จุกหลอกอีกหนึ่งอุปกรณ์สำหรับทารก ซึ่งมีทั้งประโยชน์ในการใช้งานแต่ในขณะเดียวกันจุกนมหลอกข้อดีและข้อเสียเช่นกันค่ะ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรทราบถึงข้อดีและข้อเสียของการใช้จุกนมหลอก ซึ่งมีหลายสิ่งที่พ่อแม่มือใหม่ต้องระวังและพิจารณาถึงความเหมาะสมให้ลูกน้อยได้ใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัยค่ะ
จุกนมหลอก คืออะไร
จุกหลอก หรือที่เรียกว่าจุกนมหลอก อุปกรณ์ที่ช่วยให้ทารกรู้สึกผ่อนคลาย เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กชั่วคราว ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ สีสันสดใสและขนาดให้เลือกตามความเหมาะสะ โดยจุกหลอกเด็กๆสามารถเริ่มใช้ได้ตั้งแต่อายุ 3 – 4 สัปดาห์ แต่ควรให้ทารกคุ้ยเคยกับการดูดนมจากเต้านมแม่หรือขวดเสียก่อน หรือจุกหลอกลักษณะใกล้เคียงกับนมแม่หรือจุดขวดนมค่ะ และควรเลิกใช้จุกหลอกตั้งแต่อายุ 2 ปีเป็นต้นไปค่ะ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากค่ะ
ข้อดีของจุกนมหลอก
จุกนมหลอกมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับพ่อแม่มือใหม่ และสำหรับทารกบางคนจุกนมหลอกเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความพึงพอได้ค่ะ ช่วยบรรเทาอาการจุกจิกของทารกได้ ทารกบางคนมีความสุขที่สุดเมื่อได้ดูดบางสิ่งบางอย่าง เบี่ยงเบนความสนใจของเด็กชั่วคราว นอกจากนี้จุกนมหลอกมีประโยชน์หลายประการซึ่งรวมถึง
- ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะไหลตายในทารก(SIDS) การใช้จุกนมหลอกช่วยลดความเสี่ยงของปัญหานี้ ในขณะที่ทารกดูดยางกัดในตอนกลางคืนจะช่วยให้สมองของทารกได้ทำงานและลดความเสี่ยงไม่ให้หยุดหายใจค่ะ
- ความสะดวกสบายในระหว่างการเดินทาง โดยเฉพาะเดินทางร่วมกับผู้อื่น เช่น เครื่องบิน เป็นต้น คุณต้องเคยได้ยินเด็กทารกบนเครื่องบินร้องไห้บ่อยๆ การให้ทารกดูดจุกนมหลอกช่วยลดปัญหาเสียงรบกวนผู้อื่น อีกทั้งยังช่วยรักษาความดันหูของทารกให้คงที่ลดอาการปวดหูที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดันค่ะ
- กระตุ้นให้ทารกปลอบตัวเอง จุกนมหลอกสามารถช่วยให้ทารกเรียนรู้ที่จะควบคุมความรู้สึกผ่อนคลายและทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย
อะไรคือข้อเสียของจุกนมหลอก
แม้ว่าจุกนมหลอกจะมีประโยชน์สำหรับคุณแม่และลูกน้อย แน่นอนว่าจุกหลอกก็มีข้อผิดพลาดเช่นกัน อาทิเช่น
- เพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในหู เมื่อจุกหลอกไม่ได้รับการทำความสะอาดหรือทำความสะอาดไม่เพียงพอ
- การใช้จุกนมหลอกเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดปัญหาทางทันตกรรม ปัญหาฟันขึ้นผิดปกติในช่องปาก
- ปัญหาด้านการพูด จุกนมหลอกอาจรบกวนการเจริญเติบโตและพัฒนาการในช่องปากของทารก ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการพูดได้ค่ะ
- การใช้จุกนมหลอกอาจรบกวนการให้นมบุตร เนื่องจากทารกบางคนมีความไวต่อความแตกต่างระหว่างนมแม่ ขวดนมหรือจุกหลอก
คำแนะนำและสิ่งที่ไม่ควรทำในการใช้จุกหลอก
หากคุณพ่อคุณแม่เลือกที่จะให้ลูกน้อยจุกนมหลอกให้คำนึงถึงเคล็ดลับเหล่านี้
- ควรฆ่าเชื้อด้วยการต้มในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที
- ไม่ควรบังคับลูกให้ใช้จุกหลอกหากลูกของคุณไม่อยากใช้ค่ะ
- อย่าใส่อะไรบนจุกหลอกเพื่อกระตุ้นให้ลูกน้อยใช้จุกนมหลอก เช่น น้ำผึ้ง ฯลฯ
- ควรซื้อจุกนมหลอกแบบชิ้นเดียวเสมอ ห้ามใช้จุกนมที่ชำรุด เพื่อป้องกันการหลุดออกจากกันและหลุดเข้าคอลูกน้อยได้ค่ะ
- หลีกเลี่ยงการใช้คล้องสายจุกหลอก อาจทำให้สายรัดคอเด็กและเป็นอันตรายได้ค่ะ
- ห้ามใช้จุกหลอกร่วมกับผู้อื่น เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคต่างๆค่ะ
ความเสี่ยงของการใช้จุกนมหลอกเริ่มมีมากกว่าประโยชน์เมื่อลูกน้อยของคุณอายุมากขึ้น สิ่งสำคัญของการใช้จุกหลอกคือ เรื่องของความสะอาดและตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ชำรุดเสียหายค่ะ ดังนั้นควรทำความสะอาดและต้มฆ่าเชื้อเป็นประจำด้วยน้ำเดือดประมาณ 5 นาที เลือกวัสดุที่ปลอดสารบิสฟีนอล-เอ และขนาดให้เหมาะสมกับวัยและปากของเด็กค่ะ