Tag: การป้องกัน

  • การป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก

    การป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก

    พฤติกรรมก้าวร้าวเป็นเรื่องธรรมดาในเด็กวัยหัดเดิน โดยทั่วไปมักจะแสดงออกเมื่อรู้สึกผิดหวังหรือเสียใจ เช่น เสียงดังโวยวายใช้อารมณ์ ขว้างปาสิ่งของ ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น เป็นต้น โดยเฉพาะวัยก่อนเข้าเรียนหรือที่เรียกว่าวัยทอง 2 ขวบ ซึ่งการแสดงพฤติกรรมเหล่านี้เพื่อให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการค่ะ และเมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นคุณแม่สามารถเริ่มแก้ไขพฤติกรรมนี้ได้ตั้งแต่ยังเด็กค่ะ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้การควบคุมอารมณ์อย่างเหมาะสมเมื่อเติบโตขึ้นค่ะ

    สาเหตุของพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก

    พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กโดยเฉพาะในวัยก่อนเข้าเรียนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นค่ะ การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ของเด็กๆซึ่งถือเป็นพัฒนาการหนึ่งของเด็กๆวัยนี้ค่ะ เนื่องจากเด็กๆจะเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ต้องการทำหรือทดลองในสิ่งต่างๆด้วยตัวเองค่ะ หงุดหงิดง่าย เมื่อถูกขัดใจหรือไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งรวมถึงเมื่อเด็กๆรู้สึกไม่ได้รับความสนใจ ความกลัวหวาดระแวง และไม่สามารถอธิบายหรือจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ค่ะ จึงแสดงออกด้วยพฤติกรรมก้าวร้าวค่ะ นอกจากนี้พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กอาจเกิดได้จากการเลียนความรุนแรงจากละครในโทรทัศน์ จากครอบครัวหรือคนรอบข้าง เด็กสมาธิสั้นหรือเป็นโรคความผิดปกติทางการควบคุมอารมณ์ค่ะ

    การป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก

    • คาดการณ์พฤติกรรมก้าวร้าว คือเมื่อคุณทราบรู้ว่าสถานการณ์ใดที่อาจทำให้ลูกของคุณเกิดพฤติกรรมก้าวร้าว คุณคุณสามารถควบคุมเพื่อป้องกันพฤติกรรมดังกล่าวได้ค่ะ รวมถึงการสอนให้ลูกเรียนรู้และคุ้นเคยกับสถานการณ์ เช่น เมื่อต้องเล่นรวมกลุ่มกับเพื่อนๆ เด็กๆอาจแย่งของเล่นกันซึ่งคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักการแบ่งปัน การเล่นด้วยกัน โดยการค่อยๆพูดให้ลูกไม่ควรดุด้วยน้ำเสียงที่ดัง เป็นต้น
    • เตรียมลูกของคุณให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง หากลูกของคุณแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อสถานการณ์ในชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป คุณพ่อคุณแม่ควรบอกให้ลูกทราบถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นค่ะ เช่น กรณีจะต้องกลับบ้านเร็วและลูกจะต้องหยุดเล่น คุณแม่ควรพูดว่า ลูกสามารถเล่นได้อีก 10 นาทีหรืออีก 1 รอบนะคะ และเราจะต้องเตรียมตัวกลับบ้านกันค่ะ เป็นต้น
    • ระวังการเล่นรุนแรงหรือพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ การลอกเลียนแบบความรุนแรงจากละครหรือคนรอบข้าง รวมถึงการเล่นรุนแรงอาจทำให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้จนติดกลายเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวได้ค่ะ
    • ตัวอย่างที่ดี คุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัวควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆในทุกๆด้าน โดยเฉพาะเรื่องของการควบคุมอารมณ์ เพราะเด็กมักเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวเสมอค่ะ
    • ไม่ควรลงโทษรุนแรง ดุว่าเสียงแรงดัง หรือการออกคำสั่งบังคับให้ทำในสิ่งที่คุณต้องการค่ะ เมื่อลูกแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีความ ควรเริ่มด้วยการเข้าไปพูดคุยสอบถามถึงสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยน้ำเสียงใจเย็นค่ะ และการเบี่ยงเบนความสนใจเป็นอีกวิธีที่จะทำให้ลูกของคุณสงบขึ้นค่ะ

    สิ่งสำคัญของการดูแลลูกของคุณ คือการให้เวลากับลูกมากๆ การเอาใจใส่ดูแล การได้เรียนรู้ในสิ่งต่างๆไปพร้อมกัน เพราะไม่ว่าของเล่นจะมีราคาแพงก็ไม่สามารถทดแทนของเล่นที่มีชีวิตอย่างคุณได้ค่ะ

  • ไวรัสโคโรนา (Coronavirus)

    ไวรัสโคโรนา (Coronavirus)

    ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ ไวรัสอู่ฮี่น พบการแพร่ระบาดครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ ส่งผลรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจซึ่งมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต และสามารถติดต่อกันได้ง่ายผ่านสารคัดหลั่งน้ำลาย น้ำมูกจากการไอ จาม รวมถึงการรับประทานอาหารหรือใช้สิ่งของเครื่องใช้ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส ไวรัสโคโรมาสายพันธุ์ใหม่นี้สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากเมนูเปิปพิศดารซุปค้างคาวที่กำลังเป็นกระแสนิยมในประเทศจีน

    อาการเบื้องต้นของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา

    อาการของ โคโรน่า ไวรัส

    จะมีอาการางระบบทางเดินหายใจคล้ายกับโรคหวัดทำให้ส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงความรุนแรงคือ มีไข้ หนาวสั่น ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ หลังจากนั้นจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น หายใจลำบากเหนื่อยหอบ เจ็บหน้าอกขณะไอหรือจาม และปอดอักเสบรุนแรงซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ

    กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสอู่ฮั่นได้ง่าย คือ กลุ่มเด็กเล็กเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง สตรีตั้งครรภ์ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเนื่องจากร่างกายไม่แข็งแรงพอจะสู้กับไวรัสจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย คนดูแลใกล้ชิดผู้ป่วยซึ่งรวมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์ค่ะ

    การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 

    การรักษา โคโรน่า ไวรัส

    เนื่องจากตอนนี้ยังไม่มียาสำหรับต้านเชื้อไวรัสนี้โดยตรง ดังนั้นการรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้นค่ะ เพื่อป้องกันบรรเทาอาการและป้องกันภาวะปอดอักเสบรุนแรง

    การป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

    การป้องกัน โคโรน่า ไวรัส

    – สวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องออกนอกบ้านไปในแหล่งชุมชน

    – หลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมชน สถานที่แออัดหรือสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน

    – หมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการนำมือสัมผัสตา จมูก ปากเมื่อไม่จำเป็น

    – หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล และมีเสมหะ

    – หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่ป่วยหรือใกล้ตาย

    – หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น  เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เนื่องจากเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ

    – รับประทานอาหารปรุงสุกโดยเฉพาะประเภทเนื้อสัตว์และไข่ให้สุกด้วยความร้อน

    – นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำสะอาดมากๆ

    – ควรปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจามทุกครั้ง

    – หากมีอาการป่วย มีไข้สูง ไอและมีน้ำมูก ควรรีบพบแพทย์

  • ภาวะขาดน้ำในเด็กเล็ก

    ภาวะขาดน้ำในเด็กเล็ก

    ภาวะขาดน้ำในเด็กเล็ก

    ภาวะขาดน้ำในเด็กอาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนหรือแม้กระทั่งในช่วงการติดเชื้อ การสูญเสียน้ำนั้นมีสาเหตุมากมายจากเหงื่อออกมากไปจนถึงท้องเสียเรื้อรัง ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าที่ได้รับ สร้างความขาดแคลนน้ำสำหรับการทำงานของร่างกายที่จำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญ เด็กวัยหัดเดินเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำได้มากกว่าในช่วงวัยอื่นๆ และหากร่างกายมีภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง อาจทำให้กิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตตาะ

    สาเหตุภาวะขาดน้ำในเด็ก

    การสูญเสียน้ำในร่างกายสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุได้แก่

    • โรคท้องร่วง เป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียน้ำในเด็ก เนื่องจากอุจจาระเหลวเรื้อรังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย หรือจากการแพ้อาหารทำให้เกิดการสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว
    • อาเจียนอย่างรวดเร็วทำให้ปริมาณน้ำในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับอาการท้องร่วงค่ะ
    • อุณหภูมิร่างกายสูงในช่วงมีไข้ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเมื่อมีเหงื่อออกมากๆ
    • ความร้อนและความชื้นสูงนำไปสู่การมีเหงื่อออกมากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่การคายน้ำและคลายความร้อนของร่างกาย เด็กที่เล่นกิจกรรมกลางแจ้งอาจเสี่ยงต่อการขาดน้ำได้
    • ภาวะเบาหวานที่ทำให้มีการปัสสาวะมากผิดปกติจากน้ำตาลในเลือดสูง

    อาการของการคายน้ำของร่างกาย

    อาการที่สามารถบ่งบอกของภาวะจาดน้ำของร่างกายได้แก่

    • อาการปากแห้ง เป็นสัญญาณแรกของการขาดน้ำในเด็ก คุณแม่สามารถสังเกตได้จากน้ำลายไหลที่น้อยลง และริมฝีปากแห้ง
    • ปัสสาวะน้อย โดยทั่วไปควรปัสสาวะอย่างน้อย1 ครั้งภายในชั่วโมง
    • น้ำตาน้อยลงกว่าปกติเมื่อลูกร้องไห้
    • ดวงตาของลูกดูเหมือนจมลง
    • ผิวที่แห้งแตกกว่าปกติ
    • เด็กจะไม่สนใจในกิจกรรมใดๆแลจะมีสมาธิน้อยลง

    การวินิจฉัยภาวะขาดน้ำในเด็ก

    การตรวจสอบว่าลูกของคุณมีภาวะขาดน้ำหรือไม่ โดยทั่วแพทย์จะทำการวินิจฉัยดังนี้

    • การตรวจเลือด เพื่อตรวจสอบระดับโซเดียมและโพแทสเซียมในเลือด
    • การทดสอบปัสสาวะ จะตรวจสอบปัสสาวะที่มีความเข้มข้นซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการขาดน้ำ และตัวบ่งชี้ระดับของเหลวในร่างกายได้

    การรักษาภาวะขาดน้ำในเด็ก

    ภาวะขาดน้ำในเด็กเล็กควรพบแพทย์และควรได้รับการรักษาตามความเหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปการรักษาภาวะขาดน้ำที่ดีที่สุดนั้น คือการเติมน้ำเข้าสู่ร่างกายด้วยการดื่มน้ำมากๆให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  และควรหลีกเลี่ยงน้ำผลไม้แก่เด็กที่มีอาการท้องร่วงอยู่ คุณแม่สามารถให้ผงน้ำตาลเกลือแร่ได้ด้วยการจิบเพียงเล็กน้อยแต่บ่อยครั้ง ในบางรายที่สูญเสียน้ำจากอาการเจ็บป่วย อาจต้องรักษาด้วยการให้น้ำเกลือผ่านเส้นเลือดค่ะ

    การป้องกันการขาดน้ำในเด็ก

    การป้องกันภาวะขาดน้ำเพื่อบรรเทาการสูญเสียน้ำของร่างกาย คุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยได้ดังนี้

    • การน้ำมาก โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนและการเล่นหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง เนื่องจากการสูญเสียของเหลวจากเหงื่อออกจะสูงขึ้นในสภาวะที่มีความชื้นสูง ค่ะ
    • ป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากอาจทำให้ท้องเสียและอาเจียน สภาวะที่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำ ดังนั้นควรสอนให้ลุกน้อยรักษาสุขอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ค่ะ เช่น การล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหาร เป็นต้น
    • การสวมใส่เสื้อผ้า ควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศค่ะ ในวันที่อากาศร้านควรสวมใส่เสื้อผ้าบางเบา ระบายอากาศได้ดีค่ะ

