Tag: ครรภ์เป็นพิษ

  • ถ้าเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง SLE มีลูกได้หรือไม่

    ถ้าเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง SLE มีลูกได้หรือไม่

    โรค SLE คือโรคที่มีสาเหตุมาจากภูมิคุ้มกันในร่างกายมีการทำงานที่ผิดปกติ ไม่สามารถจดจำเนื้อเยื้อในร่างกายได้ ทำให้สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อทำลายเนื้อเยื้อตนเอทั่วทั้งร่างกาย เช่น บริเวณผิวหนัง ปอด ไต ข้อต่างๆ ตามร่างกาย และหัวใจ เป็นต้น ในบางครั้งโรค SLE มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “โรคพันหน้า” เนืองจากสามารถแสดงอาการทางร่างกายหลายระบบและมีความเด่นชัดของอาการในแต่ละระบบต่างๆ แตกต่างกันออกไป เช่น อาจจะแสดงอาการผื่นผิวหนัง ข้ออักเสบ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือมีความดันโลหิตสูง เป็นต้น

    การคุมกำเนิดของผู้ป่วยโรค SLE ที่ถูกต้อง

    ผู้ป่วยที่เป็นโรค SLE และมีการตั้งครรภ์ อาจทำให้โรค SLE กำเริบขึ้นมาได้ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ เด็กมีการพัฒนาการทางร่างกายช้า ทำให้ตัวเล็กกว่าอายุ ภาวะคลอดก่อนกำหนด หรือตลอดจนคุณแม่อาจแท้งลูกได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรค SLE ไม่แนะนำให้มีบุตร ต้องได้รับการคุมกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะที่อาการ SLE กำเริบ ควรควรกำเนิดด้วยวิธีการสวมถุงยางอนามัย หรือการฉีดยาคุมกำเนิด ไม่ควรใช้การกินยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนขนาดสูง อาจส่งผลให้โรค SLE กำเริบ และหากผู้ป่วยที่เป็นโรค SLE และมีภาวะแอลตี้ฟอสโฟไลปิดร่วมด้วย ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นหลอดเลือดอุดตัน ดังนั้นการคุมกำเนิดของผู้ป่วย SLE ควรหลีกเลี่ยงการกินยาคุมกำเนิด หากมีความจำเป็นควรใช้ยาคุมกำเนิดที่ควรใช้ชนิดที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ และควรใช้ในช่วงที่โรคโรคสงบ ไม่มีอาการกำเริบ และต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่มีภาวะแอนตีฟอสโฟไลปิดร่วมการคุมกำเนิดวิธีอื่น เช่น การใส่ห่วงคุมกำเนิดนั้นไม่แนะนำเนื่องจากผู้ป่วยโรคลูปัสมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการมีบุตรอีกอาจพิจารณาการทำหมัน

    โรคแพ้ภูมิตัวเองกับการตั้งครรภ์

    การตั้งครรภ์อาจทำให้โรค SLE กำเริบได้ ดังนั้น คำแนะนำของการมีลูกคือ ไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำในการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องปลอดภัย แต่คำแนะนำเบื้องต้นมีต่อ ดังนี้

    • ก่อนจะทำการตั้งครรภ์ต้องทำการหยุดยาคอร์สเตรียรอยด์ หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในขนาดต่ำ ต่ำกว่า 10 มิลลิกรัม/วัน นานอย่างน้อย 6 เดือน
    • ก่อนจะทำการตั้งครรภ์ควรหยุดยาภูมิคุ้มกัน เช่น ยา methotrexte ยา cyclophosphamide และยา MMF ก่อนอย่างน้อย 30 วันก่อนการปฏิสนธิ
    • หยุดยา leflunomide อย่างน้อย 2 ปีก่อนการปฏิสนธิ

    ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้าควรให้ผู้ป่วยหยุดยาทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ส่วนยาต้านมาลาเรียในขณะตั้งครรภ์นั้น จากการศึกษาพบว่าจะช่วยป้องกันการกำเริบของโรคในขณะตั้งครรภ์จึงไม่จำเป็นต้องหยุดยาก่อนขณะตั้งครรภ์ผู้ป่วยควรได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด ควรได้รับการนัดตรวจทุก 4-6 สัปดาห์ เพื่อประเมินอาการ

    ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์และมีอาการแสดงของโรคกำเริบขณะตั้งครรภ์อาจควบคุมด้วยยา prednisolone เพราะยาจะถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงที่รกทำให้ยาไปถึงลูกในขนาดต่ำควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา dexamethasone เนื่องจากยา dexamethasone จะไม่ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงที่รกจึงสามารถข้ามรกไปสู่ลูกได้ อย่างไรก็ตามขนาดของยา prednisolone ที่สูงกว่า 20 มิลลิกรัมต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ และภาวะเบาหวานในคนท้อง

    ประมาณร้อยละ 25-35 ของผู้ป่วยโรคSLEตรวจพบ anti-cardiolipin antibodies ให้ผลบวกและร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคSLEมีโรคแอนตีฟอสโฟไลปิดร่วม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการได้หลายรูปแบบ เช่น เกล็ดเลือดต่ำ มีลิ่มเลือดที่หลอดเลือดดำ หลอดเลือดไปเลี้ยงสทองอุดตัน มีการอุดตันของหลอดเลือดเล็กในไต ฯลฯ การรักษาผู้ป่วยที่มีโรคSLEมีโรคแอนตีฟอสโฟไลปิดร่วมที่มีหลอดเลือดอุดตันนั้นควรให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยา wafarin เพื่อให้ค่า prothombin time ยาวขึ้นประมาณ 2-3 เท่าจากค่าควบคุม ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดดำอุดตัน 3 เท่าจากค่าควบคุมในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงอุดตัน 3-4 เท่าจากค่าควบคุมร่วมกับยาแอสไพรินขนาดต่ำในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดอุดตันซ้ำหลังจากได้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และควรให้นานไปตลอดชีวิต

    มียาบางชนิดเมื่อใช้ติดต่อเป็นเวลานาน (โดยไม่จำกัดความ มากกว่า 1 เดือน) อาจทำให้เกิดอาการเหมือนโรคSLE และทำให้ผลการตรวจ anti-nuclear antibody (ANA) ให้ผลบวก เราเรียกภาวะนี้ว่าเป็น โรคSLEจากการใช้ยา ได้แก่

    • Chlorpromazine Methyldopa Hydralazine Procainamide Isoniazid Quinidine
    • ส่วนยาที่อาจทำให้เกิดโรคSLEจากการใช้ยามีหลายชนิด เช่น ยา phenytoin ยา proputhiouracil ยา sulfasalazine ยา isoniacid ฯลฯ
    • อาการของโรคSLEจากการใช้ยามักไม่รุนแรงส่วนใหญ่จะเป็นอาการทางข้อ และผิวหนัง อาจมีเยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือความผิดปกติต่อเม็ดเลือด การตรวจ ANA มักให้ผลบวกเป็นรูปแบบ homogenous และอาจให้ผลบวกในการตรวจหา anti-histone antibody แต่ส่วนใหญ่จะให้ผลลบต่อการตรวจ anti-ds DNA antibody การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้คือการหยุดยาที่ชักนำให้เกิดโรค อาการจะหายไปภายในระยะเวลาเป็นวันถึงสัปดาห์หลังจากหยุดยา และอาการที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะตอบสนองดีต่อยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ บางรายอาจจำเป็นต้องได้รับยา prednisolone ได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยรวมผู้ป่วยกลุ่มนี้จะตอบสนองดีต่อการรักษา

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • คนท้องนอนน้อย นอนดึก มีผลต่อลูกในท้องหรือไม่

    คนท้องนอนน้อย นอนดึก มีผลต่อลูกในท้องหรือไม่

    “มีคุณแม่ท่านหนึ่งที่กำลังท้องได้มีปัญหาการนอนไม่พอ นอนได้ไม่ถึง 5 ชั่วโมงต่อคืน แบบนี้จะมีผลต่อลูกในท้องหรือไม่” ซึ่งจากคำถาม การนอนของคนที่กำลังท้องเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งปัญหาการนอนของคุณแม่แต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป บางคนเกิดจากการเปลี่ยแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ตั้งครรภ์ บางคนผลมาจากหน้าที่การงานหรือหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ทำให้คุณต้องอดนอนบ้าง นอนน้อยบ้าง แต่อย่างไรก็ตามปัญหาคนท้องที่นอนน้อย ก็ไม่เป็นผลดีทั้งต่อตัวคุณแม่เอง และลูกที่อยู่ในท้อง

