Tag: ของเล่น

  • การดูแลเด็กแรกเกิด สำหรับพ่อแม่มือใหม่ : การเล่นกับลูก

    การดูแลเด็กแรกเกิด สำหรับพ่อแม่มือใหม่ : การเล่นกับลูก

    การเล่นของเด็กเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก และยังเป็นการเตรียมพร้อมให้กับลูกในการใช้ชีวิต ในทุกๆครั้งที่คุณพ่อคุณแม่อยู่กับลูก คุณจะมีโอกาสที่สร้างสัมพันธ์ แสดงความรักให้กับลูกของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะเด็กๆทุกคน ต้องการความรักความอบอุ่นอย่างมาก  สิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมา เป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตให้กับลูกของคุณ เหมือนการให้อาหารบำรุงทางด้านจิตใจ การมอบความรักความผูกพันไม่เพียงการส่งเสริมการเจริญโตของเด็กเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยส่งเสริมทางด้านอารมณ์ของเด็กอีกด้วย  ทำให้เด็กมองโลกในแง่ดี เป็นมิตรต่อผู้อื่น จะติดตัวไปจนโต

    คุณพ่อคุณแม่บางคน มีความตึงเครียดกับการเลี้ยงลูกมาก พยายามเลี้ยงลูกจะให้เป็นแบบอย่างเหมือนในตำรา เล่นกับลูกมอบความสุขให้ลูกน้อยมาก คุณควรมอบความสุขให้กับลูกมากๆ เพราะช่วงเวลาความน่ารักมักจะผ่านไปได้รวดเร็ว เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อลูกเติบโต ลูกก็ไปพบกับสังคมใหม่ ดังนั้นช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่คุณจะตักตวงเก็บความทรงจำความน่ารักของลูกได้ดีที่สุด

    คุณทราบหรือไม่ว่า เด็กทารก มักชอบให้พ่อแม่ อยู่ใกล้ๆ กอด พูดคุย ชวนเล่น ฯลฯ แต่คุณแม่ไม่จำเป็นที่ต้องอุ้มลูกตลอดเวลา เพราะอาจทำให้ลูกติดมือ จนคุณแม่ทำไรไม่ได้

    พฤติกรรมการเล่นของลูกจะเริ่มเล่นเมื่ออายุ 2 เดือนขึ้น และ ในแต่ละช่วงวัยจะมีพฤติกรรมการเล่นที่ไม่เหมือนกัน เรามาดูกันว่าในแต่ละช่วงลูกจะมีพฤติกรรมการเล่นอย่างไร (2 เดือน – 1 ปี ครึ่ง)

    เด็กอายุ 2 – 4 เดือน

    การเล่นของเด็ก 1 เดือน

    เด็กในช่วงวัยนี้จะมีพฤติกรรมชอบมองสีสันของสิ่งของ โดยเฉพาะสิ่งของที่มีสีสันสวย สดๆ หรือสิ่งของที่เคลื่อนไหวได้ และเมื่อคุณพ่อคุณแม่พาลูกออกไปข้างนอกบ้าน ถ้าไปต้นไม้ที่มีใบไม้กำลังร่วงหล่น เด็กจะชอบจับตามอง และหากเอาลูกนอนลง สิ่งที่ลูกให้ความสนใจก็คือมือของตัวเอง ราวกับว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ และลูกยังชอบมองรูปภาพที่ติดตามฝาผนังอีกด้วย

    ในเตียงนอนของลูกอาจมีของเล่นพลาสติกสวยๆ ไว้ให้ดูและสัมผัส ระวังไม่ให้มีขอบคม ไม่แขวนตรงกับจมูกลูกเพราะจะทำให้เด็กแหงนหน้ามากเกินไปให้แขวนอยู่ในระดับสายตาเด็กและสามารถเอื้อมมือจับถึงได้ เพราะขณะนี้สมองของลูกเริ่มทำงานโดยให้มือเอื้อมจับหรือหยิบสิ่งของได้แล้ว

