ผดผื่นบนหน้าลูก

ผดผื่นบนใบหน้าของทารก

ผดผื่นบนผิวหนังของลูกปัญหากวนใจให้กับคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยไม่ใช่น้อย เนื่องจากผิวหนังของลูก โดยเฉพาะเด็กทารกแรกเกิดยังมีความบอบบางอยู่มาก พร้อมที่แพ้ได้ตลอดเวลาหากมีอะไรมาสัมผัสผิวของลูกน้อย ผด ผื่น มีอยู่หลายชนิด และสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย แต่สำหรับในครั้งนี้เราจะมีทำความรู้จักเกี่ยวกับผื่นที่มักจะเกิดขึ้นบริเวณใบหน้าว่ามีชนิดใดบ้าง ลักษณะเป็นอย่างไร ตลอดจนวิธีการรักษาและบรรเทาอาการของผดผื่น

โดยปกติแล้วผดผื่นบนใบหน้าของทารกมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ส่วนมากมักไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้เอง แต่ก็มีบางชนิดหากเกิดขึ้นแล้วอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงได้ ดังนั้นเพื่อความแน่ใจคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตุการเกิดผื่นและสังเกตุอาการของลูกควบคู่ไปด้วยกัน หากไม่แน่ใจควรพาลูกพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไปค่ะ

ผดผื่นที่เกิดขึ้นบ่อยบนใบหน้าทารก

ผดผื่นร้อน

ผดผื่นร้อนจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง ตุ่มใสแดงและมีหนองร่วมด้วย มักจะเกิดจากการอุดตันของต่อมเหงื่อ (occlusion of eccrine sweat duct) มักจะเกิดขึ้นในบริเวณแขน ขา และบริเวณใบหน้า ซึ่งผดผื่นร้อนสามารถหายเองได้ โดยการที่คุณแม่หมั่นอาบน้ำให้ลูกบ่อยๆ และควรที่จะให้ลูกอยู่ในห้องที่มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก

ผื่นแดง

ผื่นแดงจะมีลักษณะเป็นตุ่มแดงนูน คล้ายยุงกัด มีอาการคันหรือไม่ก็ได้ มักจะเกิดขึ้นบริเวณข้อพับต่าง แขน ขา และเกิดขึ้นบริเวณใบหน้าได้ ส่วนมากจะพบมากในเด็กแรกเกิด ผื่นแดงไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระบบภูมิคุ้มกันของเด็กทารก ซึ่งผื่นชนิดนี้สามารถหายได้เลยภายใน 2-4 สัปดาห์

ผื่นทารก

ผื่นทารกจะมีลักษณะเป็นตุ่มใส เพียงอย่างเดียวเกิดจากการอุดตันที่รูขุมขน จะเกิดขึ้นในบริเวณใบหน้า และตามแขนขา ซึ่งผื่นทารกสามารถลามไปส่วนอื่นได้เนื่องจากน้ำใสๆที่อยู่ในตุ่มถ้าแตกจะทำให้เกิดการรุกลามแพร่กระจาย ดังนั้นคุณแม่ต้องพยายามไม่ให้ลูกไปเกาแกะ ผื่นนี้สามารถหายได้เอง และรอยแผลที่เป็นจะจางหายไปตามธรรมชาติ

สิวทารก หรือสิวฮอร์โมน

สิวทารก หรือสิวฮอร์โมน จะมีลักษณะเป็นตุ่มหนองเหมือนสิวอักเสบหรือสิวหัวช้างของผู้ใหญ่ เกิดจากการที่ต่อมไขมันบนใบหน้าของลูกถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมน มักเกิดบริเวณใบหน้า หรือบริเวณ T zone แต่ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด คุณแม่จึงไม่จำเป็นที่จะไปบีบเอาหนองออก

ผื่นมิเลีย

ผื่นมิเลียจะมีลักษณะตุ่มสีขาวขุ่น เกิดจากโปรตีนที่อยู่บริเวณชั้นผิวหนังมีมากกว่าปกติ มักจะเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า หากใช้มือสะกิดก็สามารถหลุดร่วงได้ง่าย แต่ก็ไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้น ผื่นมิเลียไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด สามารถหายเองได้เมื่อเด็กมีอายุ 1 เดือน แต่บางรายอยู่จะอยู่ถึง 3 เดือน

สาเหตุที่พบบ่อยของผื่นบนใบหน้าของทารก ได้แก่

แพ้อาหาร

แพ้อาหาร

ผื่นสามารถตอบสนองต่ออาหารที่ลูกของคุณอาจแพ้ได้ กระตุ้นให้เกิดการแพ้และสามารถถ่ายโอนไปยังทารกผ่านทางนมแม่ได้เช่นกันค่ะ

ปฏิกิริยาทางเคมี

ปฏิกิริยาทางเคมี

ผื่นแพ้จากผงซักฟอกหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้า ที่นอนหรือที่สัมผัสกับลูกน้อย รวมถึงผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ทำให้เกิดผื่นขึ้นได้ค่ะ

สภาพภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศ

เนื่องจากผิวที่บอบบางซึ่งตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโดยรอบได้ทันที โดยเฉพาะอากาศร้อนเนื่องจากเหงื่อออกมากทำให้รูขุมขนอุดตันและส่งผลให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย

เชื้อแบคทีเรียต่างๆจากการสัมผัส

เชื้อแบคทีเรีย

โดยเฉพาะมือหรือเสื้อผ้าของคุณที่สัมผัสกับผิวของลูกน้อยที่บอบบางทำให้เกิดผืนแพ้ได้ง่ายขึ้นค่ะ

การรักษาผื่นบนใบหน้าของทารก 

โดยส่วนใหญ่ผื่นที่เกิดขึ้นมักหายได้เองตามธรรมชาติ และไม่มีวิธีรักษาโดยเฉพาะเจาะจง หากทารกมีผื่นแดงบนใบหน้าสิ่งแรกที่คุณควรทำคือลดอาการระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผื่นแพร่กระจายหรือรุนแรงมากขึ้น โดยทำให้บริเวณที่มีผดผื่นขึ้นสะอาดและแห้งซึ่งใช้การซับแทนการถูไปมา เพราะการถูอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรือเป็นแผลมากขึ้นได้ค่ะ แต่ในกรณีที่รุนแรงหรือมีการแพร่กระจายของผื่น ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

การบรรเทาผื่นบนใบหน้า

การบรรเทาผื่นบนใบหน้า

ผื่นส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นบนใบหน้าสามารถดูแลและบรรเทาได้เองที่บ้านด้วยวิธีง่ายๆดังต่อไปนี้

  • น้ำแข็ง การใช้น้ำแข็งเพื่อลดอาการระคายเคือง บรรเทาอาการคันได้ โดยการห่อก้อนน้ำแข็งกับผ้าสะอาดและวางลงบนบริเวณผิวที่มีผดผื่นขึ้นจากนั้นซับให้แห้งค่ะ
  • แป้งลดผดผื่นคันสำหรับเด็ก ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้ใช้ค่ะเพราะแป้งบางชนิดอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ค่ะ
  • น้ำนมแม่ นอกจากจะมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยแล้วยังสามารถรักษาผดผื่นได้ค่ะ โดยทาบริเวณที่เกิดผดผื่นขึ้นค่ะ

ผื่นที่เกิดขึ้นอาจรุนแรงได้หากไม่รักษาสุขอนามัยที่เหมาะสมค่ะ ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือการลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวลูกน้อยค่ะ หากมีผดผื่นที่สร้างความสงสัยหรือคุณพ่อคุณแม่กังวลสามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง