Tag: ปวดท้อง

  • ติดเชื้อในกระเพาะอาหาร

    ติดเชื้อในกระเพาะอาหาร

    ติดเชื้อในกระเพาะอาหาร โรคทางเดินอาหารหรือโรคกระเพาะอาหารในเด็กมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เอชไพโลไร (H. pylori : Helicobacter pylori) เชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งรูปเกลียวที่พบในกระเพาะอาหาร ซึ่งทำลายกระเพาะอาหารและเนื้อเยื่อลำไส้เล็กส่วนต้นทำให้เกิดการอักเสบ แผลในกระเพาะอาหารและอาจกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารค่ะ

    อะไรคือสาเหตุของการติดเชื้อเอชไพโลไร

    การติดเชื้อเอชไพโลไรยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุทำให้ติดเชื้อดังกล่าว แต่สันนิษฐานว่าร่างกายรับเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรได้โดยตรงจากการสัมผัสเชื้อและนำเข้าสู่ร่างกายโดยการนำเข้าทางปาก ซึ่งรวมถึงการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียค่ะ

    อาการของเอชไพโลไร

    การติดเชื้อเชื้อ H. pylori ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการใดๆ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจอาจมีอาการระคายเคืองหรือการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร มักพบอาการต่างๆดังนี้

    • อาการไม่สบายท้อง เช่น ไม่สบายท้อง ท้องอืด เรอบ่อย ปวดหรือแสบร้อนท้องส่วนบนบริเวณเหนือสะดือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาท้องว่างหรือหลังรับประทานอาหาร เป็นต้น
    • เบื่ออาหาร
    • คลื่นไส้ อาเจียน
    • น้ำหนักลดผิดปกติ โดยไม่ทราบสาเหตุ
    • กรณีที่มีอาการรุนแรงส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือผนังลำไส้เล็กส่วนต้น มีปัญหาในการกลืน ปวดท้องเรื้อรัง อาเจียนมีเลือดปน หรืออุจจาระสีดำมีกลิ่นเหม็นรุนแรง

    ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร

    เนื่องจากการติดเชื้อเอชไพโลไรส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ เช่น

    • ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารและอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง
    • กระเพาะอาหารทะลุ 
    • กระเพาะอาหารอุดตัน ทำให้อาหารไม่สามารถเคลื่อนออกจากกระเพาะอาหารได้
    • การติดเชื้อที่เยื่อบุช่องท้องหรือภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
    • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร 

    การรักษาติดเชื้อ H. pylori

    การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการอายุและสุขภาพโดยทั่วไปของเด็กๆ รวมถึงภาวะรุนแรงของการติดเชื้อเอชไพโลไร โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลาหรือแบ่งรับประทานเป็นมื้อเล็กๆ เพื่อไม่ให้ท้องว่างติดต่อกันนานและยังช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้ค่ะ และการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย หรือในบางรายแพทย์อาจให้ยาลดกรดร่วมด้วย เพื่อยับยั้งกรดในกระเพาะอาหารสาเหตุของอาการระคายเคืองและแผลในกระเพาะอาหาร

    การป้องกันภาวะติดเชื้อในกระเพาะอาหาร

    การติดเชื้อในกระเพาะอาหารจนเกิดแผลในกระเพาะอาหารนั้น สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้โดยเริ่มต้นจากการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำทุกครั้งและก่อนเตรียมอาหารค่ะ รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารตรงเวลา อาหารที่ปรุงสุกใหม่ ดื่มน้ำสะอาด ลดการรับประทานอาหารที่มีรสจัดและน้ำอัดลมค่ะ

  • ลูกแพ้อาหาร อันตรายถึงชีวิต สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้

    ลูกแพ้อาหาร อันตรายถึงชีวิต สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้

