Tag: ป้องกัน

  • ลูกสำลักนมบ่อย อันตรายหรือไม่

    ลูกสำลักนมบ่อย อันตรายหรือไม่

    คุณแม่หลายคนสงสัยว่าทารกจะสำลักน้ำนมได้หรือไม่?

    สำลักนม

    ลูกสำลักนมบ่อยๆ ปัญหาที่หลายๆคนอาจมองว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดได้กับเด็กทั่วไปจึงไม่ได้ให้ความสำคัญมากเท่าที่ควร แต่รู้หรือไม่ว่าการสำลักนมนั้น ส่งผลให้การหายใจของลูกผิดปกติและอาจทำให้ลูกน้อยเสียชีวิตได้ค่ะ ดังนั้นในบทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ในขณะที่ให้นมลูกน้อย

    การสำลักนมเกิดขึ้นในขณะที่ลูกดูดนมเข้าไปมากกว่าที่จะสามารถกลืนได้ในแต่ละครั้ง ทำให้นมส่วนที่ล้นออกมาเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ และอุดกั้นการเข้า-ออกของอากาศนำไปสู่การสำลักค่ะ

    การสำลักนมของลูกน้อย มักมีปัจจัยมากจากปริมาณน้ำนมมากเกินไป บางคนคิดว่าการมีน้ำนมมากๆดีกว่าการมีน้ำนมไม่เพียงพอ เพราะเมื่อคุณแม่มีน้ำนมในปริมาณที่มากอัตราการไหลของน้ำนมก็มักจะเร็วและเยอะขึ้นตามไปด้วย ซึ่งอาจทำให้ลูกน้อยกลืนไม่ทันกับน้ำนมที่ไหลออกมาค่ะ นอกจากนี้ยังรวมถึงท่าการให้นมที่ไม่ถูกต้องค่ะ

    ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยของคุณสำลักขณะให้กินนม

    เมื่อคุณแม่เห็นว่าลูกน้อยของคุณกำลังสำลักนม วิธีการปฐมพยาบาลในเบื้องต้นเพื่อขับน้ำนมออกจากการปิดกั้นทางเดินหายใจนั้น ควรทำด้วยความระมัดระวังเนื่องจากทารกมีร่างกายที่บอบบางมากค่ะ ควรเริ่มต้นด้วยการให้ลูกน้อยนอนราบกับพื้นหันศีรษะไปทางใดทางหนึ่ง หรือการจับให้ลูกนอนค่ำบนแขนของคุณแม่โดยให้ศีรษะต่ำลงเล็กน้อยค่ะเพื่อป้องกันนมไหลย้อนเข้าไปที่ปอด วิธีนี้เป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีสิ่งคอติดคอหรือลูกหายใจไม่ออก 

    วิธีป้องกันลูกสำลักในขณะกินนม

    การป้องกันการสำลักนม

    การป้องกันลูกสำลักนมมีเคล็ดลับง่ายๆดังนี้

    • การชะลอการไหลของน้ำนมจากการปั้มน้ำนมออกบ้างเพื่อลดการสะสมของน้ำนม เนื่องจากน้ำนมมีการสะสมมากเกินไปทำให้ไหลแรงเมื่อลูกน้อยดูด
    • สังเกตพฤติกรรมการดูดนมของลูกน้อยมีการดูดสม่ำเสมอหรือไม่ เพราะการอมน้ำนมไว้ไม่ยอมกลืนของเด็ก ทำให้น้ำนมในปากมีปริมาณมากส่งผลให้เกิดการสำลักน้ำนมได้เช่นกันค่ะ
    • การปรับท่านอนการกินนมให้ถูกต้องเหมาะสม ควรเอียง 45 องศาค่ะ เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำนมค่ะ
    • การให้ลูกเรอทุกครั้งหลังกินนมเสร็จ เพื่อป้องกันอาการท้องอืด น้ำนมไหลย้อนกลับ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหากรดไหลย้อนในเด็กได้ค่ะ
    • ในกรณีที่ลูกดูดนมจากขวดนม ควรหลีกเลี่ยงการใช้จุกนมที่มีรูขนาดใหญ่และไม่ควรปล่อยให้ลูกนอนเพียงลำพังค่ะ เพราะอาจเกิดการลำลักหรือผ้าปิดทางเดินหายใจได้ค่ะ

    การสำลักนมของลูกอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ แต่สามารถดูแลและป้องกันได้ค่ะ ดังนั้นคุณแม่ควรระมัดระวังในการดูแลลูกน้อยและที่สำคัญควรหมั่นสังเกตอาการและพฤติกรรมของลูกค่ะ หากพบความผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันทีค่ะ