    เด็กอายุ 6 เดือน – 1 ปี

    การเล่นของเด็ก 6 เดือน

    พฤติกรรมการเล่นของเด็กช่วงวัยนี้ จะชอบเขย่าของเล่นที่มีเสียง เลือกของเล่นพลาสติกที่ปลอดจากสีผสมสารตะกั่ว แต่ระวังจะแตกและบาดปากลูกได้

    เด็กอายุ 1 – 11/2 ปี

    การเล่นของเด็ก 1 ปี

    พฤติกรรมการเล่นของเด็กในช่วงนี้ ชอบหยิบของเล็กใส่ในของใหญ่ ชอบดึง ลากและผลักไปข้างหน้า คุณอาจหากล่องกระดาษมาตกแต่งเป็นหน้าสัตว์ ใช้เชือกผูกพล่ามให้ลูกดึงเล่น ตุ๊กตานุ่มนิ่มน่ารักเด็กวัยนี้ชอบ

    คำแนะนำและข้อควรระวัง ของเล่นที่จะนำมาให้ลูกเล่น

    • เด็กวัยใกล้ 6 เดือนเป็นต้นไปจะมีความสุขมากถ้าได้จับสิ่งของเข้าปาก ของที่นำมาให้ลูกเล่นจึงต้องระวัง อย่าให้เป็นของมีคม หรือมีสารตะกั่ว
    • ตรวจดูความปลอดภัยของเล่น ของเล่นที่แหลมคม มีมุมแหลมคม มีมุมแหลม อาจบาดเนื้อตัวลูกได้ทุกเวลา
    • เลือกของเล่นใช้สีที่ไม่เป็นอันตราย (NON TOXIC)
    • ไม่ควรให้ลูกเล่นของเล่นที่ประกอบกันเป็นชิ้นเล็กๆ หรือเป็นเม็ดเล็กๆ เช่น ลูกปัด กระดุม เพราะอาจกลืนทำให้สำลักและติดคอได้
    • ของเล่นที่ใช้แบตตเตอรี่อาจจะเสี่ยมสภาพและรั่วไหลเป็นสารพิษ
    • ถ้ามีเชือกลากจูง คอยระวังอย่าให้เกี่ยวพันขาหกล้ม
    • ตุ๊กตาขนฟูนุ่มๆ อาจเต็มไปด้วยฝุ่นละอองและเชื้อรา  ทำให้ลูกเป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด

  • สิ่งที่ควรทราบก่อนพาลูกไปดูหนัง

    สิ่งที่ควรทราบก่อนพาลูกไปดูหนัง

    การดูหนังเป็นกิจกรรมความบันเทิงหนึ่งที่หลายคนนิยมทำในวันหยุด แต่เมื่อมีลูกการจะไปดูหนังในโรงภาพยนตร์อาจเป็นเรื่องยาก เพราะสำหรับเด็กๆแล้วการหนังดูหนังกับที่เป็นเวลานานคงเป็นเรื่องยาก เพราะปกติแล้วเด็กๆมักมีความอยากรู้อยากเห็น ขี้สงสัยช่างพูดช่างคุย ไม่ชอบอยู่กับที่หรือต้องโดนบังคับให้ต้องอยู่กับที่เป็นเวลานานและมักจะแสดงออกด้วยการร้องไห้งอแงได้ค่ะ ซึ่งพฤติกรรมตามธรรมชาติของเด็กนั้นรบกวนผู้อื่นที่ร่วมดูหนังได้ค่ะ ดังนั้น สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบก่อนไปลูกไปดูหนังมีอะไรบ้าง ซึ่งวันนี้เรามีเคล็ดลับตัวช่วยคุณเมื่อต้องการพาลูกไปดูหนังในโรงภาพยนตร์

