การจาม

อาการ “จาม” คืออะไร

อาการจาม หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Sneezing reflex เป็นปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นกับจมูก เพราะจมูกเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่หายใจจึงเป็นตัวช่วยในการป้องกันสิ่งสกปรก ฝุ่นผง ฝุ่นละอองขนาดเล็กๆ เข้าไปในปอด

ฝุ่นละอองผ่านเข้าปอด

 แต่ด่านแรกที่ฝุ่นละอองเหล่านั้นจะเข้าไปได้จะต้องผ่านขนจมูกเป็นด่านแรกเสียก่อน ซึ่งขนจมูกจะทำหน้าที่กรองฝุ่นผง ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่ก่อน ส่วนฝุ่นผง ฝุ่นละออง เล็กๆจะสามารถผ่านเข้าไปในช่องโพรงจมูก แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ ในช่องโพรงจมูกก็จะมีเยื่อเมือก หรือที่เรียกว่า mucous blanket คอยจับฝุ่นผง ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมากๆ อยู่ค่ะ นอกจากนั้นยังไม่พอ นอกจากเรามีทั้งขนจมูก และเยื่อเมือก mucous blanket  จมูกของเรายังมีสารหลายชนิดที่ช่วยกันหลั่งออกมาในการป้องกันเชื้อโรคต่างๆ อีกด้วย เช่น ไลโซไซม์ (Lysozyme), แลคโตเฟอริน (lactoferrin), อิมมนูโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นต้น 

เสียงที่เราจามที่เปล่งออกมา “ฮัดเช้ย,ฮัดชิ้ววว, ฮัดชู้ววว” เกิดจากการระคายเคืองของเส้นประสาทของทางเดินหายใจ ส่งกระแสผ่านไปทางเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 (เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 เป็นเส้นประสาทที่ควบคุมสมองของมนุษย์เรา มีทั้งหมด 12 คู่) ส่งผ่านไปยังสมองส่วนเมตัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) เป็นสมองที่อยู่ท้ายสุดมีหน้าที่สำคัญของสมองเมตัลลาออบลองกาตา คือเป็นศูนย์หลักในการควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ (แล้วเกิดภาวะตื่นตัวของระบบกล้ามเนื้อทำให้มีการขับลมออกมาอย่างรุ่นแรง และจะทำงานร่วมกันกับการเคลื่อนตัวลงของลิ้นไก่ การหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อท้อง กระบังลง และกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครง จึงเกิดเป็นเสียงจาม ฮัดเช้ยยย ออกมานั้นเอง 

รู้สึกดี

เวลาที่มนุษย์เราจามแล้วจะรู้สึกดี เราจะรู้สึกโล่งจมูก และหายใจได้สะดวกขึ้น เพราะการจามนั้นจะช่วยดันเอาสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่ร่างกายออกมา ก่อนที่สิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นจะเข้าไปกระตุ้นปลายประสาทรับความรู้สึกปลายประสาทที่อยู่ในจมูกจะส่งสัญญาณผ่านเซลล์ประสาทรับความรู้สึกคือ Sensoy Nerve เป็นเซลล์ประสาทที่ตอบสนองต่อการสัมผัส และสิ่งเร้าอื่นๆ และส่งต่อสัญญาณ ไปที่ศูนย์การจาม Sneezing Center ตั้งอยู่ในตำแหน่งในไขกระดูกด้านข้าง rostral ซึ่งอยู่บริเวณแกนกลางของสมองและก็จะมีการสั่งการผ่านเซลล์ประสาทต่างๆ มากมาย ไปจนถึง Motor Nerve ซึ่งเป็นเซลล์ประสาทสั่งการที่จะรับสัญญาณจากสมองและไขสันหลัง และให้เกิดกล้ามเนื้อเกร็ง คลาย ทำให้ต่อมต่างๆ หลั่งสารต่างๆ  ไปยังตา จมูก ปอด กล้ามเนื้อหน้าอกและปาก เพื่อจามเอาสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งกระตุ้นออกไป

น้ำมูกไหล

 ซึ่งเมื่อเราจามแต่ละครั้งจะขับน้ำและเมือกออกมา ซึ่งจะมีจุลินทรีย์และแบคทีเรีย เชื้อโรค ที่สามารถแพร่กระจายไปสู่คนอื่นได้ และอาการจามพบได้กับบุคคลทั่วไป่ และอาจเป็นอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้

ทำอย่างไรไม่ให้เรา “จาม”

ควัน

– หลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการระคายเคือง ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น ควัน เกสรดอกไม้ สารเคมี หรือบริเวณที่มีคนพลุกพล่าน

การป้องกันการจาม

– อาการจามที่เกิดจากโรค จะสามารถแพร่กระจายติดต่อกันได้ ผู้ป่วยควรหาผ้าปิดจมูก หรือจะใช้กระดาษทิชชู่ ปิดปาก ปิดจมูกเวลาจาม หรือถ้าเราไม่สามารถควบคุมการจามได้ ก็ให้สวมผ้าปิดจมูกไว้ตลอด หรือถ้าหากระดาษทิชชู่ และผ้าปิดจมูกไม่ได้จริงๆ ขอแนะนำแขนเสื้อของเราค่ะ เพราะสามารถช่วยป้องกันคนอื่นที่จะติดต่อกับเราได้มากเลยทีเดียว

การล้างมือ

– ขยันล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ น้ำสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ ทุกครั้งนะคะ

คนป่วยไข้หวัด

– หากทราบว่าตัวเองกำลังป่วยจากการเป็นโรคทางเดินหายใจที่สามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้ ควรรักษาตัวแยกกับผู้อื่น หรือหลีกเลี่ยงจากผู้ที่ไม่ป่วย