    การแพ้อาหารพบบ่อยมากในเด็กเล็กค่ะ เมื่อถึงช่วงอายุที่ลูกน้อยต้องเริ่มรับประทานอาหารอื่นๆนอกเหนือจากนม ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ความกังวล การเลือกอาหารให้ลูกน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการแพ้อาหารในเด็ก ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรู้สัญญาณของปฏิกิริยาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้นค่ะ เนื่องจากการแพ้อาหารรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ

    การแพ้อาหารเป็นปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันที่มีผลหลังจากรับประทานอาหารบางชนิด ความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละคนค่ะ ซึ่งเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้อาการสูงคือ พ่อแม่หรือคนในครอบครัวมีประวัติการแพ้อาหาร หรือโรคหอบหืด อาการแพ้โดยทั่วไปมักจะแสดงอาการต่างๆ ดังนี้

    • ผื่นรอบปาก ผื่นคัน หรือผื่นคล้ายลมพิษตามร่างกาย ซึ่งเป็นอาการเบื้องต้นที่คุณสามารถสังเกตได้ในเด็กที่มีอาการแพ้ค่ะ
    • คันคอและลิ้น หรือดวงตา น้ำตาไหล
    • ใบหน้าริมฝีปากหรือลิ้นบวม
    • จามต่อเนื่อง มีน้ำมูกใสหรือจมูกอุดตัน
    • ไออย่างต่อเนื่อง 
    • คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
    • ปวดท้อง หรือท้องเสีย หากมีอาการท้องเสียต้องระมัดระวังภาวะร่างกายขาดน้ำค่ะ
    • ปัญหาระบบทางเดินหายใจ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจดังเสียงฮืด
    • หมดสติ ซึ่งอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ

    อาหารที่มักก่อให้เกิดอาการแพ้ที่พบได้บ่อยในเด็ก ได้แก่

    • ไข่ 
    • ถั่วเหลือง
    • นมวัว หรือที่เรียกว่า แพ้โปรตีนนมวัว
    • อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลาหมึก เป็นต้น
    • ธัญพืชต่างๆ เช่น งา วอลนัท,อัลมอนด์ เป็นต้น
    • ขาวสาลี หรือแป้งสาสี ซึ่งมักเป็นส่วนประกอบอาหารหลากหลายชนิด เช่น เบเกอรี่ สปาเก็ตตี้ ซาลาเปา มันฝรั่งทอด ขนมกรอบบางชนิด ฯลฯ

    การรักษาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นการรักษาตามอาหารและความรุนแรงค่ะ เช่น การทานยาแก้แพ้ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง หรือใบบางรายที่มีอาการแพ้เฉียบพลันหรือรุนแรงต้องได้รับการฉีดยาทันทีที่มีอาการค่ะ อาการแพ้อาหารในบางรายสามารถหายหรือรับประทานอาหารชนิดนั้นได้เมื่อโตขึ้นค่ะ

    ควรทำอย่างไรถ้าลูกมีอาการแพ้

    หากลูกน้อยของคุณจะแสดงอาการสัญญาณของการเกิดอาการแพ้อาหาร สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือ ให้ลูกของคุณหยุดทานอาหารนั้นทันทีพร้อมสังเกตอาการที่เกิดขึ้นค่ะ และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

    อาการแพ้อาหารในเด็กทารกสามารถลดหรือป้องกันได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

    • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยลดโอกาสของการแพ้เนื่องจากน้ำนมแม่นั้นอุดมไปด้วยแอนติบอดีจึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงค่ะ
      *ให้นมแม่นานขนาดไหน
      *อาหารสำหรับแม่ที่กำลังให้นมลูก
    • หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ก่อนอายุ 6 เดือนค่ะ
    • เด็กทารกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ ควรหลีกเลี่ยงของอาหารหรือนมสูตรถั่วเหลือง เนื่องจากโปรตีนจากถั่วเหลืองสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ในทารกได้ค่ะ
    • เมื่อเริ่มรับประทานอาการควรเริ่มให้ลูกทานครั้งละน้อยๆ พร้อมสังเกตอาการหลังรับประทานอาหาร รวมถึงลักษณะอุจจาระของลูกน้อย เนื่องจากเด็กบางรายอาจมีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลวจากการรับประทานอาหารบางชนิด
    • หากพบอาการผิดปกติหรือมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

