Tag: คลอดก่อนกำหนด

  • คุณแม่ผ่าคลอดท้องแรก แล้วท้องสองต้องผ่าคลอดด้วยหรือไม่

    คุณแม่ผ่าคลอดท้องแรก แล้วท้องสองต้องผ่าคลอดด้วยหรือไม่

    ในกรณีที่เคยที่คุณแม่ผ่าคลอดมาแล้ว แพทย์จะผ่าตัดคลอดให้อีกในครรภ์ถัดๆไป เพราะบริเวณรอยต่อระหว่างคอมดลูกกะบปากมดลูกด้านล่างซึ่งเป็นรอยแผลผ่าตัดเดิมจะมีความบางตัวมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้าสู่ระยะเจ็บครรภ์คลอด อาจเสี่ยงต่อการปริหรือแตกได้ ทำใหเกิดความเสี่ยงต่อภาวะมดลูกแตก ทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์และมารดาอาจเสียชีวิตจากการเสียเลือดได้

    ทั้งนี้ไม่ได้เกิดภาวะดังกล่าวกับสตรีตั้งครรภ์ทุกราย ในต่างประเทศก็ยังมีการลองให้คุณแม่ที่ไม่มีภาวะอุ้งเชิงกรานแคบและเคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในครรภ์ก่อนเนื่องจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ทารกท่าก้น (ทารกที่คลอดท่าก้น) เป็นต้น ให้ลองคลอดเองในครรภ์ถัดไป โดยแพทย์จะต้องเป็นผู้ที่เฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาในขณะที่คุณแม่เจ็บครรภ์มาโรงพยาบาลหรือเข้าสู่ระยะการคลอด เพราะคุณแม่และทารกจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการแตกของมดลูกได้ตลอดเวลา

    ในประเทศไทยสูติแพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ผ่าตัดคลอดถ้าเคยมีประวัติการผ่าตัดคลอดมาก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น

    ถ้าคุณแม่มีการตั้งครรภ์ในครั้งถัดไปก็น่าจะได้รับการผ่าตัดคลอดอีกค่อนข้างแน่นอน ยกเว้นสูติแพทย์ที่ดูแลคุณแม่อยู่จะสามารถให้การเฝ้าคลอดได้ในช่วงเข้าสู่ระยะการคลอด จึงควรปรึกษาแพทย์อีกครั้ง

    อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรเตรียมตัวและเตรียมใจให้พร้อมเพื่อที่จะสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และฟื้นตัวได้ดีในช่วงหลังคลอดโดยการผ่าตัด ความจริงแล้วการผ่าตัดคลอดไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะหัวใจของการประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือการให้ลูกดูดนมแม่ให้เร็วที่สุด ดูดบ่อย และดูดถูกวิธี หลังการผ่าตัดอาจจะมีอาการเจ็บแผลบ้าง แต่ก็สามารถจัดท่าให้ลูกดูดนมแม่ได้เช่นกัน

    นอกจากนี้ การระงับความเจ็บปวดโดยการฉีดยาและการรับประทานยาก็ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้คุณแม่มีความสบายตัวมากขึ้นด้วย ส่วนใหญ่แพทย์จะให้น้ำเกลือและใส่สายสวนปัสสาวะนานประมาณ 24 ชั่วโมง และจะเอาสายน้ำเกลือและสายสวนปัสสาวะออก จากนั้นคุณแม่จะรู้สึกสบายตัวขึ้น โดยทั่วไปพยาบาลจะนำลูกมาให้ดูดนมคุณแม่ทันทีในช่วงหลังคลอดคุณแม่จะต้องปรับเปลี่ยนท่าท่างที่เหมาะสม โดยอาจจะนอนตะแคงตัวเพื่อให้ลูกมาดูดนมกระตุ้นการสร้างและการไหลของน้ำนม

    ถ้าเจ็บแผลก็ใช้ยาบรรเทาอาการเป็นระยะๆและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปพร้อมๆกัน หลังผ่าตัดคลอดประมาณ 24-48 ชั่วโมง คุณแม่จะสบายขึ้นมากและสามารถให้ลูกดูดนมแม่ได้มากและนานขึ้นเรื่อยๆ

    คุณแม่ควรควรทำใจให้สบายในช่วงตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ตลอดจนในช่วงที่คลอดและเข้าสู่ระยะหลังคลอด ถ้ามีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ก็จะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การฟื้นตัวอาจจะช้ากว่าการคลอดเองสัก 24 ชั่วโมง แต่สุดท้ายก็สามารถให้ลูกดูดนมแม่ได้เหมือนกัน