    การมีปริมาณน้ำเพียงพอเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันการขาดน้ำในเด็กได้ดี ดังนั้นการหมั่นสังเกตและเฝ้าระวังลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำของลูกน้อยค่ะ

  • ไวรัส RSV ระบาดหนักหน้าฝน เด็กเล็กต้องระวัง

    ไวรัส RSV ระบาดหนักหน้าฝน เด็กเล็กต้องระวัง

    ช่วงนี้ฝนตกอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เด็กๆเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะในเด็กเล็กซึ่งมีระบบภูมิต้านทานโรคยังไม่แข็งแรง และมีการระบาดหนักของเชื้อไวรัสอาร์เอสวี(RSV) หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเด็กเล็กต้องระวังค่ะ

    ไวรัส RSV คืออะไร

    RSV หรือ Respiratory syncytial virus เป็นไวรัสที่พบบ่อย เจริญเติบโตได้ดีช่วงที่มีอากาศชื้นและแพร่กระจายได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก อาการคล้ายกับไข้หวัดแต่มีความรุนแรงกว่า ในเด็กเล็กมักเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย อันตรายต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ

    สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส RSV

    การติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) สามารถติดต่อกันได้ง่ายๆจากการใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งผู้ป่วย เช่น การไอ จาม เป็นต้น โดยเชื้อไวรัสอาร์เอสวีเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูกและปาก เชื้อไวรัสพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝนและต้นฤดูหนาว ไวรัสแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการไอ หรือการจาม และจะมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง

    อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV

    การติดเชื้อไวรัส RSV ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจซึ่งมีอาการคล้ายกับโรคหวัด ได้แก่ คัดจมูก มีน้ำมูก มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ไอแห้ง เจ็บคอ ฯลฯ โดยเชื้อไวรัสนี้มีระยะการฟักตัว 4 – 6 วันหลังจากได้รับเชื้อ และสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคปอดบวม โรคหลอดลมฝอยอักเสบ เป็นต้น ซึ่งมักแสดงอาการดังนี้

    • ไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส เซื่องซึม เบื่ออาหาร
    • หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อยและหายใจลำบาก 
    • ไออย่างรุนแรง มีเสมหะข้นเหนียวมาก 
    • มีเสียงหวีดในปอด (จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว)
    • ปากหรือเล็บมีสีเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน

    หากลูกมีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีอาการแทรกซ้อนและทรุดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หยุดหายใจเป็นช่วงๆหรือหายใจล้มเหลวได้ค่ะ

    การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV

    การรักษาการติดเชื้อไวรัส RSV เป็นการรักษาตามอาการหรือการประคับประคอง เพื่อให้ระบบทางเดินหายใจดีขึ้นและป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ ในกรณีที่พบอาการรุนแรงหรือในผู้ป่วยที่เป็นเด็กเล็ก ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เช่น การรับประทานยาลดไข้ ยาลดเสมหะหรือดูดเสมหะออก ลดอาการบวมของทางเดินหายใจ ในบางรายอาจต้องทำการพ่นยาเพื่อขยายหลอดลม อาจต้องและใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจหากพบว่ามีภาวะออกซิเจนต่ำหรือระบบหายใจล้มเหลว เป็นต้น 

    ภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อ RSV

    การติดเชื้อ RSV ในเด็กเล็ก อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบระยะยาวได้ เช่น โรคปอดบวมหรือหลอดลมฝอยอักเสบ ทำให้เกิดการอุดตันของระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อในหูชั้นกลาง โรคหอบหืด เด็กที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อ RSV รุนแรงมีความเสี่ยงระยะยาวในการพัฒนาเป็นโรคหอบหืดได้ ในบางรายอาจทำให้หัวใจลมเหลวเฉียบพลันและเสียชีวิตได้ค่ะ

    การป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

    เนื่องจาก RSV สามารถแพร่กระจายได้ง่ายโดยการสัมผัส และในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส RSV แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสได้ดังนี้

    • คุณพ่อคุณแม่ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสทารก
    • การสอนให้ลูกล้างมือให้สะอาดก่อน-หลังรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
    • รักษาความสะอาดที่อยู่อาศัย สิ่งของเครื่องใช้และของเล่นให้สะอาด 
    • หลีกเลี่ยงการการพาลูกน้อยไปยังที่แออัดในช่วงที่มีระบาดของเชื้อไวรัส
    • หากมีความจำเป็นต้องพาลูกไปสถานที่ชุมชน เช่น โรงพยาบาล ควรสวนใส่หน้ากากอนามัย
    • หากลูกป่วยเป็นหวัด ควรพักรักษาตัวให้หายก่อนไปโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น
    • หากผู้ปกครองเป็นหวัดควรหลีกเลี่ยงการกอดและจูบลูกจนกว่าจะหายดี
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และการพักผ่อนให้เพียงพอ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

  • อาหารเป็นพิษในเด็ก สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้

    อาหารเป็นพิษในเด็ก สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้

    อาหารเป็นพิษในเด็ก สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้

    อาหารเป็นพิษเป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยเด็กและผู้ใหญ่ แม้ในบางครั้งเด็กและผู้ใหญ่รับประทานอาหารแบบเดียวกัน แต่กลับพบว่าเด็กเกิดอาการอาหารเป็นพิษเท่านั้น เนื่องจากเด็กมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรียไม่เท่าผู้ใหญ่นั้นเองค่ะ ดังนั้นอาหารเป็นพิษจึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรรู้ เพื่อป้องกันและการดูแลรักษาที่ถูกวิธีค่ะ

    อาหารเป็นพิษคืออะไร

    อาหารเป็นพิษคือกลุ่มอาการที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย ในบางครั้งอาจเกิดจากเชื้อไวรัสหรือปรสิต ที่มีการปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมีโอกาสสูงกว่าในช่วงวัยอื่น เนื่องจากเด็กในช่วงวัยนี้ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงมากพอที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆเท่ากับช่วงวัยอื่นๆ และมักจะมีอาการรุนแรงกว่าเช่นกันค่ะ