  • โรคโลหิตจางในเด็ก

    โรคโลหิตจางในเด็ก

    โรคโลหิตจางในเด็ก
    สวัสดีค่ะคุณพ่อคุณแม่ วันนี้แอดมินมีสาระดีๆเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กๆมาฝากเช่นเคยค่ะ ในบทความนี้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ โรคโลหิตจางในเด็ก โรคอันตรายแต่สามารถป้องกันได้ แล้วจะป้องกันได้อย่างไรตามแอดมินมาเลยค่ะ

    โรคโลหิตจาง
    โรคโลหิตจาง

    ภาวะโลหิตจางหรือเลือดจาง(Anemia) หรือที่หลายๆคนเรียกว่า เลือดน้อย คือภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ หรือปริมาณฮีโมโกลบินในเลือดน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้การลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง โดยทำให้มีอาการซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย สึกเย็นตามมือและเท้า วิงเวียนศีรษะ และหน้ามืด โดยเฉพาะเมื่อลุกยืนกะทันหันหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ โรคโลหิตจางพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงแต่จะส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ เมื่อเด็กมีภาวะโลหิตจางสมองทำงานช้าลง เนื่องจากได้รับออกซิเจนจากเม็ดเลือดแดงน้อยลง ทำให้ไม่กระฉับกระเฉง เฉื่อยชา ไม่อยากเรียนรู้ และยังทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อต่างๆได้ง่าย ร่างกายเจริญเติบโตช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกัน

    สาเหตุการเกิดของโรคโลหิตจาง มีสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่

    • การสูญเสียเลือด อาจเกิดภาวะโรคหิตจางเฉียบพลันและซีดเรื้อรังเมื่อไม่ได้รับการรักษา เช่น อุบัติเหตุต่างๆ ฯลฯ หรือมีแผลเลือดออกเรื้อรัง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร แผลมะเร็งลำไส้ใหญ่ ฯลฯ รวมถึงการมีประจำเดือนผิดปกติ
    • การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะ โปรตีน เกลือแร่เหล็ก วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 และวิตามิน บี 12 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดงของร่างกาย
    • ผู้หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนแรก ซึ่งต้องการใช้เลือดมากขึ้นจากการเลี้ยงดูทารกในครรภ์ จึงทำให้ดูเหมือนไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดไม่พอรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในเลือด
    • ไขกระดูกลดการสร้างเม็ดเลือดแดง เนื่องจากไขกระดูกมีหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และเม็ดเลือดขาว เมื่อไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดได้ จึงทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดลดน้อยลง ในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับไขกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก หรือการติดเชื้อในไขกระดูก จะส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงเช่นกันค่ะ

    อาการของโรคโลหิตจางจะมีอาการแตกต่างกันไปออกไปตามสาเหตุและความรุนแรงของโรค โดยสามารถสังเกตจากผิวซีดหรือผิวเหลือง มือเท้าเย็น วิงเวียนศีรษะ หน้ามือ ปวดหัว เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย แม้จะเป็นการทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวัน หากพบว่าเด็กมีอาการผิวซีด ตาซีด เล็บบางเปราะและซีด ทานอาหารได้น้อยลง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นแรงผิดปกติ หายใจเหนื่อยหอบ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุให้โดยเร็วค่ะ

    ทานอาหารครบ5หมู่
    ทานอาหารครบ5หมู่

    การป้องกันและการรักษาโรคโลหิตจางในเด็ก เนื่องจากภาวะโลหิตจางมีลักษณะอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงจึงจำเป็นต้องทราบสาเหตุปัจจัยอื่นๆของภาวะโลหิตจางที่แน่ชัด เช่น ประเภทของโลหิตจาง สาเหตุการเกิด ระดับความรุนแรง ดังนั้นถ้าคุณแม่สงสัยว่าลูกอาจเป็นโรคโลหิตจางควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งแพทย์อาจให้ยาบำรุงเลือดมารับประทานค่ะ หลังจากนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลและป้องกันได้โดยการให้ลูกน้อยรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะโปรตีนและอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ สัตว์เนื้อแดง ไข่ เครื่องในสัตว์ ตับหมู ผักใบเขียว ธัญพืช และนม สำหรับเด็กแรกเกิดมักจะได้สารอาหารต่างๆรวมถึงธาตุเหล็กจากนมแม่อยู่แล้วค่ะซึ่งคุณแม่ควรกินอาหารที่มีธาตุเหล็กด้วยเช่นกันค่ะ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันลูกน้อยจากโรคหิตจางได้แล้วค่ะ

