆจนเห็นผิวหนังแดงๆ ถ้าถูบริเวณผิวหนังจะมีการลอกหลุดได้ง่าย หรือที่เรียกว่า Nikosky’s sign positive ดูคล้ายๆกับลูกถูกน้ำร้อนลวก จากนั้นผิวที่ลอกจะเริ่มแห้งเมื่อผิวหลุดลอกออกหมดและหายใน 5 – 7 วัน

    ภาวะแทรกซ้อน
    เนื่องจากผิวหนังลอกหลุดไปเกือบทั่วทั้งตัวจนเห็นชั้นผิวแดงๆด้านใน สิ่งที่ควรระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ คือการติดเชื้อ เนื่องจากผิวหลังที่หลุดลอกออกทำให้เชื้ออาจจะสามารถหลุดเข้าสู่ระบบเลือด หรือแพร่กระจายทางเลือดได้โดยตรง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ เช่น กระดูก ปอด และลิ้นหัวใจ

    การรักษาโรค 4S
    โรคนี้ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลและให้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดคลุมเชื้อแบคทีเรีย S.aureus ในเด็กทารกอาจจำเป็นต้องให้การรักษาในไอซียู ร่วมกับการให้น้ำเกลือเพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไป ล้างทำความสะอาดผิวหนังที่ลอก ทาด้วย moisturising cream และยาบรรเทาอาการปวดและลดไข้ ไม่ควรใช้ยา corticosteroids ในกลุ่มอาการผิวหนังลอกทั้งตัว ส่วนใหญ่ผิวหนังจะหายเป็นปกติภายใน 7 – 14 วัน โดยไม่มีแผลเป็นค่ะ

    ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกจะเป็นโรค 4s ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรหาซื้อยามาทาให้ลูกเอง เนื่องจากโรคนี้หากมีการรักษาที่ไม่ถูกต้องหรือได้รับรักษาไม่ทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ สำหรับการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ S. aureus คือการรักษาความสะอาด ล้างมือบ่อยๆ เนื่องจากโรคนี้สามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมค่ะ

  • โรคหัดกุหลาบ

    โรคหัดกุหลาบ

    โรคหัดกุหลาบ
    โรคหัดกุหลาบโรคใกล้ตัวเด็กๆ โรคนี้จะสวยงามเหมือนชื่อหรือไม่ และเป็นอันตรายค่อตัวลูกน้อยอย่างไร วันนี้แอดมินจะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับโรคนี้กันค่ะ ตามมาเลยจ้า….

    โรคหัดกุหลาบ (Roseolar Infantum) หรือ ส่าไข้
    โรคไข้ออกผื่นที่พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human Herpesvirus 6 (HHV-6) และ 7 (HHV-7) เป็นเชื้อไวรัสพวกเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริม เชื้อโรคหัดกุหลาบจะมีระยะฝักตัว 5 – 15 วันหลังจากได้รับเชื้อ ซึ่งสามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสเชื้อไวรัสที่มีอยู่ในน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยโรคหัดกุหลาบ เช่น การไอ จาม เป็นต้น

    อาการโรคหัดกุหลาบ ในระยะแรกเด็กจะมีไข้สูงเฉียบพลัน 39.5 – 40.5 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจทำให้เด็กชักได้ หรือตัวร้อนอยู่ตลอดเวลา ไม่มีอาการหวัดหรือไอ ไม่มีอาการซึมสามารถลุกขึ้นมาเล่นได้ทั้งๆที่มีไข้สูง หลังจากนั้น 3 วัน ไข้ลดลงก็จะมีผื่นเล็กๆ สีชมพูหรือสีแดงคล้ายกุหลาบขึ้นทั่วลำตัว ขนาด 2 – 5 มิลลิเมตร ไม่ก่อให้เกิดอาการคัน เมื่อเอามือกดผื่นจะจางซีดลง ในเด็กบางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย ตาแดง คอแดงหรือมีแผลอักเสบที่เพดานปาก ต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลังหูหรือท้ายทอยโต หรือมีการอักเสบที่แก้วหูร่วมด้วย เป็นต้น อาการจะดีขึ้นหลังจากผื่นขึ้น 2 – 3 วัน โดยที่ผื่นจะจางหายไปเองแต่ผิวหนังบริเวณที่ผื่นขึ้นจะลอกหรือมีรอยคล้ำตามมาโรคหัดกุหลาบนี้เมื่อเป็นแล้วมักจะไม่เป็นซ้ำอีกค่ะ

    การรักษาโรคหัดกุหลาบ จะเป็นการักษาตามอาการ เช่น เมื่อมีไข้ควรเช็ดตัวและให้ทานยาลดไข้ ยาแก้ท้องเสีย ดื่มเกลือแร่ เพื่อป้องการไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ เป็นต้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการลูก ระวังไม่ให้มีไข้ขึ้นสูงเพราะอาจทำให้เด็กชักได้ค่ะ เมื่อพบว่าเด็กมีอาการซึมลง 3-5 วันไข้ไม่ลดลง อาเจียน หายใจหอบ หรือไม่ปัสสาวะนานเกิน 4 – 6 ชั่วโมง ควรรีบพาเด็กไปโรงพยาบาลทันทีค่ะ

    ภาวะแทรกซ้อนโรคหัดกุหลาบ มักเกิดขึ้นเมื่อเด็กมีอาการชักจากไข้ขึ้นสูง ส่งผลต่อการทำงานของสมอง อาจทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ ปอดบวม และตับอักเสบได้

    การป้องกัน โรคหัดกุหลาบยังไม่มีวัคซีนป้องกันค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการพาเด็กคลุกคลีกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่ชุมชน เนื่องจากเด็กมีภูมิต้านทานเชื้อโรคต่ำทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายค่ะ รักษาสุขลักษณะการล้างมือด้วยน้ำสบู่ก่อนและหลังการรับประทานอาหาร และไม่เอามือเข้าปากค่ะ