    บทความที่เกี่ยวกับการแพ้อาหาร

    *ลูกแพ้อาหารผ่านนมแม่

  • โรคแพ้กลูเตน

    โรคแพ้กลูเตน

    โรคแพ้กลูเตน หรือโรคเซลิแอค (Celiac Disease) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองที่มีผลต่อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่เกิดจากการแพ้สารอาหารที่มีกลูเตน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบในสารอาหารบางชนิด เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์และข้าวสาลี เมื่อรับประทานอาหารที่มีกลูเตนระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองโดยการทำลายผนังลำไส้จนทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารต่างๆได้ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนการในเด็ก การขาดสารอาหาร การเพิ่มน้ำหนักไม่ดีและขาดพัฒนาที่เหมาะสมต่อตัวเด็กๆ

    สาเหตุของโรคเซลิแอค (Celiac Disease) 

    โรคเซลิแอค หรือโรคแพ้กลูเตน เป็นโรคทางกรรมกรรมพันธุ์ที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก หากญาติพี่น้องของคุณเป็นโรคแพ้กลูเตนมีโอกาส 5-10% ที่บุตรของคุณจะเป็นโรคเช่นกันค่ะ นอกจากนี้เด็กที่มีอาการดังต่อไปนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเซลิแอคได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเองบนผิวหนัง ดาวน์ซินโดรม เทอร์เนอร์ซินโดรม วิลเลียมส์ซินโดรม ภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบ แพ้ภูมิตัวเอง เป็นต้น

    อาการของโรคแพ้กลูเตนในเด็ก

    อาการแพ้กลูเตน มีความแตกต่างกันไปในแต่ละคนและอาจเป็นอาการที่คุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านมองข้ามเนื่องจากไม่แสดงอาการรุนแรง เช่น ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสียหลังจากรับประทานอาหารทันที เป็นต้น และในบางรายอาจไม่แสดงอาการใดๆ แต่ถึงอย่าไรก็ตามในเด็กที่แพ้กลูเตนการรับประทานอาหารที่มีกลูเตนทำให้เกิดความเสียหายต่อสำไส้เช่นกันค่ะ ในเด็กที่มีอาการแพ้กลูเตนที่พบได้บ่อยคือ ปวดท้อง ท้องป่องและบวม ท้องอืด มีแก๊สในลำไส้ อาหารไม่ย่อย อ่อนเพลีย  มีผื่นคันตามผิวหนัง แสบร้อนกลางอก ปวดข้อ ปวดกระดูก ความต้องการอาหารลดน้อยลด เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้พวกเขารู้สึกไม่สบายท้อง

    ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของโรคแพ้กลูเตนในเด็ก

    เนื่องจากการแพ้กลูเตนทำให้ลำไส้เล็กดูดซึมสารอาหารไม่ได้ ส่งผลให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการสร่างระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายอ่อนแอลง สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่างๆเด็กในระยะยาวได้ดังนี้

    • การขาดสารอาหาร เนื่องจากสำไส้เสียหายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
    • การเจริญเติบโตช้าและพัฒนาการล่าช้าเมื่อเทียบกับเด็กๆในวัยเดียวกัน
    • โรคกระดูกพรุนและการขาดแคลเซียม การดูดซึมของวิตามินดีและแคลเซียมไม่ดีทำให้กระดูกเปราะ
    • โรคมะเร็ง แม้ว่าสาเกตุของการเกิดโรคมะเร็งจากการแพ้กลูเตนจะน้อย แต่การรับประทานอาหารที่มีกลูเตนต่อไปเป็นเวลาสามารถนำไปสู่มะเร็งได้ค่ะ