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คนท้องเดินทางอย่างไรให้ปลอดภัย

    คนท้องเดินทางอย่างไรให้ปลอดภัย

    สำหรับคนท้องแล้วการเดินทางต่างๆย่อมเป็นเรื่องยาก เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อเด็กในท้องได้ โดยเฉพาะช่วง 4 เดือนแรกที่ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะครรภ์ยังไม่แข็งแรงเสี่ยงอาการแท้งลูกได้ทุกเมื่อ แต่ใช่ว่าจะไม่สามารถเดินทางไปไหนได้เลยสะทีเดียว ในครั้งนี้เรามีเคล็ดลับคนท้องจะเดินทางอย่างไรให้ปลอดภัย

    เมื่อคุณแม่มีความจำเป็นที่ต้องเดินทาง อย่างแรกที่คุณแม่ต้องทำคือ หยุดความวิตกกังวัลและเข้าใจสะใหม่ว่าการตั้งครรภ์ไม่ใช่การป่วย หากคุณหมอไม่ได้สั่งให้เดินทางหรือต้องระวังเป็นพิเศษ คุณแม่ก็สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ แต่ก็จำเป็นต้องเตรียมเนื้อเตรียมตัวมากกว่าคนอื่นมากกว่าคนอื่นทั้งก่อนเดินทาง ระหว่างเดินทาง และหลังการเดินทาง จำเป็นต้องมีการวางแผนเพื่อความปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่เองและเด็กที่อยู่ในครรภ์

    คนท้องแบบไหนไม่ควรเดินทาง

    จะมีคนท้องในบางคนที่คุณหมอจะแนะนำว่าไม่ควรเดินทางเพราะเพื่อความปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่และเด็กในท้อง ซึ่งจะมีลักษณะ ดังนี้

    • คุณแม่ที่คาดว่าจะตั้งครรภ์เป็นลูกแฝด
    • คุณแม่ที่เคยที่ประวัติการแท้งลูกมาก่อน คาดว่าอาจคลอดก่อนกำหนด มีความดันโลหิตสูง เป็นเสี่ยงที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากคุณแม่ที่มีความเสี่ยงดังกล่าว ไม่ควรที่จะเดินทางอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการเดินทางในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะคุณแม่จะมีความเสี่ยงที่จะแท้งลูกได้ และอาจมีอาการเพลียที่ผลมาจากการแพ้ท้อง และอีกช่วงที่ไม่ควรเดินทางคือช่วง 3 เดือนหลังก่อนการคลอด เพราะอาจทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด และมีความเสี่ยงที่จะมีความดันโลหิตสูง

    คนท้องเดินทางแบบไหนที่มีความปลอดภัย

    ในการเดินทางของคนท้องในแต่ละแบบจะมีความเสี่ยงที่มีความแตกต่างกัน เช่น บางประเภทเดินทางแล้วส่งผลให้คุณแม่มีอาการเหนื่อยล้า หรือมีความเสี่ยงต่อการกระเทือน เป็นต้น ดังนั้นหากมีความจำเป็นต้องเดินทาง ควรขอรับคำแนะนำจากคุณหมอผู้เชียวชาญเพื่อเดินทางได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

    การเดินทางสำหรับคนท้องที่ปลอดภัยมีด้วยกัน 4 แบบ ดังนี้

    การเดินทางด้วยรถยนต์

    คนท้องเดินทางด้วยรถยนต์

    การที่คุณแม่ที่กำลังครรภ์ต้องเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว สิ่งที่ควรรู้ คนท้องขับรถเองได้ ไม่ได้เป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง แต่แค่คุณแม่ควรระมังระวังเป็นพิเศษ เพราะเนื่องจากคนท้องจะมีอาการอ่อนเพลียง่าย และสามารถเป็นตะคริวได้ทุกเมื่อ หากเริ่มมีอาการควรจอดแวะพักสักครู่ ออกมายืดเส้นยืดสายนอกรถ เปลี่ยนกริยาบถ เป็นระยะ หรือถึงแม้คุณแม่เป็นเพียงผู้นั่งก็ตามก็ควรจอดแวะพักเป็นระยะเช่นกัน และที่สำคัญจะลืมไม่ได้ ควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง โดยปรับตำแหน่งของสายคาดมาอยู่บริเวณหน้าท้องเล็กน้อยเพื่อความสะดวกสบาย

    การเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ

    ขนส่งสาธารณมีหลายแบบ ทั้งรถแท๊กซี่ รถเมล์ รถไฟ เป็นต้น สำหรับการนั่งรถแท๊กซี่ก็จะเป็นลักษณะเดียวกับหัวข้อด้านบน แต่สำหรับการโดยสารรถเมล์หรือรถไฟ หากคุณกำลังท้องอย่าได้ลังเลที่จะขอที่นั่งเพราะเป็นสิทธิที่คนท้องทุกคนพึงมี แต่คำแนะนำหากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เข้าสู่ 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดแล้วควรหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ หรือหากจำเป็นก็ควรวางแผนเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน

    การเดินทางด้วยรถไฟ

    สำหรับคนท้องการเดินทางด้วยไฟจะช่วยให้คุณแม่เหนื่อยน้อยที่สุด ซึ่งหากคุณแม่ต้องเดินทางด้วยรถไฟ ควรเลือกแบบ First class เพราะจะอำนวยความสะดวกสบายกว่า และมีพื่นที่ให้คุณแม่เปลี่ยนกริยาบถได้ง่าย

    การเดินทางด้วยเครื่องบิน

    หากคุณแม่ไม่มีความเสี่ยงที่ต้องห้ามเดินทาง คุณแม่ก็สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้ ซึ่งคำแนะนำคือระหว่างการเดินทางด้วยเครื่องบินให้คุณแม่ดื่มน้ำบ่อยๆ จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย และคุณแม่สามารถใช้ถุงน่องซัพพอร์ช่วยด้วยอีกทาง แต่ส่วนมากคุณแม่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป สายการบินต่างๆมักจะไม่อนุญาตให้เดินทางไปด้วย เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่และลูกของคุณแม่

    คำแนะนำการเดินทางท่องเที่ยวในที่ห่างไกลสำหรับคนท้อง

    คนท่องเดินทางท่องเที่ยวในที่ห่างไกล

    ก่อนที่คุณแม่จะจองตั๋วท่องเที่ยว ก่อนอื่นคุณแม่ควรไปปรึกษาคุณหมอก่อน เพื่อได้รับคำแนะนำให้การที่จะวางแผนท้องเที่ยวอย่างถูกต้อง การเดินทางท่องเที่ยวในที่ห่างไกลสำหรับคนท้องอย่างถูกมี ดังนี้

    • หลีกเลี่ยงเดินทางไปในสถานที่ที่ท่องเที่ยวที่ให้บริการทางการแพทย์ และสุขอนามัยที่ยังไม่พร้อม
    • หลีดเลี่ยงเดินทางไปในพื้นที่ที่มีโรคบางชนิดระบาดชุกชม เช่น โรคไข้มาลาเรีย ไข้เหลือง เป็นต้น หรือไปในประเทศที่มีอาการร้อนมากๆ เนื่องจากปกติหมอไม่สามารถให้วัคซีนป้องกันโรคต่างๆ กับคนท้องได้ แต่หากมีความจำเป็นต้องไปในพื้นที่นั้นๆ ก่อนไปควรได้รับคำปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีป้องกัน
    • ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด และเลือกเครื่องดื่มที่สะอาด ปราศจากเชื้อ เท่านั้น
    • ควรหลีกเลี่ยงไปในที่แดดจัดๆ เพื่อป้องกันจากสัตว์ที่เป็นพาหนะนำโรค
    • ก่อนการเดินทางควรมีการวางแผนศึกษาข้อมูลเกี่ยวสถานพยาบาลที่มีความพร้อมรองรับเหตุไม่คาดฝัน และเตรียมข้อมูลทางการแพทย์ส่วนตัวของคุณแม่เตรียมเอาไว้ด้วย

    เพียงเท่านี้หากคุณแม่ปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าว ก็สามารถจะเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อนอย่างสุขใจ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • เชื้อราในช่องคลอด เป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่

    เชื้อราในช่องคลอด เป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่

    ร่างกายของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ตามปกติแล้วจะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ทำให้คุณแม่มีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณช่องคลอด เพราะเป็นจุดที่เกิดการอับชื้น และเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียหรือเชื้อราอย่างดี ดังนั้น ในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ต้องมีการดูแลเอาใจใส่รักษาความสะอาดเป็นสำคัญ ไม่ใช่เรื่องที่จะมองข้ามได้ เพราะมันอาจส่งผลไปถึงลูกน้อยที่อยู่ในท้องของคุณแม่ได้

    ในครั้งนี้ มีคุณแม่หลายๆท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเป็นเชื้อราในช่องคลอดที่เป็นในระหว่างการตั้งครรภ์ ว่ามีผลอันตรายต่อลูกที่อยู่ในครรภ์หรือไม่ ในครั้งนี้เรามาหาคำตอบกัน

    สาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องคลอด

    โดยปกติแล้วมนุษย์เราจะมีเชื้อราที่ชื่อว่า แคนดิดา อัลบิแคนส ที่จะใช้ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งเชื้อดังกล่าวมักเกิดขึ้นได้มีร่างกายมีสภาพที่อบอุ่น หรือมีการอับชื้น แต่เชื้อราดังกล่าวจะไม่ก่อปัญหาแต่อย่างใด หากร่างกายมีสภาพแข็งแรง แต่เมื่อคุณแม่ได้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นภูมิคุ้มกันต่างๆในร่างกายจะทำงานที่ลดต่ำลง ร่วมด้วยมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระหว่างการตั้งครรภ์ ทำให้สมดุลของกรดและด่าง ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อราในช่องคลอดได้อย่างรวดเร็วได้ ซึ่งเชื้อราดังกล่าวเป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดอับเสบบริเวณช่องคลอด

    อาการโรคเชื้อราในช่องคลอด

    • มีอาการคัน ระคายเคือง หรือแสบร้อนบริเวณรอบๆช่องคลอด
    • เกิดอาการบวมแดง บริเวณช่องคลอด
    • ลักษณะของตกขาว จะเป็นก้อนหรือข้น มีสีออกเหลืองๆนวล คล้ายนมบูด และมีกลิ่นคล้ายขนมปังหรือยีสต์
    • ในระหว่างปัสสาวะ หรือระหว่างการมีเพศสัมพันธ์จะมีอาการปวดแสบ

    เชื้อราในช่องคลอดส่งผลต่อลูกในท้องหรือไม่

    คุณแม่ที่ตั้งครรภร่างกายจะมีภูมิต้านทานในร่างกายลดลงกว่าปกติ การเป็นเชื้อราในช่องคลอดในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ เกิดจากที่มีการอับชื้นบริเวณช่องคลอดได้ง่าย ทำให้เกิดอาการติดเชื้อภายในช่องคลอดได้ง่ายเช่นกัน ซึ่งสิ่งที่คุณแม่ต้องรู้และต้องกังวลคือ จะมีเชื้อบางชนิดที่จะส่งผลต่อคุณแม่ทำให้คุณแม่ต้องคลอดก่อนกำหนด เช่น เชื้อแบคทีเรียวาจิโนสิส แต่ถ้ามีการติดเชื้อรา จะทำให้คุณแม่มีอาการคันสร้างความรำคาญให้กับคุณแม่ หรือไม่ก็มีจำนวนตกขาวมากกว่าปกติ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนดหรือมีความเสี่ยงแต่อันตรายต่อทารกแต่อย่างใด ดังนั้น การเป็นเชื้อราในช่องคลอดไม่ได้ส่งผลอันตรายต่อเด็กแต่อย่างใด แต่ต้องรักษาความสะอาดช่องคลอดเป็นสำคัญเพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวได้

    การรักษาเชื้อราในช่องคลอด

    การรักษาเชื้อราในช่องคลอด

    หากมีการติดเชื้อราบ่อยครั้ง ก็ควรที่จะรักษาความสะอาดช่องคลอดเป็นสำคัญ หรือให้รีบไปปรึกษาแพทย์ และแพทย์ก็จะจ่ายยาสอดมารักษา อย่าได้ซื้อยาสอดมาใช้เอง เพราะอาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งตามปกติแล้วการรักษาเชื้อราในช่องคลอดจะใช้ระยะเวลาในการรักษาอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ อาการก็จะดีขึ้น แต่ถ้าหากเกิดตกขาวจากการเกิดเชื้อรา แพทย์ก็จะทำการตรวจเลือดหาภาวะการเป็นเบาหวาน เพราะการรักษาจะต้องทำการรักษาโดยการควบคุมระดับน้ำตาลควบคู่ไปด้วย

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • 10 อาการและพฤติกรรมความเสี่ยงที่ทำให้คลอดก่อนกำหนดและแท้งลูก คุณแม่ตั้งครรภ์เช็คด่วน