    โลหิตจางในเด็กป้องกันได้ง่ายๆ เริ่มจากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ โดยเริ่มจากโภชนาการที่เหมาะสมตามวัยของลูกน้อย และหากพบว่าลูกมีอาการดังกล่าวข้างหรือสงสัยว่าลูกอาจเป็นโรคโลหิตจางควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

  • ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก

    ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก

    โรคไวรัสลงกระเพาะ เสี่ยงลูกช็อคเสียชีวิต

    การรักษาไวรัสลงกระเพาะ

    ไวรัสลงกระเพาะยังไม่มีวิธีรักษาแบบเฉพาะเจาะจงค่ะ การรักษาจึงเป็นการประคับประคองตามอาการเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและพลังงานเป็นหลัก บางรายแพทย์อาจรักษาโดยให้น้ำเกลือและการใช้ยาบางชนิดร่วมด้วยค่ะ วิธีการดูแลอาการด้วยตนเองในระหว่างพักฟื้น สามารถทำได้ดังนี้

    • ทารกและเด็กหากมีอาการป่วยไม่รุนแรง ควรรับประทานอาหารตามปกติ ถ้าหากมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ควรให้ดื่มนมที่ไม่มีน้ำตาลแลคโตส เช่น นมถั่วเหลืองธรรมชาติ นมอัลมอนด์ และน้ำนมข้าว เป็นต้น
    • ดื่มน้ำมากๆ หรือการจิบน้ำเกลือแร่บ่อยๆในกรณีที่ดื่มน้ำยาก โดยเฉพาะหลังจากอาเจียนหรืออุจจาระเป็นน้ำ เพื่อช่วยเพิ่มพลังงาน ชดเชยเกลือแร่และน้ำในร่างกาย ป้องกันอาการอ่อนเพลียและภาวะขาดน้ำค่ะ
    • รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เพื่อลดการระคายเคืองและช่วยให้กระเพาะอาหารฟื้นตัว
    • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำผลไม้ เพราะน้ำผลไม้ไม่สามารถทดแทนเกลือแร่ที่เสียไปได้ค่ะ แต่จะทำให้ท้องเสียมากขึ้นได้ค่ะ
    • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันกับน้ำตาลสูง อาหารประเภทนม คาเฟอีน และแอลกอฮอล์
    • พักผ่อนมากๆ เพราะผู้ป่วยโรคนี้มักรู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย
    • ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยาบรรเทาอาการใดๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นซึ่งไม่ควรใช้ยาแอสไพรินเพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ และไม่ควรรับประทานกลุ่มยาปฏิชีวนะเพราะไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส

    ไวรัสลงกระเพาะจะมีระยะฟักตัวภายหลังจากเข้าสู่ร่างกายจนแสดงอาการอาจใช้เวลาสั้นๆเพียงไม่กี่ชั่วโมงจนถึง 2 วัน เริ่มจากการมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องทุกตำแหน่งของช่องท้อง ท้องเสียชนิดถ่ายเป็นน้ำ แต่ถ้าเป็นแบคทีเรียมักมีมูกเลือดในอุจจาระ อาจมีไข้สูงร่วมด้วย ในกรณีที่มีอาการรุนแรงจะมีภาวะขาดน้ำและพลังงาน (ปากแห้ง ตาโหล กระหม่อมบุ๋ม ชีพจรเต้นเร็วและเบา ความดันโลหิตต่ำ) อ่อนเพลียมาก ซึม กินหรือดื่มไม่ได้จะมีท้องเสียทุกครั้งที่ทานอะไรเข้าไป ท้องเสียหรืออาเจียนไม่หยุด เป็นต้น

    ไวรัสลงกระเพาะ คืออะไร

    ไวรัสลงกระเพาะ หรือหวัดลงกระเพาะและลำไส้ เป็นภาวะการติดเชื้อไวรัสในโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็ก โดยการสัมผัสกับสิ่งของปนเปื้อนเชื้อไวรัสและนำเข้าปาก หรือการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อโรค เชื้อไวรัสที่ก่อโรคไวรัสลงกระเพาะมีหลากหลายชนิดที่พบบ่อย ได้แก่

    • Norovirus เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในเด็กวัยเรียน และเป็นชนิดที่ก่อให้เกิดการระบาดในโรงเรียน
    • Rotavirus เป็นชนิดพบบ่อยที่สุดในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กเล็กและให้เกิดโรครุนแรง
    • Astrovirus มักพบโรคในเด็กอ่อนและเด็กเล็ก แต่อาการไม่รุนแรง
    • Adenovirus เป็นไวรัสที่มีหลากหลายสายพันธุ์ย่อย มักพบในอายุต่ำกว่า 2 ปี และมีความรุนแรงของอาการได้ตั้งแต่อาการน้อยไปจนถึงอาการรุนแรง ก่อให้เกิดโรคได้หลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ในระบบทางเดินอาหาร 

