SLE

ถ้าเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง SLE มีลูกได้หรือไม่

โรค SLE คือโรคที่มีสาเหตุมาจากภูมิคุ้มกันในร่างกายมีการทำงานที่ผิดปกติ ไม่สามารถจดจำเนื้อเยื้อในร่างกายได้ ทำให้สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อทำลายเนื้อเยื้อตนเอทั่วทั้งร่างกาย เช่น บริเวณผิวหนัง ปอด ไต ข้อต่างๆ ตามร่างกาย และหัวใจ เป็นต้น ในบางครั้งโรค SLE มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “โรคพันหน้า” เนืองจากสามารถแสดงอาการทางร่างกายหลายระบบและมีความเด่นชัดของอาการในแต่ละระบบต่างๆ แตกต่างกันออกไป เช่น อาจจะแสดงอาการผื่นผิวหนัง ข้ออักเสบ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือมีความดันโลหิตสูง เป็นต้น

การคุมกำเนิดของผู้ป่วยโรค SLE ที่ถูกต้อง

ผู้ป่วยที่เป็นโรค SLE และมีการตั้งครรภ์ อาจทำให้โรค SLE กำเริบขึ้นมาได้ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ เด็กมีการพัฒนาการทางร่างกายช้า ทำให้ตัวเล็กกว่าอายุ ภาวะคลอดก่อนกำหนด หรือตลอดจนคุณแม่อาจแท้งลูกได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรค SLE ไม่แนะนำให้มีบุตร ต้องได้รับการคุมกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะที่อาการ SLE กำเริบ ควรควรกำเนิดด้วยวิธีการสวมถุงยางอนามัย หรือการฉีดยาคุมกำเนิด ไม่ควรใช้การกินยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนขนาดสูง อาจส่งผลให้โรค SLE กำเริบ และหากผู้ป่วยที่เป็นโรค SLE และมีภาวะแอลตี้ฟอสโฟไลปิดร่วมด้วย ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นหลอดเลือดอุดตัน ดังนั้นการคุมกำเนิดของผู้ป่วย SLE ควรหลีกเลี่ยงการกินยาคุมกำเนิด หากมีความจำเป็นควรใช้ยาคุมกำเนิดที่ควรใช้ชนิดที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ และควรใช้ในช่วงที่โรคโรคสงบ ไม่มีอาการกำเริบ และต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่มีภาวะแอนตีฟอสโฟไลปิดร่วมการคุมกำเนิดวิธีอื่น เช่น การใส่ห่วงคุมกำเนิดนั้นไม่แนะนำเนื่องจากผู้ป่วยโรคลูปัสมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการมีบุตรอีกอาจพิจารณาการทำหมัน

โรคแพ้ภูมิตัวเองกับการตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์อาจทำให้โรค SLE กำเริบได้ ดังนั้น คำแนะนำของการมีลูกคือ ไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำในการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องปลอดภัย แต่คำแนะนำเบื้องต้นมีต่อ ดังนี้

  • ก่อนจะทำการตั้งครรภ์ต้องทำการหยุดยาคอร์สเตรียรอยด์ หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในขนาดต่ำ ต่ำกว่า 10 มิลลิกรัม/วัน นานอย่างน้อย 6 เดือน
  • ก่อนจะทำการตั้งครรภ์ควรหยุดยาภูมิคุ้มกัน เช่น ยา methotrexte ยา cyclophosphamide และยา MMF ก่อนอย่างน้อย 30 วันก่อนการปฏิสนธิ
  • หยุดยา leflunomide อย่างน้อย 2 ปีก่อนการปฏิสนธิ

ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์โดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้าควรให้ผู้ป่วยหยุดยาทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ส่วนยาต้านมาลาเรียในขณะตั้งครรภ์นั้น จากการศึกษาพบว่าจะช่วยป้องกันการกำเริบของโรคในขณะตั้งครรภ์จึงไม่จำเป็นต้องหยุดยาก่อนขณะตั้งครรภ์ผู้ป่วยควรได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด ควรได้รับการนัดตรวจทุก 4-6 สัปดาห์ เพื่อประเมินอาการ

ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์และมีอาการแสดงของโรคกำเริบขณะตั้งครรภ์อาจควบคุมด้วยยา prednisolone เพราะยาจะถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงที่รกทำให้ยาไปถึงลูกในขนาดต่ำควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา dexamethasone เนื่องจากยา dexamethasone จะไม่ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงที่รกจึงสามารถข้ามรกไปสู่ลูกได้ อย่างไรก็ตามขนาดของยา prednisolone ที่สูงกว่า 20 มิลลิกรัมต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ และภาวะเบาหวานในคนท้อง

ประมาณร้อยละ 25-35 ของผู้ป่วยโรคSLEตรวจพบ anti-cardiolipin antibodies ให้ผลบวกและร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคSLEมีโรคแอนตีฟอสโฟไลปิดร่วม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการได้หลายรูปแบบ เช่น เกล็ดเลือดต่ำ มีลิ่มเลือดที่หลอดเลือดดำ หลอดเลือดไปเลี้ยงสทองอุดตัน มีการอุดตันของหลอดเลือดเล็กในไต ฯลฯ การรักษาผู้ป่วยที่มีโรคSLEมีโรคแอนตีฟอสโฟไลปิดร่วมที่มีหลอดเลือดอุดตันนั้นควรให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยา wafarin เพื่อให้ค่า prothombin time ยาวขึ้นประมาณ 2-3 เท่าจากค่าควบคุม ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดดำอุดตัน 3 เท่าจากค่าควบคุมในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงอุดตัน 3-4 เท่าจากค่าควบคุมร่วมกับยาแอสไพรินขนาดต่ำในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดอุดตันซ้ำหลังจากได้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และควรให้นานไปตลอดชีวิต

มียาบางชนิดเมื่อใช้ติดต่อเป็นเวลานาน (โดยไม่จำกัดความ มากกว่า 1 เดือน) อาจทำให้เกิดอาการเหมือนโรคSLE และทำให้ผลการตรวจ anti-nuclear antibody (ANA) ให้ผลบวก เราเรียกภาวะนี้ว่าเป็น โรคSLEจากการใช้ยา ได้แก่

  • Chlorpromazine Methyldopa Hydralazine Procainamide Isoniazid Quinidine
  • ส่วนยาที่อาจทำให้เกิดโรคSLEจากการใช้ยามีหลายชนิด เช่น ยา phenytoin ยา proputhiouracil ยา sulfasalazine ยา isoniacid ฯลฯ
  • อาการของโรคSLEจากการใช้ยามักไม่รุนแรงส่วนใหญ่จะเป็นอาการทางข้อ และผิวหนัง อาจมีเยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือความผิดปกติต่อเม็ดเลือด การตรวจ ANA มักให้ผลบวกเป็นรูปแบบ homogenous และอาจให้ผลบวกในการตรวจหา anti-histone antibody แต่ส่วนใหญ่จะให้ผลลบต่อการตรวจ anti-ds DNA antibody การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้คือการหยุดยาที่ชักนำให้เกิดโรค อาการจะหายไปภายในระยะเวลาเป็นวันถึงสัปดาห์หลังจากหยุดยา และอาการที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะตอบสนองดีต่อยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ บางรายอาจจำเป็นต้องได้รับยา prednisolone ได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยรวมผู้ป่วยกลุ่มนี้จะตอบสนองดีต่อการรักษา

บทความที่เกี่ยวข้อง