    การพาลูกไปดูหนังในโรงภาพยนตร์นั้น คุณสามารถทำได้เมื่อลูกถึงวัยที่เหมาะสมค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรพาเด็กทารกไปดูหนังเนื่องจากเสียงที่ดังสามารถทำลายแก้วหูของทารกได้ค่ะ และเด็กที่อายุต่ำกว่า 4 ปี มักจะอยู่ไม่นิ่งไม่มีสมาธิในการนั่งนิ่งๆนานๆหรือไม่พูดคุยในระหว่างการดูหนังยาวเป็นชั่วโมงได้ค่ะ ถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนที่ดีแต่ถึงอย่างไรโปรดจำไว้เสมอว่า เด็กๆไม่น่ารักสำหรับทุกคนเพราะบางคนเขาอาจจะไม่ชอบเด็กรู้สึกหงุดหงิด หรือไม่ชอบเมื่อคุณพาลูกเข้าไปดูหนังรอบเดียวหรือต้องนั่งใกล้ๆเขาค่ะ และสิ่งที่ต้องคำนึงก่อนพาลูกไปดูหนังคือการดูหนังในโรงภาพยนตร์คุณต้องร่วมดูกับผู้อื่นหรือคนแปลกหน้า เด็กอาจไปสัมผัสหรือรบกวนผู้อื่นได้ การเลือกภาพยนตร์ไม่ควรเป็นหนังที่มีความตื่นเต้นหรือเล้าใจมากเกินไปเพราะอาจทำให้เด็กตกใจได้ง่ายขึ้น เนื่องจากโรงหนังมีบรรยากาศที่เย็นและมืด ซึ่งเด็กอาจจะรู้สึกอึดอัดและร้องไห้งอแงได้ค่ะ

    เคล็ดลับในการนำเด็กไปที่โรงภาพยนตร์

    การเลือกภาพยนตร์ที่ถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ควรจะเป็นมิตรกับเด็ก เพราะสร้างควมน่าสนใจให้กับเด็กในการนั่งดูหนังนิ่งๆเป็นเวลานานและเป็นเด็กที่ไม่กลัวความมืดค่ะ นอกจากนี้ควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดูหนังเช่น

    จุกหลอกควรมีรูระบายอากาศ

    ผ้าห่ม

    • ผ้าห่มที่อบอุ่นสบายสำหรับลูกน้อยและสวมใส่ถุงเท้า

    โรงหนังเด็ก

    • ตรวจสอบว่าคุณมีโรงภาพยนตร์ที่เป็นมิตรกับเด็กๆ รองรับผู้ปกครองที่มีเด็กเนื่องจากบางโรงหนังไม่อนุญาตให้พาเด็กเข้าไปด้วยค่ะ

    เลือกการดูหนังหรือจองที่นั่งในวันธรรมดาที่มีผู้คนน้อย

    • เลือกการดูหนังหรือจองที่นั่งในวันธรรมดาที่มีผู้คนน้อยค่ะ หลีกเลี่ยงหนังสยองขวัญ หรือหนัง 3D, 4D เนื่องจากภาพที่ส่งผลต่อการมองเห็นทำให้ลูกรู้สึกกลัวได้ค่ะ

    เปลี่ยนผ้าอ้อม

    • เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือให้ลูกเข้าห้องน้ำก่อนเข้าโรงหนัง เพื่อให้ลูกรู้สึกสบายตัวมากขึ้นค่ะ

    ของเล่น

    • นำของเล่นไม่มีเสียงชิ้นโปรดไปด้วย ซึ่งอาจช่วยให้ลูกสงบและหลับได้ง่ายขึ้นค่ะ

    ทางออกโรงหนัง

    • อย่าลืมจองที่นั่งใกล้กับประตูทางออกหรือห้องน้ำเพราะคุณอาจต้องออกมากกว่าหนึ่งครั้ง
    • สิ่งที่สำคัญมากถ้าลูกของคุณร้องไห้หรือมีปัญหาในการดูหนัง ต้องขอโทษกับคนที่เขารบกวนและพาลูกออกไปข้างนอกจนกว่าพวกเขาจะสงบลงค่ะ

    การพาเด็กไปดูภาพยนตร์เป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันและส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าควรรอจนกว่าพวกเขาจะโตขึ้น อย่างไรก็ตามอย่าหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านเพียงเพราะคุณมีลูก คุณสามารถเรียนรู้และระมัดระวังได้ค่ะเพื่อให้คุณสามารถเพลิดเพลินกับภาพยนตร์ที่ดีและเป็นมิตรกับลูกน้อยของคุณได้ค่ะ