    คนท้องนอนน้อย นอนดึก มีความเสี่ยงต่อเด็กในท้องอะไรบ้าง

    เสี่ยงต่อการต้องผ่าคลอด

    เนื่องจากมีคุณแม่ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์นอนน้อยกว่าวันละ 6 ชั่วโมง จะส่งผลทำให้ตอนคลอดยาก อัตราเวลาคลอดจะใช้เวลามากกว่าคนท้องปกติดีถึง 4.5 เท่า หรือส่งผลทำให้ไม่สามารถคลอดด้วยตัวเอง ต้องทำการผ่าคลอด

    เสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษ

    จากงานวิจัยจากประเทศสหัฐอเมริกา ว่า ในระหว่างที่มนุษย์ทำการนอน ความดันโลหิตจะลดลงเฉลี่ยประมาณ 10-20 เปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ดูแลหลอดเลือดทั้งร่างกาย ดังนั้น การที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นอนดึก นอนไม่พอ จะส่งผลทำให้การผลิตฮอร์โมนดังกล่าวมีปัญหา และยิ่งไปกว่านั้นคุณแม่กำลังท้องนอนดึกนอนน้อยจะมีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตสูงกว่าปกติ จะส่งผลต่อการการทำงานของหัวใจในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ และเมื่อระดับความดันโลหิตสูงจะทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงที่เป็นภาวะครรภ์เป็นพิษ โดยผลของงานวิจัยจะพบว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นอนน้อยกว่าคืนละ 5 ชั่วโมง จะมีอัตราครรภ์เป็นพิษสูงถึง 9.5 เท่าของคนท้องปกติ

    เสี่ยงต่อการเจริญเติบโตช้า

    การนอนน้อยของคุณแม่จะส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงเด็กที่อยู่ในท้องไม่ดี ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของลูก เมื่อคุณแม่คลอดน้องออกจะมีแน้วโน้มทำให้น้ำหนักตัวของเด็กน้อยว่ามาตรฐานและทำให้เด็กเจริญเติบโตช้าว่าเด็กปกติ ร่างกายก็จะไม่แข็งแรง ส่งผลต่ออารมณ์ของเด็ก ทำให้กลายเป็นเด็กเลี้ยงยาก หงุดหงิดง่าย มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับสังคม มีผลต่อการใช้ชิวิตและความเครียดของเด็กในอนาคต

    คนท้องควรนอนเท่าไรถึงเพียงพอ

    คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับการนอนพักผ่อนวันละ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ฺ

    วิธีการช่วยให้คนท้องนอนเพียงพอ

    • คุณแม่ที่กำลังท้องบางคนมีอาการปวดหลังซึ่งเป็นอีกปัญหาของการนอน ดังนั้น คุณแม่ควรใช้หมอนพยุงร่างกายจะได้หรับสบาย หรือถ้าคุณแม่มีอาการปวดขาก็ให้เอาหมอนมารองขาทั้ง 2 ข้าง หรือคุณแม่นอนตะแคงก็หาหมอนมารองที่บริเวณท้องด้วย
    • สร้างบรรยากาศในห้องนอนโดยการใช้กลิ่นหอม โดยอาจจะใช้เทียนหอม หรือไม่ก็น้ำมันหอมระเหย แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากธรรมชาติ และไม่มีกลิ่นที่ฉุนจนมากเกินไป เพราะกลิ่นจะให้การนอนของคุณแม่หลับง่ายและหลับได้ยาวนานยิ่งขึ้น
    • ใช้เสียงเพลงในกล่อมนอน เลือกเพลงที่มีจังหวะช้า หรือเพลงบรรเลง จะช่วยให้คุณแม่และร่างกายของคุณแม่ผ่อนคลาย
    • อ่านหนังสือหรือทำสมาธิก่อนนอน การทำสมาธิไม่จำเป็นต้องทำแบบจริงจัง เพียงแค่สวดมนต์ และจดจ่อกับสมาธิ ก็ช่วยให้แม่มีความผ่อนคลาย หรืออีกอย่างคือการอ่านหนังสือโดยการหาหนังสือดีๆ มาอ่านเพื่อกล่อมตัวเองให้ได้นอนไปในตัว

    การนอนสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งท้อง เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะการนอนที่เพียงพอของคุณแม่แล้ว ไม่เพียงจะส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่แล้ว แต่ยังส่งผลดีให้กับลูกของคุณแม่ที่อยู่ในท้องด้วย ดังนั้น หลีกเลี่ยงการนอนดึก หาเวลานอนให้ได้มากที่สุดค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • เมื่อรู้ว่าท้อง ควรฝากครรภ์ตอนไหนดี

    เมื่อรู้ว่าท้อง ควรฝากครรภ์ตอนไหนดี

    คุณแม่หลายท่านมีข้อสงสัย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ที่เพิ่งรู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ เลยไม่รู้ว่าควรไปฝากครรภ์ตอนไหนดี เพราะบางตำราบอกว่าไม่จำเป็นต้องรีบไปฝากรอให้ครบ 12 สัปดาห์ก่อนก็ได้แล้วไปค่อยฝากครรภ์ แต่บางตำราก็บอกว่าถ้าหากรอถึง 12 สัปดาห์ก็อาจเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้ เลยไม่รู้ว่าควรไปฝากตอนไหน ในครั้งนี้เรามารู้คำตอบกันว่าคุณแม่ทั้งหลายเมื่อรู้ว่าตัวเองกำลังตั้งท้องควรที่จะไปฝากครรภ์ในช่วงไหนกันค่ะ

    โดยทั่วๆไป เมื่อรู้ว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ คุณแม่หลายๆท่านก็มีความกังวลจึงรีบไปหาคุณหมอเพื่อทำการฝากครรภ์ในทันที เพราะจะได้รู้ความผิดปกติอื่นๆ และก็ทำการตรวจเลือดเพื่อหาภาวะเสี่ยงต่างๆ โรคต่างๆ ที่สามารถติดได้ทางเพศสัมพันธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะที่กำลังตั้งท้อง โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอายุ 30 ปี หรือคุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป คุณหมอก็จำเป็นต้องตรวจหาภาวะการเป็นเบาหวาน และคุณหมอก็จะแนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองหรือวินิจฉัยเด็กทารกที่มีโคโมโซมที่ผิดปกติ รวมถึงเรื่องการปฏิบัติตัวและการเตรียมหัวนมเพื่อให้ลูกดูดนมในช่วงหลังคลอด

    ไม่เพียงเท่านี้ คุณแม่จำเป็นต้องรับยาโฟลิกไปรับประทานด้วย เพื่อเป็นการป้องกันให้ลูกเป็นโรคสมองพิการ และคุณแม่อาจจะได้รับยาแก้แพ้ เพื่อลดอาการแพ้ท้องในช่วงเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ด้วย

    ในปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปก้าวไกล ทำให้การตรวจคัดกรองความผิดปกติของเด็กในครรภ์ที่มี่มากกมายได้อย่างรวดเร็ว เช่น การตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อตรวจดูว่ามีการตั้งครรภ์ที่เป็นปกติหรือไม่ในโพรงมดลูก ไม่ใช่เป็นการตั้งครรภ์ที่ปีกมดลูก และตรวจดูว่าคุณแม่เป็นภาวะท้องลม ซึ่งจะได้รับการรักษาในทันทีหลังจากการวินิจฉัยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์

    การตรวจวัดของอายุครรภ์จะสามารถตรวจได้แม่นยำที่สุด คือในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีประวัติการแท้งบ่อยครั้ง ในกลุ่มนี้คุณแม่จะได้รับยาป้องกันการแท้งลูกในทันที่ที่มีการตั้งครรภ์ เพราะหากรอให้อายุครรภ์ไปถึง 3 เดือน ก็ทำให้สายเกินไป ดังนั้น สรุปเรื่องการฝากครรภ์ ควรทำการฝากครรภ์ทันทีหลังจากทราบว่าตัวคุณแม่เองกำลังตั้งครรภ์ ซึ่งเพื่อความปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่และตัวลูกของคุณแม่ เพราะหากรอนานจนเกินไป อาจจะต้องพบกับความเสี่ยงที่มากมายและสายเกินไปที่จะแก้ไขค่ะ

    การเตรียมตัวการฝากครรภ์

    อย่างแรกควรเลือกสถานที่การฝากครรภ์ที่ใกล้บ้านมากที่สุด ซึ่งสถานที่ของการฝากครรภ์ มีดังต่อไปนี้