    10 อาการและพฤติกรรมความเสี่ยงที่ทำให้คลอดก่อนกำหนดและแท้งลูก คุณแม่ตั้งครรภ์เช็คด่วน

    ความกังวัลของคุณแม่หลายๆ ท่านที่กำลังตั้งครรภ์ เป็นอันดับต้นๆคือเรื่องของการคลอดก่อนกำหนด หรือการแท้งลูก เนื่องจากหากเด็กที่คลอดในขณะที่อยู่ครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ซึ่งแปลว่าโอกาสการรอดชีวิตของลูกแทบจะเป็นศูนย์ ซึ่งทางการแพทย์เด็กที่อายุครรภ์ยิ่งน้อยโอกาสรอดจะต่ำ และยังทำให้เด็กไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างปกติ ยิ่งอายุครรภ์มากเด็กก็มีโอกาสรอดที่มากขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    • เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 22-23 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลี้ยงเด็กให้รอด 17 %
    • เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 24-25 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 40-50 %
    • เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 26-28 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 80-90 %
    • เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 29-31 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 90-95 %
    • เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 32-33 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 95 %
    • เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 95-98 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 95-98 %

    แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าดิฉันมีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด หรือแท้งลูก ดังนั้น ในครั้งนี้เรามีเช็คลิสกันว่าคุณแม่มีความเสี่ยงที่จะคลอดกำหนดหรือไม่ ด้วยกับ 10 อาการและพฤติกรรมอันตรายสำหรับคนที่กำลังตั้งครรภ์ มาฝากกันค่ะ

    10 พฤติกรรมกรรมและอาหารที่มีความเสี่ยงให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนดและแท้งลูก

    คุณแม่มีมดลูกยืดขยายตัวหรือหดตัวมากเกินไป

    เนื่องจากอาการมดลูกยืดขยาดตัวหรือหดตัวมากเกินไปจะทำให้คุณแม่เกร็งและเป็นสาเหตุทำให้เข้าสู่ภาวะคลอดกำหนด ซึ่งอาจเกิดจากได้หลายสาเหตุ เช่น มีเนื้องอกในผนังมดลูก การขยายตัวของเด็กในครรภ์ที่ใหญ่เกินไป หรือมีปริมาณน้ำคร่ำที่มากจนเกินไป

    ปากมดลูกของคุณแม่สั้น

    ขนาดของปากมากมดลูกสั้นก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้คุณแม่คลอดน้องก่อนกำหนด ซึ่งขนาดที่สั้นคือขนาดน้อยกว่า 2.5 ซม. ซึ่งถ้าหากถามว่าจะรู้ได้อย่างไร คำตอบคือไปหาคุณหมอเพื่อทำการอัลตาซาวด์เพื่อทำการตรวจครรภ์

    คุณแม่มีมดลูกที่รูปร่างไม่เป็นปกติ

    ลักษณะที่ผิดปกติของมดลูก เช่น มดลูกจะเป็นลักษณะรูปทรงเหมือนรูปหัวใจ บริเวณโพรงมดลูกจะมีเนื้อเยื้อปิดกั้น มีโพรงมดลูก 2 โพรง มีเนื้องอกบริเวณมดลูก มดลูกพิการตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ คุณแม่จะมีความเสี่ยงที่จะคลอดลูกก่อนกำหนดทั้งนั้น

    คุณแม่ตั้งครรภ์ติดต่อมากเกินไป

    การตั้งท้องติดต่อกัน คือ คุณแม่ได้ทำการคลอดน้องได้ไม่นาน คุณแม่ก็เริ่มตั้งครรภ์ใหม่ในทันที ซึ่งสาเหตุดังกล่าวก็จะทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้คุณแม่คลอดน้องก่อนกำหนด

    คุณแม่เคยมีประวัติการคลอดลูกก่อนกำหนด

    การที่คุณแม่เคยมีประวัติคลอดลูกก่อนกำหนดมาแล้ว คุณแม่ก็จะมีความเสี่ยงที่คลอดก่อนกำหนด และมีโอกาสเสี่ยงสูงมากกว่าสาเหตุอื่นๆ แต่คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะหากคุณหมดสักถามแล้วคุณแม่มีประวัติ คุณหมอก็จะทำการฉีดยาป้องกันให้ค่ะ

