Q&A การเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ครั้งที่ 1

Q&A การเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ครั้งที่ 1

Q : น้ำหนักสำหรับเด็กแรกเกิดที่เหมะสม ควรอยู่ที่เท่าไร เพศชายและเพศหญิงต่างกันหรือไม่ค่ะ

A : เด็กทารกที่อยู่ในท้องแม่ครบกำหนดอายุครรภ์ (38-42 สัปดาห์) น้ำหนักที่ปกติ เพศหญิงอยู่ที่ประมาณ 3000 กรัม ส่วนเพศชายอยู่ที่ประมาณ 3,100 กรัม

สำหรับเด็กแรกเกิดที่เกิดมาตอนอายุครรภ์ที่ไม่ครบ หรือน้อยกว่า 37 สัปดาห์ ส่วนมากน้ำหนักจะต่ำว่า 2500 กรัม ซึ่งแพทย์จะเรียกว่า “พรีมี่” ซึ่งจะย่อมาจาก Prematurity มีความหมายว่า ทารกคลอดก่อนกำหนด

คุณแม่บางรายแม้จะคลอดตามกำหนดปกติ แต่ที่คลอดอาจจะมีน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ คือไม่ถึง 2500 กรัม ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุจากโรคติดเชื้อขณะที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ เช่น เชื้อหัดเยอรมัน โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสบางตัว โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรืออาจเกิดจากที่คุณแม่สูบบุหรี่มากเกินไป ทำให้เด็กเจริญเติบโตขึ้นมาอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูงกว่าเด็กที่มีน้ำหนักกว่าปกติ ควรติดตามสุขภาพไปถึงวัยผู้ใหญ่

Q : พอดีลูกของดิฉันอายุ 6 เดือน ลูกนัยน์ตาดำมาชิดกัน แบบนี้ผิดปกติไหมค่ะ และควรรักษาอย่างไรค่ะ

A : เด็กแรกเกิดที่เกิดมาอาจตาเขนิดๆ เหมือนจะลูกตาดำจะเข้ามาชิดกัน สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณรอบกระบอกตายังอ่อนแอไม่แข็งแรก จะเมื่อเด็กโตขึ้น อาการดังกล่าวจะหายไปเอง

คำแนะนำ ส่วนมากคุณพ่อคุณแม่มักจะนำโมบายของเล่นมาแขวน ให้เล่นให้มอง ในขณะที่ลูกนอนหงาย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรแขวนห่างจากลูก พอให้เอื้ยมมือแตะ ไขว่คว้า เป็นการช่วยกระตุ้นพัฒนาการชองลูก แต่พยายามแขวนใกล้ลูกจนเกินไปอาจทำให้ลูกต้องใช้สายตาเพ่งมากจนเกินไปทำให้เกิดการตาเขได้

อีกอย่าง คือ ตาของลูกไม่ได้เข แต่มีหนังตาบริเวณ 2 ข้างจมูก หนาหน่อย จึงทำให้ดูเหมือนตาดำเขเข้าหากัน เมื่อลูกอายุ 6 เดือน ควรได้รับการฉีดยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ถือโอกาสไปปรึกษาแพทย์เสียเลย ถ้าเห็นว่าผิดปกติก็อาจส่งให้จักษุแพทย์ตรวจรักษาต่อไปค่ะ

Q : ดิฉันใส่ถุงมือให้กับลูกตั้งแต่ยังเด็ก เลยมีข้อสงสัยว่าควรถอดถุงมือลูกตอนลูกอายุเท่าไรค่ะ

A : เด็กมักถูกจับใส่ถุงมือ บ้างก็ว่าน่ารักดี บ้างว่าป้องกันไม่ให้เล็บข่วนหน้าตัวเองไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใด ความจริงก็คือการเรียนรู้ของเด็กจะผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หูได้ยิน ตาเห็น จมูก ได้กลิ่น ลิ้นได้รส สัมผัสทางกาย และมือนี่แหละที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ผ่านนิ้วเล็กๆ ทั้ง 10 นิ้ว มือจะต้องสัมผัสสิ่งต่างๆ

สรุปว่าไม่ควรสวมถุงมือให้ลูกตลอดเวลา สวนเฉพาะเวลาอากาศเย็น และคอยใช้กรรไกรปลายทู่สำหรับตัดเล็บเด็กเล็มให้สั้น หมั่นเปลี่ยนถุงมือ ซักให้สะอาด ตรวจดูด้านในว่ามีเสียดายลุ่ยมาพันนิ้วลูกหรือไม่ และปล่อยให้มือน้อยๆ สัมผัสผู้คนและจับต้องสิ่งของตั้งแต่วัยทารกค่ะ

Q : ลูก 3 เดือนควรหมุนหมอนได้หรือยังคะ ตอนนี้ให้นอนคว่ำบ้างหงายบ้างโดยให้ใช้หมอน

A : เด็กอายุ 3-5 เดือน เริ่มพลิกตัวนอนคว่ำ นอนหงายเองได้แล้ว การใช้หมอนก็แล้วแต่ความสะดวก บางคนเอาไว้กันตัวเด็ก กว่าจะให้หมุนหมอนก็ขวบไปแล้ว แต่หมอนนิ่มๆ อาจเอาไว้ให้เด็กนอนเล่นตอนกลางวันก็ดีค่ะ

สำหรับเด็กเล็กมากๆ  ปล่อยให้นอนหมอนนิ่มๆ บางทีเด็กพลิกตัวไม่ถนัด หน้าจมอยู่ในหมอน หายใจไม่ออก มีอันตรายได้ ดังนั้น การเลี้ยงทารกแรกเกิด เราต้องตื่นตัวดูแลอยู่ตลอดเวลา