การดูแลเด็กแรกเกิด สำหรับพ่อแม่มือใหม่ : 7 อาการผิดปกติต่างๆ ในร่างกายของเด็กแรกเกิด
อาการผิดปกติของเด็กแรกเกิดมีมากมาย เนื่องจากร่างกายของเด็กแรกเกิดอยู่ในช่วงกำลังปรับสภาพให้คุ้นชินกับสิ่งแวดล้อมนอกครรภ์ของคนเป็นแม่ ซึ่งอาการผิดปกติบางอย่าง เป็นเรื่องปกติที่เด็กทารกจะเป็น และเมื่อเด็กทารกโตขึ้นไปสักระยะ ร่างกายก็จะเข้าที่และเป็นปกติค่ะ ตาเอก หรือ ตาเข (Premier or squint eye) เด็กแรกเกิดในช่วงเดือนแรก ตาดำของเด็กอาจจะเลือนเข้าไปด้านในสุด หรือนอกสุด ทำให้เห็นว่าลูกอาจเป็นตาเข หรือตาเอก แต่คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะในเดือนแรกของเด็กบริเวณกล้ามเนื้อตายังไม่แข็งแรง การทำงานยังไม่ดี แต่เมื่อเด็กโตขึ้น ดวงตาก็จะกลับมาตรงเองค่ะ แต่อย่าเพิ่งวางใจ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตแล้วว่าดวงตาของลูกเขอยู่ตลอดเวลา ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจ และหาแนวทางแก้ไข เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นผลร้ายต่อดวงตาของลูกได้ เพราะตาเขจะทำให้ลูกมองทุกอย่างเป็น 2 วัตถุเสมอ สมองอาจสั่งงานให้ลืมภาพจากตาข้างหนึ่งเพื่อจะได้เห็นภาพเดียว นานๆเข้าตาข้างนั้นก็เลยเข รับภาพได้แต่สมองสั่งงานไม่รับภาพ กลายเป็นตาบอดทั้งที่ไม่ได้บอดจริง เสียงหายใจดัง (Loud breathing) เด็กแรกเกิดสามารถนอนกรนได้ จะมีลักษณะคล้ายกับเสียงกรนของผู้ใหญ่ เพราะเด็กแรกเกิด ร่างกายของเด็กยังไม่สามารถควบคุมเพดานอ่อน จึงทำเกิดเสียงดังในเวลานอนหลับ เสียงดังอีกอย่างในขณะที่เด็กแรกเกิดหายใจ อาจเกิดมาจากหลอดกล่องเสียง (Larynx) อ่อน ทำให้เวลาที่เด็กหายใจ จะเกิดเสียงดังจากในหลอดที่อยู่บริเวณลำคอ (Stridor) ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเด็กทารก ที่กำลังหลับสบายดี แต่แค่การหายใจเสียงดังจึงทำให้พ่อแม่เป็นกังวล โดยเฉพาะเวลานอนหงายจะเกิดได้มากกว่านอนคว่ำเมื่อโตขึ้นก็จะหายไปเอง แต่สิ่งที่ควรคอยระมัดระวังจริงๆ […]