    คุณแม่มีอาการเลือดออกในขณะที่กำลังตั้งครรภ์

    เลือดออกในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งถึงแม้จะเกิดจากสาเหตุใดก็ตามก็ไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน ดังนั้น หากมีเลือดออกมาคุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยในทันทีและทำการรักษา เพื่อป้องกันการส่งผลกระทบไปยังลูกของเราที่อยู่ในครรภ์

    คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์สูบบุหรี่

    การสูบบุหรี่ ไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งคำๆนี้ใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย และโดยอย่างยิ่ง เป็นพฤติกรรมอันตรายและต้องห้ามอย่างมากสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจาก คุณแม่จะมีความเสี่ยงต่อการที่คลอดก่อนกำหนด หรือทำให้คุณแม่แท้งลูกได้ ดังนั้น ห้ามเลยกับการสูบบุหรี่ระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ และอีกอย่างสำหรับคุณผู้ชายที่ชอบสูบหรี่และมีมีภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์ ควรหลี่กเลี่ยงการสูบ หรือไม่ก็ไม่ควรเข้าใกล้ภรรยาในขณะที่สูบบหรี่ เพราะควันบุหรี่มันส่งผลต่อเด็กในท้องอย่างรุนแรง

    คุณแม่เกิดติดเชื้อระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์

    การติดเชื้อในที่นี้หมายถึง การติดเชื้อจากการทำฟัน หรือการติดเชื้อจากทางเดินปัสสาวะก็ดี ก็สามารถทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้น ในเวลาที่ไปฝากครรภ์ ตรวจครรภ์ ควรให้ความสำคัญทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่และลูกของคุณแม่

    น้ำหนักตัวของคุณแม่น้อยเกินไป

    อีกสาเหตุหนึ่งที่คุณแม่ต้องคลอดลูกก่อนกำหนด คือ น้ำหนักตัวของคุณแม่น้อยเกินไป

    คุณแม่ตั้งครรภ์จากวิธีพิเศษ

    สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มาจากวิธีพิเศษ ที่ไม่ได้จากการตั้งครรภ์ที่มาจากธรรมชาติ แนวโน้มที่จะคลอดก่อนกำหนดก็เป็นไปได้สูงเช่นกัน ดังนั้น คุณแม่ที่อยู่ในข้อนี้ควรต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นพิเศษ

    วิธีการป้องกันไม่ให้คุณแม่เข้าสู่ภาวะคลอดก่อนกำหนด

    ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
    • ไม่ทำงานหนักจนเกินไป และพักผ่อนให้เพียงพอ
    • พยายามอย่าคิดเยอะ คิดมาก หลีกเลี่ยงความเครียด
    • ไม่กลั้นปัสสาวะ ถ้าไม่จำเป็น ถึงกลั้นก็อยากกลั้นจนไม่ไหว
    • รับประทานอาหารสำหรับคนท้อง คืออาหารที่มีสารอาหารให้ครบและเหมาะสำหรับคนท้อง
    • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งท้อง หรือหากเลี่ยงเลี่ยงไม่ไหวก็ควรทำอย่างนุ่มนวล
    • ดูแลสุขภาพทางช่องปาก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
    • งดเครื่องดื่ทแอลกอฮอร์ งดสูบบุหรี่ หรือสารเสพติดทุกชนิด
    • ให้ความสำคัญต่อการตรวจครรภ์ ในทุกๆ เดือน ไปตามหมอนัดทุกเดือน

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ภาวะแทรกซ้อน – ทารกคลอดก่อนกำหนดควรระวัง

    ภาวะแทรกซ้อน – ทารกคลอดก่อนกำหนดควรระวัง

    ภาวะแทรกซ้อนทารกคลอดก่อนกำหนดควรระวัง

    สวัสดีค่ะ บทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของทารกคลอดก่อนกำหนด เพื่อเข้าใจถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

    การคลอดก่อนกำหนดคืออะไร

    โดยปกติแล้วการตั้งครรภ์ตลอดจนไปถึงการคลอดจะใช้เวลาประมาณ 37- 40 สัปดาห์ ถึงจะเป็นการตั้งครรภ์แบบครบกำหนด แต่การคลอดก่อนกำหนด คือ การที่คุณแม่มีภาวะปากเปิดซึ่งผลมาจากที่มดลูกเกิดการหดและขยายตัวของมดลูกก่อนกำหนดที่จะถึงสัปดาห์ที่ 37 ซึงการคลอดก่อนกำหนดจะมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่เกี่ยวข้อง ถึงแม้ในปัจจุบันจะเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยก็ แต่อย่างไรก็ตามคุณพ่อและคุณแม่ก็ต้องมีความจำเป็นที่จะต้องรู้และตระหนักถึงสาเหตุต่างๆ ของการคลอดลูกก่อนกำหนด เพราะเรื่องดังกล่ามมันมีความเสี่ยงถึงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นกับทารกของคุณ