    • โรงพยาบาล
    • คลีนิค
    • สถานีอนามัย (โรงพยาบาลประจำตำบล)
    • ศูนย์แม่และเด็ก
    • ศูนย์บริการทางการแพทย์

    หลักฐานเอกสารของการฝากครรภ์

    • บัตรประจำตัวประชาชนของคุณแม่ และคุณพ่อ
    • ประวัติการรักษา การแพ้ยา ประวัตการมีบุตร และโรคประจำตัว
    • ข้อมูลการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย

    ขั้นตอนการฝากครรภ์

    • แพทย์จะทำการซักประวัติต่างๆ อย่างละเอียด เช่น การตั้งครรภ์เมื่อไร ลักษณะวิธีการคลอด (เคยผ่านการคลอดมาแล้ว) ผ่านการทำแท้งหรือไม่ มีโรคประจำตัวหรือไม่ เคยมีประวัติการรักษาอะไรบ้าง และแพ้ยาอะไรหรือไม่ และซักประวัติของคนในครอบครัวเพื่อทำการตรวจหาความเสี่ยงต่างๆ
    • แพทย์จะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด วัดความดันโลหิต มีการบวมตามร่างกายหรือไม่ ตรวจปริมาณน้ำตาลโปรตีนในปัสสาวะเพื่อดูความเสี่ยงเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่
    • ตรวจครรภ์ โดยวิธีการคลำความสูงของมดลูกว่ามีความเหมาะสมกับอายุครรภ์หรือไม่
    • ตรวจการเต้นของหัวใจ หรือทำการอัลตราซาวด์ แต่ก็ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์่
    • จัดยาที่เหมาะสมมาให้รับประทาน

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ สิ่งที่คุณแม่ที่กำลังท้องต้องระวัง

    ภาวะครรภ์เป็นพิษ สิ่งที่คุณแม่ที่กำลังท้องต้องระวัง

    ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ ซึ่งมีความอันตราย เนื่องจากภาวะครรภ์เป็นพิษจะทำให้คุณแม่ที่กำลังมีครรภ์จะมีความดันโลหิตที่สูงมาก เทียบเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท และมีสภาวะโปรตีนไข่ขาวอยู่ในปัสสาวะ ส่งผลทำให้การทำงานของไตผิดปกติ ซึ่งภาวะครรภ์เป็นพิษมักจะเกิดขึ้นเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ แต่ไม่เสมอไป บางคนมีอายุครรภ์น้อยกว่านั้นก็สามารถเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้เช่นกัน ดังนั้น หากคุณแม่มีอาการที่เหมือนจะเป็นครรภ์เป็นพิษ ให้รีบไปพบแพทย์ในทันที เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลาอาจทำให้คุณแม่เกิดอาการชักในขณะตั้งครรภ์ได้ และก็ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมาได้ หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ทั้งแม่และลูก

    ภาวะครรภ์เป็นพิษ เกิดจากอะไร

    ครรภ์เป็นพิษ คือ อาการที่ผิดปกติของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์ตั้ง 20 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ในบางรายก็มีอายุครรภ์ไม่ถึงก็สามารถเป็นได้แต่ส่วนน้อย ซึ่งจะแบ่งความรุนแรงของอาการครรภ์เป็นพิษด้วยกัน 3 ระดับได้แก่

    • Non-Severe Pre-Eclampsia ครรภ์เป็นพิษที่ไม่ยังไม่รุนแรง คุณแม่จะมีความดันโลหินสูง อยู่ที่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท แต่จะไม่เกิน 160/110 มิลลิเมตรปรอท และไม่มีภาวะแทรกซ้อน
    • Severe Pre-Eclampsia ครรภ์เป็นพิษที่อยู่ในระดับรุนแรง คุณแม่จะมีความดันโลหิตสูงถึง 160/110 มิลลิเมตรปรอท และยังสามารถตรวจพบความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ เช่น เกล็ดเลือดต่ำ ตับอักเสบ ไตทำงานผิดปกติ และเม็ดเลือดแดงแตกตัว ฯลฯ
    • Eclampsia ครรภ์เป็นพิษในระดับอันตราย คุณแม่จะมีอาการชัก เกร็ง หมดสติ หรือมีเลือดไหลออกจากสมอง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันเวลา และถูกต้อง ก็อาจทำให้แม่และลูกมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