    ภาวะแทรกซ้อนของไวรัสลงกระเพาะที่พบบ่อยคือ ภาวะขาดน้ำจากการอาเจียน ท้องเสีย และดื่มน้ำไม่เพียงพอ ในทารกและเด็กเล็กจะมีอาการ ปากและลิ้นแห้ง ร้องไห้โดยไม่มีน้ำตา ไม่ปัสสาวะนานกว่า 3 ชั่วโมง มีไข้สูง เซื่องซึมหรือกระสับกระส่ายผิดปกติ ตาโหล แก้มตอบ หรือกระหม่อมบุ๋ม ทั้งนี้หากเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงอาจทำให้อวัยวะในร่างกายเสียหาย จนผู้ป่วยอาจช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้ ควรรีบพบแพทย์ทันที

    วิธีการดูแล

    เบื้องต้นเมื่อพบว่าลูกป่วย โดยการให้ยาระงับอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้อาเจียน ยาแก้ปวดท้อง ยาขับลม ฯลฯ ตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัช ให้ทานอาหารอ่อนย่อยง่าย ครั้งละน้อยๆ เช่น ข้าวต้มครั้งละ 5-6 คำ แต่ให้บ่อยๆหลีกเลี่ยงของมัน งดผัก ผลไม้ ไข่ นมวัว เปลี่ยนเป็นนมถั่วเหลือง หรือ lactose free formula เช่น Olac หรือ Similac LF หรือชงนมจางกว่าปกติโดยให้ดื่มครั้งละไม่เกินครึ่งหนึ่งของปริมาณปกติ เพื่อไม่ให้ลำไส้ทำงานหนัก และเมื่ออาการดีขึ้นต้องค่อยๆกลับไปทานอาหารตามปกติ อย่ารีบร้อนเปลี่ยนทันทีเพราะอาจกลับไปท้องเสียใหม่ได้ ให้ลูกจิบน้ำเกลือแร่ ORS เพื่อทดแทนของเหลวที่เสียไป จะได้ไม่มีอาการอ่อนเพลียจากเสียสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย คุณแม่ต้องคอยระวังก้นแดงจากการถ่ายบ่อย ต้องคอยเปลี่ยนผ้าอ้อมทันที อย่าแช่นาน และควรพาไปล้างก้นที่อ่างด้วยน้ำธรรมดา ไม่ควรใช้สำลีชุบน้ำหรือกระดาษเปียกเช็ดเพราะไม่สะอาดหมดจดและทำให้ผิวหนังถลอกได้ อาจทาวาสลีนหรือปิโตรเลียมเจลเคลือบผิวบริเวณก้น เพื่อช่วยบรรเทาการระคายเคือง ห้ามให้ยาหยุดถ่ายในเด็ก เพราะทำให้เชื้อโรคคั่งในร่างกายจนเป็นอันตราย หรือจะมีอาการปวดมวนท้องมากขึ้น และควรพาลูกพบแพทย์ทันที่เมื่อพบว่าลูกมียังมีอาการอาเจียนอยู่ทั้งที่ทานยาแก้อาเจียนแล้ว หรือไม่อาเจียนแล้ว แต่ก็ทานอะไรไม่ได้เลย ซึมลง อ่อนเพลียมาก มีอาการของการขาดน้ำและปัสสาวะออกน้อย ถ่ายอุจจาระมีมูกเลือด หรือกลิ่นแรงเหม็นคาว หรือถ่ายรุนแรงมากเป็นน้ำตลอดเวลา ควรนำอุจจาระไปโรงพยาบาลด้วย เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและเพาะเชื้อ

    การป้องกันไวรัสลงกระเพาะ

    • ล้างมือและซอกเล็บด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนและหลังการหยิบอาหารเข้าปาก
    • ควรรัประทานทานแต่อาหารที่ปรุงสุกและไม่มีแมลงวันตอม
    • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
    • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดหรือสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้เป็นโรคและล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสโรค
    • ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของโรคนี้ในเด็กเล็ก เป็นวัคซีนชนิดรับประทาน ให้ในเด็กอายุ 2 และ 4 เดือน
    • การให้ลูกดื่มนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารต้านไวรัสและแบคทีเรีย รวมถึงลดโอกาสการปนเปื้อนจากภาชนะที่ไม่สะอาด