  • การเลือกของเล่นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก

    การเลือกของเล่นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก

    ปัจจุบันของเล่นเป็นส่วนสำคัญสำหรับเด็กๆ เพราะไม่เพียงแค่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินเท่านั้น แต่ยังได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อช่วยในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆของเด็กๆค่ะ แต่ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือความปลอดภัยมาก่อนเสมอค่ะ เพราะในแต่ละปีพบเด็กจำนวนมากได้รับบาดเจ็บจากของเล่น เนื่องจากเด็กเป็นวัยที่มักอยากรู้อยากเห็นในสิ่งต่างๆรอบตัว และนี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมั่นใจในความปลอดภัยของของเล่นก่อนตัดสินใจเลือกของเล่นชิ้นนั้นให้กับลูกของคุณค่ะ

    เคล็ดลับเพื่อช่วยให้คุณเลือกของเล่นที่ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับลูกของคุณ ได้แก่

    เลือกของเล่นที่เหมาะสมกับวัย

    เลือกของเล่นที่เหมาะสมกับวัย เนื่องจากของเล่นที่ทำขึ้นสำหรับกลุ่มอายุนั้น ช่วยเพิ่มความสนใจในระดับต่างๆของการพัฒนา ความสามารถที่จะเข้าใจวิธีการใช้ของเล่นที่อย่างถูกต้อง และไม่มีวัสดุหรืออุปกรณ์ที่เสี่ยงให้เกิดอันตรายได้ค่ะ 

    ขนาดของเล่น

    ขนาดของเล่น หลีกเลี่ยงของเล่นที่เล็กเกินไปสำหรับลูกของคุณ เนื่องจากของเล่นที่มีขนาดเล็กมีโอกาสสูงที่ลูกของคุณจะสำลักหรือติดคอได้ง่าย รวมถึงของเล่นที่มีขนาดใหญ่เกินไปอาจเป็นเรื่องยากที่ลูกจะเล่นด้วยได้

    หลีกเลี่ยงของเล่นดังๆเกินไปก็เป็นอันตรายต่อเด็ก

    หลีกเลี่ยงของเล่นดังๆเกินไป ก็เป็นอันตรายต่อเด็กๆได้ค่ะ เพราะเสียงที่ดังเกินไปสามารถสร้างความเสียหายต่อการได้ยินได้ค่ะ

    หลีกเลี่ยงของเล่นประเภทเชือกหรือริ้บบิ้นยาวๆในเด็กเล็ก

    หลีกเลี่ยงของเล่นประเภทเชือกหรือริ้บบิ้นยาวๆในเด็กเล็ก เพราะอาจพันตัวหรือรัดคอเด็กๆได้

    ของเล่นควรเป็นวัสดุความแข็งแรงทนทาน

    ของเล่นควรเป็นวัสดุความแข็งแรงทนทาน ไม่แตกหักง่ายค่ะ

    ของเล่นที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านการปลอดภัย

    ของเล่นที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านการปลอดภัย ปลอดสารพิษที่เป็นอันตราย เช่น สารตะกั่ว สารทาเลต (เป็นสารที่ทำให้พลาสติกอ่อนนิ่ม ยืดหยุ่น) เป็นต้น

    หลีกเลี่ยงของเล่นประเภทปืน

    หลีกเลี่ยงของเล่นประเภทปืน ปาเป้า ดอกไม้ไฟ ลูกโป่งอัดแก๊ส ของเล่นแหลมคมในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี 

    นอกจากนี้เพื่อความปลอดภัยของเด็กควรหมั่นทำความสะอาดของเล่นเป็นประจำ เพื่อป้องกันเด็กๆจากเชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรียต่างๆที่เป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยของเด็กๆค่ะ ทั้งนี้การเล่นที่ดีช่วยเสริมสร้างทักษะพัฒนาการที่ดีให้กับลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรมีส่วนร่วมในการเล่นหรือการทำกิจกรรมกับลูก เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัวค่ะ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับเด็กๆนั้นไม่ใช่ของเล่นที่มีราคาแพง แต่กลับเป็นของเล่นที่มีชีวิตเพราะพ่อแม่คือของเล่นที่เสริมพัฒนาการที่ดีที่สุดค่ะ