    สาเหตุของภาวะครรภ์เป็นพิษ

    ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่การันตรีแน่ชัดถึงสาเหตุของการเกิดอาการครรภ์เป็นพิษ รวมถึงระยะเวลาของการเกิดโรคนี้ที่ยังไม่มีความแน่นอน ต้องรอจนกว่าผู้ป่วยจะแสดงอาการ ถึงหมอจะสามารถวินิจฉัยโรคออกมาได้ แต่ผู้เชียวชาญได้สันนิษฐานว่า ครรภ์เป็นพิษ อาจเกิดจากที่รถได้สร้างโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเข้าสู่กระแสเลือด ก็จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และอีกอย่างก็อาจเกิดการหดตัวของหลอดเลือดส่งผลทำให้ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนไปตามอวัยวะต่างๆ ทั้งร่างกาย น้อยลง รวมไปถึงการไหลเวียนไปยังรก

    ไม่เพียงเท่านี้สาเหตุเพิ่มเติมที่ทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงต่ออาการครรภ์เป็นพิษ มีดังนี้

    • มดลูกมีเลือดไหลเวียนไม่เพียงพอ
    • เกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
    • มีความเสียหายที่หลอดเลือด
    • เกิดจากกรรมพันธุ์
    • ไปรับประทานอาหารในบางชนิด
    • มีคนในครอบครัวที่เคยมีประวัติเป็นครรภ์เป็นพิษ
    • มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ไม่เกรน โรคเบาหวาน โรคเอสแอลอี มีโอกาสที่เป็นโรคลูปัส หรือเป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
    • ตั้งครรภ์ครั้งแรก
    • ตั้งครรภ์ลูกแฝด
    • ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก คือ อาการการตั้งครรภ์ที่มีเนื้อเยื้อรกมากกว่าปกติ ทำให้ท้องใหญ่โตแต่ไม่ตัวเด็ก และมีทำการลอกตัวออกมาก็จะมีเลือดออกมายังช่องคลอดเป็นก้อนเล็กลักษณะคล้ายไข่ปลา
    • มีระห่างของการตั้งครรภ์น้อยกว่า 2 ปี หรือห่างกันเกิน 10 ปี
    • การตั้งครรภ์โดยวิธีพิเศษ

    อาการของครรภ์เป็นพิษ

    • คุณแม่จะมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง หรือในบางครั้งปวดเฉพาะท้ายทอย หรือบริเวณหน้าผาก
    • ดวงตาพล่ามัว มองเห็นแสงเป็นจุดๆ หรือวูบวาบ
    • มีอาการคลื่นไส้ และอาเจียน
    • จะมีอาการปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่
    • มีอาการบวมตามือ เท้า และใบหน้า
    • คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
    • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
    • มีภาวะความดันโลหิตสูงกว่า 130/80
    • เกิดอาการชัก และหมดสติ (หากถึงขั้นชักควรรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต)
    • คุณแม่บางรายจะมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก มีเอนไซม์ตับขึ้นสูง และมีเกร็ดเลือดต่ำ

    อาการครรภ์เป็นพิษแบบไหนที่ควรพบแพทย์

    หากคุณหมอได้ทำการวินิจฉัยแล้วคุณแม่มีอาการเป็นพิษ คุณแม่ต้องปฏิบัติตามหมออย่างเคร่งครัด และสังเกตุอาการตัวอย่างเป็นประจำ และต่อเนื่อง หากพบว่าตัวเองมีอาการดังต่อไปนี้ต้องรีบไปพบแพทย์ในทันที

    • มีความดันโลหิตสูง
    • ลูกดิ้นน้อยกว่าวันละ 10 ครั้ง
    • มีอาการน้ำเดิน หรือน้ำไหลออาจจากช่องคลอด
    • มีการปวดหัวอย่างรุนแรง ตาพร่ามัว และจุกลิ้นปี่

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากครรภ์เป็นพิษ

    ลูกคลอดก่อนกำหนด : ความอันตรายของภาวะครรภ์เป็นพิษก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่คุณหมอต้องทำการตัดสินใจทำคลอดให้คุณแม่ก่อนกำหนด เพื่อลดความเสี่ยงที่อันตรายต่อเด็ก และเมื่อเด็กคลอดก่อนกำหนด ก็ส่งผลถึงสุขภาพของเด็กโดยตรง