    การรักษาโรคแพ้กลูเตน

    การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเซลิแอค (Celiac Disease) นั้นสำคัญมาก เนื่องจากหากไม่มีการรักษาที่เหมาะสมอาจพัฒนาภาวะแทรกซ้อนต่อไป เช่น โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็ง และโรคแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาแต่ได้เพียงรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นค่ะ โดยการงดรับประทานอาการที่มีกลูเตนค่ะ และในบางรายที่มีอาการรุนแรงแพทย์อาจใช้สเตียรอยด์เพื่อช่วยลดอาการอักเสบของลำไส้ เป็นต้น 

    การป้องกันโรคแพ้กลูเตนในเด็ก

    เนื่องจากโรคแพ้กลูเตเป็นโรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์จึงไม่สามารถป้องกันได้ อย่างไรก็ตามหากคุณลูกของคุณเป็นมีโรค celiac คุณสามารถป้องกันและสลความเสี่ยงเด็กๆจากอาการใดๆที่เกี่ยวข้องกับโรคได้ เช่น  หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตน ระวังสารอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตน รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ ผักและผลไม้เพื่อบรรเทาอาการท้องผูก เป็นต้น

  • โรคภูมิแพ้ คืออะไร

    โรคภูมิแพ้ คืออะไร

    โรคภูมิแพ้หรืออาการแพ้ หรือเรียกเป็นภาษาชาวบ้านแบบเราว่า “ความรู้สึกไวเกินไป” หรือจะบอกว่าเป็นปฏิกริยาที่มากเกินไปของระบบภูมิคุ้มกัน หรือระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ก็ว่าได้ เราสามารถแพ้อะไรได้หลายๆ อย่างเลย ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น ควัน ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่น อากาศ แสงแดด อาหาร สัตว์ หรือแม้แต่ภูมิแพ้ตัวเอง โรคนี้จะเกิดกับทารก หรือเด็กเล็กได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ อาการแพ้ก็อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ก็ได้และสามารถถ่ายทอดผ่านยีนส์จากพ่อแม่สู่ลูกๆ ได้เช่นกัน

    สัญญาณบอกอาการว่าเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่

    สัญญาณบอกอาการว่าเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่

    ความรุนแรงของอาการภูมิแพ้จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางคนอาจจะมีการคัน  จาม เป็นผื่น หายใจลำบาก อาเจียน หรือเป็นลม หมดสติ ในเด็กที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่นแพ้อาหาร แมลงมีพิษ หรือยารักษาโรคบางตัว ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับเด็กทารกมีสัญญาณที่บ่งบอกว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้คือ เป็นกลาก แพ้อาหาร หายใจเสียงดังฮืด ส่วนเด็กที่โตขึ้นจะมีอาการเป็นโรคหอบหืด และมีอาการแพ้ rhino conjunctivitis ซึ่งในเด็กมักจะมีอาการเป็นโรคภูมิแพ้หลายโรคและจะปรากฎเห็นได้ชัดเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น

    อาการทั่วไปของโรคภูมิแพ้

    น้ำมูกไหล

    • น้ำมูกไหล เยื่อบุโพรงจมูกมีอาการบวม หรือเรียกว่าเป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

    ไชซัสอักเสบ

    • มีอาการเจ็บในรูจมูก เรียกว่าเป็นไชซัสอักเสบภูมิแพ้

    มีอาการคันที่ตา

    • มีอาการคันที่ตา ตาแดง เยื่อบุตามอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นน้ำ

    อาการหอบหืด

    • จาม ไอ หอบหืด หายใจไม่สะดวก เนื่องจากมีอาการบวมอย่างรุนแรง หรือเรียกว่า อาการบวมน้ำที่กล่องเสียง

     การรับรู้การได้ยินบกพร่อง

    • การรับรู้การได้ยินบกพร่อง ทำให้รู้สึกเจ็บหู และมีอาการปวดร่วมด้วย เนื่องจากการขาดระบายน้ำที่ท่อยูสเตเรีย

    ผิวมีผื่น

    • ผิวมีผื่น คัน แดง เช่น กลาก หรือลมพิษ

    อาการปวดท้อง

    • ในระบบทางเดินอาหาร จะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย และมีอาการอาเจียน ร่วมด้วย
  • อาหารไม่ย่อยในเด็ก