    สาเหตุของอาหารเป็นพิษ

    อาหารเป็นพิษเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียหรือปรสิตในอาหารและน้ำดื่ม ซึ่งสามารถปนเปื้อนเชื้อต่างได้ตั้งแต่ระหว่างการเตรียมอาหาร การเก็บรักษา การขนส่งอาหารที่ผ่านการปรุงไม่ถูกวิธีสุอนามัย รวมถึงภาชนะเครื่องใช้ที่มีการปนเปื้อนค่ะ  ซึ่งเชื้อที่มักเป็นสาเหตุของภาวะอาหารเป็นพิษ เช่น ซาลโมเนลลา พบมากในเนื้อสัตว์ดิบ ไข่ดิบ นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม คลอสติเดียม โบทูลินัม มักพบในอาหารที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท โดยเฉพาะอาหารกระป๋องที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น หน่อไม้ดอง เนื้อสัตว์แปรรูป ฯลฯ หรือชิเกลล่า พบการปนเปื้อนทั้งในผลิตภัณฑ์อาหารสด น้ำดื่มที่ไม่สะอาด เป็นต้น

    อาการอาหารเป็นพิษในเด็ก

    โดยปกติอาการมักจะเกิดขึ้น 30 นาทีถึง 24 ชั่วโมงหลังจากกินอาหารนั้นเข้าไป ซึ่งมักแสดงอาการทั่วไปได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องและตะคริว ท้องร่วง อาการปวดหัว มีไข้ เป็นต้น อาการที่เกิดจากอาหารเป็นพิษนั้นรุนแรงในเล็กมากกว่าเด็กโตและวัยรุ่นค่ะ

    การรักษาอาหารเป็นพิษ

    อาหารเป็นพิษส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและจะดีขึ้นโดยไม่ต้องรักษา คุณแม่สามารถดูแลได้เองที่บ้าน ได้แก่

    • ควรให้ลูกดื่มน้ำสะอาดผสมผงเกลือแร่ด้วยการจิบน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์นมจนกว่าอาการท้องร่วงจะหยุด
    • เมื่อลูกรู้สึกหิวให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย อาจแบ่งเป็นมื้อเล็กๆแต่สามารถรับประทานได้บ่อย หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด น้ำอัดลม ฯลฯ
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
    • หลีกเลี่ยงการให้ลูกทานยาแก้ท้องเสีย ยาต้านอาการท้องร่วงอาจทำให้อาการนานขึ้นและผลข้างเคียงสำหรับเด็กอาจรุนแรง

    หากพบว่าลูกมีอาการรุนแรงหรือมีอาการอื่นๆร่วมด้วยควรรีบพบแพทย์ทันที ได้แก่

    • อาเจียนนานกว่า 12 ชั่วโมง
    • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียล
    • หัวใจเต้นแรง ปัญหาการหายใจ
    • อาการปวดท้องอย่างรุนแรงหลังจากอุจจาระแล้ว
    • อุจจาระเปื้อนเลือดหรืออาเจียนเป็นเลือด
    • ตามัวหรือมองเห็นไม่ชัด
    • ภาวะร่างกายขาดน้ำ ได้แก่ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปัสสาวะน้อย เวียนหัว ปากแห้ง กระหายน้ำมาก เป็นต้น
    • ฯลฯ

    การป้องกันอาหารเป็นพิษ

    ขั้นตอนในการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ ควรทำตามหลักปฏิบัติดังนี้

    • ควรสอนให้ลูกล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง
    • ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ หรือผ่านความร้อนเพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอาหาร
    • ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่เตรียมอาหารอยู่เสมอ
    • ปรุงอาหารหรือเก็บอาหารให้ถูกสุขอนามัย  เช่น แยกเก็บเนื้อสดออกจากอาหารชนิดอื่นๆ เป็นต้น
    • ตรวจสอบการใช้งานหรือวันที่บนบรรจุภัณฑ์ก่อนรับประทาน

    อาการอาหารเป็นพิษในเด็กไม่เกิดอาการที่ไม่รุนแรงได้ ถ้าคุณแม่สามารถรับมือและดูแลภาวะอาหารเป็นพิษที่ที่ถูกต้องได้ค่ะ และหากพบอาการผิดปกติควรพบแพทย์ทันทีนะคะ

  • โรคซึมเศร้าในเด็ก

    โรคซึมเศร้าในเด็ก

    โรคซึมเศร้าในเด็ก

    อาการซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย และในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอัตราภาวะซึมเศร้าในวัยเด็กเพิ่มมากขึ้น และหลายคนอาจสงสัยว่าเด็กๆจะซึมเศร้าได้หรือไม่ เนื่องจากหลายท่านยังคงเชื่อว่าเด็กจะไม่รู้สึกโศกเศร้าหรือหดหู่เพราะพวกเขายังเด็กมาก ดังนั้นบทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจ และตระหนักถึงภาวะซึมเศร้าในเด็กที่อาจขึ้นกับลูกของคุณค่ะ

    เด็กๆประสบกับภาวะซึมเศร้าได้หรือไม่

    ภาวะซึมเศร้าในเด็ก (Depression) เป็นความเข้าใจผิดที่ผู้ใหญ่หลายท่านเข้าใจว่า เด็กๆไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้เพียงเพราะอายุ ความจริงแล้วภาวะซึมเศร้าในเด็กนั้นเป็นเรื่องปกติมากกว่าที่คุณคิด โดยพฤติกรรมของเด็กที่ซึมเศร้าอาจแตกต่างจากพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่มีภาวะซึมเศร้าค่ะ ภาวะซึมเศร้าอาจอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรงและมีอาการเฉพาะบางอย่าง ภาวะซึมเศร้าในเด็กสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้

