ทำอย่างไรเมื่อลูกโดนน้ำร้อนลวก
เด็กๆเป็นช่วงวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นและชอบที่จะสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวเสมอ และด้วยความไร้เดียงสาซึ่งไม่รู้ว่าสิ่งไหนก่อให้เกิดอันตรายจึงมักจะเกิดอุบัติเหตุได้บ่อยครั้งค่ะ และอุบัติเหตุจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวกเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่พบได้บ่อยในเด็กอายุ 5 เดือนถึง 3 ขวบ ในบางรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากความประมาทของผู้เลี้ยง ดังนั้นหากเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้น้ำร้อนลวกควรทำอย่างไร วันนี้เรามีวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาฝากค่ะ อุบัติเหตุน้ำร้อนลวกในเด็กที่พบบ่อยมักเกิดจากการคว้าหยิบจับกาต้มน้ำ เครื่องดื่มหรืออาหารร้อน รวมถึงเครื่องทำน้ำอุ่นในขณะอาบน้ำ เมื่อสัมผัสผิวของลูกน้อยโดยเฉพาะในเด็กเล็กมักเกิดความรุนแรงมากกว่าในช่วงวัยอื่นๆ โดยแบ่งระดับความรุนแรงของของแผลน้ำร้อนลวกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ – ความรุนแรงระดับที่ 1 (First Degree Burn) เป็นการเผาไหม้ที่อ่อนโยนที่สุดและเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดเมื่อเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้น้ำร้อนลวกคือ ผิวหนังมีสีแดงและอาจบางครั้งก็บวมและเจ็บปวดเล็กน้อยซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการถูกแดดเผา เนื่องจากเส้นประสาทที่อยู่ใต้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง ผิวชั้นนอกเท่านั้นที่จะได้รับความเสียหายค่ะ – ความรุนแรงระดับที่ 2 (Second Degree Burn) ในระดับนี้จะมีความรุนแรงกว่าการเผาไหม้ระดับแรก เนื่องจากชั้นใต้ผิวหนังได้รับผลกระทบด้วย ทำให้เกิดแผลพุพอง บวมแดงและปวดแสบแผลมาก – ความรุนแรงระดับที่ 3 (Third Degree Burn) การเผาไหม้ที่รุนแรงที่สุดอุณหภูมิสูงจะส่งผลให้การบาดเจ็บลึกลงไปใต้ชั้นผิวหนัง ผิวบริเวณที่ถูกเผาไหม้จะสีดำไหม้ หนังลอกจนเห็นผิวเนื้อสีขาว เส้นประสาทบนผิวหนังถูกทำลายซึ่งสร้างความเจ็บปวดอย่างรุนแรงให้กับเด็กๆ ทำอย่างไรเมื่อลูกถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก การปฐมพยาบาลในเบื้องต้นเมื่อลูกถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ก่อนไปพบแพทย์ดังนี้ – ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการแยกออกจากแหล่งความร้อนโดยเร็วที่สุดค่ะ […]