ลูกถ่ายเหลวมีมูกปน ผิดปกติหรือไม่
ลูกถ่ายเหลวมีมูกปน ปัญหาสุขภาพของลูกน้อยที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านกังวล เพราะไม่รู้ว่านั่นเป็นอาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยหรือเปล่า ดังนั้นบทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจกันว่า การขับถ่ายเหลวมีมูกปนนั้นเกิดจากอะไร และการขับถ่ายแบบไหนที่ควรพบแพทย์ทันทีค่ะ การขับถ่ายของทารก การขับถ่ายของเด็กทารกโดยทั่วไปมักจะมีลักษณะของการถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเหลืองมัสตาร์ดซึ่งเป็นเรื่องปกติค่ะ เนื่องจากทารกรับประทานแต่นมเท่านั้น และระบบการย่อยอาหารของลำไส้ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ แต่ถึงอย่างไรการขับถ่ายของลูกน้อยก็ยังทำให้คุณแม่หลายท่านคงยังสงสัยว่าลูกท้องเสียหรือไม่ ซึ่งการถ่ายเหลวในเด็กทารกนั้นหากคุณแม่ไม่พบอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น มีไข้ เซื่องซึม อุจจาระมีมูกเลือดปนออกมาด้วย เป็นต้น ถือว่าการถ่ายเหลวเป็นเรื่องปกติของทารกค่ะ มูกที่พบในอุจจาระคืออะไร มูกในอุจจาระ เป็นสารคัดหลั่งที่มีลักษณะคล้ายวุ้น ซึ่งผลิตโดยเซลล์เมือกที่มีอยู่ทั่วระบบทางเดินอาหาร เมือกดังกล่าวมีหน้าที่หล่อลื่นภายในลำไส้และยังทำหน้าที่เป็นตัวกั้นระหว่างแบคทีเรียและเซลล์เยื่อบุผิวของลำไส้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของร่างกายค่ะ ลูกถ่ายเป็นมูก มีสาเหตุมาจากอะไร สาเหตุโดทั่วไปที่ทำให้เกิดการขับถ่ายมีมูกปนในเด็กนั้น มีหลายสาเหตุได้แก่ การหลั่งปกติ เมือกถูกลำไส้หลั่งออกมาเพื่อช่วยในการขับถ่าย การติดเชื้อ เนื่องจากระบบย่อยอาหารของลูกน้อยของคุณอาจได้รับผลกระทบจากแบคทีเรีย ซึ่งอาจทำให้มีเกิดปนออกมาด้วยหรืออมีไข้ร่วมด้วยจากอาการท้องเสีย การแพ้อาหารในนมแม่ แม้ว่าคุณจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว แต่การแพ้อาการเกิดขึ้นได้จาการรับประทานอาหารของแม่ค่ะ ภาวะลำไส้กลืนกัน ภาวะลำไส้กลืนกันเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อส่วนหนึ่งของลำไส้เลื่อน ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดลดลงทำให้เกิดการอักเสบค่ะ Cystic fibrosis โรคปอดเรื้อรังที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ส่งผลให้เกิดการสร้างเสมหะข้นในปอด มีเมือกในตับอ่อนและอวัยวะอื่นๆ การรักษาทารากถ่ายเหลวมีมูกปน เนื่องจากเมือกเป็นเพียงตัวบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพ ดังนั้นการรักษาจึงแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อในกระเพาะอาหาร แพทย์จะแนะนำให้เพิ่มปริมาณของเหลวของทารกร่วมกับการใช้ยาสำหรับเด็ก การแพ้อาหาร คุณแม่ควรสังเกตลักษณะอุจจาของลูกน้อยและอาหารที่คุณแม่ทานเข้าไป เมื่อพบว่าเกิดจากสาเหตุอะไรควรหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้น ภาวะลำไส้กลืนกัน รักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อแก้ไขการทับซ้อนกันของลำไส้ค่ะ […]