    1. ภาวะซึมเศร้าดิสทีเมีย ดีเพรสชั่น (Dysthymia Depression) เป็นประเภทของภาวะซึมเศร้าที่มีอาการรุนแรงน้อยแต่มีแนวโน้มที่จะเรื้อรังนานกว่า 2 ปี
    2. ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ความผิดปกติทางอารมณ์จากฤดูที่เปลี่ยนแปลง และมักเกิดขึ้นกับผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศเขตหนาว เนื่องจากกลางวันสั้นลง กลางคืนยาวนานทำให้คนซึมเศร้า จิตตก รู้สึกเฉื่อยชามากขึ้น
    3. ภาวะซึมเศร้าแบบสองขั้ว (Bipolar depression) ลูกของคุณมีแนวโน้มที่อารมณ์ขึ้นและลง บางรายจะมีอารมณ์ซึมเศร้าสลับกับอาการลิงโลด โดยเป็นอารมณ์ที่ต่างขั้วกัน
    4. ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorder) เป็นภาวะความกดดันก่อให้เกิดความเครียด จนไม่สามารถปรับตัวได้ เช่น การเสียชีวิตของผู้ใกล้ชิด เป็นต้น

    สาเหตุของอาการซึมเศร้าในเด็ก

    อาการซึมเศร้าในเด็กไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ อาจเป็นผลกระทบมาจากปัจจัยต่างๆประกอบกัน เช่น สุขภาพร่างกาย ประวัติครอบครัวภาวะซึมเศร้า ความเจ็บป่วยทางจิต ความอ่อนแอทางพันธุกรรม สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และความไม่สมดุลทางชีวเคมี เป็นต้น ทางการแพทย์เชื่อว่าภาวะซึมเศร้าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสมอง

    สัญญาณและอาการซึมเศร้าในเด็ก

    อาการของภาวะซึมเศร้าสามารถอยู่ได้นานหลายสัปดาห์ หลายเดือนและหลายปีหากไม่ได้รับการรักษา ซึ่งอาจส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อชีวิตประจำวันของลูกรวมถึงกิจกรรมที่โรงเรียน อาการของภาวะซึมเศร้านอกเหนือจากความหงุดหงิดแล้ว ถ้าลูกของคุณแสดงอาการต่อไปนี้ลูกของคุณประสบกับปัญหาภาวะซึมเศร้าได้ค่ะ

    • โศกเศร้าบ่อยครั้ง น้ำตาไหล ร้องไห้บ่อย
    • รู้สึกหงุดหงิด และอารมณ์โกรธ
    • อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย
    • ขาดสมาธิ ปัญหาด้านการเรียนรู้
    • รู้สึกผิด ความนับถือตนเองต่ำ
    • ความโดดเดี่ยวทางสังคมการสื่อสารไม่ดี
    • ทำตัวห่างไกลจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและชอบอยู่คนเดียว ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนุกสนานอีกต่อไป
    • การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการกิน ความผันผวนของน้ำหนัก และมีปัญหากับการนอนหลับ
    • การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการก่อให้เกิดอันตรายกับตัวเอง

    เด็กอาจเป็นเรื่องยากที่จะระบุภาวะซึมเศร้าด้วยความถูกต้อง และขึ้นอยู่กับอาการเหล่านี้เพียงอย่างเดียว แต่ถ้าลูกของคุณแสดงอาการเหล่านี้มานานกว่า 2-3 สัปดาห์ก็ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ

    การวินิจฉัยอาการซึมเศร้าในเด็ก

    หากลูกของคุณแสดงอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ คุณควรพาเขาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อขอคำปรึกษาและวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าของเด็กได้อย่างถูกต้อง และในส่วนหนึ่งของการประเมินแพทย์อาจต้องการพูดคุยกับผู้ปกครองเช่นเดียวกับลูกของคุณค่ะ รวมถึงอาจขอข้อมูลจากครูและเพื่อนร่วมชั้นเพื่อระบุพฤติกรรม เพื่อใช้การวิเคราะห์ภาวะซึมเศร้าในเด็กโดยเฉพาะค่ะ

    การรักษาภาวะซึมเศร้าในเด็ก

    การรักษาภาวะซึมเศร้าในวัยเด็กมีความคล้ายคลึงกับผู้ใหญ่ที่มีภาวะซึมเศร้า ด้วยจิตบำบัดหรือการใช้ยาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสภาพความซึมเศร้า ในเด็กที่มีความรุนแรงระดับปานกลางมักรักษาได้ด้วยจิตบำบัดเพียงอย่างเดียว นอกเหนือจากการบำบัดการใช้ยามักจะต้องใช้ในกรณีรุนแรงของภาวะซึมเศร้า ซึ่งการหายาที่เหมาะสมและขนาดยาอาจต้องใช้เวลา นอกจากนี้การใช้ยาเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถแก้ปัญหาภาวะซึมเศร้าได้

    ภาวะซึมเศร้าในเด็กสามารถป้องกันได้หรือไม่

    ภาวะซึมเศร้าในวัยเด็กในระดับหนึ่งสามารถป้องกันได้ โดยสิ่งสำคัญคือเด็กต้องเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเลี้ยงดูที่แนบแน่นระหว่างเด็กและผู้ปกครอง การให้ความรักและการดูแลเอาใจใส่ เมื่อลูกของคุณถูกล้อมรอบจากครอบครัวที่เข้มแข็งความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อพัฒนาทักษะการเผชิญปัญหาที่ดี และควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ดี

    อาการซึมเศร้าอาจส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อชีวิตของลูกคุณ ดังนั้นการจัดการกับเด็กที่มีภาวะซึมเศร้าอาจทำให้เกิดความเครียด และต้องใช้เวลารวมถึงความพยายามอย่างมาก ขั้นตอนแรกคือการพูดคุยกับลูกของคุณเกี่ยวกับความรู้สึกและอารมณ์ของพวกเขาทุกครั้งที่ลูกต้องการพูดคุย การให้การสนับสนุนและการสละเวลาให้กับลูกของคุณนั้นเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการฟื้นฟูที่ดีที่สุดค่ะ