    อาหารไม่ย่อยในเด็ก

    อาหารไม่ย่อยในเด็ก

    เด็กมักมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ง่าย แม้ว่าจะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ทั้งในเรื่องของอาหารและสุขอนามัยที่ดีของลูก โดยเฉพาะเด็กวันเข้าโรงเรียนที่จะต้องเผชิญกับองค์ประกอบภายนอกที่จะมีผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพ และหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยคืออาหารไม่ย่อยหรือปวดท้อง ดังนั้นบทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารไม่ย่อยในเด็ก สาเหตุและการดูแลรักษาค่ะ

    อาหารไม่ย่อยในเด็กคืออะไร

    อาการอาหารไม่ย่อยเกิดขึ้นที่ส่วนบนของท้อง เมื่อเด็กรับประทานอาหารมากเกินไปหรือเร็วเกินไปไม่เหมาะกับร่างกาย สามารถมาพร้อมกับอาการท้องอืด แสบร้อน การเรออย่างต่อเนื่องและคลื่นไส้ อาการอาหารไม่ย่อยในเด็กมักพบหลังมื้ออาหาร และไม่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงอาจหายไปในไม่กี่ชั่วโมง อย่างไรก็ตามหากเกิดซ้ำคุณแม่อาจต้องระบุสาเหตุที่แท้จริงและใช้มาตรการป้องกันการเกิดค่ะ

    สาเหตุของการอาหารไม่ย่อยในเด็ก

    อาหารไม่ย่อยมักจะเกิดขึ้นเมื่อกรดในกระเพาะอาหารที่จะมาทำลายเยื่อบุป้องกันของระบบย่อยอาหาร ซึ่งนำไปสู่การระคายเคืองของช่องท้องส่วนบน สาเหตุที่เกิดขึ้นเหล่านี้ควรได้รับการวินิจฉัยที่เหมาะสมเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมสำหรับเด็ก หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ถูกรักษาการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่สำคัญได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจสาเหตุของอาการอาหารย่อยในเด็กอาจเป็นกุญแจสำคัญ เพื่อป้องกันและบรรเทาอาหารที่ถูกต้อง สาเหตุทั่วไปของอาการอาหารไม่ย่อย ได้แก่

    • การใช้ยาบางชนิด อาหารไม่ย่อยสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากการใช้ยาบางชนิด มักจะเกิดขึ้นกับยาที่มีองค์ประกอบของไนเตรตซึ่งช่วยขยายหลอดเลือด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารทำให้กรดในกระเพาะอาหารรั่วไหล และเกิดการระคายเคืองเยื่อบุของระบบย่อยอาหาร หรือยาอื่นๆ เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ฯลฯ เนื่องจากยาเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของระบบย่อยอาหารและกรดในกระเพาะอาหาร
    • โรคอ้วน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็กและผู้ใหญ่จากนิสัยการรับประทานอาหารในปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อลูกของคุณเป็นโรคอ้วนมีแรงกดดันเพิ่มขึ้นภายในช่องท้อง ซึ่งอาจทำให้เกิดกรดไหลย้อนในหลอดอาหารในแต่ละครั้งที่ลูกของคุณรับประทานอาหาร
    • ความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนแม้กระทั่งกับเด็กๆก็ตาม อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการกินและการนอนหลับที่ผิดปกติ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การย่อยในเด็ก
    • โรคไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatus hernia) เป็นภาวะที่ส่วนของกระเพาะส่วนหนึ่งดันเข้าไปในกะบังลมปิดกั้นหลอดอาหาร สามารถทำให้เกิดการย่อยที่ไม่มีประสิทธิภาพและการไหลย้อนของกรดตามมา
    • การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) สาเหตุทั่วไปอีกประการของการย่อยอาหารบ่อยครั้งเกิดจากการติดเชื้อ อาจนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหารและมะเร็ง ดังนั้นหากลูกของคุณกำลังมีอาการอาหารไม่ย่อยบ่อยครั้ง ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจที่ถูกต้อง
    • โรคกรดไหลย้อน(GERD) เกิดขึ้นเนื่องจากมีอาการอาหารไม่ย่อยในเด็กซ้ำ ทำให้เกิดการอักเสบและการระคายเคืองของหลอดอาหาร อาหารไม่ย่อยจากสาเหตุนี้ต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
    • แผลในกระเพาะอาหาร ในกรณีที่กระเพาะอาหารของเด็กมีแผลเปิดซึ่งมีส่วนทำให้เกิดปัญหาอาหารไม่ย่อยได้เช่นกันค่ะ