    เกิดการลอกของรก : ซึ่งครรภ์เป็นพิษอาจทำให้เกิดการหลุดลอกของรกก่อนกำหนด และเมื่อรกลอกก็อาจทำให้เกิดเลือดออกมาก ส่งผลทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตทั้งแม่และเด็กที่อยู่ในครรภ์

    อวัยวะต่างๆ เกิดความเสียหาย : ซึ่งครรภ์เป็นพิษอาจส่งผลเสียต่ออวัยวะอื่นๆ ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ เช่น หัวใจ ปอด ตับ ไต เป็นต้น ซึ่งความรุนแรงก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการครรภ์เป็นพิษ

    มีอาการชัก : อาการชักส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์และคุณแม่ เพราะอาการดังกว่างจะไม่สัญญาณเตือน ให้รู้ก่อน เพราะเมื่อคุณแม่มีอาการชักในขณะตั้งครรภ์ แพทย์มีความจำเป็นต้องทำการหยุดการตั้งครรภ์ของคุณแม่โดยทันที เพื่อรักษาชีวิตแม่เอาไว้

    ภาวะ HELLP : คือ ภาวะที่อันตรายถึงชีวิต เพราะมีความรุนแรง ส่งผลทำให้เกิดความเสียหายของอวัยวะหลายจุด และภาวะดังกล่าวไม่มีสัญญาณเตือน วิธีการสังเกตุภาวะดังกล่าว คือ ปวดหัว อาเจียร และคลื่นไส้ เป็นต้น ถ้ามีอาการดังกล่าวรีบไปพบแพทย์ในทันที

    การวินิจฉัยอาการครรภ์เป็นพิษคุณแม่ของหมอ

    การตรวจวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษ คุณหมอจะสามารถตรวจอาการครรภ์เป็นพิษได้หลังจากคุณแม่มีความผิดของการอย่างใดอย่างหนึ่งและคุณแม่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป พร้อมกับตรวจสภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งการตรวจมีดังต่อไปนี้

    การตรวจสุขภาพทั่วไป คือการซักประวัติของคุณแม่และครอบครัว จะเป็นการตรวจความผิดปกติในเบื้องต้น เช่นการตรวจปัญหาสายตา มีการปวดหัวอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจไตที่ทำงานผิดปกติ ซึ่งภาวะครรภ์เป็นพิษมักตรวจพบในขณะที่คุณแม่ไปตรวจตามนัดของหมอที่รับฝากครรภ์ตามปกติ

    การตรวจวัดความดันโลหิต ซึ่งการตรวจดังกล่าวจะสามารถทำให้คุณแม่รู้ว่าเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่ โดยคุณหมอจะต้องทำการตรวจวัดความดันโลหิตหลายครั้ง ซึ่งจะวัดห่างกัน 4 ชั่วโมง หากวัดความดันโลหิตได้ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ก็มีความเป็นไปได้ที่คุณแม่มีเปอร์เซนต์ที่เป็นภาวะครรภ์เป็นพิษได้

    การตรวจเลือด จะเป็นการตรวจเพื่อดูการทำงานของไต ตับ และปริมาณของเกร็ดเลือด

    การตรวจปัสสาวะ จะเป็นการตรวจเพื่อหาโปรตีนไข่ขาวในปัสสาวะ เพราะหากตรวจพบ แพยท์ก็จะส่งตัวอย่างของปัสสาวะไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อทำการยืนยันผล อาจทำการเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพียงครั้งเดียว หรือหลายครั้งโดยมีระยะห่างในการเก็บตัวอย่าง 24 ชั่วโมง เพื่อดูปริมาณโปรตีนที่ได้รั่ว โดยเทียบจากสัดส่วนของโปรตีน แลสารครีอะตินินในปัสสาวะ

    การตรวจสุขภาพของเด็กในครรภ์ จะเป็นการตรวจเด็กที่อยู่ในครรภ์ โดยทำการตรวจการเต้นของหัวใจ เมื่อเด็กมีการคลือนไหว หรือลูกดิ้น ในบางกรณีคุณหมอจะทำการประเมินความสมบูรณ์ของเด็กโดยการอัลตราซาวด์ปริมาณน้ำคล้ำกับการหายใจ และการเคลื่อนไหวของเด็ก

    วิธีการรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษ

    สภาวะครรภ์เป็นพิษสามารถรักษาได้ โดยการคลอด เพียงอย่างเดียว โดยอาการเจ็บป่วยต่างๆ หลายๆอย่าง จะค่อยๆหายไปเองหลังจากการคลอด ซึ่งแพทย์ทำการวินิจฉัยหลายอย่างหลายปัจจัยก่อนการทำคลอด เช่น ระยะเวลาการตั้งครรภ์ สุขภาพของคุณแม่ หรือระดับความรุนแรงของอาการครรภ์เป็นพิษ ซึ่งหากคุณแม่ยังมีอายุครรภ์ที่ยังน้อย ที่ยังไม่ถึงกำหนดคลอดสมบูรณ์ แพทย์อาจจะยังไม่ทำการคลอดในทันที และแพทย์จะทำการดูแลอย่างใกล้ชิด และประคองอาการจนกว่าจะถึงเวลาทำคลอดอย่างปลอดภัย แต่หากคุณแม่มีอายุ ฃครรภ์ถึง 37 สัปดาห์ แพทย์จะการเร่งทำคลอดหรือผ่าคลอดในทันที เพื่อไม่ให้อาการทรุดลงและเป็นอันตรายต่อแม่และเด็ก และลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ซึ่งการรักษาประคับประคองอาการครรภ์เป็นพิษจนกว่าคลอดมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้

    การรักษาครรภ์เป็นพิษชนิดไม่รุนแรง

    คณแม่ที่เป็นครรภ์เป็นพิษชนิดนี้ เมื่อคุณหมดทำการตรวจแล้ว สามารถกลับบ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของหมอตลอดเวลา แต่คุณแม่ต้องเข้าพบหมอเป็นประจำตามหมอนัดอย่างเคร่งครัด เพื่อเฝ้าระวังอาการและตรวจครรภ์และตรวจร่างกายเป็นประจำ โดยแพทย์จะแนะนำให้คุณแม่พักผ่อนเยอะๆ ลดการกินอาหารที่มีรสเค็ม ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือบางรายหมออาจให้กินยาลดความดันโลหิตร่วมด้วย

    การรักษาครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง

    สำหรับคุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษที่รุนแรง แพทย์จำเป็นต้องให้คุณแม่พักรักษาตัวที่โรงพยายาล เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด โดยหมออาจจะจ่ายยาลดความดันโลหิต กลุ่มยาสเตรียรอย์ ยาป้องกันการชัก หรือยาอื่นๆ ขึ้นอยู่กับอาการทีแตกต่างของคุณแม่แต่ละคน รวมไปถึงการตรวจร่างกาย และปฏิบัติตามเหมือนคุณแม่ที่มีอาการครรภ์เป็นพิษชนิดที่ไม่รุนแรง

    การป้องกันภาวะอาการครรภ์เป็นที่พิษ

    ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่สามารถป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ และคุณแม่สามารถลดความเสี่ยงการเกิดภาวะดังกล่าวได้ ดังนี้

    • ฝากครรภ์และพบแพทย์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจพบความผิดปกติและรักษาได้อย่างทันถ่วงที พร้อมปฎิบัติตามหมออย่างเคร่งครัด
    • หลี่กเลี่ยงการกินอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเค็ม อาหารที่มีไขมันสูง รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์และคาเฟอีน
    • ดื่นน้ำวีนละ 6-8 แก้ว
    • ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอเท่าที่ที่สามารถออกได้ แนะนำควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง
    • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
    • พยายามยกขา เคลื่อนไหวขา บ่อยๆ ในระว่างวัน
    • หากเรื่องการกินยาหรืออาหารเสริมควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และปฏิบัติตามอย่างเคร่างครัด

    สภาวะอาการครรภ์ไม่ใช่เรื่องเล่นๆที่สามารภปล่อยปะละเลยได้ เพราะมันมีความอันตรายต่อชีวิตของคุณแม่และลูกของคุณแม่ได้ ดังนั้นอย่าลืมไปพบแพทย์เป็นประจำในขณะที่คุณกำลังตั้งท้องเพื่อชีวิตของคุณและลูกของคุณค่ะ

    บทความที่เกี่ยวข้อง