  • เคล็ดลับความปลอดภัยในบ้านสำหรับลูกน้อย

    เคล็ดลับความปลอดภัยในบ้านสำหรับลูกน้อย

    เคล็ดลับความปลอดภัยในบ้านสำหรับลูกน้อย

    บ้านเป็นสถานที่แรกของการเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่าง การสัมผัสและรับรู้ถึงความรักการดูแลและความสะดวกสบาย เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจที่ดีเหมาะสมวัยของลูก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณต้องมีการป้องกันพร้อมกับสอนเรื่องความปลอดภัยในบ้านให้กับลูกของคุณ

    10 กฏสร้างความปลอดภัยในบ้านสำหรับลูกน้อย

    ในขณะที่บ้านเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กที่สุด แต่อาจมีอันตรายที่ซ่อนอยู่เช่นกันค่ะ บทความนี้เรารวมความปลอดภัยในบ้านที่สามารถป้องกันได้มาฝากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองค่ะ

    • อย่าปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพังในน้ำ

    สระน้ำกับเด็กเป็นอุบัติเหตุที่พบบ่อยมากๆค่ะ สำหรับเด็กๆที่ชอบเล่นน้ำไม่ว่าจะเป็นอ่างอาบน้ำหรือสระว่ายน้ำ แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่สนุกสนานแต่มีโอกาสเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น การจมน้ำซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในอ่างน้ำหรือสระว่ายน้ำ วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการไม่ปล่อยให้ลูกของคุณเล่นน้ำตามลำพัง หรือก้มน่าเล่นโทรศัพท์มือถือแม้เป็นช่วงระยะเวลาสั้นก็ตามคะ 

    • เก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหรือสารเคมีให้ห่างจากเด็ก

    ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั้งหมดมีสารเคมีในตัวซึ่งเป็นพิษสูงเมื่อกลืนกินเข้าไป การป้องกันคือการเก็บให้พ้นมือเด็กๆ และหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะบรรจุอาหารหรือเก็บไว้ในครัว เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดของเด็กค่ะ

    • ที่นอนหรือชุดเครื่องนอนสำหรับเด็ก

    หลีกเลี่ยงการตกแต่งพื้นที่การนอนของลูกด้วยตุ๊กตาตัวใหญ่ หมอนหรือผ้าห่มขนาดใหญ่มีน้ำหนัก เพื่อป้องกันการกดทับลูกน้อยซึ่งอาจทำให้หายใจไม่ออกได้ออก และหลีกเลี่ยงเตียงนอนสูงๆในกรณีที่ลูกเริ่มคลานได้แล้วค่ะ ควรเลือกใช้ผ้าห่มเนื้อบางเบาและถ้าอากาศเย็นควรสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมกับอากาศค่ะ

    • ควรปิดปลั๊กไฟและเก็บสายไฟฟ้า

    ทำให้บ้านของคุณปลอดภัยจากการถูกไฟฟ้าช็อตทุกชนิดด้วยการปิดปลั๊กไฟ ทิ้งอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือซ่อมแซมสายไฟที่ชำรุด และควรสอนลูกเกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้าช็อต และไม่ควรจับอุปกรณ์ไฟฟ้าในขณะที่มือเปียก

    • สิ่งของมีคมหรืออาวุธปืน

    ควรเก็บสิ่งของมีคม มีด กรรไกร ให้พ้นมือเด็ก และหากคุณมีอาวุธปืนอยู่ที่บ้าน คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามันถูกเก็บไว้ในที่ปลอดภัยและไม่ควรบรรจุกระสุนไว้ รวมถึงการสอนลูกของคุณเกี่ยวกับอันตรายของการใช้ปืนในชีวิตจริง และบอกความแตกต่างระหว่างปืนที่วีรบุรุษใช้ในภาพยนตร์หรือการ์ตูนค่ะ

    • หลีกเลี่ยงของเล่นหรืออาหารที่มีขนาดเล็กๆ

    เนื่องจากเด็กๆมักได้รับอันตรายจากการสำลักอาหาร ของเล่นขนาดเล็ก เช่น ถั่วขนาดเล็ก องุ่น ลูกปัด กระดุม ถ่านของเล่น เหรียญ เป็นต้น ดังนั้นการทำอาหารให้ลูกของคุณรับประทานควรระมัดระวัง และไม่ควรเล่นกับลูกน้อยให้ขณะป้อนอาหาร เพราะการหัวเราะในขณะที่กลืนอาหารอาจทำให้สำลักได้ค่ะ รวมถึงการสอนให้ลูกน้อยเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนค่ะ

    • การติดตั้งสัญญาณเตือนควันในบ้าน

    การติดตั้งสัญญาณเตือนควันที่บ้าน และสอนเด็กๆเกี่ยวกับสัญญาณเตือนไฟไหม้ พร้อมแผนหนีไฟเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนภัยค่ะ

    • ความปลอดภัยขณะเล่นกับสัตว์เลี้ยง

    ถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงของเราก็ตาม แต่การกระทำบางอย่างของลูกๆของคุณ อาจทำให้สัตว์เลี้ยงหงุดหงิดได้ เช่น การดึงหางแรงๆ การแกล้งขณะสัตว์เลี้ยงกำลังกินอาหาร เป็นต้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกๆของคุณมีความอ่อนโยนกับสัตว์เลี้ยง และ เตือนลูกของคุณให้อยู่ห่างจากสัตว์เลี้ยงซึ่งกำลังขู่คำรามหรือแสดงอาการหวงของค่ะ

    ไม่ว่าคุณจะระมัดระวังแค่ไหนแต่มันเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องเตรียมพร้อมในกรณีที่มีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าลูกของคุณปลอดภัย ดังนั้นการเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลและเตรียมชุดอุปกรณ์การปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงการเขียนเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินที่เห็นได้ชัดเจน และหากลูกของคุณโตพอให้สอนเขาให้โทรไปยังหมายเลขฉุกเฉินดังกล่าว ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นค่ะ

  • ผดร้อนในทารก

    ผดร้อนในทารก

    ผดร้อนในทารก 

    ผดร้อนที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องธรรมดาในเด็กและทารกเนื่องด้วยประเทศไทยเป็นเมืองร้อน แม้ว่าผดร้อนจะสร้างความน่ารำคาญแต่ก็สามารถรักษาได้ ดังนั้นบทความนี้เราจะมาเรียนรู้ผดผื่นร้อนในเด็กทารกรวมถึงวิธีการดูแลรักษา