    อาการอาหารไม่ย่อยในเด็ก

    อาการอาหารไม่ย่อยที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คืออาการไม่สบายบริเวณช่องท้องส่วนบน และจุดที่ควรทราบคืออาการส่วนใหญ่เกิดขึ้นทันทีหลังอาหารค่ะ ในกรณีที่อาหารไม่ย่อยอย่างรุนแรงลูกของคุณอาจบ่นถึงความเจ็บปวดที่ไม่สามารถทนทานได้ ซึ่งอาการทั่วไปของอาการอาหารไม่ย่อยคือ ท้องอืดรู้สึกอึดอัดในท้อง เรอหรือผ่านลมบ่อย กรดไหลย้อนที่เพิ่มขึ้นซึ่งทำให้อาหารหรือของเหลวออกจากกระเพาะอาหารกลับเข้าไปในปาก คลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ ในกรณีลูกของคุณมีอาการอาหารไม่ย่อยหลังอาหารเกือบทุกมื้อ และมีอาการอื่นๆร่วมด้วยควรพบแพทย์ ได้แก่ ลูกของคุณลดน้ำหนัก เบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก หายใจไม่ออกหรือเหงื่อออกโดยไม่มีเหตุผล มีอาการอาเจียนอย่างต่อเนื่อง อาเจียนหรืออุจจาระมีเลือดปน เป็นต้น

    การรักษาอาการอาหารไม่ย่อยในเด็ก

    แม้ว่าอาหารไม่ย่อยในเด็กส่วนใหญ่ไม่ต้องการการรักษาจากแพทย์ แต่ในกรณีที่อาการยังคงอยู่นานกว่า 2-3 ชั่วโมง ลูกของคุณรู้สึกไม่สบายรู้สึกเจ็บปวดมากคุณอาจต้องไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งคุณแม่จะต้องแจ้งรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับอาการอาการของลูก รวมถึงนิสัยการรับประทานอาหารของลูกและข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ลูกของคุณใช้ค่ะ

    การรักษาโดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการกดบริเวณรอบๆท้อง เพื่อทำความเข้าใจตำแหน่งของความเจ็บปวด ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยนี้เขาอาจกำหนดวิธีการรักษา หรือขอการตรวจสอบเพิ่มเติมในรูปแบบของการสแกน X-ray ช่องท้องหรือตรวจอุจจาระและปัสสาวะ เพื่อบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยในทันทีลูกของคุณ อาจได้รับยาลดกรดอ่อนเพื่อบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยค่ะ

    การป้องกันอาหารไม่ย่อยในเด็ก

    หากลูกของคุณมีระบบย่อยอาหารที่ละเอียดอ่อน สิ่งสำคัญคือคุณต้องกำหนดข้อจำกัดทางโภชนาการบางอย่าง อย่าให้ลูกกินอะไรผิดปกติที่ไม่เหมาะกับท้องของเขา และเคล็ดลับพื้นฐานในการป้องกันการย่อยในเด็ก ได้แก่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำมันในปริมาณสูง หลีกเลี่ยงช็อคโกแลตในปริมาณมาก ปลูกฝังนิสัยการกินช้าๆเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน มองหาวิธีที่จะทำให้ลูกของคุณมีความสุข อย่าปล่อยให้ลูกวิ่งหรือออกกำลังกายทันทีหลังอาหารมื้อใหญ่