    ภาวะแทรกซ้อนและความเสี่ยงทารกคลอดก่อนกำหนด

    ทารกคลอดก่อนกำหนดบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงระยะสั้น หรือปัญหาสุขภาพในระยะยาว แต่ด้วยการแพทย์สมัยใหม่และเทคโนโลยีใหม่ๆ ทารกมักจะสามารถอยู่รอดได้และใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเด็กทั่วไป โดยภาวะแทรกซ้อนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

    • ภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆสามารถรักษาให้หายได้ภายในเวลาที่กำหนด ดังนี้

    – อาการตัวเหลือง หรือโรคดีซ่าน พบมากที่สุดในเด็กทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากตับไม่สามารถกำจัดบิลิรูบินออกจากร่างกายได้ ส่งผลให้บิลิรูบินสะสมในเลือดของทารก และแพร่กระจายเข้าไปในเนื้อเยื่อผิวของทารกจึงเปลี่ยนเป็นสีเหลือง วิธีการรักษาโรคดีซ่าน คือการส่องไฟเนื่องจากแสงไฟช่วยสลายบิลิรูบินลง ร่างกายสามารถกำจัดได้ง่ายขึ้นและหลังจากนั้น เมื่อตับโตเต็มที่ร่างกายสามารถกำจัดบิลิรูบินออกเอง

    – ปัญหาเกี่ยวกับไต ไตของทารกมักโตเร็วหลังคลอด แต่ปัญหาในการปรับสมดุลของเหลวในร่างกาย และของเสียสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วง 4-5 วันแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุน้อยกว่า 28 สัปดาห์ ของทารกอาจมีปัญหาของการกรองของเสียจากเลือด การผลิตปัสสาวะ เป็นต้น การรักษาที่ดีที่สุดคือ การกำจัดของเหลวและของเสียของจากร่างกาย

    – การติดเชื้อ ทารกคลอดก่อนกำหนดสามารถพัฒนาการติดเชื้อได้ในเกือบทุกส่วนของร่างกาย เด็กทารกอาจติดเชื้อในระยะใดก็ได้ตั้งแต่ขณะอยู่ในมดลูก ระหว่างคลอดและหลังคลอด ทารกคลอดก่อนกำหนดมีระบบภูมิคุ้มกันที่น้อยกว่าเด็กทั่วไป เนื่องจากระบบการทำงานและภูมิคุ้มกันยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ วิธีการรักษาจะเป็นการรักษาตามสาเหตุและอาการที่เกิดขึ้น

    – ปัญหาการหายใจ ในทารกคลอดก่อนกำหนดเกิดจากระบบทางเดินหายใจ ปอดยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ มักเกิดจากการขาดสารลดแรงตึงผิวซึ่งเป็นของเหลวที่เคลือบด้านในของปอด ช่วยให้ปอดของทารกสามารถขยายและหดตัวได้ตามปกติ ส่งผลให้ทารกมีความเสี่ยงของกลุ่มอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ

    – ปัญหาหัวใจ ภาวะหัวใจที่พบบ่อยที่สุดที่มีผลต่อทารกคลอดก่อนกำหนดคือ โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน(PDA) ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดอาจทำให้เลือดสูบฉีดเข้าไปในปอด ทำให้เกิดการสะสมของเหลวในปอดซึ่งทำให้หัวใจล้มเหลวได้

    – ปัญหาสมองสามารถเกิดขึ้นได้ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด บางรายอาจมีอาการเลือดออกในสมอง หากเลือดออกไม่รุนแรงมักไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่สมองอย่างถาวร การรักษาปัญหาสมองอาจมีตั้งแต่ยาและการรักษาจนถึงการผ่าตัดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา

    • .ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวหรือถาวร ได้แก่

    – สมองพิการ เป็นความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่มีผลต่อกล้ามเนื้อ การประสานงานของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวและความสมดุล เกิดจากการติดเชื้อ การไหลเวียนของเลือดไม่ดีหรือบาดเจ็บที่สมองในระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอด การรักษาสมองพิการไม่มีวิธีรักษาเพื่อให้หายขาดได้ แต่การรักษาสามารถช่วยลูกได้เพื่ออำนวยความสะดวก เช่น เครื่องช่วยฟัง เครื่องช่วยเดิน การผ่าตัดเพื่อเพิ่มความคล่องตัว รวมถึงยาเพื่อช่วยในการป้องกันกล้ามเนื้อกระตุก ยากล่อมประสาท เป็นต้น

    – ปัญหาการมองเห็น ทารกคลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงสำหรับจอประสาทตา มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด การรักษาหากจอตามีความรุนแรงอาจใช้วิธีการรักษา เช่น การรักษาด้วยเลเซอร์ การผ่าตัดเพื่อเอาเนื้อเยื่อแผลเป็นออกจากตา เป็นต้น

    – ปัญหาการได้ยิน ทารกคลอดก่อนกำหนดบางคนมีอาการสูญเสียการได้ยิน การสูญเสียการได้ยินบางครั้งอาจเป็นผลรวมทำให้หูหนวก หลายครั้งที่การสูญเสียการได้ยินพบไม่บ่อยในทารก การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินในลูกน้อย การรักษาจะแตกต่างกันไปอาจรวมถึง การศัลยกรรมหู

    เครื่องช่วยฟัง หรือประสาทหูเทียม

    – พัฒนาการล่าช้า ทารกคลอดก่อนกำหนดมักประสบกับปัญหาความล่าช้าในการพัฒนา การเรียนรู้

    นอกจากนี้ทารกคลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ไวต่อการติดเชื้อและอาจประสบปัญหาสุขภาพอื่นๆได้ ดังนั้นการดูแลลูกน้อยควรเริ่มต้นเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ การฝากครรภ์และควรปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อพบอาการผิดปกติ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกคุณค่ะ

  • การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

    การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

    การคลอดก่อนกำหนด คือการคลอดทารกตัวน้อยที่อายุครรภ์ไม่ถึง 37 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกมีความบอบบางมาก การเจริญเติบโตของร่างกายการทำงานของอวัยวะต่างๆยังไม่สมบูรณ์ และต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ หากแพทย์วินิจฉัยแล้วไม่มีภาวะแทรกซ้อนก็จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ค่ะ ดังนั้นบทความนี้จึงรวบรวมการดูแลลูกน้อยที่คลอดก่อนกำหนดหลังกลับมาอยู่ที่บ้านค่ะ

    การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดเมื่อกลับถึงบ้าน สิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัยคือ สุขอนามัยเพราะทารกคลอดก่อนกำหนดมีโอกาศที่จะติดเชื้อมากกว่าเด็กที่คลอดตามกำหนดค่ะ รวมถึงการดูแลในด้านต่างๆ ได้แก่
    – ทำความสะอาดบ้านทุกวัน จัดห้องให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น
    – ห้ามผู้ที่มีไข้หวัด ไอ หรือติดเชื้อไวรัสเข้าห้อง หรือใกล้ชิดลุกน้อย
    – คุณพ่อคุณแม่ หรือญาติพี่น้อง ควรทำความสะอาดมือก่อนที่จะสัมผัสลูกน้อย
    – ให้ลูกน้อยทานนมทุก 2-3 ชั่วโมง (ปริมาณตามคำแนะนำของแพทย์)
    – ให้ลูกน้อยเรอทุกครั้งหลังกินนม เพื่อไม่ให้อาเจียนออกมา
    – การอาบน้ำควรอาบวันละ 1 ครั้งก็เพียงพอค่ะ และควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่นและสบายตัวค่ะ
    – การนวดสัมผัสลูกน้อย โอบกอด พูดคุย เพื่อกระตุ้นการพัฒนาการให้กับทารก
    – ไปพบแพทย์ตามกำหนดทุกครั้งค่ะ
    – ระวังเรื่องการหายใจของลูกน้อย หากพว่าทารกมีการน้ำมูก เสมหะ หายใจไม่สะดวก มีเสียงครืดคราด หรือหายใจอกบุ๋ม คุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกน้อยไปพบแพทย์โดยด่วยค่ะ
    – ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดค่ะ

    สิ่งที่สำคัญของการดูแลทารกคลอดกำหนดนั้น คือการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งหากพบอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าลูกน้อยเป็นอะไร ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจวินิฉัยและการรักษาที่ทันท่วงทีค่ะ