    ผดผื่นร้อนคืออะไร

    ผื่นความร้อนเรียกอีกอย่างว่า ผื่นฤดูร้อนหรือผด, Heat rash, Prickly Heat หรือ Miliaria เป็นผดผื่นเล็กๆมีสีแดงสามารถขึ้นในส่วนต่างๆของร่างกาย โดยผดเหล่านี้มักกจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีอากาศร้อนหรืออากาศอบอ้าวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะขึ้นในบริเวณ คอ หน้าอก ก้น ท้อง และบริเวณที่มีการเสียดสีกัน เช่น ข้อพับแจน รักแร้ เป็นต้น ผดร้อนเป็นอาการทางผิวหนังที่ไม่อันตรายสามารถรักษาให้หายได้ค่ะ แต่ก็อาจจะก่อให้เกิดอาการคันหรือแสบทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายเพียงเล็กน้อยกับลูกของคุณค่ะ

    สาเหตุของผดผื่น

    ผดผื่นจากอาการร้อนจะปรากฏขึ้นหากลูกน้อยของคุณเหงื่อออกมาก เนื่องจากเหงื่อออกมากเกินไปทำให้รูขุมขนอุดตันและเหงื่อไม่สามารถออกมาได้ เด็กและทารกจะมีผดผื่นเนื่องจากรูขุมขนเล็กลงเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ และสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงฤดูหนาวหากลูกน้อยของคุณมีไข้หรือหากคุณสวมใส่เสื้อผ้าหลายชั้นทำให้เกิดการอับชื้นในบริเวณนั้น

    การรักษาผดร้อนในทารก

    การรักษาผดร้อนนั้นไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงโดยเฉพาะ แต่สิ่งที่คุณแม่สามารถทำได้เพื่อให้ลูกน้อยของคุณผ่อนคลายจากอาการที่เกิดขึ้นค่ะ ได้แก่ การลดความร้อน โดยการถอดเสื้อผ้าของทารกเพื่อคลายความร้อยให้กับผิวหนัง การอาบน้ำในน้ำเย็นเพื่อกำจัดเหงื่อและล้างรูขุมขนค่ะไม่ควรใช้ขี้ผึ้งหรือครีมสำหรับผดผื่นเว้นแต่ว่าแพทย์แนะนำเท่านั้น รวมถึงการสวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะกบสภาพอากาศค่ะ เพื่อให้ผิวหนังของลูกน้อยสัมผัสกับอากาศธรรมชาติมากที่สุดค่ะ

    วิธีป้องกันผดผื่น  

    การป้องกันไม่ให้เกิดผดผื่นคันที่พบบ่อยในเด็กทารก ซึ่งคุณสามารถทำได้ดังนี้

    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศร้อนจัด หรือสถานที่อบอ้าว
    • สวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน
    • เนื่องจากคอ รักแร้ และข้อพับต่างๆมักเกิดผดร้อนได้ง่าย คุณแม่ควรดูแลให้บริเวณดังกล่าวแห้งหรือมีเหงื่อไหลออกมามากเกินไปค่ะ
    • วันที่มีอากาศร้อนมากควรให้ลูกนอนหลับในห้องปรับอากาศหรือมีพัดลม แต่ไม่ควรจี้โดนตัวโดยตรงค่ะ เพียงให้แน่ใจว่าสายลมอ่อนโยนมาถึงพวกเขาในขณะที่พวกเขานอนหลับก็เพียงพอค่ะ

    การผดร้อนในทารกเกิดขึ้นง่ายมากค่ะ และลูกน้อยไม่สามารถสื่อสารหรือแสดงความรู้สึกไม่สบายได้ในช่วงที่มีอาการผื่นแดง คุณแม่ควรหมั่นดูแลอยู่เสมอค่ะ เพื่อช่วยให้ลูกขอคุณรู้สึกสบายตัวมากขึ้นค่ะ

  • Reye’s Syndrome

    Reye’s Syndrome

    ปัจจุบันการเจ็บป่วยของเด็กมีสูงขึ้น อาจจะด้วยสิ่งแวดล้อมหรือมลพิษต่างๆที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ป่วยได้ วันนี้เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มารูจักกับกลุ่มอาการเจ็บป่วยในเด็กที่อาจทำให้ลูกของคุณเสียชีวิตได้ค่ะ

    Reye Syndrome หรือกลุ่มอาการราย เป็นอาการที่พบได้ยากแต่รุนแรง ทำให้เกิดการบวมในตับและสมองหรือในบางรายอาจเสียชีวิตได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 4 ปีไปจนถึงช่วงอายุไม่เกิน 20 ปี ที่ฟื้นตัวจากการติดเชื้อไวรัส หรือการใช้ยาแอสไพรินในช่วงเจ็บป่วยจากไวรัส 

    สาเหตุของกลุ่มอาการ Reye ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งอาจจะถูกกระตุ้นจากการใช้ยาแอสไพรินในการรักษาโรคไวรัสหรือการติดเชื้อ โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใสในเด็ก หรือวัยรุ่นที่มีความผิดปกติของกรดไขมัน(กลุ่มของความผิดปกติของการเผาผลาญที่สืบทอดทางพันธุกรรม) หรือในบางกรณีอาจถูกกระตุ้นจากการสัมผัสกับสารพิษบางชนิด เช่น ยาฆ่าแมลง สารกำจัดวัชพืช และทินเนอร์ซึ่งสงผลให้เกิดเกิดกลุ่มอาการรายได้เช่นกันค่ะ

    อาการของกลุ่มอาการ Reye โดยทั่วไปจะปรากฏประมาณ 3 – 5 วันหลังจากเริ่มมีการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส หรือการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคหวัด เป็นต้น โดยมีอาการดังนี้ อาเจียนบ่อย มีพฤติกรรมหงุดหงิดก้าวร้าว สับสน งุนงง ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอนผิดปกติหรือเซื่องซึม ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี จะมีอาการโรคท้องร่วงและหายใจเร็ว ในบางกรณีที่พบอาการรุนแรง การอาเจียนอย่างต่อเนื่อง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชักและหมดสติ ส่งผลกระทบต่อส่วนต่างๆของร่างกาย และนำไปสู่อาการสมองบวม ซึ่งเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ ดังนั้นควรรีบพบแพทย์ทันที 