    อาหารไม่ย่อยเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กและผู้ใหญ่หลายคนเช่นกันค่ะ อย่างไรก็ตามควรใช้ความระมัดระวังการดูแลเอาใจใส่กับรายละเอียด และสังเกตลูกของคุณว่าเขามีปฏิกิริยาอย่างไรกับอาหารที่แตกต่างกัน และควรแพทย์ทันทีเมื่อพบสิ่งผิดปกติที่เกิดกับลูกของคุณค่ะ

  • สาเหตุทั่วไปของอาการปวดท้องในเด็ก

    สาเหตุทั่วไปของอาการปวดท้องในเด็ก

    อาการปวดท้องมักสร้างความทรมานให้กับลูกของคุณ และเป็นเรื่องยากที่เราจะเข้าให้ถึงสาเหตุของการปวดท้อง แม้ว่าในบางครั้งลูกอาจบอกได้ว่าปวดบริเวณส่วนไหนของท้อง เนื่องจากอาการปวดท้องสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุตั้งแต่การกินอาหารที่มากไปจนถึงการแพ้อาหารค่ะ ดังนั้นบทความนี้จะมาพูดถึงสาเหตุของอาการปวดท้องในเด็กที่พบบ่อยค่ะ

    สาเหตุทั่วไปของอาการปวดท้องที่พบบ่อยในเด็ก

    • อาการท้องผูก เป็นสาเหตุของอาการปวดท้องที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก เนื่องจากการดื่มน้ำน้อยระหว่างวัน การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย และสัญญาณของอาการท้องผูกสังเกตได้จากพฤติกรรมการขับถ่ายลำบาก อุจจาระแข็ง เป็นต้น การบรรเทาอาการท้องผูกในเด็ก คุณแม่สามารถทำได้ด้วยการให้ลูกรับประทานอาหารที่ช่วยการอ่อนตัวของอุจจาระ เช่น น้ำลูกพรุน มะละกอสุก เป็นต้น ร่วมถึงการสวนก้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนดำเนินการค่ะ อาการท้องผูกสามารถป้องกันได้ด้วยการรับประทานที่มีกากใยอาหารสูง ดื่มน้ำสะอาดมากๆ เป็นต้น
    • ก๊าซในกระเพาะอาหารและลำไส้ อาการปวดท้องที่เกิดจากการสะสมก๊าซเป็นอีกปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็ก โดยมีสาเหตุจากนิสัยการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการสะสมของก๊าซในกระเพาะอาหารและสำไส้ การบรรเทาอาการก๊าซในกระเพาะอาหารได้แก่ ในเด็กเล็กการเรอหลังจากดื่มนมทุกครั้งหรือการนวดที่ท้องเบาๆ ในกรณีของเด็กโตอาจให้รับประทานโปรไบโอติก ช่วยในการบรรเทาแก๊สโดยช่วยรักษาแบคทีเรียที่ดีในระบบย่อยอาหาร
    • แพ้โปรตีนนมวัว อาการแพ้นมวัวในเด็กมักมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน ผื่นแพ้ขึ้น เป็นต้น ในบางกรณีเมื่อเด็กมีอาการแพ้นมอย่างรุนแรงอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ เด็กที่มีอาการแพ้นมมักจะได้รับผลกระทบจากผลิตภัณฑ์นมอื่นๆเช่นกันค่ะ ดังนั้นนมถั่วเหลืองจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเด็กที่มีอาการแพ้นม ในกรณีที่ลูกของคุณอาจแพ้นมวัวและนมถั่วเหลือง คุณควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อทดแทนนมด้วยอาหารอื่น เพื่อตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของเด็กค่ะ
    • อาการเมารถ เด็กหลายคนมีอาการเมารถในการเดินทางระยะไกล ส่งผลให้เกิดอาการไม่สบายท้องหรือคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย เชื่อกันว่าอาการเมารถเกิดขึ้นระหว่างสิ่งที่เห็นภายนอกและอวัยวะที่ไวต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่สัมพันธ์กัน และปัญหานี้สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการหยุดพักระหว่างการเดินทางบนท้องถนน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์และรับประทานอาหารที่เบา และสร้างความสดชื่นระหว่างการเดินทางค่ะ

    อาการปวดท้องในเด็ก ถือเป็นเรื่องปกติ แต่มักทำให้พ่อแม่กังวลใจมากเมื่อทำให้ลูกต้องทนทุกข์ทรมาน ดังนั้นการเข้าใจถึงสาเหตุเบื้องต้นของอาการปวดท้องในเด็ก ก็จะเป็นการป้องกันหรือบรรเทาอาการในเบื้องต้นของลูกของคุณได้ค่ะ

  • ภาวะลำไส้แปรปรวน

    ภาวะลำไส้แปรปรวน

    อาการไม่สบายตัวของลูกๆมักสร้างความไม่สบายใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ เพราะเราทุกคนอยากเห็นลูกแข็งแรงสุขภาพดีสมวัยค่ะ  แต่อาการเจ็บไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไรและมีอาการอย่างไร โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในเด็กค่ะ เช่น ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องผูก ท้องเสีย อาหารไม่ย่อย เป็นต้น ดังนั้นวันนี้เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มารู้จักกับภาวะลำไส้แปรปรวน ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในเด็กค่ะ

    ภาวะลำไส้แปรปรวน(ไอบีเอส) ไม่ใช่โรคแต่เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นภาวะที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่ายทำให้เกิดอาการไม่สบายท้อง แน่นท้อง ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย คลื่นไส้ เป็นต้น ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดภาวะลำไส้แปรปรวนค่ะ เบื้องต้นพบว่าเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อในลำไส้ผิดปกติ มีความผิดปกติในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อของลำไส้และสมอง การติดเชื้อแบคทีเรีย ความเครียด ความวิตกกังวล เป็นต้น

    อาการของภาวะลำไส้แปรปรวนที่เด่นชัดคือ อาการปวดท้องบริเวณกลางท้องหรือช่องท้องส่วนล่างและอาการอื่นที่พบได้แก่ แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในท้องมาก ท้องเสีย ท้องผูก ท้องผูกสลับกับท้องเสีย อุจจาระไม่สุด อั้นอุจจาระไม่อยู่ และเด็กบางรายพบอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะร่วมด้วย เป็นต้น ซึ่งอาการปวดท้องมักจะดีขึ้นเมื่อได้ขับถ่าย นอกจากนี้หากพบอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น อุจจาระมีเลือดปน  ฯลฯ ควรรีบพาลูกพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

    การวินิจฉัยภาวะลำไส้แปรปรวนในเด็ก แพทย์จะทำการสอบถามประวัติเบื้องต้นเช่น ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา ลูกของคุณมีอาการเกี่ยวกับสำไส้หรือไม่ ถ่ายเป็นเลือด น้ำหนักลง ฯลฯ รวมถึงการตรวจร่างกายเช่น การตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบว่าลูกของคุณมีภาวะโลหิตจาง หรือเจ็บป่วยที่เกิดจากการอักเสบหรือไม่ การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็กส่วนต้นและกระเพาะอาหาร การเอกซเรย์ช่องท้อง การตรวจอุจจาระ การทดสอบการแพ้แลคโตสและการแพ้กลูเตน เป็นต้น

    การรักษาอาการลำไส้แปรปรวน เนื่องจากไม่มีการรักษาเฉาะเจาะจงภาวะที่เกิดขึ้น ดังนั้นการรักษาจึงเป็นเพื่อบรรเทาอาการและช่วยให้ลูกของคุณกลับสู่กิจกรรมประจำวันตามปกติ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารที่มีเส้นใย สำหรับเด็กที่มีอาการท้องผูกควรดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงอาหารย่อยยากเพื่อลดแก๊สในท้องและลดอาการท้องอื่น เป็นต้น การรับประทานยากแก้ปวดท้องเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็ง ยาระบายสำหรับเด็กที่มีอาการท้องผูก เป็นต้น