    การรักษากลุ่มอาการราย แพทย์จะทำการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นเป็นหลักค่ะ และการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ เพื่อป้องกันอาการรุนแรงหรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ชักหมดสติซึ่งอาจทำให้สมองบวมหรือสมองเสียหายถาวรได้ และในกรณีที่ผู้ป่วยอาการรุนแรงอาจต้องได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิดในห้องผู้ป่วยไอซียู เนื่องจากอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ

    การป้องกันกลุ่มอาการราย เนื่องจากยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเกิดมาจากสาเหตุใด ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจทำให้เกิดกลุ่มอาการราย เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โรคอีสุกอีใส ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการให้ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่มีแอสไพรินในช่วงเวลาที่เจ็บป่วย หรือปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่มีแอสไพรินค่ะ

    เพราะสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญการป้องกันจึงเป็นที่จำเป็นเสมอ หรือหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงที ความสูญเสียก็จะไม่เกิดขึ้นค่ะ ด้วยความปรารถนาจาก www.thaichildcare.com

  • กระพริบตามากเกินไปในเด็ก

    กระพริบตามากเกินไปในเด็ก

    การกระพริบเป็นพฤติกรรมการป้องกันปกติของดวงตา ช่วยหล่อลื่นด้านหน้าของลูกตารวมทั้งป้องกันดวงตาจากแสงจ้าฝุ่นและสิ่งสกปรกอื่นๆ ซึ่งอัตราการกระพริบในทารกแรกเกิดเพียง 2 ครั้งต่อนาที และเพิ่มขึ้นเป็น 14 – 17 ครั้งต่อนาทีเมื่อโตขึ้นค่ะ แต่อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะหากคุณกำลังสงสัยว่าลูกของคุณกระพริบตามากเกินไป กระพริบตามากเกินไปส่วนใหญ่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงค่ะ แต่ก็ไม่ควรพยายามวินิจฉัยหรือรักษาด้วยตัวเองค่ะ เพราะดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญควรพบแพทย์เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุและการดูแลรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นค่ะ

    การกะพริบมากเกินไปในเด็กส่วนใหญ่มีสาเหตุไม่ร้ายแรงค่ะ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุการระคายเคืองตา การอักเสบของเปลือกตา หรือความเครียด หรือพฤติกรรมชั่วคราวซ้ำซากที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อย รวมถึงสาเหตุที่หายากของการกะพริบมากเกินไป อาจเป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้ค่ะ เช่น ในกรณีการกระตุกตาอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติของสมอง และระบบประสาทบางอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีสัญญาณและอาการอื่นๆ เช่น การได้ยิน การพูดออกเสียงที่ผิดปกติควรพบแพทย์โดยเร็วค่ะ

    การรักษามีหลายวิธีในการรักษาดวงตาที่กระพริบตามากเกินไปในเด็ก ควรได้รับการตรวจตาอย่างละเอียดจากจักษุแพทย์เพื่อประเมินปัญหาทางด้านสายตาค่ะ ในกรณีที่มีปัญหาด้านสายตา การรักษาอาจทำได้ง่ายเพียงแค่ได้รับแว่นตา หรือการระคายเคืองจาการรับแสงจ้าเวลาหน้าจอมากเกินไปหรือการอ่านเป็นระยะเวลานาน เพื่อลดความเครียดทางสายตา การใช้ยาหยอดตาที่ให้ความชุ่มชื้นหล่อลื่นเป็นประจำสำหรับตาแห้งและโรคภูมิแพ้ตา เป็นต้น ซึ่งการรักษาควรอยู่ในความดูแลและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้นค่ะ

    วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการกะพริบมากเกินไปในเด็ก ด้วยการสร้างพฤติกรรมการมองเห็นที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กกระพริบตามากเกินไป เช่น การสวมแว่นกันแดด ฝุ่นละออง สารระคายเคืองอื่นๆหรือหมวกปีกกว้างกลางแจ้ง หลีกเลี่ยงการอ่านในที่แสงน้อย หรือการจอหน้าจอเป็นเวลานาน ล้างมือก่อนสัมผัสดวงตาเพื่อป้องกันเชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรีย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยบำรุงสายตา เช่นกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยป้องกันความแห้งกร้านในดวงตา รวมถึงการดื่มน้ำสะอาดมากๆและการนอนหลับฟักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงต่อวัน เป็นต้น

    เมื่อใดที่คุณควรกังวลเมื่อพบว่าลูกของคุณกำลังมีปัญหาทางด้านดวงตา แต่สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าการที่เด็กตากะพริบมากเกินไปนั้นไม่ใช่สิ่งที่อันตรายถึงชีวิตหรือแก้ไขไม่ได้ค่ะ แต่หากพบสัญญาณเหล่านี้ให้พาลูกไปพบแพทย์ทันที ได้แก่ การขยี้ตาบ่อยๆ ตาแดง ลูกของคุณต้องดิ้นรนเพื่อลืมตาหลังจากตื่นขึ้นมาในตอนเช้า ตาแฉะขี้ตาเยอะผิดปกติ การมองเห็นที่ผิดปกติ(สายตาสั้น) หรือมีอาการไวต่อแสงสูงมาก เป็นต้น

    การกะพริบมากเกินไปส่วนใหญ่ไม่ใช่เงื่อนไขที่ร้ายแรงค่ะ หากพบว่าลูกของคุณเริ่มกระพริบตามากเกินไปให้ตรวจสอบอาการบาดเจ็บที่ตา หรือการติดเชื้อหรือสังเกตสถานการณ์ที่ทำให้กระพริบตา เพื่อช่วยระบุสาเหตุและพบแพทย์ทันทีค่ะ